นิทานชาวสวน ๒๑ ก.พ.๕๖
ชุด สงครามอินโดจีน
๕.เริ่มสงคราม
วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๔ อันเป็นวัน ดี.เดย์ของกองทัพบกไทย กองทัพบูรพาก็ส่ง กองพลลพบุรีเคลื่อนที่ผ่านกองพลวัฒนาซึ่งวางกำลังรักษาชายแดนด้านอรัญประเทศ เข้าตีข้าศึกที่ด่านปอยเปตซึ่งเป็นแนวหน้าของข้าศึก กองพลนี้มีกำลังสามกองพัน ขั้นแรกให้กองพันทหารราบที่ ๖ รุกเข้าไปเป็นหน่วยแรก ฝ่าดงระเบิดและลวดหนามซึ่งเป็นเครื่องป้องกันหน้าจุดต้านทาน ด้วยความทรหดอดทน จนสามารถยึดด่านปอยเปตได้ในวันที่ ๗ มกราคม
ต่อจากนั้นได้ให้กองพันทหารราบที่ ๘ และกองพันทหารราบที่ ๔ รุกคืบหน้าต่อไปตามแนวถนนปอยเปตไปศรีโสภณ ประมาณ ๒๐ ก.ม. จนถึงแนวตั้งรับของข้าศึกที่พะเนียด จึงถูกข้าศึกระดมยิงอย่างหนัก พะเนียดนี้เป็นที่มั่นดัดแปลงที่แข็งแรงของข้าศึก สร้างไว้คล่อมถนนปอยเปต- ศรีโสภณ โดยใช้ขอนไม้ทั้งต้นมาวางซ้อนกันไว้เป็นชั้น ๆ คล้ายพะเนียด ด้านหน้าได้ขึงลวดหนามและแขวนกระป๋องไว้เป็นระยะ เพื่อให้เกิดเสียงดัง ภายในที่มั่นขุดคูสนามเพลาะติดต่อถึงกันโดยตลอด และมีคลังเก็บกระสุนวัตถุระเบิดจำนวนมากด้วย
ทหารราบกองพันที่ ๘ เคลื่อนที่ในเวลากลางคืน ด้วยการเดินเท้าประมาณสามชั่วโมง มาติดอยู่ที่ลวดหนามหน้าแนวตั้งรับของข้าศึก จึงถูกระดมยิงอย่างหนัก โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนทำให้เกิดการระส่ำระสาย และรายงานขอกำลังหนุน กองพันทหารราบที่ ๖ จึงเคลื่อนกำลังขึ้นมา กว่าจะถึงแนวรบก็เป็นเวลาสามชั่วโมงเช่นเดียวกัน แต่ก็ช่วยให้กองพันที่ ๘ มีกำลังใจยึดพื้นที่อยู่ได้โดยไม่ถอย กองพันที่ ๖ จึงเคลื่อนที่เข้าโอบปีกทางด้ายซ้ายจนสุดแนวป้องกัน แล้วเข้าตีด้านหลัง ข้าศึกจึงต้องถอยไป ทหารไทยสามารถยึดค่ายพะเนียดได้ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ก็เสียกำลังพลของกองพันที่ ๘ ไปเป็นอันมาก
หลังจากวันที่ ๑๐ มกราคมไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างก็วางกำลังยันกันอยู่ โดยไม่มีการสู้รบ เว้นแต่มีการปะทะระหว่างหน่วยลาดตระเวนบ้างเล็กน้อย
ในขณะเดียวกัน กองพลพระนครซึ่งมีกำลังสามกองพัน และอยู่ทางด้านเหนือของกองพลวัฒนา ก็ได้เคลื่อนที่จากชายแดน เข้าไปในดินแดนข้าศึกตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม โดยให้กองพันทหารราบที่ ๑ ไปตามเส้นทางในภูมิประเทศลึกเข้าไปประมาณ ๓ ก.ม.ก็ได้รับการต้านทานที่บ้านยาง ได้ทำการสู้รบอยู่ไม่นานก็สามารถยึดได้
