(ตัวสกุ๊ปนี้อาจจะมีคำที่เขียดผิดนะครับ)
กองทัพเรือกำลังอยู่ในระหว่างการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ ซึ่งจะเป็นลำที่สี่ต่อจากเรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส และเรือหลวงกระบี่ โดยมีคู่สัญญาเป็นบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือที่ยังคงร่วมมือกับบริษัท BAE System ปรับปรุงแบบเรือชั้น River Batch II ให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือที่เปลี่ยนไปในเรือลำนี้
และคาดว่ากองทัพเรือน่าจะขอพระราชทานชื่อว่าเรือหลวงตรัง
อู่กรุงเทพ ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่เก่าแก่กว่า 150 ปีของกองทัพเรือกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและเพิ่งศักยภาพของบริษัทให้สามารถแข่งขันได้ TAF สัมภาษณ์นาวาเอก พิชเยนทร์ ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการของอู่กรุงเทพ ที่จะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของกองทัพเรือไทย และก้าวต่อไปของอู่กรุงเทพในการพัฒนาเพื่อเป็นบริษัทต่อเรือที่มีความสามารถและแข่งขันได้
Q:บทบาทของอู่กรุงเทพในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง?
A:ในเรือหลวงกระบี่ลำแรกนั้น อู่ราชนาวีมหิดลทำการต่อ Superstructure และที่เหลือให้อู่กรุงเทพต่อเนื่องจากบุคลากรของกองทัพเรือไม่เพียงพอ ส่วนในลำนี้อู่กรุงเทพทำหน้าที่ส่งมอบพัสดุและให้คำแนะนำทางเทคนิค รวมถึงต่อเรือบางส่วน โดยอู่ราชนาวีมหิดลของกองทัพเรือเป็นคนต่อส่วนที่เหลือ พร้อมทั้งแบ่งงานให้กับบริษัทเอกชนอื่น ๆ ด้วย โดยรวมแล้วอู่กรุงเทพจะต่อทั้งหมด 3 บล็อค บริษัท ช. ทวี ดอลลาเชี่ยนต่อ 10 บล็อค และอู่ราชนาวีมหิดลต่อเอง 7 บล็อค
Q:แบบเรือลำนี้ยังใช้แบบเรือเก่าหรือไม่หรือใช้แบบใหม่เลย?
A:เรายังใช้ต้นแบบเรือ River class batch II ซึ่งนำมาต่อเป็นเรือหลวงกระบี่ แต่เนื่องจาก Staff requirement ของกองทัพเรือทำให้เรือลำที่สองไม่เหมือนเรือหลวงกระบี่ ทำให้เรานำแบบของเรือหลวงกระบี่มาปรับปรุงให้เป็นเรือลำที่สอง เช่น ดาดฟ้าซึ่งเราต้องย่อ Superstructure ไปประมาณ 3 เมตรเพื่อให้ SH-60B Sea Hawk ลงได้ ตัว Main Deck ก็ต้องแข็งแรงมากขึ้น และ Superstructure เดิมก็ไม่ได้ทำให้รองรับจรวด พอติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำก็ต้องเสริมความแข็งแรงลงไปจนถึงผนังใต้แนวน้ำ หัวเรือจะมีเป้าหลวง ดังนั้นแบบเรือต้องปรับใหม่หมดเลย ในขณะเดียวกันเรือยนต์และเครนก็เปลี่ยน ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนเยอะ
Q:การเปลี่ยนนี้ใครเป็นคนทำแบบใหม่?
A:คนไทยทำเอง เพราะลิขสิทธิ์ที่เราได้คือ River class batch II แบบเดียวกับที่ต่อให้ตริริแดดแอนด์โตแปโก ซึ่ง BAE ไม่ได้ทำอะไรเลย ทุกอย่างไม่เหมือนกับเรา ปืนก็ต่างจากเรา พอเรานำมาทำเป็นเรือหลวงกระบี่ก็ทำแท่นปืนหัวใหม่จากปืน 30 มม. ให้เป็นปืน 76/62 ส่วนปืน 30 มม. ที่ติดด้านข้างก็ไม่มีในแบบ เราก็ต้องมาดัดแปลง ในแบบเรือลำใหม่นี้ปืน 30 มม. ยังจะเหมือนกับเรือกระบี่อยู่ แต่ปืนเรือจะเปลี่ยนเป็น 76/62 Super Rapid และเป็นปืนมือหนึ่งของใหม่ ซึ่งต่างจากปืนของเรือหลวงกระบี่ที่เป็นมือสองมาปรับปรุง เมื่อรวมกับจรวด ระบบอำนวยการรบ และอาวุธต่าง ๆ จึงทำให้ลำนี้แพงกว่าเรือหลวงกระบี่
Q:ทำไมกองทัพเรือถึงอยากติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ?
