9 วิธี เอาชนะความอิจฉาริษยา
คุณเคยรู้สึกเช่นนี้บ้างมั้ย.. "อิจฉาใครบางคน เพียงเพราะเห็นความสำเร็จของเขา" และคุณจะพูดถึงเหตุผลธรรมดาๆที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ เพื่อที่ว่าคุณจะได้มองข้ามมันไป และรู้สึกดีๆกับตัวเอง
อารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่พยายามปกป้องตัวเอง ด้วยการฝังกลบความบกพร่องและความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง ไว้ภายในจิตใจ
แต่จะมีประโยชน์อะไรกับการทำเช่นนั้น เพราะไม่เพียงแต่ความรู้สึกอิจฉาริษยาจะไม่ส่งผลดีต่อการสร้างความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับคนรอบข้างแล้ว มันยังทำให้ตัวเราเองรู้สึกแย่ด้วย และอาจส่งผลร้ายต่อเนื่องไปยังร่างกาย เช่น ทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง หากเป็นเช่นนี้ เหตุใดยังปล่อยตัวเองให้ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว
9 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์อิจฉาริษยาให้ลดน้อยลง และช่วยขจัดรูปแบบความคิดด้านลบออกจากจิตใจ
1. เฝ้ามองอารมณ์ริษยา
การพร่ำบอกตัวเองไม่ให้รู้สึกอิจฉาริษยา ไม่ช่วยให้หลุดพ้นจากอารมณ์นั้นได้ เพราะยิ่งต่อต้าน ยิ่งคงอยู่ แต่ถ้ารับรู้และเข้าใจสถานภาพอย่างลึกซึ้ง เราจะเริ่มขจัดความรู้สึกด้านลบออกไปได้เอง ฉะนั้น เมื่อคุณรู้สึกอิจฉา ใครบางคน จงปล่อยตัวเองให้อยู่ในอารมณ์นั้นอย่างเต็มที่ แล้วคุณจะเห็นว่า การเผชิญหน้ากับความรู้สึกดังกล่าว จะทำให้อารมณ์ริษยาเริ่มลดน้อยลง
สิ่งที่คุณต้องทำคือ หามุมสงบเงียบๆคนเดียว ไร้สิ่งรบกวน หลับตาและนึกถึงเรื่องที่ทำให้คุณรู้สึกอิจฉา สังเกตดูว่า ความรู้สึกนั้นมาจากไหน มีผลต่อร่างกายอย่างไร คุณรู้สึกตีบตันที่ลำคอหรือแน่นท้องหรือเปล่า เจ็บหน้าอกมั้ย และที่สำคัญต้องรู้จักปลดปล่อยความรู้สึกริษยาออกมา อย่าไปยึดมันไว้ จงสำนึกไว้เสมอว่า นั่นไม่ใช่ตัวคุณ แต่เป็นอัตตาที่เรียกร้องความสนใจ จงเฝ้ามองไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะรู้สึกว่า อารมณ์ริษยาค่อยๆจางหายไป
การฝึกเช่นนี้ จะช่วยให้คุณเอาชนะความเป็นอัตตา และเห็นสิ่งที่เป็นจริงด้วยสติปัญญานั่นเอง
2. รักตัวเอง
มีคำกล่าวว่า “ถ้าคุณไม่ยอมรับและรักตัวเองในแบบที่คุณเป็น ก็มีแนวโน้มสูงที่คุณจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เพื่อหลอกตัวเองให้รู้สึกว่ามีค่า”
