อารัมภบท
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด บทความต่อไปนี้ มีภาพและเนื้อหารุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณด้วยครับ
ตอนที่ 24 สมรภูมิช่องบก
จากเหตุการณ์สู้รบระหว่างกองทัพเวียดนามและเขมรเฮง สัมริน ต่อแนวร่วมเขมรสามฝ่าย ยังผลให้กองกำลังติดอาวุธและประชาชนชาวกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย และหนีภัยจากการสู้รบเข้าเขตประเทศไทย ทั้งนี้กองทัพเวียดนาม-เฮง สัมริน ยังบุกโจมตีค่ายอพยพฐานที่มั่นกลุ่มเขมรสามฝ่าย โดยส่งกำลังแทรกซึมรุกล้ำและเกิดการปะทะระหว่างกองทัพไทยตลอดแนวชายแดน แม้ทหาร ตำรวจ และเหล่าอาสาฯ ได้เข้าผลักดันรุกรบอย่างเต็มสามารถ แต่กองกำลังของข้าศึกยังคงล้ำเข้าดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต บริเวณช่องบก อ.น้ำยืน จ. อุบลราชธานี กองทัพเวียดนามได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาโดยมีเจตนาตั้งฐานที่มั่นถาวรเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารลึกเข้ามาในแดนไทย โดยใช้แผน K5 ขยายอิทธิพลเข้ากัมพูชาและชายแดนไทย ซึ่งภูมิประเทศบริเวณนี้เต็มไปด้วยผืนป่าอันรกทึบ และทิวเขาสูงสลับซับซ้อน ยากแก่การตรวจพบได้ทั้งทางภาคอากาศและพื้นดิน ทำให้ฝ่ายข้าศึกส่งกำลังรุกเข้ามาเรื่อย โดยกำลังพลข้าศึกสามารถรุกเข้ามายังแดนไทยลึกกว่า 5 กิโลเมตร ยังได้ดัดแปลงภูมิประเทศในส่วนนั้น โดยการสร้างคูหลุมสนามเพลาะยาวตลอดแนว เชื่อมต่อเข้าหากันโดยตลอด ฐานบัญชาการรบเป็นบังเกอร์เทด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมระบบเครื่องปั่นไฟ มีฐานตรวจการณ์แยกย่อยส่วนหน้าแบบปิดด้วยท่อนซุงขนาดใหญ่ซึ่งติดปืนกลหนัก โดยรอบฐานทั้งหมดยังเต็มไปด้วยสนามทุ่นระเบิดนานาชนิด ทั้งแบบสังหารบุคคล หรือ แบบต่อต้านยานพาหนะ เนินที่มั่นต่างๆที่ข้าศึกยึดครองอยู่นั้น ยังสามารถยิงเอื้ออำนวยเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้อีก ทั้งนี้เนินที่หมายสำคัญทั้งหมดในบริเวณนั้น อยู่ในระยะยิงปืนใหญ่ของข้าศึกซึ่งครอบคลุมทั้งในดินแดนไทย กัมพูชาและลาว ทั้งรายล้อมไปด้วยฐานปืนและจรวดต่อสู้อากาศยาน เพื่อป้องการถูกโจมตีทางอากาศ เส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัยที่ถูกสร้างไว้ ยังคงมีการส่งกำลังบำรุงและอาวุธหนักก็ยังคงถูกส่งเข้ามายังแนวรบอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ปราสาทพระวิหาร เวียดนามได้ดัดแปลงใช้เป็นฐานคลังเก็บยุทธปัจจัย สำหรับส่งกำลังและเสบียงบำรุงฐานต่างๆ ลำธารน้ำในป่าถูกโปรยด้วยสารพิษ เพื่อหวังผลต่อการทำลายกำลังพลเขมรในค่ายอพยพในพื้นที่ของไซต์ต่างๆ ดังนั้น ตลอดแนวตะเข็บชายแดนไทย ตั้งแต่จังหวัดตราดไปจนถึงอุบลราชธานี จึงเต็มไปด้วยกำลังพลข้าศึกที่แทรกซึมอยู่อย่างหนาแน่น