ส่วนกองพันทหารราบที่ ๓ อยู่ด้านขวาของกองพันที่ ๑ เคลื่อนที่เข้าไปตามถนนอีกเส้นหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากถนนปอยเปต-ศรีโสภณไปทางเหนือประมาณ ๑๒ ก.ม. เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปได้ประมาณ ๙ ก.ม.ก็ถึงบ้านพร้าวซึ่งข้าศึกได้วางกำลังตั้งรับไว้ กองพันที่ ๓ เข้าตีตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ถึงวันที่ ๑๑ มกราคม ก็ยึดที่มั่นบ้านพร้าวไว้ได้ และพักกำลังพลอยู่ที่นั้น กับส่งกำลังออกลาดตระเวนต่อไปอีก ๑๐ ก.ม.ก็ไม่พบข้าศึก
ในวันที่ ๑๓ มกราคม ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และมีเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าข้าศึกได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าว พร้อมกับวางแผนเตรียมการเข้าตีโต้ตอบภายหลังด้วย ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
และในเย็นวันนั้นหน่วยลาดตระเวนของข้าศึก ก็เข้ามาปะทะกับหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพัน ซึ่งผู้บังคับกองพันได้สั่งการให้ตั้งรับและขับไล่ข้าศึกด้วยอาวุธปืนเล็กห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกล เป็นการลวง
วันรุ่งขึ้น ๑๔ มกราคม ผู้บัญชาการกองพลพระนครก็มาตรวจภูมิประเทศ พร้อมกับผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็ขออนุมัติเคลื่อนกำลังพลออกไปข้างหน้าอีกประมาณ ๔ ก.ม. แต่เมื่อผู้บัญชาการกองพลรายงานขออนุมัติไปทางกองทัพบูรพา กลับถูกสั่งห้ามไม่ให้หน่วยนี้เคลื่อนที่ต่อไปโดยเด็ดขาด เพราะจะผิดแผนที่กองทัพวางไว้
แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็นำกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ ไปยึดที่หมายข้างหน้าห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.และวางกำลังในห้วยแห้งที่ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง และวางตัวอยู่ด้วยความสงบจนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม
กองพันทหารราบที่ ๓ คงยึดอยู่ในลำห้วยแห้งอย่างสงบและมีวินัย มีการทบทวนอย่างกวดขัน ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. ได้มีเสียงอีเก้งร้องในทุ่งหญ้า แสดงว่าตกใจที่มีผู้คนเข้าไปในบริเวณหากิน ดึกขึ้นไปมีเสียงรถยนต์จำนวนมากไกล ๆ ทางทิศตะวันออกด้านศรีโสภณ แสดงว่ามีการเคลื่อนย้ายกำลังของฝ่ายข้าศึก
๑๖ มกราคม เวลา ๐๔.๐๐ น. ได้มีเสียงปืนยิงโต้ตอบกันดังมาจากบ้านยาง แม้จะไกลประมาณ ๔ ก.ม.เศษก็ตาม แสดงว่าข้าศึกกำลังเข้าตี กองพันทหารราบที่ ๑ ซึ่งตั้งรับอยู่ที่บ้านยาง ผู้บังคับกองพันจึงโทรศัพท์สั่งทุกหน่วยให้เตรียมตัวทำการยิงตามแผนที่สั่งการ โดยเคร่งครัดห้ามทำการยิงตามลำพังโดยเด็ดขาด