คุณค่าของตัวเรานั้น เกิดจากการเห็นคุณค่าของตัวเองและรักตัวเอง คนที่พอใจและรู้สึกมั่นคงในตัวเอง จะไม่ปล่อยให้ความอิจฉาริษยาเข้ามากร้ำกรายชีวิต จงมองเข้าไปภายในจิตใจ ใช้เวลากับตัวเอง รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา เลือกที่จะสนใจตัวเองมากกว่าคนที่เราอิจฉา ใช้ความเข้าใจเรื่องความต้องการและปัญญา เปลี่ยนการรับรู้ของเรา อีกทั้งตระหนักดีว่า เรามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นอยู่ภายในตัวเอง ที่จะทำให้เกิดความสุขและความสำเร็จ และรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไปนั้น เราสามารถหาได้ และทำให้สำเร็จได้
3. เลิกเปรียบเทียบ
มีคนเคยกล่าวอย่างน่าฟังว่า “การเปรียบเทียบคือเมล็ดพันธุ์ และความริษยาคือดอกผลของมัน”
ทั้งนี้เพราะการเปรียบเทียบนำไปสู่ความอิจฉาริษยา และทั้งสองสิ่งนี้ล้วนปรุงแต่งขึ้นจากจิต บางคราวจิตของมนุษย์อาจจมปลักอยู่กับการเปรียบเทียบ จนมองไม่เห็นความเป็นจริง เราจึงจำต้องลดละการเปรียบเทียบลง เพื่อจะได้เห็นทุกสิ่งตามเนื้อแท้ของมัน จงเริ่มด้วยการเห็นคุณค่าของความแตกต่าง เห็นประโยชน์ของการมีเอกลักษณ์
ข้อสำคัญ ต้องเตือนตัวเองเสมอว่า การเปรียบเทียบนั้นมักไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเราจะคาดหวังไปเรื่อยๆ
4. ค้นหาสิ่งที่คุกคามจิตใจ
ถามตัวเองและค้นหาว่าอะไรที่ทำให้รู้สึกหวาดหวั่น หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยในเรื่องอะไร สิ่งใดที่กลัวจะสูญเสีย หรืออะไรคือสิ่งที่คิดว่าควรได้รับ
เมื่อคุณรู้ว่ามันคืออะไร ต้องตัดสินใจที่จะเอาชนะสิ่งที่เป็นภัยคุกคามนี้ ด้วยการวางแผนอย่างคร่าวๆ หาหนทางที่จะมองสถานการณ์นี้จากจิตที่เข้มแข็งมั่นคง ไม่ใช่จิตที่หวาดกลัว หวั่นไหว
5. จดบันทึก
การจดบันทึกข้อคิดลงบนกระดาษ ไม่เพียงเปิดโอกาสให้คุณแสดงตัวตนออกมา แต่ยังเป็นการวางแนวทางเลือกของคุณให้เห็นเด่นชัด เสมือนมองลงมาจากเครื่องบิน ซึ่งแลเห็นภาพโดยรวมได้ดีกว่านั่นเอง
จงถามตัวเองว่า “ทำไมฉันถึงรู้สึกเช่นนี้” เขียนสาเหตุ ทั้งหมดลงบนกระดาษ นึกอะไรขึ้นได้ ก็จดลงไปก่อนโดยไม่ต้องแก้ไข แล้วค่อยมาจัดระเบียบข้อมูลในภายหลัง เมื่อได้สาเหตุทั้งหมดแล้ว ก็เขียนไว้ข้างๆของแต่ละข้อว่า จะแก้ไขอะไรได้บ้าง
6. อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง
ถามตัวเองว่า คนที่คุณอิจฉานั้น เป็นภัยคุกคาม ต่อตัวคุณ ต่อความสัมพันธ์ หรือต่อธุรกิจของคุณหรือไม่..
สิ่งที่คุณกำลังรู้สึกหรือทำนั้น สร้างประโยชน์ให้แก่คนที่เกี่ยวข้องหรือไม่..
คุณจะเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้ได้บ้าง หรือจะได้ประโยชน์อะไรจากสถานการณ์นี้..
