เมื่ออธิบดี DSI ถูกฟ้องคดีอาญา
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงเปิดใจต่อกรณีถูกนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาว่า ได้อ่านคำฟ้องโดยละเอียดแล้ว ขอใช้โอกาสแถลงต่อสื่อมวลชน 9 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. คำฟ้องไม่เป็นความจริง ตนขอยืนยันว่ารับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ โดยทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ตามพยานหลักฐาน ตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย
2. การแจ้งข้อหากับบุคคลทั้งสองว่า “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล” นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากผลการไต่สวนของศาลอาญาที่มีคำสั่งว่า “นายพัน คำกอง ตายเพราะถูกกระสุนปืนจากฝ่ายทหาร โดยทหารเข้าปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ.” ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงเป็นคดีฆาตกรรมที่ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบต่อการตาย
3. ผลการสอบสวนปรากฎว่า บุคคลทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา ศอฉ. ในขณะนั้นได้ตัดสินใจมีคำสั่งให้ฝ่ายทหารใช้กำลังประมาณ 50,000 นาย เข้าปฏิบัติการโดยใช้อาวุธจริงและกระสุนจริง โดยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึง 5 ครั้งต่อเนื่องกัน และเนื่องจากการสั่งการดังกล่าวก็ปรากฎการตายตั้งแต่ครั้งแรกจำนวนมาก ก็ยังคงสั่งให้ปฏิบัติการเช่นเดิมต่อ ๆ กันอีก โดยไม่หยุดยั้งหรือเปลี่ยนวิธีการใหม่ อีกทั้งระหว่างนั้น ยังมีพยานสำคัญคือ ประธานวุฒิสภาได้ยืนยันว่าผลการเจรจากับ นปช.มีข้อยุติแล้วว่า แกนนำจะยุติการชุมนุมโดยได้แจ้งให้บุคคลทั้งสองทราบแล้ว แต่บุคคลทั้งสองก็ยังคงสั่งให้ฝ่ายทหารปฏิบัติการดัวยอาวุธจริงและกระสุนจริงต่อไป จนเกิดการสูญเสียอย่างมากดังที่ปรากฎ
4. คดีการเสียชีวิตของผู้ร่วมการชุมนุม (นปช.) นั้น มีมติรับเป็นคดีพิเศษ ตั้งแต่ครั้งทั้ง 2 ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี โดยมีมติให้เจ้าหน้าที่ถึง 3 ฝ่าย เข้าร่วมการสอบสวน คือพนักงานสอบสวนของ สตช. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษของ DSI และพนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งการมีความเห็นให้แจ้งข้อหาต่อบุคคลทั้งสอง เป็นความเห็นร่วมกันของผู้ร่วมสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย จึงเป็นหลักประกันได้ว่าเป็นไปโดยรอบคอบ ไม่มีการตั้งธงหรือกลั่นแกล้งใด ๆ
5. DSI ไม่ได้แจ้งข้อหาเฉพาะกับทั้ง 2 ท่านเท่านั้น แต่ได้รับผิดชอบดำเนินคดีกับกลุ่มฮาร์ทคอร์ของ นปช.ถึง 64 คดี มีผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้วถึง 295 คน จึงเป็นการดำเนินคดีโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน
6. แม้คำฟ้องของทั้ง 2 ท่าน ที่ฟ้องนายธาริตกับพวก จะอาจเข้าข่ายการฟ้องเท็จ แต่ได้หารือกับผู้ถูกฟ้องอีก 3 คนแล้ว จะไม่ใช้สิทธิฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จ โดยจะได้ขอให้พนักงานอัยการแก้ต่างให้ตามปกติ เพราะการถูกฟ้องเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ การจะฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จเป็นเรื่องส่วนตัว จะขอทำหน้าที่และบทบาทตามหน้าที่เท่านั้น ไม่ดำเนินการที่เป็นเรื่องส่วนตัว
7. โดยส่วนตัวไม่กังวลหรือหวาดกลัวใด ๆ แต่เป็นห่วงผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกฟ้อง เพราะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทั้ง 3 คน เป็นคนดี มุ่งมั่นทำงานอย่างทุ่มเท เกรงจะเสียกำลังใจ และครอบครัวเขาก็คงจะทุกข์ร้อนพอสมควรที่หัวหน้าครอบครัวทำงานในหน้าที่แล้วถูกฟ้องคดีจากฝ่ายการเมือง
8. ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ที่พนักงานสอบสวน DSI ทำหน้าที่ตามภารกิจแล้วถูกฝ่ายการเมืองฟ้องดำเนินคดี ตนรู้สึกว่านี่คือการที่ฝ่ายการเมืองกระทำการกดดันและใช้วิธีการจัดการเอากับฝ่ายข้าราชการประจำทั้ง 2 ท่าน เคยพูดเสมอว่ายินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่พอ DSI แจ้งข้อหาเพื่อนำบุคคลทั้งสอง เข้าสู่กระบวนยุติธรรม กลับถูกโต้แย้งอย่างรุนแรงถึงขนาดฟ้องคดีอาญาเช่นนี้แล้ว จะเรียกว่ายินดีหรือเคารพในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร พฤติการณ์เช่นนี้เท่ากับมุ่งผลภายหน้าที่จะไม่ถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เหตุการณ์ความรุนแรงและสูญเสียที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม 2553 นั้น ทั้ง 2 ฝ่ายควรจะถูกพิสูจน์ความจริงโดยกระบวนการยุติธรรม จากพนักงานสอบสวน สู่อัยการ และสู่ศาล เพื่อพิจารณาพิพากษาเป็นที่ยุติเพื่อการยอมรับของประชาชน ขณะนี้ฝ่าย นปช.ยอมรับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ถึง 64 คดี จำนวนจำเลยถึง 295 คน แต่ผู้สั่งการ ศอฉ.เพิ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพียง 1 คดี ก็ปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเสียแล้ว
9. คดีที่เจ้าพนักงานสอบสวนผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วถูกฟ้องเป็นจำเลย เพราะเพียงแต่แจ้งข้อหาเช่นนี้ จะกลายเป็นแบบอย่างให้ผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ กดดันและจัดการเอากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษากฎหมายของบ้านเมือง เป็นเรื่องที่อันตรายต่อขวัญ กำลังใจในการมุ่งปฏิบัติงานของตำรวจ พนักงานสอบสวน DSI และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการกระทำจากฝ่ายการเมือง
ผมฟังแล้วบอกคำเดียวว่ามารค์จุก
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงเปิดใจ 9 ข้อ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงเปิดใจต่อกรณีถูกนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาว่า ได้อ่านคำฟ้องโดยละเอียดแล้ว ขอใช้โอกาสแถลงต่อสื่อมวลชน 9 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. คำฟ้องไม่เป็นความจริง ตนขอยืนยันว่ารับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ โดยทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ตามพยานหลักฐาน ตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย
2. การแจ้งข้อหากับบุคคลทั้งสองว่า “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล” นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากผลการไต่สวนของศาลอาญาที่มีคำสั่งว่า “นายพัน คำกอง ตายเพราะถูกกระสุนปืนจากฝ่ายทหาร โดยทหารเข้าปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ.” ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงเป็นคดีฆาตกรรมที่ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบต่อการตาย
3. ผลการสอบสวนปรากฎว่า บุคคลทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา ศอฉ. ในขณะนั้นได้ตัดสินใจมีคำสั่งให้ฝ่ายทหารใช้กำลังประมาณ 50,000 นาย เข้าปฏิบัติการโดยใช้อาวุธจริงและกระสุนจริง โดยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึง 5 ครั้งต่อเนื่องกัน และเนื่องจากการสั่งการดังกล่าวก็ปรากฎการตายตั้งแต่ครั้งแรกจำนวนมาก ก็ยังคงสั่งให้ปฏิบัติการเช่นเดิมต่อ ๆ กันอีก โดยไม่หยุดยั้งหรือเปลี่ยนวิธีการใหม่ อีกทั้งระหว่างนั้น ยังมีพยานสำคัญคือ ประธานวุฒิสภาได้ยืนยันว่าผลการเจรจากับ นปช.มีข้อยุติแล้วว่า แกนนำจะยุติการชุมนุมโดยได้แจ้งให้บุคคลทั้งสองทราบแล้ว แต่บุคคลทั้งสองก็ยังคงสั่งให้ฝ่ายทหารปฏิบัติการดัวยอาวุธจริงและกระสุนจริงต่อไป จนเกิดการสูญเสียอย่างมากดังที่ปรากฎ
