นิทานชาวสวน ๑/๙ ก.พ.๕๖
นิทานชาวสวน
บทนำ
ในถนนนักเขียน ของห้องสมุด เวปพันทิป เมื่อสมัยที่ผมเริ่มเข้ามารู้จัก ตอนต้น พ.ศ.๒๕๔๘ นั้น มีหมวด เรื่องสั้น บทกวี นิยาย นิทาน ความเรียง และ บทประพันธ์อื่น ๆ เรียกว่าครบเครื่อง เรื่องวรรณศิลป์ ผมก็สามารถที่จะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนไว้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน นอกจากนิยายเรื่องยาวที่ไม่มีความสามารถ มาวางให้สมาชิกอ่านกัน จนหมดกรุ แล้วก็เขียนเรื่องใหม่ ๆ ในยุคนั้นต่อมา แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวด บทประพันธ์อื่น ๆ เพราะเป็นพวก บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นในระยะเวลานั้น
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ได้เข้าไปในห้องไร้สังกัดอีกห้องหนึ่ง ก็ทำอย่างเดียวกัน โดยไม่ได้ทิ้ง ห้องถนนนักเขียนเสียทีเดียว แต่ที่เหลือส่วนมากจะเป็นบทกวี
ครั้นมาถึง พ.ศ.๒๕๕๕ ตอนสิ้นปี เวปพันทิปปรับปรุงโฉมใหม่ ตั้งใจจะให้ดีกว่าเก่า รับบริการสมาชิกได้มากกว่าเดิม ดูหน้าตาก็หรูหราดี แต่สมาชิกกลับร้องกันระงม โดยเฉพาะ ห้องถนนนักเขียน เหลือเพียงสี่หมวด คือ แต่งกลอน แต่งนิยาย แต่งนิทาน แต่งเรื่องสั้น อ่านแค่ชื่อหมวดก็แปร่งหูแล้ว ฟังดูพิกลพิกาลไม่สมประกอบ แต่ที่สำคัญคือ หมวดความเรียง กับบทประพันธ์อื่น ๆ หายไป ทำให้ผู้ที่จะเขียนบันทึก หรือรำพึงรำพันไม่มีที่จะวาง และหัวข้อนี้ก็ไม่มีในห้องอื่นด้วย
เมื่อเริ่มโฉมใหม่ได้ไม่กี่วันก็มีผู้ร้องทุกข์กัยนเซ็งแซ่ นับคร่าว ๆ แล้วร่วมพันราย โดยเฉพาะห้อง ถนนนักเขียน มีผู้ขอหมวด บทกวี ซึ่งรวมร้อยกรองต่าง ๆ และบทประพันธ์อื่น ๆ คืน โดยมีผู้สนับสนุนมากมาย แต่จนขึ้นเดือนที่สองแล้ว ก็ไม่มีการตอบสนอง
ผมจึงลองเข้าไปอ่านหมวดนิทาน ซึ่งปกติจะมีผู้เขียนน้อยที่สุด ก็พบว่า ในเวลาที่ผ่านมา ๔๐ วัน มีผู้วางกระทู้ในหมวดนี้ เพียง ๑๑ กระทู้ และที่เป็นนิทานจริง ๆ เพียง ๒ กระทู้ ผมจึงอยากจะใช้ประโยชน์ในหมวดนี้ให้คุ้มค่า โดยการหาทางเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกลอน นิยายและเรื่องสั้นมาเล่าให้เป็นนิทานเสีย แล้ววางไว้ในหมวดนี้ ก็คงจะไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ส่วนจะมีใครเห็นด้วย แล้วเข้ามาอ่านหรือไม่ ก็อยู่ที่วิจารณญาณอันดีของท่านสมาชิก จะตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระเต็มที่ ผมขอน้อมรับทุกประการ
ขอเสนอนิทานเรื่องแรก ซึ่งไม่ใช่นิทานปรัมปรา หรือนิทานดึกดำบรรพ์ แต่เป็นนิทานยุคสมัยประชาธิปไตยเบ่งบานนี่เองครับ.