ถ้ามันทำให้ทุกคนรู้สึกไม่ดีและไม่มีประโยชน์อะไรต่อ คุณเลย ก็คงไม่มีเหตุผลใดที่คุณจะคงความรู้สึกนั้นต่อไป
7. หาจุดแข็งของตัวเอง
สำรวจตัวเองดูว่า มีจุดแข็งด้านใดและมีคุณลักษณะพิเศษอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น มีสมองอันเยี่ยมยอดในการคิดคำนวณ สามารถเล่นกีฬาได้ทุกประเภท เป็นต้น จงเห็นคุณค่าของพรสวรรค์และความสามารถที่คุณมี รวมทั้งให้ความสำคัญกับข้อดีในตัวเอง ที่ค้นพบนั้น
8. หันเหความสนใจ
บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะคิดอย่างสมเหตุสมผลยามที่เราถูกครอบงำด้วยความรู้สึกไม่ดี เพราะเรามัวแต่เน้นความรู้สึกด้านลบ จนลืมมองภาพใหญ่ แต่คุณสามารถเปลี่ยนสภาพอารมณ์ขณะนั้นได้ ด้วยการหันเหความสนใจไปยังสิ่งอื่นที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง เช่น ออกไปจ๊อกกิ้ง รดน้ำต้นไม้ หรือล้างจานชามในครัว และเมื่อรู้สึกผ่อนคลายลง ค่อยกลับไปยังสถานการณ์เดิม ด้วยจิตที่ผ่องใสและเปิดกว้าง
9. ถามตัวเอง
“นี่เป็นสิ่งที่ต้องการจริงๆหรือ”
ความรู้สึกเช่นนี้ คือการที่เรากำลังให้ความสนใจต่ออารมณ์นี้อยู่ สมมติว่าคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น ถามตัวเองว่าต้องการเช่นนั้นจริงหรือเปล่า แล้วคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
ในบางสถานการณ์ที่ทำให้เราตกอยู่ในอารมณ์ด้านลบ ตลอดนั้น ถ้าเราปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะได้สิ่งที่ดีกว่า เช่น เมื่อคุณเห็นเพื่อนประสบความสำเร็จมากกว่า แทนที่จะอิจฉาริษยาเขา ก็เปลี่ยนเป็นการแสดงความยินดี ราวกับว่ามันเป็นความสำเร็จของคุณเอง และศึกษาการทำงานของเขา เพื่อเป็นแบบอย่างสู่ความสำเร็จของคุณในอนาคต
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย ประกายรุ้ง)
Credit
http://board.palungjit.com/f9/9-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%B2-293204.html
ปล.ดิฉันเอามาแชร์ เพราะสังคมไทยเรานั้น บางครั้งคนเรามีสิ่งที่ฉุดรั้งตัวเรา จิตใจเรา ให้ต้อยต่ำลงๆ ไปเรื่อยๆ จนมองตนเองไม่ออก บอกตัวเองไม่ถูก เตือนสติกันนิดนึงนะคะ ^___^
รวมทั้ง "การลงทุน" ก็เช่นกัน ถ้าจิตใจคุณยังเป็นเช่นนี้ "มีความอิจฉาเกิดขึ้นในใจ" ก็ทำให้ชีวิตไม่สำเร็จเสียที ก็ชะเง้อมองคนที่เขาสำเร็จมากกว่า บารมีมากกว่า แล้วคุณได้ประโยชน์อะไรคะ ^___^
9 วิธี เอาชนะความอิจฉาริษยา (ขออโหสิให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย สาธุ)
คุณเคยรู้สึกเช่นนี้บ้างมั้ย.. "อิจฉาใครบางคน เพียงเพราะเห็นความสำเร็จของเขา" และคุณจะพูดถึงเหตุผลธรรมดาๆที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ เพื่อที่ว่าคุณจะได้มองข้ามมันไป และรู้สึกดีๆกับตัวเอง
อารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่พยายามปกป้องตัวเอง ด้วยการฝังกลบความบกพร่องและความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง ไว้ภายในจิตใจ
แต่จะมีประโยชน์อะไรกับการทำเช่นนั้น เพราะไม่เพียงแต่ความรู้สึกอิจฉาริษยาจะไม่ส่งผลดีต่อการสร้างความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับคนรอบข้างแล้ว มันยังทำให้ตัวเราเองรู้สึกแย่ด้วย และอาจส่งผลร้ายต่อเนื่องไปยังร่างกาย เช่น ทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง หากเป็นเช่นนี้ เหตุใดยังปล่อยตัวเองให้ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว
9 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์อิจฉาริษยาให้ลดน้อยลง และช่วยขจัดรูปแบบความคิดด้านลบออกจากจิตใจ
1. เฝ้ามองอารมณ์ริษยา