A:ถ้ามองลึก ๆ นั้น กองทัพเรือไม่มีอำนาจการยิงจากเรือโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) มาพักหนึ่งแล้ว ซึ่งทำให้อำนาจการยิงลดลงมาก ดังนั้นกองเรือตรวจอ่าวจึงต้องเสริมอำนาจการยิงเพื่อทดแทนอำนาจการยิงเดิม เรือลำใหม่นี้จึงต้องติดจรวด
Q:ทำไมถึงไม่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์?
A:เรือลำนี้จริง ๆ ถูกออกแบบมาให้วิ่งที่ 24 น็อต แต่ลำนี้ตอนแรกคิดว่าจะต่อความยาวเพิ่มอีก 3 เมตร ซึ่งทำให้ความเร็วมากขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย แต่เมื่อยืดความยาวออกมาแล้วจะต้องติดโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้รับกับ Sea Hawk ก็จะเหมือนกับรถปิ๊กอัพไปใส่หลังคาสูง ซึ่งทำให้ความเร็วลดลงไปเอง และการต่อความยาวออกไปอาจจะทำให้เรือต้องทำ Tank Test ใหม่ ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับโครงการ และอาจมีปัญหาด้านการเลี้ยว ดังนั้นเราจึงใช้การลดความยาว Superstructure ลงแต่ก็ไม่ยาวพอที่จะติดตั้งโรงเก็บได้ จึงไม่มีโรงเก็บมาด้วย การลด Superstructure ก็จะเป็นการย้ายตำแหน่งของห้องเก็บอุปกรณ์ของนักบิน และย้ายที่เก็บอาวุธและกระสุนลงด้านล่าง และนำอุปกรณ์ของจรวดไปใส่ไว้บริเวณปล่องควัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ถูกใช้เกือบหมดแล้ว ถ้าจะติดอาวุธเพิ่มเช่น จรวดต่อสู้อากาศยาน คงต้องเปลี่ยนแบบเรือใหม่
แต่จริง ๆ แล้วถ้ากองทัพเรือให้งบประมาณเพิ่มก็สามารถทำ Tank Test และปรับแบบได้มากกว่านี้ ซึ่งเรากำลังคุยกับ BAE ที่เป็นเจ้าของแบบว่าสำหรับเรือ 2 ลำหลังนั้นจะเสนอแบบเรือในลักษณะใดให้กับกองทัพเรือ ซึ่ง BAE ก็กำลังเสนอแบบเรือชั้น Khareef ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์มาด้วย
Q:จุดแข็งของแบบเรือ River Class นี้คืออะไร?
A:จุดแข็งที่เห็นได้ชัดจากการใช้งานจริงคือบริเวณหัวเรือ ซึ่งเราพิสูจน์มาแล้วจากการเดินทางไปร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติที่ออสเตรเลียที่ต้องผ่านทะเลที่มีความรุนแรงถึง Sea State 5 กับเรือที่เพิ่งส่งมอบและออกทะเลทางไกลครั้งแรก แต่เรือก็มีเสถียรภาพและความคล่องตัวดีมาก
Q:เครื่องจักรใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
A:ยังใช้ตราอักษรเดิม โครงเครื่องเดิม แต่เทอร์โบชาร์จให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เข้ากับกฎเกณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง แต่ความเร็วและแรงม้าไม่ได้ต่างจากเดิม
Q:เรือลำนี้ต่อเป็นมาตรฐานทางทหารหรือมาตรฐานพลเรือน?
