นิทานชาวสวน ๑๐ ก.พ.๕๖
ชุด ชีวิตระหว่างสงครามเอเซีย
๒.สวนสวรรค์
นอกจากน้องชายและลูกชายของครอบครัวใหญ่ บ้านตรงข้ามกับบ้านผม ที่มาเป็นเพื่อนกับผมแล้ว เจ้าลอน้องครูแล่ม ซอย ๕ ก็เป็นเพื่อนสนิทอีกคนหนึ่ง เขาแก่กว่าผมประมาณสองปี ดูเหมือนจะอายุเท่า อารีย์ เขาจะเป็นผู้นำของผมไปหาที่เล่นให้แปลกออกไป เช่นการกระโดดน้ำคลองที่เรียกว่าคลองท่อ ซึ่งเริ่มต้นจากท่าวาสุกรีข้างวัดราชาธิวาส ลอดถนนสามเสนเข้าไปในสวนสุนันทา เลี้ยวลดคดเคี้ยวอยู่ในนั้นพักหนึ่ง ก็ออกมาทางด้านที่เป็นโรงเรียนการเรือน ซึ่งขยายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิตในปัจจุบัน มาทะลุออกที่ถนนนครราชสีมา ที่ตัดผ่ากลางพระราชวังดุสิตไปจนถึงถนนประชาธิปไตย ที่ยาวไปจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ถนนราชดำเนินกลาง
ตรงที่โผล่ออกมาลอดถนนนครราชสีมานี้ เขาทำเป็นอุโมงค์ใหญ่แบบเปิด และอยู่นอกรั้วโรงเรียนการเรือนด้านหนึ่ง กับรั้วของสวนพุดตาน ซึ่งเป็นที่ตั้งพระที่นั่งวิมานเมฆ และพระที่นั่งอภิเษกดุสิต จนถึงปัจจุบัน จากราวสะพานซึ่งสูงจากพื้นน้ำไม่กี่เมตร เราก็โดดกันสนุกสนาน
ที่สำคัญคือเขื่อนสองข้างคลองก่อนถึงสะพาน เก่าชราชำรุดผุฟัง เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำที่ใคร ๆ ก็รู้จักกันทุกบ้าน คือกุ้งนาง และกุ้งก้ามกราม คงจะไม่ต้องสาบานใน พ.ศ.นี้ ว่ามีอยู่จริง ๆ เจ้าลอ เพื่อนอาวุโสของผมนี่แหละ เป็นนักจับกุ้งมือเซียนของสวนอ้อยก็ว่าได้ เมื่อเขาดำน้ำลงไปทุกครั้งที่โผล่ขึ้นมา จะต้องมีกุ้งติดมือมาด้วยทุกครั้ง บางทีก็มือละตัวด้วยซ้ำ ผมซึ่งยังว่ายน้ำไม่เป็นก็คอยเก็บกุ้งอยู่บนฝั่ง
เอาผ้าขาวม้าของเจ้าลอห่อไว้ เอาไปเผาแบ่งกันกินทีหลัง
ที่ผมว่ายน้ำไม่เป็นแล้วไปโดดน้ำกับเขาได้นั้น เพราะก้นคลองช่วงนั้นเป็นที่ตื้น ประมาณน้ำท่วมหัวเท่านั้น โดดตูมลงไปแล้วก็ทะลึ่งขึ้นมา โผไปเกาะเขื่อนได้สบาย ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด สมัยนั้นผู้คนในสวนอ้อยซึ่งมีไม่มากนัก ต่างก็พากันเดินไปอาบน้ำที่คลองท่อนี้เป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายหญิงนุ่งผ้ากระโจมอกถือขันใส่สบู่ซันไลท์ไปด้วย เมื่ออาบเสร็จแล้ว ก็นุ่งผ้าถุงเปียกผืนนั้น กระโจมอกเดินกลับบ้าน ฝ่ายชายไม่ค่อยมีผู้ใหญ่ ก็ไม่นุ่งกางเกงให้เรียบร้อย มักนุ่งแต่ผ้าขาวม้า
ที่ทำเช่นนั้นได้ก็เพราะทั้งถนนราชวิถี และถนนนครราชสีมานั้น นาน ๆ จึงจะมีรถผ่านสักคันหนึ่ง แค่ข้ามถนนนิดเดียวก็เข้าเขตสวนอ้อย ที่มีแต่ชาวบ้านกันเอง เดินไปตามซอยที่ใช้เดินเท้าอย่างเดียว เหมือนบ้านสวนฝั่งธนบุรีเท่านั้น