การพร่ำบอกตัวเองไม่ให้รู้สึกอิจฉาริษยา ไม่ช่วยให้หลุดพ้นจากอารมณ์นั้นได้ เพราะยิ่งต่อต้าน ยิ่งคงอยู่ แต่ถ้ารับรู้และเข้าใจสถานภาพอย่างลึกซึ้ง เราจะเริ่มขจัดความรู้สึกด้านลบออกไปได้เอง ฉะนั้น เมื่อคุณรู้สึกอิจฉา ใครบางคน จงปล่อยตัวเองให้อยู่ในอารมณ์นั้นอย่างเต็มที่ แล้วคุณจะเห็นว่า การเผชิญหน้ากับความรู้สึกดังกล่าว จะทำให้อารมณ์ริษยาเริ่มลดน้อยลง
สิ่งที่คุณต้องทำคือ หามุมสงบเงียบๆคนเดียว ไร้สิ่งรบกวน หลับตาและนึกถึงเรื่องที่ทำให้คุณรู้สึกอิจฉา สังเกตดูว่า ความรู้สึกนั้นมาจากไหน มีผลต่อร่างกายอย่างไร คุณรู้สึกตีบตันที่ลำคอหรือแน่นท้องหรือเปล่า เจ็บหน้าอกมั้ย และที่สำคัญต้องรู้จักปลดปล่อยความรู้สึกริษยาออกมา อย่าไปยึดมันไว้ จงสำนึกไว้เสมอว่า นั่นไม่ใช่ตัวคุณ แต่เป็นอัตตาที่เรียกร้องความสนใจ จงเฝ้ามองไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะรู้สึกว่า อารมณ์ริษยาค่อยๆจางหายไป
การฝึกเช่นนี้ จะช่วยให้คุณเอาชนะความเป็นอัตตา และเห็นสิ่งที่เป็นจริงด้วยสติปัญญานั่นเอง
2. รักตัวเอง
มีคำกล่าวว่า “ถ้าคุณไม่ยอมรับและรักตัวเองในแบบที่คุณเป็น ก็มีแนวโน้มสูงที่คุณจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เพื่อหลอกตัวเองให้รู้สึกว่ามีค่า”
คุณค่าของตัวเรานั้น เกิดจากการเห็นคุณค่าของตัวเองและรักตัวเอง คนที่พอใจและรู้สึกมั่นคงในตัวเอง จะไม่ปล่อยให้ความอิจฉาริษยาเข้ามากร้ำกรายชีวิต จงมองเข้าไปภายในจิตใจ ใช้เวลากับตัวเอง รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา เลือกที่จะสนใจตัวเองมากกว่าคนที่เราอิจฉา ใช้ความเข้าใจเรื่องความต้องการและปัญญา เปลี่ยนการรับรู้ของเรา อีกทั้งตระหนักดีว่า เรามีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นอยู่ภายในตัวเอง ที่จะทำให้เกิดความสุขและความสำเร็จ และรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไปนั้น เราสามารถหาได้ และทำให้สำเร็จได้
3. เลิกเปรียบเทียบ
มีคนเคยกล่าวอย่างน่าฟังว่า “การเปรียบเทียบคือเมล็ดพันธุ์ และความริษยาคือดอกผลของมัน”
ทั้งนี้เพราะการเปรียบเทียบนำไปสู่ความอิจฉาริษยา และทั้งสองสิ่งนี้ล้วนปรุงแต่งขึ้นจากจิต บางคราวจิตของมนุษย์อาจจมปลักอยู่กับการเปรียบเทียบ จนมองไม่เห็นความเป็นจริง เราจึงจำต้องลดละการเปรียบเทียบลง เพื่อจะได้เห็นทุกสิ่งตามเนื้อแท้ของมัน จงเริ่มด้วยการเห็นคุณค่าของความแตกต่าง เห็นประโยชน์ของการมีเอกลักษณ์
ข้อสำคัญ ต้องเตือนตัวเองเสมอว่า การเปรียบเทียบนั้นมักไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเราจะคาดหวังไปเรื่อยๆ
4. ค้นหาสิ่งที่คุกคามจิตใจ
ถามตัวเองและค้นหาว่าอะไรที่ทำให้รู้สึกหวาดหวั่น หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยในเรื่องอะไร สิ่งใดที่กลัวจะสูญเสีย หรืออะไรคือสิ่งที่คิดว่าควรได้รับ
เมื่อคุณรู้ว่ามันคืออะไร ต้องตัดสินใจที่จะเอาชนะสิ่งที่เป็นภัยคุกคามนี้ ด้วยการวางแผนอย่างคร่าวๆ หาหนทางที่จะมองสถานการณ์นี้จากจิตที่เข้มแข็งมั่นคง ไม่ใช่จิตที่หวาดกลัว หวั่นไหว
5. จดบันทึก
การจดบันทึกข้อคิดลงบนกระดาษ ไม่เพียงเปิดโอกาสให้คุณแสดงตัวตนออกมา แต่ยังเป็นการวางแนวทางเลือกของคุณให้เห็นเด่นชัด เสมือนมองลงมาจากเครื่องบิน ซึ่งแลเห็นภาพโดยรวมได้ดีกว่านั่นเอง
จงถามตัวเองว่า “ทำไมฉันถึงรู้สึกเช่นนี้” เขียนสาเหตุ ทั้งหมดลงบนกระดาษ นึกอะไรขึ้นได้ ก็จดลงไปก่อนโดยไม่ต้องแก้ไข แล้วค่อยมาจัดระเบียบข้อมูลในภายหลัง เมื่อได้สาเหตุทั้งหมดแล้ว ก็เขียนไว้ข้างๆของแต่ละข้อว่า จะแก้ไขอะไรได้บ้าง
6. อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง
ถามตัวเองว่า คนที่คุณอิจฉานั้น เป็นภัยคุกคาม ต่อตัวคุณ ต่อความสัมพันธ์ หรือต่อธุรกิจของคุณหรือไม่..