เนื่องด้วยสถานการณ์สู้รบอันบีบคั้น และเงื่อนไขความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่ต้องการหยุดยั้งการขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนาม-โซเวียต ไทยเราจำต้องให้การสนับสนุนกลุ่มเขมรทั้งสามฝ่ายในการทำสงครามต่อต้าน โดยการคัดเลือกเอากำลังพลเขมร ทำการฝึก ติดอาวุธ และจัดเป็นหน่วยจรยุทธ์รบนอกแบบก่อนส่งเข้าไปยังแนวหลังข้าศึก ภารกิจหาข่าว ค้นหาฐานที่ตั้งต่างๆ หรือ เส้นทางการส่งกำลังบำรุงของข้าศึก เพื่อทำลาย ก่อกวนโจมตีฉาบฉวย หรือ บั่นทอนกำลังของข้าศึกเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว โดยหน่วยงานที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการทำสงครามพิเศษนี้ มีทั้งทหารพรานจู่โจมจากค่ายปักธงชัย โดยการตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมา ภารกิจหลักคือการค้นหาและทำลาย โจมตีก่อกวนข้าศึก ทั้งรบในฝั่งไทยและเขมร โดยส่วนมากหน่วยลับของ ทพ.จจ. หน่วยนี้ มักจะปฏิบัติการในเวลากลางคืนและถือเป็นคู่ปรับตัวฉกาจของหน่วยทหารช่าง Sapper เวียดนาม รวมถึงตำรวจพลร่ม PARU.Thai ภารกิจเช่นเดียวกับทหารพรานจากค่ายปักฯ คือ โจมตี ก่อกวน บั่นทอนกำลังข้าศึก ทั้งนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องต่อการทำสงครามพิเศษในเขมร แต่ยังไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยทั้งหมดทั้งมวลของหน่วยรบพิเศษเหล่านี้ จะได้ทำการศึกษาถึงอาวุธ เครื่องแบบ พฤติกรรมและกลยุทธ์ของข้าศึกโดยละเอียด และหน่วยพิเศษต้องทำการรบโดยใส่ชุดเดียวกันกับทหารเขมร โดยตลอดภารกิจนักรบไทยจะไม่ได้ใส่ชุดเครื่องแบบของไทยเลย
ต้นปี พ.ศ. 2528 ฮุนเซนได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และเริ่มเจรจาสันติภาพกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย แต่การเจรจาล้มเหลว กองพลทหารราบที่ 733 ของเวียดนามและ กองพลทหารราบเขมรเฮงสัมริน จึงส่งกำลังพลเข้าโจมตีเขมรฝ่ายปฏิปักษ์ทันที โดยเฉพาะบริเวณค่ายอพยพในเขต จ. อุบลราชธานี ทั้งนี้กำลังของเวียดนามซึ่งรุกไล่เข้ามาในเขตแดนไทยบริเวณช่องบกลึกประมาณ 5 กม. เข้ายึดเนินสำคัญ ๆได้แก่ เนิน 505,500,408,396,382 และ 376 ของเทือกเขาพนมดงรัก เนื่องด้วยภูมิประเทศอันมีทิวเขาลักษณะสูงข่ม หากกำลังทหารฝ่ายใดขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของเนินดังกล่าวได้ จะสามารถมองเห็นภูมิประเทศโดยรอบทั้งหมด ทั้งฝั่งไทย ลาวและกัมพูชา ดังนั้นเนินเหล่านี้จึงเป็นเนินยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางยุทธวิธีอย่างยิ่ง และข้าศึกได้วางกำลังอยู่อย่างหนาแน่นเช่นกัน