ชุด ชีวิตระหว่างสงครามเอเซีย
จากสวนมาอยู่สวน
แม่ผมเป็นชาวกรุงเทพ อยู่แถวสี่กั๊กเสาชิงช้า เลยมาทางวัดราชบพิธ แต่คุณตาไปเป็นผู้พิพากษาอยู่ที่จังหวีดตราด แม่จึงไปเป็นครูที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตราดด้วย ไปเจอพ่อซึ่งเป็นครูเหมือนกัน อายุห่างกันสิบปี เมื่อแต่งงานแล้วพ่อย้ายไปเป็นศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ ผมจึงไปเกิดที่นั่น โดยเป็นลูกคนที่สอง พี่ที่เป็นหญิงตายเมื่อคลอด พอดีถึงสมัยเศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ.๒๔๗๓ พ่อถูกปลดรับบำนาญ จึงกลับมาเป็นชาวสวนฝั่งธนบุรื แถวหลังวัดใหม่พิเรนทร์ สามแยกโพธิ์สามต้น
ผมนอนเล่นในสวนอยู่ ๒-๓ ปี มีน้องชายหนึ่งคนก็ตายเสียแต่เมื่อคลอดเหมือนกัน แล้วจึงมีน้องผู้หญิงคนสุดท้อง พอน้องอายุได้ไม่กี่เดือน แม่ก็แยกทางกับพ่อ กลับมาอยู่กับคุณตา ซึ่งปลูกบ้านอยู่ในซอยข้างโรงเรียนนายร้อยทหารบก ถนนราชดำเนินนอก
จนคุณตาถึงแก่กรรมไปแล้ว เขาไล่ที่สองข้างถนนราชดำเนิน เพื่อจะปลูกตึกสมัยใหม่เหมือนถนนราชดำเนินกลาง จึงต้องย้ายมาปลูกบ้านในที่เช่า ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเขาจัดสรรให้เป็นที่อยู่ของผู้ที่ย้าย มาจากริมถนนราชดำเนิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
หมู่บ้านหรือชุมชนใหม่นี้ เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ติดถนนสามเสน อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาล เรียกว่าหน้าวชิรพยาบาล ทิศใต้จรดถนนราชวิถีก่อนที่จะมีสะพานกรุงธน ทิศเหนือจรดถนนสุโขทัย ที่ตั้งต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองสามเสน ข้างวังสุโขทัย ไปตัดถนนนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก
พื้นที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่าสวนอ้อย ผมซึ่งขณะนั้นอายุสิบชวบ จึงย้ายจากสวนฝั่งธนบุรี มาอยู่ในสวนชานพระนคร ด้วยประการฉะนี้
จำได้ว่าพื้นดินในสวนอ้อยนี้ ที่ยังไม่ปลูกบ้าน จะเป็นท้องร่องทั้งนั้น แต่ไม่เห็นต้นอ้อยเลยสักต้นเดียว มีแต่ต้นแค ต้นตะขบ และต้นโสน อ่านว่า สะโน๋ (ขออภัยเขียนให้เด็กสมัยนี้อ่าน) ออกดอกเหลืองเต็มไปหมด เอาดอกมาชุบไข่ทอดแบบชะอม จิ้มน้ำพริกปลาทูอร่อยพอกัน ต้มกะทิข้น ๆ ก็กินกับน้ำพริกได้ ต้นแคนั้นเอาดอกมาแกงส้ม เด็ดยอดลวกจิ้มน้ำพริก ก็ดี ส่วนต้นตะขบไม่ค่อยมีประโยชน์ เมื่อลูกมันดิบ เด็ก ๆ เอามาทำกระสุนยิงด้วยหนังสตื๊กเล่นกัน เมื่อสุกมีสีแดงพอกินได้รสหวานปะแล่ม ๆ
พ.ศ.๒๔๘๔ นั้นเป็นเวลาเริ่มต้นสงคราม มหาเอซียบูรพา ซึ่งเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาค
แปซิฟิค ต่อจากภาคยุโรป โดยญี่ปุ่นเป็นพี่เบิ้ม ยกกองทัพมาปลดแอก ให้ประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของ
อเมริกา ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบังคับให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรด้วย โดยต้องยอมให้ผ่านไปปลดแอก พม่า และอินเดียต่อไป แต่ไม่สำเร็จ สงครามติดพันอยู่เป็นเวลา เกือบ ๕ ปี ถึง พ.ศ.๒๔๘๘ จึงยุติ
เมื่อน้ากับลูกสาวและลูกเขย มาปลูกบ้านอยู่ในสวยอ้อย และให้แม่กับผมและน้องมาอาศัยอยู่ด้วยนั้น ยังมีบ้านปลูกไม่มาก และห่าง ๆ กัน บ้านผมจึงต้องกั้นรั้วทั้งสี่ด้าน อยู่ระหว่างซอย ๔ กับ ซอย ๕ ทางขวามือเป็นซอย ๕ ก็รู้จักกับบ้านครูแล่ม และสามีคือน้าเนียง กับน้องชายที่เป็นเพื่อนกัน ชื่อเจ้าลอ ทางซ้ายก็มีบ้านน้าผ่อง ซึ่งมาปลูกทีหลัง ตอนแรกเป็นที่ดินว่าง สำหรับให้ชาวบ้านมาตั้งวงไฮโลว์ น้ำเต้าปูปลา เล่นกันเอง ไม่มีคนเก็บค่าต๋ง ซึ่งผมเคยเป็นคนดูต้นทางพอได้ค่าจ้างไม่กี่สลึง
หน้าบ้านเป็นซอยเล็ก เชื่อมระหว่าง ซอย ๔ กับซอย ๕ ฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านของครอบครัวใหญ่ มีบ้านพี่น้องเรียงรายไปทางซอย ๔ หลายหลังคาเรือน ครอบครัวนี้มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๖ คน คนโตเป็นหญิงผมเรียก พี่เสริม มีลูก ๕ คน คนแรกอ่อนกว่าผม ๖ ปี ชื่อเจ้าตึ๋ง ต่อมาก็เป็นเพื่อนกัน
พี่คนที่สองเป็นนายทหารอากาศ ผมเรียกพี่เสิด เป็นคนหูตึงอย่างหนัก สุดท้ายเป็น นาวาอากาศเอก มีลูกชายเป็นทหารบกปัจจุบันเมื่อเกษียณอายุราชการ ยศ พลเอก
พี่คนที่สามเป็นหญิง ผมเรียกพี่หริ คนที่สี่เป็นชาย ผมเรียกพี่สาร คนที่ห้าเป็นหญิง ผมเรียกอารีย์ เพราะว่าแก่กว่าผมไม่กี่ปี พอเป็นเพื่อนกันได้
คนสุดท้ายเป็นชายผมเรียกเจ้าออด เพราะเป็นเพื่อนซี้กันมาก และอายุเท่ากับลูกชายคนโตของพี่เสริม ซึ่งมีฐานะเป็นหลาน
แล้วยังมีญาติของพี่เสริมอีกสองบ้าน บ้านหนึ่งผมเรียกน้ายูร มีลูกสองคน หญิงชาย พี่ชื่ออ้วน น้องชายชื่ออั๋น ก็เป็นเพื่อนของผมอีก และบ้านสุดท้าย ผมเรียกน้าหนอม มีลูกสาวคนเดียว สามีเป็นทหารเรือยศจ่าโท ผมเรียกพี่ทัย ประจำเรือดำน้ำวิรุฬ มีลูก ๖ คน เป็นผู้หญิงเรียงกันมา ๕ คน สุดท้องจึงเป็นชาย พี่สาวคนโตก็เป็นรุ่นน้อง ก็เลยไม่ได้เป็นเพื่อนกัน
เพื่อนบ้านที่สนิทสนมเหล่านี้ ได้ผ่านพ้นภัยสงครามมาด้วยกัน จนสงครามสงบ และโตเป็นหนุ่มเป็นสาว รุ่นพี่รุ่นน้าก็แก่เฒ่า แยกย้าย ล้มหายตายจากกันไปตามบุพกรรม ซึ่งมีแต่ผมที่ยังเหลืออยู่ และจดจำเรื่องราวของท่านเหล่านี้ได้ เพราะอยู่ประจำที่เดียวกับเมื่อ ๗๐ ปีก่อนโน้น โดยไม่ได้ย้ายไปไหนเลย
คงจะพลิกฟื้นความจำ เอามาเล่าได้บ้าง เมื่อมีโอกาส และสุขภาพที่ดีพอจะพิมพ์ได้ ทีละเล็กละน้อยสะสมไว้ เป็นบันทึกของผู้เฒ่า ต่อไป.