ส่วนเด็กนั้นไม่ต้องพูดถึงเด็กชายไม่เคยสนใจเครื่องแต่งกาย มีกางเกงขาด ๆ ปุปะตัวเดียวก็พอแล้ว เวลาลงน้ำก็ถอดกางเกงกองไว้ พอขึ้นจากน้ำก็นุ่งกางเกงไปไหนต่อไหนได้สบาย แถมบางคนไม่นุ่งอะไรเลยอีกด้วย ส่วนเด็กหญิงเขาก็ทำตามผู้ใหญ่ คือนุงผ้าถุงตัวเดียว แต่ไม่ต้องกระโจมอกเพราะไม่มีอะไรมากกว่าหัวนมนิดเดียว ไม่เหมือนสมัยนี้
นอกจากงมกุ้งแล้ว เจ้าลอยังเป็นผู้นำในเรื่องอื่น ๆ อีก เช่นการกระโดดน้ำจากราวสะพานดูจะง่ายไป ลองโดดจากบนกำแพงวังที่คล่อมคลองดูบ้าง คลองท่อนี้ลอดท่อจากใต้ถนนนครราชสีมาเข้าไปในสวนพุดตาน ผ่านข้าง ๆ พระที่นั่งวิมมานเมฆซึ่งขณะนั้นไม่มีใครรู้จัก เลี้ยวซ้ายไปลอดใต้กำแพงวังด้านถนนราชวิถีลอดสะพานที่ข้ามถนนราชวิถี เข้าไปในกองพันทหารราบที่ ๓ เดิม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ริมถนนพระรามที่ ๕ ไปบรรจบกับคลองสามเสนที่วัดแคสามเสน หรือวัดสวัสดิวารีสีมาราม
จากกำแพงของพระราชวังดุสิต ที่คล่อมคลองท่อ ตรงที่จะลอดถนนราชวิถีนี้แหละ ที่เป็นสนามทดสอบกำลังใจของเด็กสวนอ้อยในสมัยนั้น ว่าจะแน่แค่ไหน เพราะต้องไต่กำแพงขึ้นไปข้างบนสุดด้วยเท้าเปล่า โดยเหยียบปุ่มลายกำแพง และเอามือเหนี่ยวพาตัวขึ้นไปด้วยความลำบาก นั่งยอง ๆ พอหายเหนื่อยแล้วก็โดดตูมลงมาในน้ำซึ่งลึกกว่าทางด้านถนนนครราชสีมา แค่ความกว้างพอกัน
คนเก่งก็ใช้ท่าพุ่งหลาว ซึ่งคงจะมุดน้ำลงไปถึงพื้นดินก้นคลอง คนเก่งรองลงมาก็ใช้ท่าลูกมะพร้าวคืองอเข่าเอาสองมือประสารรัดไว้ใต้เข่า ให้ก้นต้านน้ำจะได้ไม่จมไปลึกนัก คนที่ไม่เก่งเลยอย่างผมก็เอามืออุดจมูกกลั้นใจ โดดลงมาตรง ๆ พร้อมกับหลับตาด้วย พอทะลึ่งขึ้นมาเหนือน้ำได้ ก็ตะกายเข้าหาขอบเขื่อนริมคลองอย่างเร็ว ก่อนที่จะจมลงไปอีก
เรื่องเล่นอย่างพิสดารนี้ยังมีอีก คือสมัยนั้นภายในสวนพุดตานเต็มไปด้วยต้นไม้หนาแน่น อยู่ทั่วไป เป็นไม้ผลต้นโต ๆ เช่นชมพู่ มะม่วง มะหวด และอะไรอีกหลายชนิดที่มีลูกกินได้ มันขึ้นกันอยู่ใกล้บ้านพัก หรือที่เรียกว่าตำหนัก ซึ่งรกร้างว่างเปล่าอยู่ เราเด็ก ๆ ก็เข้าไปวิ่งเล่นแล้วก็นอนพัก เพราะมีความร่มรื่นด้วยเงาไม้ แล้วก็เก็บผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขมพู่ ที่ไม่ต้องออกลูกตามฤดูกาล สีม่วงบ้าง สีชมพูบ้าง สีเขียวบ้าง มาแทะกินแก้หิว บางคนก็ปีนต้นขึ้นไปนอนกินอยู่บนคาคบไม้เสียเลย และที่พิสดารกว่านั้น ก็คือไม่เด็ดลูกชมพู่มากิน แต่กัดให้วันแหว่งคาก้านอยู่เหมือนกระรอกแทะอย่างนั้น
ซึ่งการเล่นที่เกี่ยวกับการปีนป่ายแบบนี้ แน่นอนว่าไม่มีเด็กผู้หญิงมาร่วมวงด้วยเลย และสวนอ้อย สวนพุดตาน กับสวนดุสิต ในสมัยนั้น จึงเป็นสวรรค์ของเด็ก ๆ รุ่นผม ที่น่าจะเรียกได้ว่า เป็นสวนสวรรค์เลยทีเดียว.