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529 ภายหลังจากการพิสูจน์ทราบถึงกองกำลังข้าศึก กองกำลังสุรนารีในฐานะกองกำลังป้องกันประเทศที่รับผิดชอบพื้นที่นี้ จึงเปิดแผนยุทธการ D-9 โดยมีคำสั่งให้กรมทหารราบเฉพาะกิจที่ 16 ค่ายบดินทรเดชา จังหวัดยโสธร เข้าปฏิบัติภารกิจผลักดันกองกำลังต่างชาติ โดยใช้กองพันทหารราบเฉพาะกิจที่162 กองกำลังทหารพรานอีก 1 กองร้อย ร้อยลาดตระเวนระยะไกลจากกองกำลังสุรนารี และกองพันทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนยิงสนับสนุน
ลุถึงปีพุทธศักราช 2530
ห้วงการรบช่วงเดือนมกราคม - กุมพาพันธ์
โดยในช่วงแรกของการบุกยึดเนินนั้น ฝ่ายเราต้องรุกจากที่ต่ำไปยังที่สูง ในขณะที่ฝ่ายข้าศึกซึ่งอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าสามารถตรวจพบการรุกคืบของฝ่ายเราได้ชัดเจน จึงระดมยิงถล่มเราด้วยอาวุธหนักนานาชนิด ทั้งปืนยิงวิถีโค้งและวิถีราบ โดยเฉพาะปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม. 122 ม.ม. และ 130 ม.ม. ในขณะที่การยิงต่อต้านปืนใหญ่ของฝ่ายเราไม่สามารถยิงหาหลักฐานได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจพบฐานปืนใหญ่ของข้าศึก และเป้าหมายอยู่ไกลกว่าระยะยิง ขณะที่ปืนใหญ่ 105 ม.ม. ของฝ่ายเราที่ใช้สนับสนุนการเข้าตีนั้น ถูกตรวจพบโดยเรดาห์ค้นหาเป้าหมายของเวียดนามซึ่งสามารถจับทิศทางเราได้ และถูกข้าศึกยิงสวนกลับภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที ฝ่ายเราประสบความเสียหายอย่างหนักและจำต้องใช้วิธีลากจูงปืนใหญ่ เมื่อยิงแล้วต้องรีบลากหนีทันทีอยู่กับที่ไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นการเคลื่อนกำลังและวางกลยุทธ์จึงเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งนี้พื้นที่โดยรอบนั้นยังเต็มไปด้วยสนามทุ่นระเบิดนานาชนิด ซึ่งคอยตัดกำลังพลฝ่ายเราทุกครั้งในการรุกเนินที่หมาย จนในที่สุดเราสามารถเข้ายึดควบคุมเนิน 396 และ 436 ไว้ได้
ระหว่างการรุกคืบหน้าเนิน 382 เนิน 408 สามารถรุกคืบได้จนถึงระยะ 100 เมตร ท่ามกลางการปะทะและยิงปืนใหญ่สวนกันไปมาตลอดการดำเนินกลยุทธ์ระหว่างการเข้าตี ฝ่ายเราต้องรุกโดยใช้วิธีกู้ทุ่นระเบิดไปตลอดทาง และมักถูกข้าศึกยิงถล่มด้วยปืนไร้แรงสะท้อนและปืนยิงวิถีโค้งขนาดต่างๆ เพื่อตัดรอนกำลังพลไม่ให้รุกคืบหน้าขึ้นมาได้ ระหว่างที่การยิงปะทะกันยังคงดำเนินไปด้วยความระอุนั้น ฝ่ายเราได้วิทยุขอการยิงสนับสนุนเพื่อเปิดทางในการรุก แต่การส่งข่าวของวิทยุสื่อสารถูกข้าศึกจับคลื่นได้ ข้าศึกสามารถเลียนเสียงภาษาไทยเพื่อลวงภารกิจ และส่งคลื่นรบกวนตลอดเวลาจึงไม่สามารถใช้วิทยุสื่อสารได้ดี ทำให้ไม่สามารถส่งกำลังบำรุงขึ้นมาได้ การปะทะกันในแต่ละครั้งนานเป็นวันจนถึงค่ำคืน ฝ่ายเราบางส่วนต้องถอนกำลังลงมาเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ โดยยังคงวางกำลังในส่วนของอาสาสมัครทหารพรานไว้ เพื่อรักษาพื้นที่ที่สามารถรุกคืบมาได้ การปะทะกันในยามค่ำคืนยังคงมีอยู่ตลอดเวลาราตรี เนื่องจากฝ่ายเวียดนามได้ส่งหน่วยทหารช่างหรือหน่วยSapper เพื่อลอบเข้ามาวางกับดักระเบิดในพื้นที่โดยรอบเนินอีกครั้ง ในขณะที่กำลังบางส่วนของฝ่ายเราได้ถูกส่งเข้ามาเพิ่มเติม แต่สถานการณ์ก็เป็นเช่นเดิมเหมือนครั้งแรก ฝ่ายเราไม่สามารถรุกคืบหน้าไปได้อีก และต้องถอนกำลังลงกลับมาเพื่อปรับกลยุทธ์ใหม่
