http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20130124/487115/วิวาทะหนี้สาธารณะ-อดีตขุนคลัง-ขุนคลัง.html
วิวาทะหนี้สาธารณะ อดีตขุนคลัง-ขุนคลัง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วิวาทะหนี้สาธารณะ อดีตขุนคลัง-ขุนคลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผิดวินัยการคลัง หรือ ความจำเป็น?
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจัดงานสัมมนา โดยเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษถึงแนวนโยบายและให้ความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะ ซึ่งรัฐบาลเห็นว่ายังมีความจำเป็น ขณะที่ผู้คัดค้านการก่อหนี้เห็นว่าผิดวินัยการคลัง มีประเด็นดังนี้
ปรีดิยาธร : อัดประชานิยมต้นตอหนี้พุ่ง
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “โจทย์ท้าทายอนาคตเศรษฐกิจไทย” ว่า ประเทศไทยมีโจทย์ท้าทายที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจในอนาคตเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง ซึ่งการจะทำทั้ง 2 ส่วนนี้ได้ ควรต้องให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่มากกว่านี้
ตัวเลขหนี้สาธารณะไทย ณ สิ้นเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.93 ล้านล้านบาท เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งอยู่ที่ 11.47 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ 43.9% แต่ในจำนวนนี้ยังมีหนี้ที่รอการเพิ่มขึ้นจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงการกู้เงินนอกงบประมาณ และการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปี ซึ่งการประมาณการว่าถ้ารวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลจะมีหนี้เพิ่มเป็น 8.69 ล้านล้านบาท เทียบจีดีพีที่ 16.16 ล้านล้านบาท คิดจากอัตราการเติบโตปีละ 4.5% ทำให้สัดส่วนต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 53.8%
สัดส่วนต่อจีดีพีที่ 53.8% ยังไม่รวมกับเงินที่ต้องใช้ในโครงการจำนำข้าว ซึ่งในปีงบประมาณ 2554/2555 คาดว่าจะมีผลขาดทุนสุทธิ 1.4 แสนล้านบาท จากจำนวนข้าวที่ร่วมโครงการ 21.6 ล้านตัน ขณะที่ในปีงบ 2556 ซึ่งรัฐบาลยังประกาศรับจำนำทุกเมล็ด และคาดกันจะมีข้าวเข้าร่วมโครงการรวม 33 ล้านตัน ทำให้รัฐบาลมีโอกาสขาดทุนเพิ่มเป็น 2.1 แสนล้านบาท ถ้ารัฐบาลขาดทุนในอัตรานี้ทุกปีจนถึงปี 2562 หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนก.ย. 2562 จะเพิ่มเป็น 10.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 63.7% ของจีดีพี ที่ 16.16 ล้านล้านบาท
"ที่ห่วง คือ รัฐบาลนี้ไม่มีใครให้ความสำคัญกับวินัยการเงินเลย คนเตือนกันว่าระวังจะขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ประเทศเสียหาย หนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ฟัง ถือว่าฉันจะทำแล้วทำไม ไม่มีความรู้สึกว่าวินัยการคลังเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมว่าตอนที่ประเทศไทยรอดวิกฤติมาได้เพราะหนี้สาธารณะน้อย ตอนนั้นเอกชนเสียหายเยอะ แต่รัฐบาลอยู่ได้เพราะหนี้น้อย"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าห่วง คือ รัฐบาลหาคะแนนนิยมกันแบบมักง่าย ซึ่งการหาคะแนนเสียงควรต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลใช้วิธีที่มักง่าย คือ แจกไม่เลือก เช่น รถคันแรก ซึ่งก็ทำให้รถติด คนใช้น้ำมันกันมากขึ้น แต่เป็นวิธีที่สะท้อนว่าได้คะแนนเสียง
"รัฐบาลนี้ ถ้าพูดภาษาพระ ก็คือขาด หิริโอตตัปปะ ขาดความละอายต่อความชั่ว กลัวที่จะทำบาป ขนาดทำเสียหายต่องบประมาณขนาดนี้ และเขาก็รู้ด้วยนะว่ามันจะเสียหาย เพราะตัวเลขที่ผมยกมาเป็นตัวเลขในหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้เอกสารมาจากกระทรวงการคลัง และเอกสารนี้แทงขึ้นไปถึงนายกฯ ด้วย ผมจึงว่าน่ากลัว ไม่เกรงใจประชาชนผู้เสียภาษีเท่าไร ผมอยากจะบอกว่า ขาดสำนึกของความเป็นผู้นำในการดูแลประเทศ เพราะคนที่มีสำนึกว่าจะต้องบริหารประเทศ และดูแลเศรษฐกิจให้ดีที่สุด เรื่องเสียหายแบบนี้ใครก็ต้องรู้สึก แต่ขณะนี้ไม่มีความรู้สึก ใครเตือนก็ไม่ฟัง" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวด้วยว่า ประเด็นสุดท้ายที่น่าห่วง คือ เกรงว่าประเทศไทยกำลังติดกับดักประชาธิปไตย ซึ่งเดิมการหาเสียงเลือกตั้งในอดีตยังไม่เคยมีพรรคไหนใช้เงินงบประมาณในการหาเสียง แต่ระยะยังเริ่มหนักขึ้น
