ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556
ประธานสภา กทม. เสนอกรมธนารักษ์ทบทวนสัญญาให้เอกชนใช้สถานีดับเพลิงบางรักสร้างเป็นโรงแรมส่วนตัว ชี้อาคารแห่งนี้ควรปรับปรุงอนุรักษ์ให้เป็นมรดกของคน กทม. โดยสภา กทม.พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงสถานที่ให้สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ประธานสภากรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานีดับเพลิงบางรัก กรณีประชาชนร้องเรียนให้ปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารสถานีดับเพลิงบางรักให้เป็นมรดกของกรุงเทพมหานคร เพราะอาคารที่ตั้งสถานีดับเพลิงบางรักปัจจุบันมีครอบครัวของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพักอาศัยอยู่ราว 60 ครัวเรือน มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอยู่ 60 คน รถดับเพลิง 28 คัน เรือดับเพลิง 6 ลำ
จากการติดตามปัญหาและอุปสรรคทราบว่า รถดับเพลิงใช้งานได้จริงแค่ 16 คัน และเรือดับเพลิง 6 ลำไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งหมดอยู่ระหว่างการส่งซ่อมบำรุง ยังพบอีกว่าอาคารมีสภาพชำรุดและทรุดโทรมมาก ห้องพักเจ้าหน้าที่และสภาพพื้นที่ภายในอาคารเสื่อมโทรมทั้งหมด
กรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเช่าพื้นที่เพื่อดำเนินธุรกิจ ต่อมาได้มีการติดตั้งป้ายโครงการก่อสร้างโรงแรมและได้แจ้งความประสงค์ให้สถานีดับเพลิงบางรักย้ายออกจากพื้นที่ โดยกรมธนารักษ์ได้ทำหนังสือสอบถามเป็นระยะถึงการย้ายสถานีดับเพลิงบางรักออกจากสถานที่ดังกล่าว แต่เนื่องด้วยความพร้อมทั้งสถานที่และที่พักยังไม่ชัดเจน รวมทั้งคณะทำงานติดตามเรื่องดังกล่าวยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งการย้ายสถานีดับเพลิงจำเป็นต้องมีสถานที่ที่เหมาะสมรองรับจำนวนรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ทั้งต้องมีบ้านพักให้แก่เจ้าหน้าที่ด้วย
เนื่องด้วยโครงการก่อสร้างโรงแรมดังกล่าวของเอกชน ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความกังวล จึงได้ร้องเรียนมายังสภากรุงเทพมหานครถึงแนวทางในการปรับปรุงและอนุรักษ์สถานที่ดังกล่าว เพราะจากปัญหาความเสื่อมโทรมของสถานที่ซึ่งกรมศิลปากรได้ตั้งเป็นโบราณสถาน แต่ไร้ซึ่งการดูแล และยังจะให้บริษัทเอกชนมาดำเนินการและนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งตนก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอให้กรมธนารักษ์ทบทวนในการเลิกสัญญากับเอกชนเพื่อรักษาอาคารแห่งนี้เอาไว้
อีกทั้งสภากรุงเทพมหานครพร้อมที่จะร่วมมือกับกรมธนารักษ์และกรมศิลปากรในการสนับสนุนงบประมาณเพื่ออนุรักษ์อาคารเหล่านี้ให้เป็นมรดกของชาติให้ลูกหลานได้มาศึกษาประวัติความเป็นมา และจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ทั้งนี้ จะประสานไปยังสำนักงานเขตบางรักในการทำความสะอาดอาคารและสถานที่ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อความสวยงามต่อไป
อาคารที่สถานีดับเพลิงบางรักถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝีมือการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลีชื่อว่า โจอากิโน กรัชซี โดยใช้ไม้สักทองกว่า 500 ต้นเป็นโครงสร้างหลัก วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ทำการศุลกากร หรือสมัยนั้นเรียกว่า "อาคารโรงเก็บภาษี" ซึ่งถูกเรียกกันอย่างติดปากว่า "ตรอกโรงภาษี" สำหรับการเก็บภาษีที่เรียกว่า "ภาษีร้อยชักสาม" (เก็บเป็นภาษีตามราคาของสินค้าร้อยละสาม) ในสมัยที่ประเทศไทยทำสนธิสัญญากับชาวต่างชาติที่เรียกว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง" ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการสถานีดับเพลิงบางรักตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา
ปัจจุบันถือเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชม รวมทั้งวงการหนังสือและวงการถ่ายภาพมาทำรายการและถ่ายภาพอยู่ตลอด
