โฮมโปรท้าชน ดันเมกาโฮมฯ สู้ไทวัสดุ-SCG
06 ก.พ. 2556 เวลา 00:10:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาดวัสดุก่อสร้างเดือด "โฮมโปร" ติดหัวรบใหม่ "เมกาโฮม เซ็นเตอร์" ท้าชน "ไทวัสดุ-สยามโกลบอลเฮ้าส์" วงการชี้บุก "โมเดิร์นเทรดโอเพ่นแอร์" เต็มตัว หวังขยายฐานลูกค้า ปั้นรายได้เพิ่ม ด้านคู่แข่ง 2 บิ๊กไม่หวั่น ปรับกลยุทธ์รักษามาร์เก็ตแชร์
แหล่งข่าวจากวงการวัสดุก่อสร้างเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้วงการค้าวัสดุก่อสร้างกำลังจับตามองความเคลื่อนไหวของบิ๊กแบรนด์วัสดุก่อสร้างโมเดิร์นเทรด "โฮมโปร" หลังบริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของห้างโฮมโปร แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมาว่า ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท เมกา โฮม เซ็นเตอร์ จำกัด ในสัดส่วน 99.99% เพื่อดำเนินธุรกิจซื้อมาขายไป ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
แม้จะไม่มีรายละเอียดชัดเจนทั้งแผนการลงทุน โมเดลธุรกิจ และสาขาที่จะเปิดให้บริการ "โมเดิร์นเทรด" รูปแบบใหม่ของค่ายโฮมโปร แต่ ณ จุดนี้ ในแวดวงคู่แข่งด้านวัสดุประเมินกันว่า "บริษัทใหม่ที่
โฮมโปรเข้าไปถือหุ้นเกือบ 100% น่าจะเป็นหัวรบใหม่ในทางธุรกิจ"
เป้าหมายเพื่อ "ต่อกร" กับค่ายยักษ์ "ไทวัสดุ" ของตระกูล "จิราธิวัฒน์" ที่เคยเพลี่ยงพล้ำแก่โฮมโปรมาแล้ว ในการทำตลาดค้าปลีกเรื่องสินค้าตกแต่งบ้านครบวงจรอย่าง "โฮมเวิร์ค"
เมื่อตระกูล "จิราธิวัฒน์" คิดพลิกเกมและลุกขึ้นมาเซตอัพ "โมเดลธุรกิจใหม่" ด้วยกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนจากช็อปค้าวัสดุติดแอร์มาสู่การเป็น "โกดังค้าวัสดุ" แบบโอเพ่นแอร์ ชั่วระยะเวลาไม่นาน แบรนด์ "ไทวัสดุ" ก็แจ้งเกิดได้สำเร็จในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยโฟกัสลูกค้าเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้รับเหมา สถาปนิก วิศวกร และลูกค้ารายย่อยระดับกลาง-ล่าง พร้อมประกาศยึดหัวหาดทำเลย่านชานเมืองเป็นหลัก จากวันนั้นถึงวันนี้ "ไทวัสดุ" มีสาขาแล้วถึง 24 แห่งทั่วประเทศ และสามารถสร้างรายได้ต่อปีให้กับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างเป็นกอบเป็นกำเฉียดหมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า แน่นอนว่า "โฮมโปร" ธุรกิจในกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คงเฝ้าจับตามองการเติบโตของ "ไทวัสดุ" และธุรกิจคอนเซ็ปต์เดียวกันอย่าง "สยามโกลบอลเฮ้าส์" ที่ขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่หัวเมืองหลักและเมืองรองอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่างกับที่โฮมโปรกำลังเติบโตและเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยสามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมานิยมช็อปปิ้งวัสดุและของตกแต่งบ้านได้อย่างน่าพึงพอใจ ด้วยสินค้าที่หลากหลายและราคาไม่แพง ทำให้ผลตอบรับจากผู้บริโภคแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 16 ปีที่ผ่านมา โฮมโปรสามารถขยายสาขาได้มากกว่า 53 แห่ง ตามแผนปี 2556 จะขยายเพิ่มอีก 8 สาขา แต่ละสาขาใช้เงินลงทุน 400-500 ล้านบาท ที่สำคัญยังมีแผนปรับปรุงสาขาเดิมอีก 3 แห่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 150 ล้านบาทต่อสาขา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ขายให้มากขึ้น มองกันตามเนื้อผ้า แม้ว่าเบอร์หนึ่งโฮมโปรจะพยายามเพิ่มสาขาบริการให้มากขึ้น แต่สินค้าประเภทตกแต่งในรูปแบบที่โฮมโปรทำอยู่ในตอนนี้ อาจตอบโจทย์ลูกค้าได้น้อยกลุ่ม