A:คือแบบเรือลำนี้มาจากแบบเรือตรวจอ่าว สหราชอาณาจักรก็ใช้ในกองเรือตรวจอ่าวหรือกองเรือป้องกันฝั่ง ซึ่งข้อมูลจากบริษัทที่เป็นเจ้าของแบบนั้นพบว่าถ้าเป็นฟริเกตุโครงสร้างจะซับซ้อนกว่านี้ จะแข็งแรงและทนต่อการรบมากกว่า แต่เรือลำนี้ก็มี Water Tight Compartments ที่ออกแบบตามแบบของเรือรบ ดังนั้นถึงถูกยิงก็สามารถจำกัดความเสียหายได้ แต่ถ้าเป็นฟริเกตุหรือคอร์แวตต์นั้น การออกแบบหรือว่าเหล็กที่ใช้นั้นมันจะทนต่อความรบกว่า ซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งหรือ OPV นั้นยังไม่จัดเป็นเรือรบที่ใช้ในการสงครามโดยตรง
Q:จริง ๆ แล้วถ้าให้คนไทยเราปรับแบบทำกันเอง ขยายแบบเพื่อให้ถึงการต่อเรือฟริเกตนั้นทำได้หรือไม่?
A:อันนี้ถ้าไม่พูดถึงข้อกฎหมายในด้านลิขสิทธิ์ของแบบที่ BAE เป็นเจ้าของ และลองสมมุติว่าลองยืดกลางลำสัก 15 เมตรให้เป็นเรือในระดับ 110 เมตร ยืนยันว่าคนไทยทำได้ เพราะคนของบริษัทอู่กรุงเทพปัจจุบันที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นทำกันเป็นแล้ว เคยมือแล้ว
Q:ถ้าจะต่อเรือฟริเกตุกันจริง ๆ อู่แห้งอู่เดียวเพียงพอหรือไม่?
A:ไม่พอ ดังนั้นอู่กรุงเทพกำลังพัฒนาพื้นที่ 44 ไร่เพื่อขยายขีดความสามารถในการต่อเรือ โดยการนำพื้นที่เก่าที่ยานนาวาไปให้กรมธนารักษ์เช่า และนำเงินกลับมาพัฒนาอู่ใหม่ ทำให้เราจะมีอู่ของเราเองซึ่งจะอยู่ทางด้านทิศใต้ ติดกับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ในบริเวณของอู่ราชนาวีมหิดล นอกจากนั้นเราก็รับซ่อมเรือของกองทัพเรือด้วย โดยเฉพาะการซ่อมตัวเรือใต้แนวน้ำที่กองทัพเรือให้เราทำทั้งหมดเพราะกองทัพเรือมีกำลังพลไม่พอ
Q:อู่กรุงเทพมีโครงการจะรับต่อเรือประเภทอื่น ๆ หรือไม่?
A:ตอนนี้เรากำลังทำแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท โดยพัฒนาการต่อเรือจากเล็กไปใหญ่ ปีหน้าเราจะรับต่อเรือลากจูงขนาด 200 ตันของการท่าเรือ และต่อไปในปี 2561-62 เราจะเริ่มต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 5 และ 6 หลังจากนั้นจะก้าวไปที่ฟริเกตุ ซึ่งคงจะต้องจับมือกับพันธมิตรต่างชาติเพราะงานค่อนข้างซับซ้อน ในขณะเดียวกันเราก็จะซ้อมมือด้วยการทำเรือใบสามเสา ซึ่งเราลงนามในสัญญาจ้างกับเอเชียทีค จริง ๆ แล้วเรามีแบบเรือใบเรียบร้อยแล้ว เป็นของบริษัท Damen ถ้ากองทัพเรืออยากจะต่อเรือใบสำหรับฝึกนักเรียนนายเรือแบบโรงเรียนนนายเรือของต่างประเทศก็สามารถทำได้เช่นกัน
ขอบคุณทาง TAFด้วยนะครับ
http://thaiarmedforce.com/taf-special/810-tafspecial126.html
ขอสักนิด มีจุดที่น่าสนใจขอพูดนะครับ กดอ่านขอบใจ ไม่กดไม่เป็นไรครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ก่อนอื่นเลย อาจจะได้แสดงความยินดีกับจ.ตรังครับที่มีชื่อที่อาจจะเป็นชื่อเรือopvลำใหม่นี้ครับ
มาดูที่ดาดฟ้ารองรับอากาศยาน ผมคิดว่าน่าจะรองรับ mh-60s knighthawk ได้มากกว่า แค่s-70b seahawk เพราะ ในเมื่อขยายลานบิน ด้วยฐานล้อหลังของknighthawkอยู่ด้านหลังเกือบปลายหาง (นึกภาพแบล๊คฮอว์คครับแบบนั้นเลย)