เสนอกรมธนารักษ์เลิกสัญญา ปรับสถานีดับเพลิงบางรักเป็นโรงแรมส่วนตัว
ประธานสภา กทม. เสนอกรมธนารักษ์ทบทวนสัญญาให้เอกชนใช้สถานีดับเพลิงบางรักสร้างเป็นโรงแรมส่วนตัว ชี้อาคารแห่งนี้ควรปรับปรุงอนุรักษ์ให้เป็นมรดกของคน กทม. โดยสภา กทม.พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงสถานที่ให้สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ประธานสภากรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานีดับเพลิงบางรัก กรณีประชาชนร้องเรียนให้ปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารสถานีดับเพลิงบางรักให้เป็นมรดกของกรุงเทพมหานคร เพราะอาคารที่ตั้งสถานีดับเพลิงบางรักปัจจุบันมีครอบครัวของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพักอาศัยอยู่ราว 60 ครัวเรือน มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอยู่ 60 คน รถดับเพลิง 28 คัน เรือดับเพลิง 6 ลำ
จากการติดตามปัญหาและอุปสรรคทราบว่า รถดับเพลิงใช้งานได้จริงแค่ 16 คัน และเรือดับเพลิง 6 ลำไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งหมดอยู่ระหว่างการส่งซ่อมบำรุง ยังพบอีกว่าอาคารมีสภาพชำรุดและทรุดโทรมมาก ห้องพักเจ้าหน้าที่และสภาพพื้นที่ภายในอาคารเสื่อมโทรมทั้งหมด
กรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเช่าพื้นที่เพื่อดำเนินธุรกิจ ต่อมาได้มีการติดตั้งป้ายโครงการก่อสร้างโรงแรมและได้แจ้งความประสงค์ให้สถานีดับเพลิงบางรักย้ายออกจากพื้นที่ โดยกรมธนารักษ์ได้ทำหนังสือสอบถามเป็นระยะถึงการย้ายสถานีดับเพลิงบางรักออกจากสถานที่ดังกล่าว แต่เนื่องด้วยความพร้อมทั้งสถานที่และที่พักยังไม่ชัดเจน รวมทั้งคณะทำงานติดตามเรื่องดังกล่าวยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งการย้ายสถานีดับเพลิงจำเป็นต้องมีสถานที่ที่เหมาะสมรองรับจำนวนรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ทั้งต้องมีบ้านพักให้แก่เจ้าหน้าที่ด้วย
เนื่องด้วยโครงการก่อสร้างโรงแรมดังกล่าวของเอกชน ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความกังวล จึงได้ร้องเรียนมายังสภากรุงเทพมหานครถึงแนวทางในการปรับปรุงและอนุรักษ์สถานที่ดังกล่าว เพราะจากปัญหาความเสื่อมโทรมของสถานที่ซึ่งกรมศิลปากรได้ตั้งเป็นโบราณสถาน แต่ไร้ซึ่งการดูแล และยังจะให้บริษัทเอกชนมาดำเนินการและนำไปใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งตนก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอให้กรมธนารักษ์ทบทวนในการเลิกสัญญากับเอกชนเพื่อรักษาอาคารแห่งนี้เอาไว้
อีกทั้งสภากรุงเทพมหานครพร้อมที่จะร่วมมือกับกรมธนารักษ์และกรมศิลปากรในการสนับสนุนงบประมาณเพื่ออนุรักษ์อาคารเหล่านี้ให้เป็นมรดกของชาติให้ลูกหลานได้มาศึกษาประวัติความเป็นมา และจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ทั้งนี้ จะประสานไปยังสำนักงานเขตบางรักในการทำความสะอาดอาคารและสถานที่ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อความสวยงามต่อไป
อาคารที่สถานีดับเพลิงบางรักถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝีมือการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลีชื่อว่า โจอากิโน กรัชซี โดยใช้ไม้สักทองกว่า 500 ต้นเป็นโครงสร้างหลัก วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ทำการศุลกากร หรือสมัยนั้นเรียกว่า "อาคารโรงเก็บภาษี" ซึ่งถูกเรียกกันอย่างติดปากว่า "ตรอกโรงภาษี" สำหรับการเก็บภาษีที่เรียกว่า "ภาษีร้อยชักสาม" (เก็บเป็นภาษีตามราคาของสินค้าร้อยละสาม) ในสมัยที่ประเทศไทยทำสนธิสัญญากับชาวต่างชาติที่เรียกว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง" ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการสถานีดับเพลิงบางรักตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา
ปัจจุบันถือเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชม รวมทั้งวงการหนังสือและวงการถ่ายภาพมาทำรายการและถ่ายภาพอยู่ตลอด