ถ้าโฮมโปรต้องการขยายตลาดและเจาะลูกค้าใหม่เหมือนไทวัสดุและสยามโกลบอลเฮ้าส์ ที่ขณะนี้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ชูรูปแบบ "โมเดิร์นเทรดโอเพ่นแอร์" เน้นขายวัสดุก่อสร้างทั้งอิฐ หิน ปูน ทราย วัสดุแผ่นพื้น พรีแฟบ วัสดุทดแทนไม้ยี่ห้อต่าง ๆ น่าจะเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้ครบ ในทางกลับกัน หากโฮมโปรสามารถเบียดและแย่งมาร์เก็ตแชร์ในตลาดเซ็กเมนต์นี้ได้ นอกจากจะได้กลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ "ยอดขาย" ที่เพิ่มสูงขึ้น
ไทวัสดุไม่หวั่นคู่แข่ง
นางนิลุบล จิราพัฒนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทราบการเคลื่อนไหวของกลุ่มโฮมโปรมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน หากเป็นจริงในทางธุรกิจถือว่าผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินสถานการณ์เพื่อรับมือกับคู่แข่งน้องใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเล่นในตลาดเดียวกัน
"แน่นอน เราต้องพยายามพัฒนาตัวเองให้หนีห่างคู่แข่งในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ที่จะรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้และพยายามหาลูกค้าใหม่เพิ่มเข้ามา พร้อมจัดแคมเปญส่งเสริมการขายให้แรงและแปลกจากคู่แข่ง ในด้านสินค้าก็ต้องปรับเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้มากที่สุด ขณะที่ด้านบริการก็ต้องสะดวกและรวดเร็ว"
มือการตลาด "ไทวัสดุ" ทิ้งท้ายอีกว่า "ไม่แปลกที่จะมีคู่แข่งใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา เพราะตลาดวัสดุก่อสร้างมีวอลุ่มขนาดใหญ่และมีมูลค่าตลาดรวมมากถึง 1 แสนล้านบาท"
สีสันตลาดวัสดุ
ด้านนายวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มองว่า น่าจะเป็นการต่อยอดธุรกิจของโฮมโปรที่จะรุกทุกเซ็กเมนต์ ส่วนตัวมองว่าเป็นสีสันของวงการและการแข่งขันน่าจะรุนแรงมากขึ้น แต่บริษัทยังไม่มีแผนรับมือ ขอรอดูข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
"ถามว่า กลัวหรือไม่ ถ้ามีคู่แข่งใหม่และเป็นรายใหญ่ ผมบอกเลยว่า เราไม่มีอะไรที่ต้องกลัว เพราะเราผ่านจุดที่น่ากลัวที่สุดมาแล้ว เป็นธรรมดาของธุรกิจที่ต้องมีคู่แข่งใหม่ ๆ ผมมองเป็นเรื่องของการขยายตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายมากกว่า"
ขณะที่นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี บอกว่า ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนจึงไม่สามารถแสดงความเห็นใด ๆ ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัท เมกา โฮม เซ็นเตอร์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ประเภทธุรกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง กรรมการประกอบด้วยนายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล, นายอนุชา จิตจาตุรันต์, น.ส.วรรณี จันทามงคล และนายวทัญญู วิสุทธิโกศล