ผู้บังคับกองพันได้สั่งแก่พลยิงปืนกลนำว่า ให้ยิงต่อแถวทหารส่วนมาก ที่เข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ สำหรับหน่วยลาดตระเวนของข้าศึกที่มีกำลังต่ำกว่า ๑๐ คนให้ปล่อยผ่านไป ระหว่างนั้นได้ยินเสียงข้าศึกปลุกกันจากการนอน ห่างจากแนวไปประมาณ ๒๐๐ เมตร และจากนั้นก็มีทหารข้าศึกสามคน กับสุนัขพื้นเมืองสองตัวมาลาดตระเวนหน้าแนว ห่างจากที่ทหารไทยซุ่มอยู่ประมาณ ๑๕ เมตร คืนนั้นเป็นคืนเดือนหงายค้างฟ้า แลเห็นได้ไกล ทหารลาดตระเวนของข้าศึกไม่ได้ออกจากแนวทางลำลองที่ไปห้วยยาง เป็นแต่เดินมอง ไปเรื่อย ๆ สุนัขสองตัวของข้าศึกได้วิ่งมาถึงแนวทหารไทย และวิ่งดมคนโน้นคนนี้บ้างแต่ไม่ได้เห่า ข้าศึกเข้ามาในแนวตั้งรับประมาณ ๑๕ นาทีก็กลับไป
เมื่อถึงเวลา ๐๕.๐๐ น.กองพันที่ ๓ ของกรมทหารราบต่างด้าวที่ ๕ ซึ่งเป็นหน่วยกล้าตายชั้นหนึ่ง มีกิตติศัพท์อันเกรียงไกรมาแล้ว ในหลายสมรภูมิอินโดจีนฝรั่งเศส ก็เคลื่อนขบวนเข้ามาในเขตแผนการยิงของไทย เป็นแถวตอนเรียงสามเดินตามสบาย เพราะยังอยู่ห่างจากบ้านพร้าวอีกตั้ง ๔ ก.ม. เสียงปืนกลนำสัญญาณก็ดังปะทุขึ้น และตลอดความยาวของแถวตอนเรียงสามทหารข้าศึกอยู่ในแผนการยิงอย่างถี่ยิบของทหารไทย ที่ส่งกระสุนปืนเล็กยาว ปืนกลเบา ปืนกลหนัก ที่สาดกระสุนเหล็กเข้าบดขยี้จนละลายไปหมดทั้งกองพัน มีการยิงต่อสู้ประปราย จนเวลา ๐๘.๐๐ น. ผู้บังคับกองร้อยได้เข้าไปเก็บเชลยที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่ของกองร้อยได้เชลยศึก ๗ คน ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวนข้างหน้าขบวนตอนเรียงสาม ทั้งหมดนี้ได้หลบอยู่หลังต้นไม้ที่ล้มกลางลำห้วยแห้ง กับทหารอีก ๕ คน รวมเป็น ๑๒ คน
และยึดได้ธงชัยเฉลิมพลที่มีเหรียญกล้าหาญดรัวซ์เดอแกรร์ติดอยู่ ได้ยุทโธปกรณ์หนักคือ ปืนกลหนัก ๑ กระบอก ปืนกลเบา ๕ กระบอก กระสุนและปืนเล็กประจำกายมาก แต่เครื่องยิงระเบิดไม่มี ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กรมทหารราบต่างด้าวที่ ๕ คือ พันตรี เรเมอรี่ ตายในที่รบ ค้นได้บัตรประจำตัว นอกนั้นได้เอกสารเกี่ยวกับการรบอีกด้วย
การสูญเสียของทหารฝรั่งเศส นับศพในบริเวณสู้รบ ๕๐ ศพ ถูกจับเป็นเชลย ๒๐ คน ที่เหลือหลบหนีไปขณะยังไม่สว่าง ทั้งบาดเจ็บและไม่บาดเจ็บ หลักฐานทางฝ่ายฝรั่งเศส ตาย ๑๑๐ บาดเจ็บ ๒๕๐ สูญหาย ๕๘ ถูกจับ ๒๑ คน
ฝ่ายเราเสียชีวิตในที่รบ ๑ นาย บาดเจ็บสาหัส ๒ นาย
