วิหารเครื่องไม้โบราณศิลปะล้านนาแห่งวัดท่าข้าม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานลำดับที่ 50 ของจังหวัดเมื่อปี 2524 โดยกรมศิลปากร
ลักษณะเด่นของวิหารหลังนี้นอกจากจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือนายช่างไทใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์แล้ว ตัววิหารยังมีการลดชั้นหลังคาด้านหน้าถึง 3 ชั้น (วิหารล้านนาโดยทั่วไปหลังคาจะ "ซดหน้า" เพียง 2 ชั้น อาทิ วิหารวัดต้นเกว๋น วิหารวัดปราสาท วิหารลายคำแห่งวัดพระสิงห์)
ประวัติในการสร้างวิหารหลังนี้มีน้อยเหลือเกิน (เท่าๆ กับจำนวนคนที่รู้จักวัดแห่งนี้) เท่าที่สืบค้นข้อมูลมาได้ พบว่าสร้างราวปี พ.ศ.2407 โดย ครูบาพรหม สรวิจา ณ บริเวณที่แต่เดิมเป็นจุดข้ามฟากแม่น้ำฮาว (ที่มาของชื่อวัด) เข้าใจว่าในสมัยนั้นคงมีการนำสินค้าล่องจากแม่น้ำมาค้าขายยังย่านนี้อย่างคึกคัก คหบดีชาวไทใหญ่จึงเกิดศรัทธาเป็นต้นเค้าในการเขียนภาพจิตรกรรมภายใน
[CR] วิหารวัดท่าข้าม จิตวิญญาณที่ยังไม่ล้มหายของงานช่าง สล่าล้านนา
วิหารเครื่องไม้โบราณศิลปะล้านนาแห่งวัดท่าข้าม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานลำดับที่ 50 ของจังหวัดเมื่อปี 2524 โดยกรมศิลปากร
ลักษณะเด่นของวิหารหลังนี้นอกจากจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือนายช่างไทใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์แล้ว ตัววิหารยังมีการลดชั้นหลังคาด้านหน้าถึง 3 ชั้น (วิหารล้านนาโดยทั่วไปหลังคาจะ "ซดหน้า" เพียง 2 ชั้น อาทิ วิหารวัดต้นเกว๋น วิหารวัดปราสาท วิหารลายคำแห่งวัดพระสิงห์)
ประวัติในการสร้างวิหารหลังนี้มีน้อยเหลือเกิน (เท่าๆ กับจำนวนคนที่รู้จักวัดแห่งนี้) เท่าที่สืบค้นข้อมูลมาได้ พบว่าสร้างราวปี พ.ศ.2407 โดย ครูบาพรหม สรวิจา ณ บริเวณที่แต่เดิมเป็นจุดข้ามฟากแม่น้ำฮาว (ที่มาของชื่อวัด) เข้าใจว่าในสมัยนั้นคงมีการนำสินค้าล่องจากแม่น้ำมาค้าขายยังย่านนี้อย่างคึกคัก คหบดีชาวไทใหญ่จึงเกิดศรัทธาเป็นต้นเค้าในการเขียนภาพจิตรกรรมภายใน