ห้วงการรบช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ฝ่ายยุทธการได้เพิ่มเติมกำลังรบจาก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 6 ส่งเข้าตีต่อที่หมายเนิน 382 โดยการโอบตีข้าศึกทางด้านปีกซ้ายและขวา อาสาฯและทหารกล้าบุกเข้ายังเนินที่หมายอีกครั้ง และถูกต้านทานอย่างหนักจากฝ่ายข้าศึกที่ระดมยิงเข้าใส่ยังชุดโจมตีของฝ่ายเรา กำลังทางด้านซ้ายสามารถรุกขึ้นเนินถึงขั้นเข้าตะลุมบอนกับข้าศึก โดยการรบประชิดด้วยการยิงปืนเล็กและใช้เครื่องฉีดไฟ ข้าศึกจึงได้ถอนตัวออกจากที่มั่นไปยังหลังเนินวางกำลังในแนวตั้งรับอีกแนว และได้ทำการยิงต่อต้านฝ่ายเราอย่างรุนแรงและหนาแน่นอีกครั้ง
ทางด้านเนิน 408 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 16 ได้ใช้กำลัง 8 ชุดปฏิบัติการจากกองร้อยทหารราบ และ 4 ชุดปฏิบัติการจากกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล แทรกซึมโอบล้อมทางด้านขวาของเนิน 408 แล้วรวมกำลังเข้าดำเนินกลยุทธ์ต่อที่หมาย โดยใช้กำลังเข้าตีหลักจากชุดปฏิบัติการขนาดเล็กของ 3 กองร้อยทหารพรานจู่โจม ดำเนินกลยุทธ์เข้าตีต่อที่หมายเนิน 408 ซึ่งได้พยายามเข้าตีถึง 3 ครั้ง จึงสามารถเข้ายึดเนินที่หมาย 408 และ 382 ได้เพียงบางส่วน แต่ก็ถูกข้าศึกยิงต้านทานอย่างหนัก ในขณะที่ฝ่ายเราพยายามรุกคืบไปให้ถึงบังเกอร์ข้าศึกที่อยู่ด้านบนเนิน เหลือระยะประมาณ 80 - 100 เมตร ก็ถูกระดมยิงด้วยอาวุธทุกชนิด และ ปืนใหญ่ชนิดต่างๆมากกว่า 200 นัด โดยข้าศึกนั้นยิงอย่างต่อเนื่องด้วยความแม่นยำ ทำให้ฝ่ายเราได้รับการสูญเสียอย่างหนัก จึงต้องรีบถอนตัวออกจากการรบด้วยวิธีการกลิ้งตัวหรือวิ่งลงจากเนินโดยเร็ว ต่อมาเมื่อปืนใหญ่ฝ่ายตรงข้ามสิ้นเสียงคำรามลง ฝ่ายเราจึงได้จัดชุดปฏิบัติการกู้ศพเพื่อนทหารลงจากเนิน 382และ 408 เพื่อทำการส่งกลับยังแนวหลัง กลับได้พบกับข้อความภาษาไทยเขียนอย่างเย้ยหยันว่า"เอากรมทหารราบที่ 23 มาเจอกัน" สาเหตุที่พบข้อความนี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่พล.ร. 7 กรม.ร. 733 ของเวียดนาม กองพลนี้ที่รุกล้ำชายแดนไทยที่ช่องบก ขณะนั้นได้รุกล้ำอธิปไตยด้านอำเภอสังขะ และ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และได้ปะทะกับ พัน.ร.ฉก. 231 ของกรมทหารราบที่ 23 ซึ่งได้สังหารทหารเวียดนาม และยึดยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นต่อกองทัพเวียดนาม และหมายแก้แค้นคืนในการรบครั้งนี้ที่ เนิน 382 และ 408 ด้านช่องบก ก็เพื่อเป็นการตอบโต้ทหารไทยคืน.....