วางเมื่อ เวลา ๐๖.๓๙
นิทานชาวสวน (๒)
ชุด ชีวิตระหว่างสงครามเอเซีย
๒.สวนสวรรค์
นอกจากน้องชายและลูกชายของครอบครัวใหญ่ บ้านตรงข้ามกับบ้านผม ที่มาเป็นเพื่อนกับผมแล้ว เจ้าลอน้องครูแล่ม ซอย ๕ ก็เป็นเพื่อนสนิทอีกคนหนึ่ง เขาแก่กว่าผมประมาณสองปี ดูเหมือนจะอายุเท่า อารีย์ เขาจะเป็นผู้นำของผมไปหาที่เล่นให้แปลกออกไป เช่นการกระโดดน้ำคลองที่เรียกว่าคลองท่อ ซึ่งเริ่มต้นจากท่าวาสุกรีข้างวัดราชาธิวาส ลอดถนนสามเสนเข้าไปในสวนสุนันทา เลี้ยวลดคดเคี้ยวอยู่ในนั้นพักหนึ่ง ก็ออกมาทางด้านที่เป็นโรงเรียนการเรือน ซึ่งขยายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิตในปัจจุบัน มาทะลุออกที่ถนนนครราชสีมา ที่ตัดผ่ากลางพระราชวังดุสิตไปจนถึงถนนประชาธิปไตย ที่ยาวไปจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ถนนราชดำเนินกลาง
ตรงที่โผล่ออกมาลอดถนนนครราชสีมานี้ เขาทำเป็นอุโมงค์ใหญ่แบบเปิด และอยู่นอกรั้วโรงเรียนการเรือนด้านหนึ่ง กับรั้วของสวนพุดตาน ซึ่งเป็นที่ตั้งพระที่นั่งวิมานเมฆ และพระที่นั่งอภิเษกดุสิต จนถึงปัจจุบัน จากราวสะพานซึ่งสูงจากพื้นน้ำไม่กี่เมตร เราก็โดดกันสนุกสนาน
ที่สำคัญคือเขื่อนสองข้างคลองก่อนถึงสะพาน เก่าชราชำรุดผุฟัง เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำที่ใคร ๆ ก็รู้จักกันทุกบ้าน คือกุ้งนาง และกุ้งก้ามกราม คงจะไม่ต้องสาบานใน พ.ศ.นี้ ว่ามีอยู่จริง ๆ เจ้าลอ เพื่อนอาวุโสของผมนี่แหละ เป็นนักจับกุ้งมือเซียนของสวนอ้อยก็ว่าได้ เมื่อเขาดำน้ำลงไปทุกครั้งที่โผล่ขึ้นมา จะต้องมีกุ้งติดมือมาด้วยทุกครั้ง บางทีก็มือละตัวด้วยซ้ำ ผมซึ่งยังว่ายน้ำไม่เป็นก็คอยเก็บกุ้งอยู่บนฝั่ง
เอาผ้าขาวม้าของเจ้าลอห่อไว้ เอาไปเผาแบ่งกันกินทีหลัง
ที่ผมว่ายน้ำไม่เป็นแล้วไปโดดน้ำกับเขาได้นั้น เพราะก้นคลองช่วงนั้นเป็นที่ตื้น ประมาณน้ำท่วมหัวเท่านั้น โดดตูมลงไปแล้วก็ทะลึ่งขึ้นมา โผไปเกาะเขื่อนได้สบาย ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด สมัยนั้นผู้คนในสวนอ้อยซึ่งมีไม่มากนัก ต่างก็พากันเดินไปอาบน้ำที่คลองท่อนี้เป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายหญิงนุ่งผ้ากระโจมอกถือขันใส่สบู่ซันไลท์ไปด้วย เมื่ออาบเสร็จแล้ว ก็นุ่งผ้าถุงเปียกผืนนั้น กระโจมอกเดินกลับบ้าน ฝ่ายชายไม่ค่อยมีผู้ใหญ่ ก็ไม่นุ่งกางเกงให้เรียบร้อย มักนุ่งแต่ผ้าขาวม้า
ที่ทำเช่นนั้นได้ก็เพราะทั้งถนนราชวิถี และถนนนครราชสีมานั้น นาน ๆ จึงจะมีรถผ่านสักคันหนึ่ง แค่ข้ามถนนนิดเดียวก็เข้าเขตสวนอ้อย ที่มีแต่ชาวบ้านกันเอง เดินไปตามซอยที่ใช้เดินเท้าอย่างเดียว เหมือนบ้านสวนฝั่งธนบุรีเท่านั้น