เครดิตhttps://ipopp.wordpress.com/2011/08/16/royal-thai-navy-mh-60s-helicopter/
และในเมื่อรองรับเจ้าknighthawkได้ s-70 seahawkที่ฐานล้อหลังอยู่ที่โคนหางได้แน่นอนครับ
เครดิตhttp://www.militaryimages.net/media/s-70b-seahawk-royal-thai-navy.13870/
ผิดพลาดประการใดขออภัยนะครับ แชร์หรือแสดงความคิดเห็นด้านล่างเลยนะครับ ขอบคุณครับ
สกู๊ป อู่กรุงเทพกับภารกิจต่อเรือopv ใหม่
กองทัพเรือกำลังอยู่ในระหว่างการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ ซึ่งจะเป็นลำที่สี่ต่อจากเรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส และเรือหลวงกระบี่ โดยมีคู่สัญญาเป็นบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือที่ยังคงร่วมมือกับบริษัท BAE System ปรับปรุงแบบเรือชั้น River Batch II ให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือที่เปลี่ยนไปในเรือลำนี้ และคาดว่ากองทัพเรือน่าจะขอพระราชทานชื่อว่าเรือหลวงตรัง
อู่กรุงเทพ ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่เก่าแก่กว่า 150 ปีของกองทัพเรือกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและเพิ่งศักยภาพของบริษัทให้สามารถแข่งขันได้ TAF สัมภาษณ์นาวาเอก พิชเยนทร์ ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการของอู่กรุงเทพ ที่จะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของกองทัพเรือไทย และก้าวต่อไปของอู่กรุงเทพในการพัฒนาเพื่อเป็นบริษัทต่อเรือที่มีความสามารถและแข่งขันได้
Q:บทบาทของอู่กรุงเทพในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง?
A:ในเรือหลวงกระบี่ลำแรกนั้น อู่ราชนาวีมหิดลทำการต่อ Superstructure และที่เหลือให้อู่กรุงเทพต่อเนื่องจากบุคลากรของกองทัพเรือไม่เพียงพอ ส่วนในลำนี้อู่กรุงเทพทำหน้าที่ส่งมอบพัสดุและให้คำแนะนำทางเทคนิค รวมถึงต่อเรือบางส่วน โดยอู่ราชนาวีมหิดลของกองทัพเรือเป็นคนต่อส่วนที่เหลือ พร้อมทั้งแบ่งงานให้กับบริษัทเอกชนอื่น ๆ ด้วย โดยรวมแล้วอู่กรุงเทพจะต่อทั้งหมด 3 บล็อค บริษัท ช. ทวี ดอลลาเชี่ยนต่อ 10 บล็อค และอู่ราชนาวีมหิดลต่อเอง 7 บล็อค
Q:แบบเรือลำนี้ยังใช้แบบเรือเก่าหรือไม่หรือใช้แบบใหม่เลย?
A:เรายังใช้ต้นแบบเรือ River class batch II ซึ่งนำมาต่อเป็นเรือหลวงกระบี่ แต่เนื่องจาก Staff requirement ของกองทัพเรือทำให้เรือลำที่สองไม่เหมือนเรือหลวงกระบี่ ทำให้เรานำแบบของเรือหลวงกระบี่มาปรับปรุงให้เป็นเรือลำที่สอง เช่น ดาดฟ้าซึ่งเราต้องย่อ Superstructure ไปประมาณ 3 เมตรเพื่อให้ SH-60B Sea Hawk ลงได้ ตัว Main Deck ก็ต้องแข็งแรงมากขึ้น และ Superstructure เดิมก็ไม่ได้ทำให้รองรับจรวด พอติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำก็ต้องเสริมความแข็งแรงลงไปจนถึงผนังใต้แนวน้ำ หัวเรือจะมีเป้าหลวง ดังนั้นแบบเรือต้องปรับใหม่หมดเลย ในขณะเดียวกันเรือยนต์และเครนก็เปลี่ยน ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนเยอะ
Q:การเปลี่ยนนี้ใครเป็นคนทำแบบใหม่?