กัมพูชา บูชากรรม ตอนที่ 14 (จบ)
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด บทความต่อไปนี้ มีภาพและเนื้อหารุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณด้วยครับ
ตอนที่ 24 สมรภูมิช่องบก
จากเหตุการณ์สู้รบระหว่างกองทัพเวียดนามและเขมรเฮง สัมริน ต่อแนวร่วมเขมรสามฝ่าย ยังผลให้กองกำลังติดอาวุธและประชาชนชาวกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย และหนีภัยจากการสู้รบเข้าเขตประเทศไทย ทั้งนี้กองทัพเวียดนาม-เฮง สัมริน ยังบุกโจมตีค่ายอพยพฐานที่มั่นกลุ่มเขมรสามฝ่าย โดยส่งกำลังแทรกซึมรุกล้ำและเกิดการปะทะระหว่างกองทัพไทยตลอดแนวชายแดน แม้ทหาร ตำรวจ และเหล่าอาสาฯ ได้เข้าผลักดันรุกรบอย่างเต็มสามารถ แต่กองกำลังของข้าศึกยังคงล้ำเข้าดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต บริเวณช่องบก อ.น้ำยืน จ. อุบลราชธานี กองทัพเวียดนามได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาโดยมีเจตนาตั้งฐานที่มั่นถาวรเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารลึกเข้ามาในแดนไทย โดยใช้แผน K5 ขยายอิทธิพลเข้ากัมพูชาและชายแดนไทย ซึ่งภูมิประเทศบริเวณนี้เต็มไปด้วยผืนป่าอันรกทึบ และทิวเขาสูงสลับซับซ้อน ยากแก่การตรวจพบได้ทั้งทางภาคอากาศและพื้นดิน ทำให้ฝ่ายข้าศึกส่งกำลังรุกเข้ามาเรื่อย โดยกำลังพลข้าศึกสามารถรุกเข้ามายังแดนไทยลึกกว่า 5 กิโลเมตร ยังได้ดัดแปลงภูมิประเทศในส่วนนั้น โดยการสร้างคูหลุมสนามเพลาะยาวตลอดแนว เชื่อมต่อเข้าหากันโดยตลอด ฐานบัญชาการรบเป็นบังเกอร์เทด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมระบบเครื่องปั่นไฟ มีฐานตรวจการณ์แยกย่อยส่วนหน้าแบบปิดด้วยท่อนซุงขนาดใหญ่ซึ่งติดปืนกลหนัก โดยรอบฐานทั้งหมดยังเต็มไปด้วยสนามทุ่นระเบิดนานาชนิด ทั้งแบบสังหารบุคคล หรือ แบบต่อต้านยานพาหนะ เนินที่มั่นต่างๆที่ข้าศึกยึดครองอยู่นั้น ยังสามารถยิงเอื้ออำนวยเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้อีก ทั้งนี้เนินที่หมายสำคัญทั้งหมดในบริเวณนั้น อยู่ในระยะยิงปืนใหญ่ของข้าศึกซึ่งครอบคลุมทั้งในดินแดนไทย กัมพูชาและลาว ทั้งรายล้อมไปด้วยฐานปืนและจรวดต่อสู้อากาศยาน เพื่อป้องการถูกโจมตีทางอากาศ เส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัยที่ถูกสร้างไว้ ยังคงมีการส่งกำลังบำรุงและอาวุธหนักก็ยังคงถูกส่งเข้ามายังแนวรบอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ปราสาทพระวิหาร เวียดนามได้ดัดแปลงใช้เป็นฐานคลังเก็บยุทธปัจจัย สำหรับส่งกำลังและเสบียงบำรุงฐานต่างๆ ลำธารน้ำในป่าถูกโปรยด้วยสารพิษ เพื่อหวังผลต่อการทำลายกำลังพลเขมรในค่ายอพยพในพื้นที่ของไซต์ต่างๆ ดังนั้น ตลอดแนวตะเข็บชายแดนไทย ตั้งแต่จังหวัดตราดไปจนถึงอุบลราชธานี จึงเต็มไปด้วยกำลังพลข้าศึกที่แทรกซึมอยู่อย่างหนาแน่น