ข่าวดี HMPRO
06 ก.พ. 2556 เวลา 00:10:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาดวัสดุก่อสร้างเดือด "โฮมโปร" ติดหัวรบใหม่ "เมกาโฮม เซ็นเตอร์" ท้าชน "ไทวัสดุ-สยามโกลบอลเฮ้าส์" วงการชี้บุก "โมเดิร์นเทรดโอเพ่นแอร์" เต็มตัว หวังขยายฐานลูกค้า ปั้นรายได้เพิ่ม ด้านคู่แข่ง 2 บิ๊กไม่หวั่น ปรับกลยุทธ์รักษามาร์เก็ตแชร์
แหล่งข่าวจากวงการวัสดุก่อสร้างเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้วงการค้าวัสดุก่อสร้างกำลังจับตามองความเคลื่อนไหวของบิ๊กแบรนด์วัสดุก่อสร้างโมเดิร์นเทรด "โฮมโปร" หลังบริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของห้างโฮมโปร แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมาว่า ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท เมกา โฮม เซ็นเตอร์ จำกัด ในสัดส่วน 99.99% เพื่อดำเนินธุรกิจซื้อมาขายไป ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
แม้จะไม่มีรายละเอียดชัดเจนทั้งแผนการลงทุน โมเดลธุรกิจ และสาขาที่จะเปิดให้บริการ "โมเดิร์นเทรด" รูปแบบใหม่ของค่ายโฮมโปร แต่ ณ จุดนี้ ในแวดวงคู่แข่งด้านวัสดุประเมินกันว่า "บริษัทใหม่ที่
โฮมโปรเข้าไปถือหุ้นเกือบ 100% น่าจะเป็นหัวรบใหม่ในทางธุรกิจ"
เป้าหมายเพื่อ "ต่อกร" กับค่ายยักษ์ "ไทวัสดุ" ของตระกูล "จิราธิวัฒน์" ที่เคยเพลี่ยงพล้ำแก่โฮมโปรมาแล้ว ในการทำตลาดค้าปลีกเรื่องสินค้าตกแต่งบ้านครบวงจรอย่าง "โฮมเวิร์ค"
เมื่อตระกูล "จิราธิวัฒน์" คิดพลิกเกมและลุกขึ้นมาเซตอัพ "โมเดลธุรกิจใหม่" ด้วยกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนจากช็อปค้าวัสดุติดแอร์มาสู่การเป็น "โกดังค้าวัสดุ" แบบโอเพ่นแอร์ ชั่วระยะเวลาไม่นาน แบรนด์ "ไทวัสดุ" ก็แจ้งเกิดได้สำเร็จในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยโฟกัสลูกค้าเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้รับเหมา สถาปนิก วิศวกร และลูกค้ารายย่อยระดับกลาง-ล่าง พร้อมประกาศยึดหัวหาดทำเลย่านชานเมืองเป็นหลัก จากวันนั้นถึงวันนี้ "ไทวัสดุ" มีสาขาแล้วถึง 24 แห่งทั่วประเทศ และสามารถสร้างรายได้ต่อปีให้กับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างเป็นกอบเป็นกำเฉียดหมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า แน่นอนว่า "โฮมโปร" ธุรกิจในกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คงเฝ้าจับตามองการเติบโตของ "ไทวัสดุ" และธุรกิจคอนเซ็ปต์เดียวกันอย่าง "สยามโกลบอลเฮ้าส์" ที่ขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่หัวเมืองหลักและเมืองรองอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่างกับที่โฮมโปรกำลังเติบโตและเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยสามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมานิยมช็อปปิ้งวัสดุและของตกแต่งบ้านได้อย่างน่าพึงพอใจ ด้วยสินค้าที่หลากหลายและราคาไม่แพง ทำให้ผลตอบรับจากผู้บริโภคแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 16 ปีที่ผ่านมา โฮมโปรสามารถขยายสาขาได้มากกว่า 53 แห่ง ตามแผนปี 2556 จะขยายเพิ่มอีก 8 สาขา แต่ละสาขาใช้เงินลงทุน 400-500 ล้านบาท ที่สำคัญยังมีแผนปรับปรุงสาขาเดิมอีก 3 แห่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 150 ล้านบาทต่อสาขา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ขายให้มากขึ้น มองกันตามเนื้อผ้า แม้ว่าเบอร์หนึ่งโฮมโปรจะพยายามเพิ่มสาขาบริการให้มากขึ้น แต่สินค้าประเภทตกแต่งในรูปแบบที่โฮมโปรทำอยู่ในตอนนี้ อาจตอบโจทย์ลูกค้าได้น้อยกลุ่ม
