มนุษย์ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดบนโลก นับตั้งแต่การวิวัฒนาการขึ้นมาจากสัตว์ 4 เท้าเป็น 2 เท้า
และก้าวล้ำกว่าสัตว์ชนิดอื่นมากมาย จากทุ่งหญ้าสาวันน่า สู่ สังคมในรูปแบบเมืองยุคใหม่
แต่ถึงอย่างนั้นร่างกายของเรานั้น ก็วิวัฒนาการช้ากว่าสมองของเราไปมาก
ไปดูกันว่าร่างกายของเราล้าสมัยยังไงบ้าง
1.ระบบความต้องการน้ำตาลในร่างกาย
ระบบนี้มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ซึ่งในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยาก มีความจำเป็นต่อร่างกายสูง
จึงเกิดระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการหิวหรืออยากกินอาหารที่มีรสหวาน
ซึ่งถ้าเทียบกับสังคมสมัยนี้แล้วน้ำตาลนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายมาก แถมจะมีอยู่กับอาหารทุกประเภท
จึงทำให้คนที่ควบคุมระบบนี้ไม่ได้เกิดอาการอยากที่จะกินอาหารรสหวานอยู่ตลอดเวลา
จนทำให้เกิดโรคตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น
2.ระบบขนลุกในร่างกาย
ระบบนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเรารู้สึกหนาวหรือรู้สึกหวาดกลัว กล้ามเนื้อใต้ผิวหนังจะหดเกร็งและดึงเส้นขนตั้งขึ้นเกือบจะ 180 องศา
แต่ระบบนี้จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ "มนุษย์ยังมีขนปกคลุมหนาแน่น" เหมือนเมื่อสมัย 2 ล้านปีก่อน
เพราะมนุษย์ปัจจุบันอย่างพวกเรา แทบจะไม่มีขนเหลืออยู่เลยที่จะปกป้องความหนาว จากระบบนี้ได้
3.ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีวิตการเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปแบบมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทั้งบ้านเรือนที่สะอาด อาหารน้ำดื่มที่สะอาด
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นเกิดอาการเซ็งไปตามๆกัน เพราะพวกมันไม่ได้ทำงานกันเลย
พอเกิดสิ่งแปลกปลอมนิดหน่อย จึงทำงานแบบว่าเกินงานเช่น แค่มีฝุ่นเข้ามานิดหน่อย ก็เกิดอาการต่อต้านจากร่างกาย เช่น โรคภูมิ แพ้
ซึ้งถ้าเป็นในยุคก่อนๆเรื่องแค่นี้อาจจะแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปโดยไม่เกิดอะไรขึ้นเลย
4.ม่านตาที่สาม
ถ้าเราสังเกตุสัตว์บางประเภทจะเห็นสัตว์ที่มีม่านตาที่สามอย่างชัดเจนเช่น จระเข้มีม่านตาที่สามที่ใช้ปิดเพื่อที่จะปกป้องดวงตาเวลาที่จะว่ายน้ำ
นกหัวขวานใช้ม่านตาที่สามิดตาเพื่อปกป้องดวงตาจากเศษไม้ที่กระเด็ดเข้ามา
แต่มนุษย์เรามีรึป่าว ผมขอบอกเลยว่ามีครับ ไม่เชื่อไปส่องกระจกเปิดดูตาด้านที่อยู่ทางจมูกดูสิ จะเห็นเยื่อเล็กๆยื่นออกมาซึ่งมีขนาดเล็กมาก
จนใช้การไม่ได้ ถ้าทฤษฎีของ ชาล ดาวิน เรื่องวิวัฒนาการเป็นจริงม่านตาเราล้าสมัยไป 3,500 ล้านปีเลยนะครับ ตั้งแต่วิวัฒนาการเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นว่า เรามีการวิวัฒนาการกันจริงๆ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่ก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ครับ