################
วางเมื่อเวลา ๑๑.๓๘
นิทานชาวสวน ๑/๙ก.พ.๕๖
นิทานชาวสวน
บทนำ
ในถนนนักเขียน ของห้องสมุด เวปพันทิป เมื่อสมัยที่ผมเริ่มเข้ามารู้จัก ตอนต้น พ.ศ.๒๕๔๘ นั้น มีหมวด เรื่องสั้น บทกวี นิยาย นิทาน ความเรียง และ บทประพันธ์อื่น ๆ เรียกว่าครบเครื่อง เรื่องวรรณศิลป์ ผมก็สามารถที่จะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนไว้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน นอกจากนิยายเรื่องยาวที่ไม่มีความสามารถ มาวางให้สมาชิกอ่านกัน จนหมดกรุ แล้วก็เขียนเรื่องใหม่ ๆ ในยุคนั้นต่อมา แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวด บทประพันธ์อื่น ๆ เพราะเป็นพวก บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นในระยะเวลานั้น
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ได้เข้าไปในห้องไร้สังกัดอีกห้องหนึ่ง ก็ทำอย่างเดียวกัน โดยไม่ได้ทิ้ง ห้องถนนนักเขียนเสียทีเดียว แต่ที่เหลือส่วนมากจะเป็นบทกวี
ครั้นมาถึง พ.ศ.๒๕๕๕ ตอนสิ้นปี เวปพันทิปปรับปรุงโฉมใหม่ ตั้งใจจะให้ดีกว่าเก่า รับบริการสมาชิกได้มากกว่าเดิม ดูหน้าตาก็หรูหราดี แต่สมาชิกกลับร้องกันระงม โดยเฉพาะ ห้องถนนนักเขียน เหลือเพียงสี่หมวด คือ แต่งกลอน แต่งนิยาย แต่งนิทาน แต่งเรื่องสั้น อ่านแค่ชื่อหมวดก็แปร่งหูแล้ว ฟังดูพิกลพิกาลไม่สมประกอบ แต่ที่สำคัญคือ หมวดความเรียง กับบทประพันธ์อื่น ๆ หายไป ทำให้ผู้ที่จะเขียนบันทึก หรือรำพึงรำพันไม่มีที่จะวาง และหัวข้อนี้ก็ไม่มีในห้องอื่นด้วย
เมื่อเริ่มโฉมใหม่ได้ไม่กี่วันก็มีผู้ร้องทุกข์กัยนเซ็งแซ่ นับคร่าว ๆ แล้วร่วมพันราย โดยเฉพาะห้อง ถนนนักเขียน มีผู้ขอหมวด บทกวี ซึ่งรวมร้อยกรองต่าง ๆ และบทประพันธ์อื่น ๆ คืน โดยมีผู้สนับสนุนมากมาย แต่จนขึ้นเดือนที่สองแล้ว ก็ไม่มีการตอบสนอง
ผมจึงลองเข้าไปอ่านหมวดนิทาน ซึ่งปกติจะมีผู้เขียนน้อยที่สุด ก็พบว่า ในเวลาที่ผ่านมา ๔๐ วัน มีผู้วางกระทู้ในหมวดนี้ เพียง ๑๑ กระทู้ และที่เป็นนิทานจริง ๆ เพียง ๒ กระทู้ ผมจึงอยากจะใช้ประโยชน์ในหมวดนี้ให้คุ้มค่า โดยการหาทางเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกลอน นิยายและเรื่องสั้นมาเล่าให้เป็นนิทานเสีย แล้ววางไว้ในหมวดนี้ ก็คงจะไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ส่วนจะมีใครเห็นด้วย แล้วเข้ามาอ่านหรือไม่ ก็อยู่ที่วิจารณญาณอันดีของท่านสมาชิก จะตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระเต็มที่ ผมขอน้อมรับทุกประการ
ขอเสนอนิทานเรื่องแรก ซึ่งไม่ใช่นิทานปรัมปรา หรือนิทานดึกดำบรรพ์ แต่เป็นนิทานยุคสมัยประชาธิปไตยเบ่งบานนี่เองครับ.