จากคำบอกเล่าของนายเนต เจ้าของนาที่ทหารฝรั่งเศสใช้เป็นที่รวมพล อยู่หลังบริเวณสมรภูมิรบ ไปทางศรีโสภณประมาณ ๒-๓ ก.ม. ได้ความว่า หลังจากสิ้นการรบแล้วมีรถยนต์บรรทุกทหารบาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส ไปรับการรักษาพยาบาลที่นั้นประมาณ ๑๐ คันรถ ทหารที่ตายก็ขนใส่รถไปด้วย ซึ่งทำให้กองรบอีกสามกองพันของฝรั่งเศสที่พักรอคำสั่งเข้าตีต่อเนื่องที่บ้านพร้าว ต่างใจเสียไปตาม ๆ กัน และแยกออกจากพวกเดินหนีไปทางศรีโสภณ นำอาวุธประจำตัวไปด้วย พวกที่เหลือส่วนมากเป็นทหารพื้นเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ก็ร้องบอกกัน และทั้งสามกองพันก็พร้อมใจกันเดินมุ่งหน้าไปเมืองศรีโสภณ นายทหารและนายสิบผู้บังคับบัญชาของทหาร ก็เลยวิ่งตามไปอีกด้วย
การรบใหญ่ที่ได้ชัยชนะอย่างงดงามครั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ส่งหนังสือชมเชยมายังแม่ทัพบูรพาว่า
“ปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่ได้เห็นทหารปฏิบัติการอย่างมีสมรรถภาพ เข้มแข็งสมเป็นทหารของชาติอย่างแท้จริง”
และ กองพันทหารราบที่ ๓ นี้ ก็ได้รับเหรียญกล้าหาญ เนื่องจากทำการรบอย่างทรหดได้ผลต่อส่วนรวม มาประดับธงชัยเฉลิมพล เป็นเกียรติแกหน่วย ซึ่งในปัจจุบันคือ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ นั่นเอง.
##########
วางเมื่อ เวลา ๐๖.๔๖
นิทานชาวสวน ๒๑ ก.พ.๕๖
ชุด สงครามอินโดจีน
๕.เริ่มสงคราม
วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๔ อันเป็นวัน ดี.เดย์ของกองทัพบกไทย กองทัพบูรพาก็ส่ง กองพลลพบุรีเคลื่อนที่ผ่านกองพลวัฒนาซึ่งวางกำลังรักษาชายแดนด้านอรัญประเทศ เข้าตีข้าศึกที่ด่านปอยเปตซึ่งเป็นแนวหน้าของข้าศึก กองพลนี้มีกำลังสามกองพัน ขั้นแรกให้กองพันทหารราบที่ ๖ รุกเข้าไปเป็นหน่วยแรก ฝ่าดงระเบิดและลวดหนามซึ่งเป็นเครื่องป้องกันหน้าจุดต้านทาน ด้วยความทรหดอดทน จนสามารถยึดด่านปอยเปตได้ในวันที่ ๗ มกราคม
ต่อจากนั้นได้ให้กองพันทหารราบที่ ๘ และกองพันทหารราบที่ ๔ รุกคืบหน้าต่อไปตามแนวถนนปอยเปตไปศรีโสภณ ประมาณ ๒๐ ก.ม. จนถึงแนวตั้งรับของข้าศึกที่พะเนียด จึงถูกข้าศึกระดมยิงอย่างหนัก พะเนียดนี้เป็นที่มั่นดัดแปลงที่แข็งแรงของข้าศึก สร้างไว้คล่อมถนนปอยเปต- ศรีโสภณ โดยใช้ขอนไม้ทั้งต้นมาวางซ้อนกันไว้เป็นชั้น ๆ คล้ายพะเนียด ด้านหน้าได้ขึงลวดหนามและแขวนกระป๋องไว้เป็นระยะ เพื่อให้เกิดเสียงดัง ภายในที่มั่นขุดคูสนามเพลาะติดต่อถึงกันโดยตลอด และมีคลังเก็บกระสุนวัตถุระเบิดจำนวนมากด้วย