"ความท้าทายอยู่ที่ เราจะหลุดพ้นกับดักตรงนี้ได้อย่างไร ถ้าแต่ละคนยังใช้งบประมาณภาครัฐเข้ามาช่วยในการหาเสียง เพราะมันใช้ได้เท่ากัน ไม่ใช่ว่าพรรคนี้มีเงินมากกว่า หาเสียงได้มากกว่า แค่หานโยบายที่แรงๆ แล้วใช้เงินงบประมาณมากๆ ก็ยิ่งได้เสียงประชาชนมากๆ เรื่องนี้เป็นความท้าทายที่ยังหาทางออกไม่เจอ"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
กิตติรัตน์ : ไม่กังวลหนี้สาธารณะ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ทิศทางนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน" ว่า ความท้าทายสำหรับการบริหารเศรษฐกิจในอนาคต คือ การทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังซื้อของโลกลดลง ดังนั้น รัฐบาลจึงให้น้ำหนักต่อแนวนโยบายที่จะเพิ่มกำลังซื้อในประเทศ และ นโยบายส่งเสริมการลงทุน
"ในปี 2556 จะเป็นปีที่กำลังซื้อในประเทศจะดีขึ้น และเป็นปีที่มีการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น เป็นการสร้างหนี้ควบคู่ไปกับการสร้างทรัพย์สินที่มีประโยชน์ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้ประเทศสามารถเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งเราไม่กังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศ" นายกิตติรัตน์กล่าว
ช่วง 1 ทศวรรษหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศมีการลอยตัวค่าเงิน ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ช่วยให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก จนทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจประเทศ แต่ในขณะนี้ เงินบาทปรับค่าแข็งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะดูแล
"ผมเองไม่ต้องการคาดหวังให้ ธปท. รับภารกิจนี้ฝ่ายเดียว แต่การเพิ่มขึ้นปริมาณเงินสำคัญของโลกจะทำให้โลกกดดันแน่ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ และการที่ประเทศจะมีโจทก์ที่แตกต่างไป ก็เป็นหน้าที่เรื่องของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทยจะดูแลให้การลงทุนแท้จริงสมดุลกับเงินไหลเข้าออก"
กรณ์ : นโยบายประชานิยมต้องมาจากรายได้
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสัมมนาในหัวข้อ "โจทย์ท้าทาย อนาคตเศรษฐกิจไทย" ว่า โอกาสเศรษฐกิจของไทยในอนาคตนั้นดีมาก เพราะพื้นฐานเราดี โดยเรามีจุดเริ่มต้นที่ได้เปรียบหลายประเทศ แต่สิ่งสำคัญ คือ การรักษาวินัยการคลัง ซึ่งการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใน 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถือว่า สอบตกในเรื่องดังกล่าว ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเร็ว ด้วยการใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์และสร้างมั่งคั่งให้กับคนไทยในอนาคต แต่เกิดจากเป็นการบริโภคในยุคปัจจุบันเท่านั้น ทำให้ประเทศมีความเสี่ยง และบุญเก่าที่สะสมมาจะหมดในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น สิ่งที่เสนอ คือ ต้องสร้างกรอบกติกาที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำให้การกำหนดนโยบายประชานิยมที่เน้นเรื่องใช้จ่าย ต้องเป็นนโยบายที่มาจากรายได้เท่านั้น ไม่ได้มาจากการกู้ยืมเพียงอย่างเดียว และผลักภาระให้ลูกหลานในอนาคต
นโยบายจำนำข้าว รัฐบาลปฏิเสธความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในโครงการจำนำข้าวของรัฐ โดยปฏิเสธเรื่องของการขาดทุน ด้วยเหตุผลว่ายังไม่มีการขายข้าวออกไป กรณีนี้ รัฐบาลควรมีระบบบัญชีตามราคาจริง เพื่อทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจน
"ในทุกรุ่นของการดำเนินนโยบายจำนำข้าวจะมีผลขาดทุนประมาณ 50% ของเงินที่ใช้ ปัจจุบันการจำนำข้าวก็มีโอกาสขาดทุนสูงมาก โดยเมื่อเทียบกับยอดเงินที่ใช้ 4.5 แสนล้านบาทในแต่ละปี ก็เท่ากับว่า รัฐบาลจะขาดทุนประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี กรณีนี้ไม่นับรวมค่าดำเนินงานอีก 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี หากรวม 5 ปี เท่ากับขาดทุนแล้ว 1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ของจีดีพี ถือเป็นความเสี่ยงต่อระดับหนี้สาธารณะ"
Tags : หนี้สาธารณะ • อดึตขุนคลัง • ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
วิวาทะหนี้สาธารณะ อดีตขุนคลัง-ขุนคลัง
วิวาทะหนี้สาธารณะ อดีตขุนคลัง-ขุนคลัง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วิวาทะหนี้สาธารณะ อดีตขุนคลัง-ขุนคลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผิดวินัยการคลัง หรือ ความจำเป็น?