ชุด ชีวิตระหว่างสงครามเอเซีย
จากสวนมาอยู่สวน
แม่ผมเป็นชาวกรุงเทพ อยู่แถวสี่กั๊กเสาชิงช้า เลยมาทางวัดราชบพิธ แต่คุณตาไปเป็นผู้พิพากษาอยู่ที่จังหวีดตราด แม่จึงไปเป็นครูที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตราดด้วย ไปเจอพ่อซึ่งเป็นครูเหมือนกัน อายุห่างกันสิบปี เมื่อแต่งงานแล้วพ่อย้ายไปเป็นศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ ผมจึงไปเกิดที่นั่น โดยเป็นลูกคนที่สอง พี่ที่เป็นหญิงตายเมื่อคลอด พอดีถึงสมัยเศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ.๒๔๗๓ พ่อถูกปลดรับบำนาญ จึงกลับมาเป็นชาวสวนฝั่งธนบุรื แถวหลังวัดใหม่พิเรนทร์ สามแยกโพธิ์สามต้น
ผมนอนเล่นในสวนอยู่ ๒-๓ ปี มีน้องชายหนึ่งคนก็ตายเสียแต่เมื่อคลอดเหมือนกัน แล้วจึงมีน้องผู้หญิงคนสุดท้อง พอน้องอายุได้ไม่กี่เดือน แม่ก็แยกทางกับพ่อ กลับมาอยู่กับคุณตา ซึ่งปลูกบ้านอยู่ในซอยข้างโรงเรียนนายร้อยทหารบก ถนนราชดำเนินนอก
จนคุณตาถึงแก่กรรมไปแล้ว เขาไล่ที่สองข้างถนนราชดำเนิน เพื่อจะปลูกตึกสมัยใหม่เหมือนถนนราชดำเนินกลาง จึงต้องย้ายมาปลูกบ้านในที่เช่า ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเขาจัดสรรให้เป็นที่อยู่ของผู้ที่ย้าย มาจากริมถนนราชดำเนิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
หมู่บ้านหรือชุมชนใหม่นี้ เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ติดถนนสามเสน อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาล เรียกว่าหน้าวชิรพยาบาล ทิศใต้จรดถนนราชวิถีก่อนที่จะมีสะพานกรุงธน ทิศเหนือจรดถนนสุโขทัย ที่ตั้งต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองสามเสน ข้างวังสุโขทัย ไปตัดถนนนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก
พื้นที่แห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่าสวนอ้อย ผมซึ่งขณะนั้นอายุสิบชวบ จึงย้ายจากสวนฝั่งธนบุรี มาอยู่ในสวนชานพระนคร ด้วยประการฉะนี้
จำได้ว่าพื้นดินในสวนอ้อยนี้ ที่ยังไม่ปลูกบ้าน จะเป็นท้องร่องทั้งนั้น แต่ไม่เห็นต้นอ้อยเลยสักต้นเดียว มีแต่ต้นแค ต้นตะขบ และต้นโสน อ่านว่า สะโน๋ (ขออภัยเขียนให้เด็กสมัยนี้อ่าน) ออกดอกเหลืองเต็มไปหมด เอาดอกมาชุบไข่ทอดแบบชะอม จิ้มน้ำพริกปลาทูอร่อยพอกัน ต้มกะทิข้น ๆ ก็กินกับน้ำพริกได้ ต้นแคนั้นเอาดอกมาแกงส้ม เด็ดยอดลวกจิ้มน้ำพริก ก็ดี ส่วนต้นตะขบไม่ค่อยมีประโยชน์ เมื่อลูกมันดิบ เด็ก ๆ เอามาทำกระสุนยิงด้วยหนังสตื๊กเล่นกัน เมื่อสุกมีสีแดงพอกินได้รสหวานปะแล่ม ๆ
พ.ศ.๒๔๘๔ นั้นเป็นเวลาเริ่มต้นสงคราม มหาเอซียบูรพา ซึ่งเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาค
แปซิฟิค ต่อจากภาคยุโรป โดยญี่ปุ่นเป็นพี่เบิ้ม ยกกองทัพมาปลดแอก ให้ประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของ
อเมริกา ฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบังคับให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรด้วย โดยต้องยอมให้ผ่านไปปลดแอก พม่า และอินเดียต่อไป แต่ไม่สำเร็จ สงครามติดพันอยู่เป็นเวลา เกือบ ๕ ปี ถึง พ.ศ.๒๔๘๘ จึงยุติ
เมื่อน้ากับลูกสาวและลูกเขย มาปลูกบ้านอยู่ในสวยอ้อย และให้แม่กับผมและน้องมาอาศัยอยู่ด้วยนั้น ยังมีบ้านปลูกไม่มาก และห่าง ๆ กัน บ้านผมจึงต้องกั้นรั้วทั้งสี่ด้าน อยู่ระหว่างซอย ๔ กับ ซอย ๕ ทางขวามือเป็นซอย ๕ ก็รู้จักกับบ้านครูแล่ม และสามีคือน้าเนียง กับน้องชายที่เป็นเพื่อนกัน ชื่อเจ้าลอ ทางซ้ายก็มีบ้านน้าผ่อง ซึ่งมาปลูกทีหลัง ตอนแรกเป็นที่ดินว่าง สำหรับให้ชาวบ้านมาตั้งวงไฮโลว์ น้ำเต้าปูปลา เล่นกันเอง ไม่มีคนเก็บค่าต๋ง ซึ่งผมเคยเป็นคนดูต้นทางพอได้ค่าจ้างไม่กี่สลึง
หน้าบ้านเป็นซอยเล็ก เชื่อมระหว่าง ซอย ๔ กับซอย ๕ ฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านของครอบครัวใหญ่ มีบ้านพี่น้องเรียงรายไปทางซอย ๔ หลายหลังคาเรือน ครอบครัวนี้มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๖ คน คนโตเป็นหญิงผมเรียก พี่เสริม มีลูก ๕ คน คนแรกอ่อนกว่าผม ๖ ปี ชื่อเจ้าตึ๋ง ต่อมาก็เป็นเพื่อนกัน
พี่คนที่สองเป็นนายทหารอากาศ ผมเรียกพี่เสิด เป็นคนหูตึงอย่างหนัก สุดท้ายเป็น นาวาอากาศเอก มีลูกชายเป็นทหารบกปัจจุบันเมื่อเกษียณอายุราชการ ยศ พลเอก
พี่คนที่สามเป็นหญิง ผมเรียกพี่หริ คนที่สี่เป็นชาย ผมเรียกพี่สาร คนที่ห้าเป็นหญิง ผมเรียกอารีย์ เพราะว่าแก่กว่าผมไม่กี่ปี พอเป็นเพื่อนกันได้
คนสุดท้ายเป็นชายผมเรียกเจ้าออด เพราะเป็นเพื่อนซี้กันมาก และอายุเท่ากับลูกชายคนโตของพี่เสริม ซึ่งมีฐานะเป็นหลาน
แล้วยังมีญาติของพี่เสริมอีกสองบ้าน บ้านหนึ่งผมเรียกน้ายูร มีลูกสองคน หญิงชาย พี่ชื่ออ้วน น้องชายชื่ออั๋น ก็เป็นเพื่อนของผมอีก และบ้านสุดท้าย ผมเรียกน้าหนอม มีลูกสาวคนเดียว สามีเป็นทหารเรือยศจ่าโท ผมเรียกพี่ทัย ประจำเรือดำน้ำวิรุฬ มีลูก ๖ คน เป็นผู้หญิงเรียงกันมา ๕ คน สุดท้องจึงเป็นชาย พี่สาวคนโตก็เป็นรุ่นน้อง ก็เลยไม่ได้เป็นเพื่อนกัน
เพื่อนบ้านที่สนิทสนมเหล่านี้ ได้ผ่านพ้นภัยสงครามมาด้วยกัน จนสงครามสงบ และโตเป็นหนุ่มเป็นสาว รุ่นพี่รุ่นน้าก็แก่เฒ่า แยกย้าย ล้มหายตายจากกันไปตามบุพกรรม ซึ่งมีแต่ผมที่ยังเหลืออยู่ และจดจำเรื่องราวของท่านเหล่านี้ได้ เพราะอยู่ประจำที่เดียวกับเมื่อ ๗๐ ปีก่อนโน้น โดยไม่ได้ย้ายไปไหนเลย
คงจะพลิกฟื้นความจำ เอามาเล่าได้บ้าง เมื่อมีโอกาส และสุขภาพที่ดีพอจะพิมพ์ได้ ทีละเล็กละน้อยสะสมไว้ เป็นบันทึกของผู้เฒ่า ต่อไป.
################
วางเมื่อเวลา ๑๑.๓๘