สิ่งที่คุณกำลังรู้สึกหรือทำนั้น สร้างประโยชน์ให้แก่คนที่เกี่ยวข้องหรือไม่..
คุณจะเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้ได้บ้าง หรือจะได้ประโยชน์อะไรจากสถานการณ์นี้..
ถ้ามันทำให้ทุกคนรู้สึกไม่ดีและไม่มีประโยชน์อะไรต่อ คุณเลย ก็คงไม่มีเหตุผลใดที่คุณจะคงความรู้สึกนั้นต่อไป
7. หาจุดแข็งของตัวเอง
สำรวจตัวเองดูว่า มีจุดแข็งด้านใดและมีคุณลักษณะพิเศษอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น มีสมองอันเยี่ยมยอดในการคิดคำนวณ สามารถเล่นกีฬาได้ทุกประเภท เป็นต้น จงเห็นคุณค่าของพรสวรรค์และความสามารถที่คุณมี รวมทั้งให้ความสำคัญกับข้อดีในตัวเอง ที่ค้นพบนั้น
8. หันเหความสนใจ
บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะคิดอย่างสมเหตุสมผลยามที่เราถูกครอบงำด้วยความรู้สึกไม่ดี เพราะเรามัวแต่เน้นความรู้สึกด้านลบ จนลืมมองภาพใหญ่ แต่คุณสามารถเปลี่ยนสภาพอารมณ์ขณะนั้นได้ ด้วยการหันเหความสนใจไปยังสิ่งอื่นที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง เช่น ออกไปจ๊อกกิ้ง รดน้ำต้นไม้ หรือล้างจานชามในครัว และเมื่อรู้สึกผ่อนคลายลง ค่อยกลับไปยังสถานการณ์เดิม ด้วยจิตที่ผ่องใสและเปิดกว้าง
9. ถามตัวเอง
“นี่เป็นสิ่งที่ต้องการจริงๆหรือ”
ความรู้สึกเช่นนี้ คือการที่เรากำลังให้ความสนใจต่ออารมณ์นี้อยู่ สมมติว่าคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น ถามตัวเองว่าต้องการเช่นนั้นจริงหรือเปล่า แล้วคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
ในบางสถานการณ์ที่ทำให้เราตกอยู่ในอารมณ์ด้านลบ ตลอดนั้น ถ้าเราปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะได้สิ่งที่ดีกว่า เช่น เมื่อคุณเห็นเพื่อนประสบความสำเร็จมากกว่า แทนที่จะอิจฉาริษยาเขา ก็เปลี่ยนเป็นการแสดงความยินดี ราวกับว่ามันเป็นความสำเร็จของคุณเอง และศึกษาการทำงานของเขา เพื่อเป็นแบบอย่างสู่ความสำเร็จของคุณในอนาคต
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย ประกายรุ้ง)
Credit http://board.palungjit.com/f9/9-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%B2-293204.html
ปล.ดิฉันเอามาแชร์ เพราะสังคมไทยเรานั้น บางครั้งคนเรามีสิ่งที่ฉุดรั้งตัวเรา จิตใจเรา ให้ต้อยต่ำลงๆ ไปเรื่อยๆ จนมองตนเองไม่ออก บอกตัวเองไม่ถูก เตือนสติกันนิดนึงนะคะ ^___^
รวมทั้ง "การลงทุน" ก็เช่นกัน ถ้าจิตใจคุณยังเป็นเช่นนี้ "มีความอิจฉาเกิดขึ้นในใจ" ก็ทำให้ชีวิตไม่สำเร็จเสียที ก็ชะเง้อมองคนที่เขาสำเร็จมากกว่า บารมีมากกว่า แล้วคุณได้ประโยชน์อะไรคะ ^___^