ทหารราบกองพันที่ ๘ เคลื่อนที่ในเวลากลางคืน ด้วยการเดินเท้าประมาณสามชั่วโมง มาติดอยู่ที่ลวดหนามหน้าแนวตั้งรับของข้าศึก จึงถูกระดมยิงอย่างหนัก โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนทำให้เกิดการระส่ำระสาย และรายงานขอกำลังหนุน กองพันทหารราบที่ ๖ จึงเคลื่อนกำลังขึ้นมา กว่าจะถึงแนวรบก็เป็นเวลาสามชั่วโมงเช่นเดียวกัน แต่ก็ช่วยให้กองพันที่ ๘ มีกำลังใจยึดพื้นที่อยู่ได้โดยไม่ถอย กองพันที่ ๖ จึงเคลื่อนที่เข้าโอบปีกทางด้ายซ้ายจนสุดแนวป้องกัน แล้วเข้าตีด้านหลัง ข้าศึกจึงต้องถอยไป ทหารไทยสามารถยึดค่ายพะเนียดได้ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ก็เสียกำลังพลของกองพันที่ ๘ ไปเป็นอันมาก
หลังจากวันที่ ๑๐ มกราคมไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างก็วางกำลังยันกันอยู่ โดยไม่มีการสู้รบ เว้นแต่มีการปะทะระหว่างหน่วยลาดตระเวนบ้างเล็กน้อย
ในขณะเดียวกัน กองพลพระนครซึ่งมีกำลังสามกองพัน และอยู่ทางด้านเหนือของกองพลวัฒนา ก็ได้เคลื่อนที่จากชายแดน เข้าไปในดินแดนข้าศึกตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม โดยให้กองพันทหารราบที่ ๑ ไปตามเส้นทางในภูมิประเทศลึกเข้าไปประมาณ ๓ ก.ม.ก็ได้รับการต้านทานที่บ้านยาง ได้ทำการสู้รบอยู่ไม่นานก็สามารถยึดได้
ส่วนกองพันทหารราบที่ ๓ อยู่ด้านขวาของกองพันที่ ๑ เคลื่อนที่เข้าไปตามถนนอีกเส้นหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากถนนปอยเปต-ศรีโสภณไปทางเหนือประมาณ ๑๒ ก.ม. เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปได้ประมาณ ๙ ก.ม.ก็ถึงบ้านพร้าวซึ่งข้าศึกได้วางกำลังตั้งรับไว้ กองพันที่ ๓ เข้าตีตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ถึงวันที่ ๑๑ มกราคม ก็ยึดที่มั่นบ้านพร้าวไว้ได้ และพักกำลังพลอยู่ที่นั้น กับส่งกำลังออกลาดตระเวนต่อไปอีก ๑๐ ก.ม.ก็ไม่พบข้าศึก
ในวันที่ ๑๓ มกราคม ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และมีเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าข้าศึกได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าว พร้อมกับวางแผนเตรียมการเข้าตีโต้ตอบภายหลังด้วย ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
และในเย็นวันนั้นหน่วยลาดตระเวนของข้าศึก ก็เข้ามาปะทะกับหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพัน ซึ่งผู้บังคับกองพันได้สั่งการให้ตั้งรับและขับไล่ข้าศึกด้วยอาวุธปืนเล็กห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกล เป็นการลวง