A:คนไทยทำเอง เพราะลิขสิทธิ์ที่เราได้คือ River class batch II แบบเดียวกับที่ต่อให้ตริริแดดแอนด์โตแปโก ซึ่ง BAE ไม่ได้ทำอะไรเลย ทุกอย่างไม่เหมือนกับเรา ปืนก็ต่างจากเรา พอเรานำมาทำเป็นเรือหลวงกระบี่ก็ทำแท่นปืนหัวใหม่จากปืน 30 มม. ให้เป็นปืน 76/62 ส่วนปืน 30 มม. ที่ติดด้านข้างก็ไม่มีในแบบ เราก็ต้องมาดัดแปลง ในแบบเรือลำใหม่นี้ปืน 30 มม. ยังจะเหมือนกับเรือกระบี่อยู่ แต่ปืนเรือจะเปลี่ยนเป็น 76/62 Super Rapid และเป็นปืนมือหนึ่งของใหม่ ซึ่งต่างจากปืนของเรือหลวงกระบี่ที่เป็นมือสองมาปรับปรุง เมื่อรวมกับจรวด ระบบอำนวยการรบ และอาวุธต่าง ๆ จึงทำให้ลำนี้แพงกว่าเรือหลวงกระบี่
Q:ทำไมกองทัพเรือถึงอยากติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ?
A:ถ้ามองลึก ๆ นั้น กองทัพเรือไม่มีอำนาจการยิงจากเรือโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) มาพักหนึ่งแล้ว ซึ่งทำให้อำนาจการยิงลดลงมาก ดังนั้นกองเรือตรวจอ่าวจึงต้องเสริมอำนาจการยิงเพื่อทดแทนอำนาจการยิงเดิม เรือลำใหม่นี้จึงต้องติดจรวด
Q:ทำไมถึงไม่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์?
A:เรือลำนี้จริง ๆ ถูกออกแบบมาให้วิ่งที่ 24 น็อต แต่ลำนี้ตอนแรกคิดว่าจะต่อความยาวเพิ่มอีก 3 เมตร ซึ่งทำให้ความเร็วมากขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย แต่เมื่อยืดความยาวออกมาแล้วจะต้องติดโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้รับกับ Sea Hawk ก็จะเหมือนกับรถปิ๊กอัพไปใส่หลังคาสูง ซึ่งทำให้ความเร็วลดลงไปเอง และการต่อความยาวออกไปอาจจะทำให้เรือต้องทำ Tank Test ใหม่ ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับโครงการ และอาจมีปัญหาด้านการเลี้ยว ดังนั้นเราจึงใช้การลดความยาว Superstructure ลงแต่ก็ไม่ยาวพอที่จะติดตั้งโรงเก็บได้ จึงไม่มีโรงเก็บมาด้วย การลด Superstructure ก็จะเป็นการย้ายตำแหน่งของห้องเก็บอุปกรณ์ของนักบิน และย้ายที่เก็บอาวุธและกระสุนลงด้านล่าง และนำอุปกรณ์ของจรวดไปใส่ไว้บริเวณปล่องควัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ถูกใช้เกือบหมดแล้ว ถ้าจะติดอาวุธเพิ่มเช่น จรวดต่อสู้อากาศยาน คงต้องเปลี่ยนแบบเรือใหม่
แต่จริง ๆ แล้วถ้ากองทัพเรือให้งบประมาณเพิ่มก็สามารถทำ Tank Test และปรับแบบได้มากกว่านี้ ซึ่งเรากำลังคุยกับ BAE ที่เป็นเจ้าของแบบว่าสำหรับเรือ 2 ลำหลังนั้นจะเสนอแบบเรือในลักษณะใดให้กับกองทัพเรือ ซึ่ง BAE ก็กำลังเสนอแบบเรือชั้น Khareef ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์มาด้วย
Q:จุดแข็งของแบบเรือ River Class นี้คืออะไร?
A:จุดแข็งที่เห็นได้ชัดจากการใช้งานจริงคือบริเวณหัวเรือ ซึ่งเราพิสูจน์มาแล้วจากการเดินทางไปร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติที่ออสเตรเลียที่ต้องผ่านทะเลที่มีความรุนแรงถึง Sea State 5 กับเรือที่เพิ่งส่งมอบและออกทะเลทางไกลครั้งแรก แต่เรือก็มีเสถียรภาพและความคล่องตัวดีมาก
Q:เครื่องจักรใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
A:ยังใช้ตราอักษรเดิม โครงเครื่องเดิม แต่เทอร์โบชาร์จให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เข้ากับกฎเกณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง แต่ความเร็วและแรงม้าไม่ได้ต่างจากเดิม
Q:เรือลำนี้ต่อเป็นมาตรฐานทางทหารหรือมาตรฐานพลเรือน?