5.ฟันกรามซี่ที่ 3
ฟันกรามซี่ที่ 3 คือฟันซี่ในสุด ล้าสมัยไป 3-5 แสนปีก่อน เนื่องจากบรรพบุรุษของเราเป็นสัตว์ก่อนพืช ฟันจึงมีขนาดใหญ่
แต่เมื่อมนุษย์หันมากินเนื้อสัตว์มากขึ้น ฟันของเราจึงหดเล็กลง แต่ฟันกรามซี่ที่สามนี่สิครับมันไม่ยอมหดตามซี่อื่น
เมื่อมันเริ่มโตจึงเบียดกันฟันซี่ข้างๆจนทำให้รู้สึกปวดจนต้องไปผ่าออกที่เรียกกันว่า "ผ่าฟันคุด"นั้นเอง
6.ไส้ติ่ง
ไส้ติ่งเป็นอวัยวะที่เมื่อสมัยก่อนมีขนาดประมาณ 1 ไม้บรรทัดได้เพราะเมื่อยุคก่อนมนุษย์เราเป็นสัตว์กินพืช จึงจำเป็นต้องเก็บแบคทีเรียบางประเภทไว้เพื่อใช้ย่อยพืชบางชนิดที่ย่อยไม่ได้ แต่เมื่อเทียบกับสมัยนี้แล้วมนุษย์หันมากินเนื้อสัตว์อวัยวะส่วนนี้จึงหดเล็กลงจึงเหลือเป็นแค่ติ่งเล็กๆที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่
7.กระดูกก้นกบ
กระดูกก้นกบเดิมทีเป็นส่วนของหางที่สมัยบรรพบุรุษเราเคยมี แต่ในขณะที่สัตว์หลายชนิดพมีหางซึ่งไว้ใช้ประโยชน์เป็นของตัวเอง
มนุษย์เรากลับหันมายืน 2 ขา ส่วนของหางจึงไม่มีประโยชน์อะไรจึงหดเล็กลงเรื่องๆ ซึ่งปัจจุบันเหลือร่องรอยเป็นเพียงกระดูกก้อนกบเท่านั้นเอง
เมื่อแรกเกิด 10 - 15 วันจะเห็นหางงอกออกมาจากตัวอ่อนในครรภ์อย่างชัดเจน แต่เมื่อผ่านไป 20 วันกระดูกในส่วนนี้จะไม่เจริญเติมโต
จนทำให้เล็กลงเมื่อตัวอ่อนโตขึ้น
นึกออกแค่นี้ไปแอบอ่านหนังสือที่ B2S จำไม่ได้ว่าชื่อเล่มอะไร แต่จำได้แค่นี้เห็นว่ามีประโยชน์เลยมาแบ่งปันกันนะครับ
เนื้อหาโดย: apisitsanook
ร่างกายเราล้าสมัยเกินไปแล้ว
และก้าวล้ำกว่าสัตว์ชนิดอื่นมากมาย จากทุ่งหญ้าสาวันน่า สู่ สังคมในรูปแบบเมืองยุคใหม่
แต่ถึงอย่างนั้นร่างกายของเรานั้น ก็วิวัฒนาการช้ากว่าสมองของเราไปมาก
ไปดูกันว่าร่างกายของเราล้าสมัยยังไงบ้าง
1.ระบบความต้องการน้ำตาลในร่างกาย
ระบบนี้มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ซึ่งในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยาก มีความจำเป็นต่อร่างกายสูง
จึงเกิดระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการหิวหรืออยากกินอาหารที่มีรสหวาน
ซึ่งถ้าเทียบกับสังคมสมัยนี้แล้วน้ำตาลนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายมาก แถมจะมีอยู่กับอาหารทุกประเภท
จึงทำให้คนที่ควบคุมระบบนี้ไม่ได้เกิดอาการอยากที่จะกินอาหารรสหวานอยู่ตลอดเวลา
จนทำให้เกิดโรคตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น
2.ระบบขนลุกในร่างกาย
ระบบนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเรารู้สึกหนาวหรือรู้สึกหวาดกลัว กล้ามเนื้อใต้ผิวหนังจะหดเกร็งและดึงเส้นขนตั้งขึ้นเกือบจะ 180 องศา
แต่ระบบนี้จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ "มนุษย์ยังมีขนปกคลุมหนาแน่น" เหมือนเมื่อสมัย 2 ล้านปีก่อน
เพราะมนุษย์ปัจจุบันอย่างพวกเรา แทบจะไม่มีขนเหลืออยู่เลยที่จะปกป้องความหนาว จากระบบนี้ได้