วันรุ่งขึ้น ๑๔ มกราคม ผู้บัญชาการกองพลพระนครก็มาตรวจภูมิประเทศ พร้อมกับผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็ขออนุมัติเคลื่อนกำลังพลออกไปข้างหน้าอีกประมาณ ๔ ก.ม. แต่เมื่อผู้บัญชาการกองพลรายงานขออนุมัติไปทางกองทัพบูรพา กลับถูกสั่งห้ามไม่ให้หน่วยนี้เคลื่อนที่ต่อไปโดยเด็ดขาด เพราะจะผิดแผนที่กองทัพวางไว้
แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็นำกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ ไปยึดที่หมายข้างหน้าห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.และวางกำลังในห้วยแห้งที่ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง และวางตัวอยู่ด้วยความสงบจนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม
กองพันทหารราบที่ ๓ คงยึดอยู่ในลำห้วยแห้งอย่างสงบและมีวินัย มีการทบทวนอย่างกวดขัน ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. ได้มีเสียงอีเก้งร้องในทุ่งหญ้า แสดงว่าตกใจที่มีผู้คนเข้าไปในบริเวณหากิน ดึกขึ้นไปมีเสียงรถยนต์จำนวนมากไกล ๆ ทางทิศตะวันออกด้านศรีโสภณ แสดงว่ามีการเคลื่อนย้ายกำลังของฝ่ายข้าศึก
๑๖ มกราคม เวลา ๐๔.๐๐ น. ได้มีเสียงปืนยิงโต้ตอบกันดังมาจากบ้านยาง แม้จะไกลประมาณ ๔ ก.ม.เศษก็ตาม แสดงว่าข้าศึกกำลังเข้าตี กองพันทหารราบที่ ๑ ซึ่งตั้งรับอยู่ที่บ้านยาง ผู้บังคับกองพันจึงโทรศัพท์สั่งทุกหน่วยให้เตรียมตัวทำการยิงตามแผนที่สั่งการ โดยเคร่งครัดห้ามทำการยิงตามลำพังโดยเด็ดขาด
ผู้บังคับกองพันได้สั่งแก่พลยิงปืนกลนำว่า ให้ยิงต่อแถวทหารส่วนมาก ที่เข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ สำหรับหน่วยลาดตระเวนของข้าศึกที่มีกำลังต่ำกว่า ๑๐ คนให้ปล่อยผ่านไป ระหว่างนั้นได้ยินเสียงข้าศึกปลุกกันจากการนอน ห่างจากแนวไปประมาณ ๒๐๐ เมตร และจากนั้นก็มีทหารข้าศึกสามคน กับสุนัขพื้นเมืองสองตัวมาลาดตระเวนหน้าแนว ห่างจากที่ทหารไทยซุ่มอยู่ประมาณ ๑๕ เมตร คืนนั้นเป็นคืนเดือนหงายค้างฟ้า แลเห็นได้ไกล ทหารลาดตระเวนของข้าศึกไม่ได้ออกจากแนวทางลำลองที่ไปห้วยยาง เป็นแต่เดินมอง ไปเรื่อย ๆ สุนัขสองตัวของข้าศึกได้วิ่งมาถึงแนวทหารไทย และวิ่งดมคนโน้นคนนี้บ้างแต่ไม่ได้เห่า ข้าศึกเข้ามาในแนวตั้งรับประมาณ ๑๕ นาทีก็กลับไป
เมื่อถึงเวลา ๐๕.๐๐ น.กองพันที่ ๓ ของกรมทหารราบต่างด้าวที่ ๕ ซึ่งเป็นหน่วยกล้าตายชั้นหนึ่ง มีกิตติศัพท์อันเกรียงไกรมาแล้ว ในหลายสมรภูมิอินโดจีนฝรั่งเศส ก็เคลื่อนขบวนเข้ามาในเขตแผนการยิงของไทย เป็นแถวตอนเรียงสามเดินตามสบาย เพราะยังอยู่ห่างจากบ้านพร้าวอีกตั้ง ๔ ก.