เนื่องด้วยสถานการณ์สู้รบอันบีบคั้น และเงื่อนไขความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่ต้องการหยุดยั้งการขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนาม-โซเวียต ไทยเราจำต้องให้การสนับสนุนกลุ่มเขมรทั้งสามฝ่ายในการทำสงครามต่อต้าน โดยการคัดเลือกเอากำลังพลเขมร ทำการฝึก ติดอาวุธ และจัดเป็นหน่วยจรยุทธ์รบนอกแบบก่อนส่งเข้าไปยังแนวหลังข้าศึก ภารกิจหาข่าว ค้นหาฐานที่ตั้งต่างๆ หรือ เส้นทางการส่งกำลังบำรุงของข้าศึก เพื่อทำลาย ก่อกวนโจมตีฉาบฉวย หรือ บั่นทอนกำลังของข้าศึกเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว โดยหน่วยงานที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการทำสงครามพิเศษนี้ มีทั้งทหารพรานจู่โจมจากค่ายปักธงชัย โดยการตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมา ภารกิจหลักคือการค้นหาและทำลาย โจมตีก่อกวนข้าศึก ทั้งรบในฝั่งไทยและเขมร โดยส่วนมากหน่วยลับของ ทพ.จจ. หน่วยนี้ มักจะปฏิบัติการในเวลากลางคืนและถือเป็นคู่ปรับตัวฉกาจของหน่วยทหารช่าง Sapper เวียดนาม รวมถึงตำรวจพลร่ม PARU.Thai ภารกิจเช่นเดียวกับทหารพรานจากค่ายปักฯ คือ โจมตี ก่อกวน บั่นทอนกำลังข้าศึก ทั้งนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องต่อการทำสงครามพิเศษในเขมร แต่ยังไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยทั้งหมดทั้งมวลของหน่วยรบพิเศษเหล่านี้ จะได้ทำการศึกษาถึงอาวุธ เครื่องแบบ พฤติกรรมและกลยุทธ์ของข้าศึกโดยละเอียด และหน่วยพิเศษต้องทำการรบโดยใส่ชุดเดียวกันกับทหารเขมร โดยตลอดภารกิจนักรบไทยจะไม่ได้ใส่ชุดเครื่องแบบของไทยเลย
ต้นปี พ.ศ. 2528 ฮุนเซนได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และเริ่มเจรจาสันติภาพกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย แต่การเจรจาล้มเหลว กองพลทหารราบที่ 733 ของเวียดนามและ กองพลทหารราบเขมรเฮงสัมริน จึงส่งกำลังพลเข้าโจมตีเขมรฝ่ายปฏิปักษ์ทันที โดยเฉพาะบริเวณค่ายอพยพในเขต จ. อุบลราชธานี ทั้งนี้กำลังของเวียดนามซึ่งรุกไล่เข้ามาในเขตแดนไทยบริเวณช่องบกลึกประมาณ 5 กม. เข้ายึดเนินสำคัญ ๆได้แก่ เนิน 505,500,408,396,382 และ 376 ของเทือกเขาพนมดงรัก เนื่องด้วยภูมิประเทศอันมีทิวเขาลักษณะสูงข่ม หากกำลังทหารฝ่ายใดขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของเนินดังกล่าวได้ จะสามารถมองเห็นภูมิประเทศโดยรอบทั้งหมด ทั้งฝั่งไทย ลาวและกัมพูชา ดังนั้นเนินเหล่านี้จึงเป็นเนินยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางยุทธวิธีอย่างยิ่ง และข้าศึกได้วางกำลังอยู่อย่างหนาแน่นเช่นกัน