4. คดีการเสียชีวิตของผู้ร่วมการชุมนุม (นปช.) นั้น มีมติรับเป็นคดีพิเศษ ตั้งแต่ครั้งทั้ง 2 ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี โดยมีมติให้เจ้าหน้าที่ถึง 3 ฝ่าย เข้าร่วมการสอบสวน คือพนักงานสอบสวนของ สตช. พนักงานสอบสวนคดีพิเศษของ DSI และพนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งการมีความเห็นให้แจ้งข้อหาต่อบุคคลทั้งสอง เป็นความเห็นร่วมกันของผู้ร่วมสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย จึงเป็นหลักประกันได้ว่าเป็นไปโดยรอบคอบ ไม่มีการตั้งธงหรือกลั่นแกล้งใด ๆ
5. DSI ไม่ได้แจ้งข้อหาเฉพาะกับทั้ง 2 ท่านเท่านั้น แต่ได้รับผิดชอบดำเนินคดีกับกลุ่มฮาร์ทคอร์ของ นปช.ถึง 64 คดี มีผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้วถึง 295 คน จึงเป็นการดำเนินคดีโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน
6. แม้คำฟ้องของทั้ง 2 ท่าน ที่ฟ้องนายธาริตกับพวก จะอาจเข้าข่ายการฟ้องเท็จ แต่ได้หารือกับผู้ถูกฟ้องอีก 3 คนแล้ว จะไม่ใช้สิทธิฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จ โดยจะได้ขอให้พนักงานอัยการแก้ต่างให้ตามปกติ เพราะการถูกฟ้องเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ การจะฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จเป็นเรื่องส่วนตัว จะขอทำหน้าที่และบทบาทตามหน้าที่เท่านั้น ไม่ดำเนินการที่เป็นเรื่องส่วนตัว
7. โดยส่วนตัวไม่กังวลหรือหวาดกลัวใด ๆ แต่เป็นห่วงผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกฟ้อง เพราะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทั้ง 3 คน เป็นคนดี มุ่งมั่นทำงานอย่างทุ่มเท เกรงจะเสียกำลังใจ และครอบครัวเขาก็คงจะทุกข์ร้อนพอสมควรที่หัวหน้าครอบครัวทำงานในหน้าที่แล้วถูกฟ้องคดีจากฝ่ายการเมือง
8. ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ที่พนักงานสอบสวน DSI ทำหน้าที่ตามภารกิจแล้วถูกฝ่ายการเมืองฟ้องดำเนินคดี ตนรู้สึกว่านี่คือการที่ฝ่ายการเมืองกระทำการกดดันและใช้วิธีการจัดการเอากับฝ่ายข้าราชการประจำทั้ง 2 ท่าน เคยพูดเสมอว่ายินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่พอ DSI แจ้งข้อหาเพื่อนำบุคคลทั้งสอง เข้าสู่กระบวนยุติธรรม กลับถูกโต้แย้งอย่างรุนแรงถึงขนาดฟ้องคดีอาญาเช่นนี้แล้ว จะเรียกว่ายินดีหรือเคารพในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร พฤติการณ์เช่นนี้เท่ากับมุ่งผลภายหน้าที่จะไม่ถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เหตุการณ์ความรุนแรงและสูญเสียที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม 2553 นั้น ทั้ง 2 ฝ่ายควรจะถูกพิสูจน์ความจริงโดยกระบวนการยุติธรรม จากพนักงานสอบสวน สู่อัยการ และสู่ศาล เพื่อพิจารณาพิพากษาเป็นที่ยุติเพื่อการยอมรับของประชาชน ขณะนี้ฝ่าย นปช.ยอมรับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ถึง 64 คดี จำนวนจำเลยถึง 295 คน แต่ผู้สั่งการ ศอฉ.เพิ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพียง 1 คดี ก็ปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเสียแล้ว
9. คดีที่เจ้าพนักงานสอบสวนผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วถูกฟ้องเป็นจำเลย เพราะเพียงแต่แจ้งข้อหาเช่นนี้ จะกลายเป็นแบบอย่างให้ผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ กดดันและจัดการเอากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษากฎหมายของบ้านเมือง เป็นเรื่องที่อันตรายต่อขวัญ กำลังใจในการมุ่งปฏิบัติงานของตำรวจ พนักงานสอบสวน DSI และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการกระทำจากฝ่ายการเมือง
ผมฟังแล้วบอกคำเดียวว่ามารค์จุก