3.ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีวิตการเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปแบบมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทั้งบ้านเรือนที่สะอาด อาหารน้ำดื่มที่สะอาด
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นเกิดอาการเซ็งไปตามๆกัน เพราะพวกมันไม่ได้ทำงานกันเลย
พอเกิดสิ่งแปลกปลอมนิดหน่อย จึงทำงานแบบว่าเกินงานเช่น แค่มีฝุ่นเข้ามานิดหน่อย ก็เกิดอาการต่อต้านจากร่างกาย เช่น โรคภูมิ แพ้
ซึ้งถ้าเป็นในยุคก่อนๆเรื่องแค่นี้อาจจะแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปโดยไม่เกิดอะไรขึ้นเลย
4.ม่านตาที่สาม
ถ้าเราสังเกตุสัตว์บางประเภทจะเห็นสัตว์ที่มีม่านตาที่สามอย่างชัดเจนเช่น จระเข้มีม่านตาที่สามที่ใช้ปิดเพื่อที่จะปกป้องดวงตาเวลาที่จะว่ายน้ำ
นกหัวขวานใช้ม่านตาที่สามิดตาเพื่อปกป้องดวงตาจากเศษไม้ที่กระเด็ดเข้ามา
แต่มนุษย์เรามีรึป่าว ผมขอบอกเลยว่ามีครับ ไม่เชื่อไปส่องกระจกเปิดดูตาด้านที่อยู่ทางจมูกดูสิ จะเห็นเยื่อเล็กๆยื่นออกมาซึ่งมีขนาดเล็กมาก
จนใช้การไม่ได้ ถ้าทฤษฎีของ ชาล ดาวิน เรื่องวิวัฒนาการเป็นจริงม่านตาเราล้าสมัยไป 3,500 ล้านปีเลยนะครับ ตั้งแต่วิวัฒนาการเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นว่า เรามีการวิวัฒนาการกันจริงๆ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่ก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ครับ
5.ฟันกรามซี่ที่ 3
ฟันกรามซี่ที่ 3 คือฟันซี่ในสุด ล้าสมัยไป 3-5 แสนปีก่อน เนื่องจากบรรพบุรุษของเราเป็นสัตว์ก่อนพืช ฟันจึงมีขนาดใหญ่
แต่เมื่อมนุษย์หันมากินเนื้อสัตว์มากขึ้น ฟันของเราจึงหดเล็กลง แต่ฟันกรามซี่ที่สามนี่สิครับมันไม่ยอมหดตามซี่อื่น
เมื่อมันเริ่มโตจึงเบียดกันฟันซี่ข้างๆจนทำให้รู้สึกปวดจนต้องไปผ่าออกที่เรียกกันว่า "ผ่าฟันคุด"นั้นเอง
6.ไส้ติ่ง
ไส้ติ่งเป็นอวัยวะที่เมื่อสมัยก่อนมีขนาดประมาณ 1 ไม้บรรทัดได้เพราะเมื่อยุคก่อนมนุษย์เราเป็นสัตว์กินพืช จึงจำเป็นต้องเก็บแบคทีเรียบางประเภทไว้เพื่อใช้ย่อยพืชบางชนิดที่ย่อยไม่ได้ แต่เมื่อเทียบกับสมัยนี้แล้วมนุษย์หันมากินเนื้อสัตว์อวัยวะส่วนนี้จึงหดเล็กลงจึงเหลือเป็นแค่ติ่งเล็กๆที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่
7.กระดูกก้นกบ
กระดูกก้นกบเดิมทีเป็นส่วนของหางที่สมัยบรรพบุรุษเราเคยมี แต่ในขณะที่สัตว์หลายชนิดพมีหางซึ่งไว้ใช้ประโยชน์เป็นของตัวเอง
มนุษย์เรากลับหันมายืน 2 ขา ส่วนของหางจึงไม่มีประโยชน์อะไรจึงหดเล็กลงเรื่องๆ ซึ่งปัจจุบันเหลือร่องรอยเป็นเพียงกระดูกก้อนกบเท่านั้นเอง
เมื่อแรกเกิด 10 - 15 วันจะเห็นหางงอกออกมาจากตัวอ่อนในครรภ์อย่างชัดเจน แต่เมื่อผ่านไป 20 วันกระดูกในส่วนนี้จะไม่เจริญเติมโต
จนทำให้เล็กลงเมื่อตัวอ่อนโตขึ้น
นึกออกแค่นี้ไปแอบอ่านหนังสือที่ B2S จำไม่ได้ว่าชื่อเล่มอะไร แต่จำได้แค่นี้เห็นว่ามีประโยชน์เลยมาแบ่งปันกันนะครับ
เนื้อหาโดย: apisitsanook