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529 ภายหลังจากการพิสูจน์ทราบถึงกองกำลังข้าศึก กองกำลังสุรนารีในฐานะกองกำลังป้องกันประเทศที่รับผิดชอบพื้นที่นี้ จึงเปิดแผนยุทธการ D-9 โดยมีคำสั่งให้กรมทหารราบเฉพาะกิจที่ 16 ค่ายบดินทรเดชา จังหวัดยโสธร เข้าปฏิบัติภารกิจผลักดันกองกำลังต่างชาติ โดยใช้กองพันทหารราบเฉพาะกิจที่162 กองกำลังทหารพรานอีก 1 กองร้อย ร้อยลาดตระเวนระยะไกลจากกองกำลังสุรนารี และกองพันทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนยิงสนับสนุน
ลุถึงปีพุทธศักราช 2530
ห้วงการรบช่วงเดือนมกราคม - กุมพาพันธ์
โดยในช่วงแรกของการบุกยึดเนินนั้น ฝ่ายเราต้องรุกจากที่ต่ำไปยังที่สูง ในขณะที่ฝ่ายข้าศึกซึ่งอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าสามารถตรวจพบการรุกคืบของฝ่ายเราได้ชัดเจน จึงระดมยิงถล่มเราด้วยอาวุธหนักนานาชนิด ทั้งปืนยิงวิถีโค้งและวิถีราบ โดยเฉพาะปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม. 122 ม.ม. และ 130 ม.ม. ในขณะที่การยิงต่อต้านปืนใหญ่ของฝ่ายเราไม่สามารถยิงหาหลักฐานได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจพบฐานปืนใหญ่ของข้าศึก และเป้าหมายอยู่ไกลกว่าระยะยิง ขณะที่ปืนใหญ่ 105 ม.ม. ของฝ่ายเราที่ใช้สนับสนุนการเข้าตีนั้น ถูกตรวจพบโดยเรดาห์ค้นหาเป้าหมายของเวียดนามซึ่งสามารถจับทิศทางเราได้ และถูกข้าศึกยิงสวนกลับภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที ฝ่ายเราประสบความเสียหายอย่างหนักและจำต้องใช้วิธีลากจูงปืนใหญ่ เมื่อยิงแล้วต้องรีบลากหนีทันทีอยู่กับที่ไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นการเคลื่อนกำลังและวางกลยุทธ์จึงเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งนี้พื้นที่โดยรอบนั้นยังเต็มไปด้วยสนามทุ่นระเบิดนานาชนิด ซึ่งคอยตัดกำลังพลฝ่ายเราทุกครั้งในการรุกเนินที่หมาย จนในที่สุดเราสามารถเข้ายึดควบคุมเนิน 396 และ 436 ไว้ได้
ระหว่างการรุกคืบหน้าเนิน 382 เนิน 408 สามารถรุกคืบได้จนถึงระยะ 100 เมตร ท่ามกลางการปะทะและยิงปืนใหญ่สวนกันไปมาตลอดการดำเนินกลยุทธ์ระหว่างการเข้าตี ฝ่ายเราต้องรุกโดยใช้วิธีกู้ทุ่นระเบิดไปตลอดทาง และมักถูกข้าศึกยิงถล่มด้วยปืนไร้แรงสะท้อนและปืนยิงวิถีโค้งขนาดต่างๆ เพื่อตัดรอนกำลังพลไม่ให้รุกคืบหน้าขึ้นมาได้ ระหว่างที่การยิงปะทะกันยังคงดำเนินไปด้วยความระอุนั้น ฝ่ายเราได้วิทยุขอการยิงสนับสนุนเพื่อเปิดทางในการรุก แต่การส่งข่าวของวิทยุสื่อสารถูกข้าศึกจับคลื่นได้ ข้าศึกสามารถเลียนเสียงภาษาไทยเพื่อลวงภารกิจ และส่งคลื่นรบกวนตลอดเวลาจึงไม่สามารถใช้วิทยุสื่อสารได้ดี ทำให้ไม่สามารถส่งกำลังบำรุงขึ้นมาได้ การปะทะกันในแต่ละครั้งนานเป็นวันจนถึงค่ำคืน ฝ่ายเราบางส่วนต้องถอนกำลังลงมาเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ โดยยังคงวางกำลังในส่วนของอาสาสมัครทหารพรานไว้ เพื่อรักษาพื้นที่ที่สามารถรุกคืบมาได้ การปะทะกันในยามค่ำคืนยังคงมีอยู่ตลอดเวลาราตรี เนื่องจากฝ่ายเวียดนามได้ส่งหน่วยทหารช่างหรือหน่วยSapper เพื่อลอบเข้ามาวางกับดักระเบิดในพื้นที่โดยรอบเนินอีกครั้ง ในขณะที่กำลังบางส่วนของฝ่ายเราได้ถูกส่งเข้ามาเพิ่มเติม แต่สถานการณ์ก็เป็นเช่นเดิมเหมือนครั้งแรก ฝ่ายเราไม่สามารถรุกคืบหน้าไปได้อีก และต้องถอนกำลังลงกลับมาเพื่อปรับกลยุทธ์ใหม่