ถ้าโฮมโปรต้องการขยายตลาดและเจาะลูกค้าใหม่เหมือนไทวัสดุและสยามโกลบอลเฮ้าส์ ที่ขณะนี้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ชูรูปแบบ "โมเดิร์นเทรดโอเพ่นแอร์" เน้นขายวัสดุก่อสร้างทั้งอิฐ หิน ปูน ทราย วัสดุแผ่นพื้น พรีแฟบ วัสดุทดแทนไม้ยี่ห้อต่าง ๆ น่าจะเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้ครบ ในทางกลับกัน หากโฮมโปรสามารถเบียดและแย่งมาร์เก็ตแชร์ในตลาดเซ็กเมนต์นี้ได้ นอกจากจะได้กลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ "ยอดขาย" ที่เพิ่มสูงขึ้น
ไทวัสดุไม่หวั่นคู่แข่ง
นางนิลุบล จิราพัฒนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทราบการเคลื่อนไหวของกลุ่มโฮมโปรมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน หากเป็นจริงในทางธุรกิจถือว่าผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องประเมินสถานการณ์เพื่อรับมือกับคู่แข่งน้องใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเล่นในตลาดเดียวกัน
"แน่นอน เราต้องพยายามพัฒนาตัวเองให้หนีห่างคู่แข่งในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ที่จะรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้และพยายามหาลูกค้าใหม่เพิ่มเข้ามา พร้อมจัดแคมเปญส่งเสริมการขายให้แรงและแปลกจากคู่แข่ง ในด้านสินค้าก็ต้องปรับเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้มากที่สุด ขณะที่ด้านบริการก็ต้องสะดวกและรวดเร็ว"
มือการตลาด "ไทวัสดุ" ทิ้งท้ายอีกว่า "ไม่แปลกที่จะมีคู่แข่งใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา เพราะตลาดวัสดุก่อสร้างมีวอลุ่มขนาดใหญ่และมีมูลค่าตลาดรวมมากถึง 1 แสนล้านบาท"
สีสันตลาดวัสดุ
ด้านนายวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มองว่า น่าจะเป็นการต่อยอดธุรกิจของโฮมโปรที่จะรุกทุกเซ็กเมนต์ ส่วนตัวมองว่าเป็นสีสันของวงการและการแข่งขันน่าจะรุนแรงมากขึ้น แต่บริษัทยังไม่มีแผนรับมือ ขอรอดูข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
"ถามว่า กลัวหรือไม่ ถ้ามีคู่แข่งใหม่และเป็นรายใหญ่ ผมบอกเลยว่า เราไม่มีอะไรที่ต้องกลัว เพราะเราผ่านจุดที่น่ากลัวที่สุดมาแล้ว เป็นธรรมดาของธุรกิจที่ต้องมีคู่แข่งใหม่ ๆ ผมมองเป็นเรื่องของการขยายตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายมากกว่า"
ขณะที่นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี บอกว่า ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนจึงไม่สามารถแสดงความเห็นใด ๆ ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัท เมกา โฮม เซ็นเตอร์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ประเภทธุรกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง กรรมการประกอบด้วยนายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล, นายอนุชา จิตจาตุรันต์, น.ส.วรรณี จันทามงคล และนายวทัญญู วิสุทธิโกศล