A:คือแบบเรือลำนี้มาจากแบบเรือตรวจอ่าว สหราชอาณาจักรก็ใช้ในกองเรือตรวจอ่าวหรือกองเรือป้องกันฝั่ง ซึ่งข้อมูลจากบริษัทที่เป็นเจ้าของแบบนั้นพบว่าถ้าเป็นฟริเกตุโครงสร้างจะซับซ้อนกว่านี้ จะแข็งแรงและทนต่อการรบมากกว่า แต่เรือลำนี้ก็มี Water Tight Compartments ที่ออกแบบตามแบบของเรือรบ ดังนั้นถึงถูกยิงก็สามารถจำกัดความเสียหายได้ แต่ถ้าเป็นฟริเกตุหรือคอร์แวตต์นั้น การออกแบบหรือว่าเหล็กที่ใช้นั้นมันจะทนต่อความรบกว่า ซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งหรือ OPV นั้นยังไม่จัดเป็นเรือรบที่ใช้ในการสงครามโดยตรง
Q:จริง ๆ แล้วถ้าให้คนไทยเราปรับแบบทำกันเอง ขยายแบบเพื่อให้ถึงการต่อเรือฟริเกตนั้นทำได้หรือไม่?
A:อันนี้ถ้าไม่พูดถึงข้อกฎหมายในด้านลิขสิทธิ์ของแบบที่ BAE เป็นเจ้าของ และลองสมมุติว่าลองยืดกลางลำสัก 15 เมตรให้เป็นเรือในระดับ 110 เมตร ยืนยันว่าคนไทยทำได้ เพราะคนของบริษัทอู่กรุงเทพปัจจุบันที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นทำกันเป็นแล้ว เคยมือแล้ว
Q:ถ้าจะต่อเรือฟริเกตุกันจริง ๆ อู่แห้งอู่เดียวเพียงพอหรือไม่?
A:ไม่พอ ดังนั้นอู่กรุงเทพกำลังพัฒนาพื้นที่ 44 ไร่เพื่อขยายขีดความสามารถในการต่อเรือ โดยการนำพื้นที่เก่าที่ยานนาวาไปให้กรมธนารักษ์เช่า และนำเงินกลับมาพัฒนาอู่ใหม่ ทำให้เราจะมีอู่ของเราเองซึ่งจะอยู่ทางด้านทิศใต้ ติดกับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ในบริเวณของอู่ราชนาวีมหิดล นอกจากนั้นเราก็รับซ่อมเรือของกองทัพเรือด้วย โดยเฉพาะการซ่อมตัวเรือใต้แนวน้ำที่กองทัพเรือให้เราทำทั้งหมดเพราะกองทัพเรือมีกำลังพลไม่พอ
Q:อู่กรุงเทพมีโครงการจะรับต่อเรือประเภทอื่น ๆ หรือไม่?
A:ตอนนี้เรากำลังทำแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท โดยพัฒนาการต่อเรือจากเล็กไปใหญ่ ปีหน้าเราจะรับต่อเรือลากจูงขนาด 200 ตันของการท่าเรือ และต่อไปในปี 2561-62 เราจะเริ่มต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 5 และ 6 หลังจากนั้นจะก้าวไปที่ฟริเกตุ ซึ่งคงจะต้องจับมือกับพันธมิตรต่างชาติเพราะงานค่อนข้างซับซ้อน ในขณะเดียวกันเราก็จะซ้อมมือด้วยการทำเรือใบสามเสา ซึ่งเราลงนามในสัญญาจ้างกับเอเชียทีค จริง ๆ แล้วเรามีแบบเรือใบเรียบร้อยแล้ว เป็นของบริษัท Damen ถ้ากองทัพเรืออยากจะต่อเรือใบสำหรับฝึกนักเรียนนายเรือแบบโรงเรียนนนายเรือของต่างประเทศก็สามารถทำได้เช่นกัน
ขอบคุณทาง TAFด้วยนะครับ
http://thaiarmedforce.com/taf-special/810-tafspecial126.html
ขอสักนิด มีจุดที่น่าสนใจขอพูดนะครับ กดอ่านขอบใจ ไม่กดไม่เป็นไรครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้