กำลังทางเรือเป็นกำลังที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทย ด้วยความสำคัญของเขตแดนทางทะเล ทรัพยากรธรรมชาติ
การขนส่งสินค้า ความมั่นคงทางพลังงาน นอกจากนั้น ในปัจจุบัน การกระทำผิดกฏหมายทางทะเลและการกระทำอันเป็นโจรสลัด
ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งยิ่งทำให้กำลังทางเรือมีความสำคัญในปัจจุบัน
ด้วยลักษณะของภารกิจและความรุนแรงของภัยคุกคาม กองทัพเรือจึงเริ่มพิจารณาจัดหาเรือชนิดใหม่เข้าประจำการ
เพื่อตอบสนองภัยคุกคามในระดับต่ำ ซึ่งเรือที่มีความประหยัด แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้ตามที่ต้องการก็คือ
เรือตรวจการณ์ ไกลฝั่งหรือ Offshore Patrol Vessel (OPV)
ยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือนำมาซึ่งการกำหนดความต้องการเรือ OPV จำนวน 6 ลำในอีก 10 ปีข้างหน้า
เพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ตั้งแต่ 75-200 ไมล์ทะเล และได้จัดหาแล้วจำนวน 2 ลำคือ
เรือหลวงปัตตานีและเรือหลวงนราธิวาส ยังคงเหลืออีก 4 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวนตรวจการณ์รักษาฝั่ง
ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ภายใต้งบประมาณ 1,695 ล้านบาท กองทัพเรือได้เลือกให้แบบเรือของกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
และบริษัท BVT Surface Fleet หรือ BAE Systems Surface Ships โดยใช้แบบเรือชั้น Port of Spain
ของ BAE Systems Surface Ships มาปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของกองทัพเรือไทย
และดำเนินการต่อที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช โดยมีกำหนดเข้าประจำการในช่วงกลางปี 2555 นี้
โดยจะได้รับพระราชทานชื่อเรือว่าเรือหลวงกระบี่
เรือลำนี้ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของทั้งกองทัพเรือไทย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช และประเทศไทย
ได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีในการต่อเรือที่ใช้แบบ เรือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย
ให้ก้าวหน้าขึ้นต่อไป
คุณสมบัติของเรือหลวงกระบี่
เรือ ตกก. ชุด ร.ล.กระบี่ (modified Port of Spain class OPV)
ชื่อเรือ หมายเลข และวันที่ขึ้นระวางประจำการ
551 ร.ล.กระบี่ (2555)
ผู้สร้าง
กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด BAE Systems Surface Ships
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,900 ตัน
ความยาว 90.5 ม. ความกว้าง 13.5 ม. กินน้ำลึก 3.8 ม.
ความเร็วสูงสุด 25 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 3,500 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 89 นาย
เครื่องจักร
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
ระบบเกียร์ ZF 53600 NR2H
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Agusta Westland Super Lynx 300 1 เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant
เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD Mk.2
เรดาร์เดินเรือ 2 ชุด
ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)
ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
ระบบรวมการควบคุมเครื่องจักร (IPMS) Servowatch
อ้างอิงจาก
http://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/41-rtn-photos/404-tafgallery55.html
[CR] ๙๙ มาดูการใช้ภาษีพวกเรา ของ กองทัพเรือ
กำลังทางเรือเป็นกำลังที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศไทย ด้วยความสำคัญของเขตแดนทางทะเล ทรัพยากรธรรมชาติ
การขนส่งสินค้า ความมั่นคงทางพลังงาน นอกจากนั้น ในปัจจุบัน การกระทำผิดกฏหมายทางทะเลและการกระทำอันเป็นโจรสลัด
ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งยิ่งทำให้กำลังทางเรือมีความสำคัญในปัจจุบัน
ด้วยลักษณะของภารกิจและความรุนแรงของภัยคุกคาม กองทัพเรือจึงเริ่มพิจารณาจัดหาเรือชนิดใหม่เข้าประจำการ
เพื่อตอบสนองภัยคุกคามในระดับต่ำ ซึ่งเรือที่มีความประหยัด แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้ตามที่ต้องการก็คือ
เรือตรวจการณ์ ไกลฝั่งหรือ Offshore Patrol Vessel (OPV)
ยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือนำมาซึ่งการกำหนดความต้องการเรือ OPV จำนวน 6 ลำในอีก 10 ปีข้างหน้า
เพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ตั้งแต่ 75-200 ไมล์ทะเล และได้จัดหาแล้วจำนวน 2 ลำคือ
เรือหลวงปัตตานีและเรือหลวงนราธิวาส ยังคงเหลืออีก 4 ลำ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวนตรวจการณ์รักษาฝั่ง
ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ภายใต้งบประมาณ 1,695 ล้านบาท กองทัพเรือได้เลือกให้แบบเรือของกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
และบริษัท BVT Surface Fleet หรือ BAE Systems Surface Ships โดยใช้แบบเรือชั้น Port of Spain
ของ BAE Systems Surface Ships มาปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของกองทัพเรือไทย
และดำเนินการต่อที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช โดยมีกำหนดเข้าประจำการในช่วงกลางปี 2555 นี้
โดยจะได้รับพระราชทานชื่อเรือว่าเรือหลวงกระบี่
เรือลำนี้ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของทั้งกองทัพเรือไทย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช และประเทศไทย
ได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีในการต่อเรือที่ใช้แบบ เรือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย
ให้ก้าวหน้าขึ้นต่อไป
คุณสมบัติของเรือหลวงกระบี่
เรือ ตกก. ชุด ร.ล.กระบี่ (modified Port of Spain class OPV)
ชื่อเรือ หมายเลข และวันที่ขึ้นระวางประจำการ
551 ร.ล.กระบี่ (2555)
ผู้สร้าง
กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด BAE Systems Surface Ships
คุณลักษณะ
ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,900 ตัน
ความยาว 90.5 ม. ความกว้าง 13.5 ม. กินน้ำลึก 3.8 ม.
ความเร็วสูงสุด 25 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วเดินทาง 3,500 ไมล์
กำลังพลประจำเรือ 89 นาย
เครื่องจักร
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel 16V 23/33D กำลัง 7,200 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
ระบบเกียร์ ZF 53600 NR2H
เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
อาวุธ
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Agusta Westland Super Lynx 300 1 เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant
เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD Mk.2
เรดาร์เดินเรือ 2 ชุด
ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSB2525 (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Variant)
ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
ระบบรวมการสื่อสาร (ICS) Thales FICS (Fully Integrated Communications System)
ระบบรวมการควบคุมเครื่องจักร (IPMS) Servowatch
อ้างอิงจาก http://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/41-rtn-photos/404-tafgallery55.html
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น