ส่วนเด็กนั้นไม่ต้องพูดถึงเด็กชายไม่เคยสนใจเครื่องแต่งกาย มีกางเกงขาด ๆ ปุปะตัวเดียวก็พอแล้ว เวลาลงน้ำก็ถอดกางเกงกองไว้ พอขึ้นจากน้ำก็นุ่งกางเกงไปไหนต่อไหนได้สบาย แถมบางคนไม่นุ่งอะไรเลยอีกด้วย ส่วนเด็กหญิงเขาก็ทำตามผู้ใหญ่ คือนุงผ้าถุงตัวเดียว แต่ไม่ต้องกระโจมอกเพราะไม่มีอะไรมากกว่าหัวนมนิดเดียว ไม่เหมือนสมัยนี้
นอกจากงมกุ้งแล้ว เจ้าลอยังเป็นผู้นำในเรื่องอื่น ๆ อีก เช่นการกระโดดน้ำจากราวสะพานดูจะง่ายไป ลองโดดจากบนกำแพงวังที่คล่อมคลองดูบ้าง คลองท่อนี้ลอดท่อจากใต้ถนนนครราชสีมาเข้าไปในสวนพุดตาน ผ่านข้าง ๆ พระที่นั่งวิมมานเมฆซึ่งขณะนั้นไม่มีใครรู้จัก เลี้ยวซ้ายไปลอดใต้กำแพงวังด้านถนนราชวิถีลอดสะพานที่ข้ามถนนราชวิถี เข้าไปในกองพันทหารราบที่ ๓ เดิม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ริมถนนพระรามที่ ๕ ไปบรรจบกับคลองสามเสนที่วัดแคสามเสน หรือวัดสวัสดิวารีสีมาราม
จากกำแพงของพระราชวังดุสิต ที่คล่อมคลองท่อ ตรงที่จะลอดถนนราชวิถีนี้แหละ ที่เป็นสนามทดสอบกำลังใจของเด็กสวนอ้อยในสมัยนั้น ว่าจะแน่แค่ไหน เพราะต้องไต่กำแพงขึ้นไปข้างบนสุดด้วยเท้าเปล่า โดยเหยียบปุ่มลายกำแพง และเอามือเหนี่ยวพาตัวขึ้นไปด้วยความลำบาก นั่งยอง ๆ พอหายเหนื่อยแล้วก็โดดตูมลงมาในน้ำซึ่งลึกกว่าทางด้านถนนนครราชสีมา แค่ความกว้างพอกัน
คนเก่งก็ใช้ท่าพุ่งหลาว ซึ่งคงจะมุดน้ำลงไปถึงพื้นดินก้นคลอง คนเก่งรองลงมาก็ใช้ท่าลูกมะพร้าวคืองอเข่าเอาสองมือประสารรัดไว้ใต้เข่า ให้ก้นต้านน้ำจะได้ไม่จมไปลึกนัก คนที่ไม่เก่งเลยอย่างผมก็เอามืออุดจมูกกลั้นใจ โดดลงมาตรง ๆ พร้อมกับหลับตาด้วย พอทะลึ่งขึ้นมาเหนือน้ำได้ ก็ตะกายเข้าหาขอบเขื่อนริมคลองอย่างเร็ว ก่อนที่จะจมลงไปอีก
เรื่องเล่นอย่างพิสดารนี้ยังมีอีก คือสมัยนั้นภายในสวนพุดตานเต็มไปด้วยต้นไม้หนาแน่น อยู่ทั่วไป เป็นไม้ผลต้นโต ๆ เช่นชมพู่ มะม่วง มะหวด และอะไรอีกหลายชนิดที่มีลูกกินได้ มันขึ้นกันอยู่ใกล้บ้านพัก หรือที่เรียกว่าตำหนัก ซึ่งรกร้างว่างเปล่าอยู่ เราเด็ก ๆ ก็เข้าไปวิ่งเล่นแล้วก็นอนพัก เพราะมีความร่มรื่นด้วยเงาไม้ แล้วก็เก็บผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขมพู่ ที่ไม่ต้องออกลูกตามฤดูกาล สีม่วงบ้าง สีชมพูบ้าง สีเขียวบ้าง มาแทะกินแก้หิว บางคนก็ปีนต้นขึ้นไปนอนกินอยู่บนคาคบไม้เสียเลย และที่พิสดารกว่านั้น ก็คือไม่เด็ดลูกชมพู่มากิน แต่กัดให้วันแหว่งคาก้านอยู่เหมือนกระรอกแทะอย่างนั้น
ซึ่งการเล่นที่เกี่ยวกับการปีนป่ายแบบนี้ แน่นอนว่าไม่มีเด็กผู้หญิงมาร่วมวงด้วยเลย และสวนอ้อย สวนพุดตาน กับสวนดุสิต ในสมัยนั้น จึงเป็นสวรรค์ของเด็ก ๆ รุ่นผม ที่น่าจะเรียกได้ว่า เป็นสวนสวรรค์เลยทีเดียว.
วางเมื่อ เวลา ๐๖.๓๙