ม. เสียงปืนกลนำสัญญาณก็ดังปะทุขึ้น และตลอดความยาวของแถวตอนเรียงสามทหารข้าศึกอยู่ในแผนการยิงอย่างถี่ยิบของทหารไทย ที่ส่งกระสุนปืนเล็กยาว ปืนกลเบา ปืนกลหนัก ที่สาดกระสุนเหล็กเข้าบดขยี้จนละลายไปหมดทั้งกองพัน มีการยิงต่อสู้ประปราย จนเวลา ๐๘.๐๐ น. ผู้บังคับกองร้อยได้เข้าไปเก็บเชลยที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่ของกองร้อยได้เชลยศึก ๗ คน ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวนข้างหน้าขบวนตอนเรียงสาม ทั้งหมดนี้ได้หลบอยู่หลังต้นไม้ที่ล้มกลางลำห้วยแห้ง กับทหารอีก ๕ คน รวมเป็น ๑๒ คน
และยึดได้ธงชัยเฉลิมพลที่มีเหรียญกล้าหาญดรัวซ์เดอแกรร์ติดอยู่ ได้ยุทโธปกรณ์หนักคือ ปืนกลหนัก ๑ กระบอก ปืนกลเบา ๕ กระบอก กระสุนและปืนเล็กประจำกายมาก แต่เครื่องยิงระเบิดไม่มี ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กรมทหารราบต่างด้าวที่ ๕ คือ พันตรี เรเมอรี่ ตายในที่รบ ค้นได้บัตรประจำตัว นอกนั้นได้เอกสารเกี่ยวกับการรบอีกด้วย
การสูญเสียของทหารฝรั่งเศส นับศพในบริเวณสู้รบ ๕๐ ศพ ถูกจับเป็นเชลย ๒๐ คน ที่เหลือหลบหนีไปขณะยังไม่สว่าง ทั้งบาดเจ็บและไม่บาดเจ็บ หลักฐานทางฝ่ายฝรั่งเศส ตาย ๑๑๐ บาดเจ็บ ๒๕๐ สูญหาย ๕๘ ถูกจับ ๒๑ คน
ฝ่ายเราเสียชีวิตในที่รบ ๑ นาย บาดเจ็บสาหัส ๒ นาย
จากคำบอกเล่าของนายเนต เจ้าของนาที่ทหารฝรั่งเศสใช้เป็นที่รวมพล อยู่หลังบริเวณสมรภูมิรบ ไปทางศรีโสภณประมาณ ๒-๓ ก.ม. ได้ความว่า หลังจากสิ้นการรบแล้วมีรถยนต์บรรทุกทหารบาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส ไปรับการรักษาพยาบาลที่นั้นประมาณ ๑๐ คันรถ ทหารที่ตายก็ขนใส่รถไปด้วย ซึ่งทำให้กองรบอีกสามกองพันของฝรั่งเศสที่พักรอคำสั่งเข้าตีต่อเนื่องที่บ้านพร้าว ต่างใจเสียไปตาม ๆ กัน และแยกออกจากพวกเดินหนีไปทางศรีโสภณ นำอาวุธประจำตัวไปด้วย พวกที่เหลือส่วนมากเป็นทหารพื้นเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ก็ร้องบอกกัน และทั้งสามกองพันก็พร้อมใจกันเดินมุ่งหน้าไปเมืองศรีโสภณ นายทหารและนายสิบผู้บังคับบัญชาของทหาร ก็เลยวิ่งตามไปอีกด้วย
การรบใหญ่ที่ได้ชัยชนะอย่างงดงามครั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ส่งหนังสือชมเชยมายังแม่ทัพบูรพาว่า
“ปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่ได้เห็นทหารปฏิบัติการอย่างมีสมรรถภาพ เข้มแข็งสมเป็นทหารของชาติอย่างแท้จริง”
และ กองพันทหารราบที่ ๓ นี้ ก็ได้รับเหรียญกล้าหาญ เนื่องจากทำการรบอย่างทรหดได้ผลต่อส่วนรวม มาประดับธงชัยเฉลิมพล เป็นเกียรติแกหน่วย ซึ่งในปัจจุบันคือ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ นั่นเอง.
##########
วางเมื่อ เวลา ๐๖.๔๖