ห้วงการรบช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ฝ่ายยุทธการได้เพิ่มเติมกำลังรบจาก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 6 ส่งเข้าตีต่อที่หมายเนิน 382 โดยการโอบตีข้าศึกทางด้านปีกซ้ายและขวา อาสาฯและทหารกล้าบุกเข้ายังเนินที่หมายอีกครั้ง และถูกต้านทานอย่างหนักจากฝ่ายข้าศึกที่ระดมยิงเข้าใส่ยังชุดโจมตีของฝ่ายเรา กำลังทางด้านซ้ายสามารถรุกขึ้นเนินถึงขั้นเข้าตะลุมบอนกับข้าศึก โดยการรบประชิดด้วยการยิงปืนเล็กและใช้เครื่องฉีดไฟ ข้าศึกจึงได้ถอนตัวออกจากที่มั่นไปยังหลังเนินวางกำลังในแนวตั้งรับอีกแนว และได้ทำการยิงต่อต้านฝ่ายเราอย่างรุนแรงและหนาแน่นอีกครั้ง
ทางด้านเนิน 408 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 16 ได้ใช้กำลัง 8 ชุดปฏิบัติการจากกองร้อยทหารราบ และ 4 ชุดปฏิบัติการจากกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล แทรกซึมโอบล้อมทางด้านขวาของเนิน 408 แล้วรวมกำลังเข้าดำเนินกลยุทธ์ต่อที่หมาย โดยใช้กำลังเข้าตีหลักจากชุดปฏิบัติการขนาดเล็กของ 3 กองร้อยทหารพรานจู่โจม ดำเนินกลยุทธ์เข้าตีต่อที่หมายเนิน 408 ซึ่งได้พยายามเข้าตีถึง 3 ครั้ง จึงสามารถเข้ายึดเนินที่หมาย 408 และ 382 ได้เพียงบางส่วน แต่ก็ถูกข้าศึกยิงต้านทานอย่างหนัก ในขณะที่ฝ่ายเราพยายามรุกคืบไปให้ถึงบังเกอร์ข้าศึกที่อยู่ด้านบนเนิน เหลือระยะประมาณ 80 - 100 เมตร ก็ถูกระดมยิงด้วยอาวุธทุกชนิด และ ปืนใหญ่ชนิดต่างๆมากกว่า 200 นัด โดยข้าศึกนั้นยิงอย่างต่อเนื่องด้วยความแม่นยำ ทำให้ฝ่ายเราได้รับการสูญเสียอย่างหนัก จึงต้องรีบถอนตัวออกจากการรบด้วยวิธีการกลิ้งตัวหรือวิ่งลงจากเนินโดยเร็ว ต่อมาเมื่อปืนใหญ่ฝ่ายตรงข้ามสิ้นเสียงคำรามลง ฝ่ายเราจึงได้จัดชุดปฏิบัติการกู้ศพเพื่อนทหารลงจากเนิน 382และ 408 เพื่อทำการส่งกลับยังแนวหลัง กลับได้พบกับข้อความภาษาไทยเขียนอย่างเย้ยหยันว่า"เอากรมทหารราบที่ 23 มาเจอกัน" สาเหตุที่พบข้อความนี้ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่พล.ร. 7 กรม.ร. 733 ของเวียดนาม กองพลนี้ที่รุกล้ำชายแดนไทยที่ช่องบก ขณะนั้นได้รุกล้ำอธิปไตยด้านอำเภอสังขะ และ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และได้ปะทะกับ พัน.ร.ฉก. 231 ของกรมทหารราบที่ 23 ซึ่งได้สังหารทหารเวียดนาม และยึดยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นต่อกองทัพเวียดนาม และหมายแก้แค้นคืนในการรบครั้งนี้ที่ เนิน 382 และ 408 ด้านช่องบก ก็เพื่อเป็นการตอบโต้ทหารไทยคืน.....