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจจัดงานสัมมนา โดยเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษถึงแนวนโยบายและให้ความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะ ซึ่งรัฐบาลเห็นว่ายังมีความจำเป็น ขณะที่ผู้คัดค้านการก่อหนี้เห็นว่าผิดวินัยการคลัง มีประเด็นดังนี้
ปรีดิยาธร : อัดประชานิยมต้นตอหนี้พุ่ง
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “โจทย์ท้าทายอนาคตเศรษฐกิจไทย” ว่า ประเทศไทยมีโจทย์ท้าทายที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจในอนาคตเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง ซึ่งการจะทำทั้ง 2 ส่วนนี้ได้ ควรต้องให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่มากกว่านี้
ตัวเลขหนี้สาธารณะไทย ณ สิ้นเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.93 ล้านล้านบาท เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งอยู่ที่ 11.47 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ 43.9% แต่ในจำนวนนี้ยังมีหนี้ที่รอการเพิ่มขึ้นจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ รวมถึงการกู้เงินนอกงบประมาณ และการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปี ซึ่งการประมาณการว่าถ้ารวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลจะมีหนี้เพิ่มเป็น 8.69 ล้านล้านบาท เทียบจีดีพีที่ 16.16 ล้านล้านบาท คิดจากอัตราการเติบโตปีละ 4.5% ทำให้สัดส่วนต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 53.8%
สัดส่วนต่อจีดีพีที่ 53.8% ยังไม่รวมกับเงินที่ต้องใช้ในโครงการจำนำข้าว ซึ่งในปีงบประมาณ 2554/2555 คาดว่าจะมีผลขาดทุนสุทธิ 1.4 แสนล้านบาท จากจำนวนข้าวที่ร่วมโครงการ 21.6 ล้านตัน ขณะที่ในปีงบ 2556 ซึ่งรัฐบาลยังประกาศรับจำนำทุกเมล็ด และคาดกันจะมีข้าวเข้าร่วมโครงการรวม 33 ล้านตัน ทำให้รัฐบาลมีโอกาสขาดทุนเพิ่มเป็น 2.1 แสนล้านบาท ถ้ารัฐบาลขาดทุนในอัตรานี้ทุกปีจนถึงปี 2562 หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนก.ย. 2562 จะเพิ่มเป็น 10.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 63.7% ของจีดีพี ที่ 16.16 ล้านล้านบาท
"ที่ห่วง คือ รัฐบาลนี้ไม่มีใครให้ความสำคัญกับวินัยการเงินเลย คนเตือนกันว่าระวังจะขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ประเทศเสียหาย หนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ฟัง ถือว่าฉันจะทำแล้วทำไม ไม่มีความรู้สึกว่าวินัยการคลังเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมว่าตอนที่ประเทศไทยรอดวิกฤติมาได้เพราะหนี้สาธารณะน้อย ตอนนั้นเอกชนเสียหายเยอะ แต่รัฐบาลอยู่ได้เพราะหนี้น้อย"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าห่วง คือ รัฐบาลหาคะแนนนิยมกันแบบมักง่าย ซึ่งการหาคะแนนเสียงควรต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลใช้วิธีที่มักง่าย คือ แจกไม่เลือก เช่น รถคันแรก ซึ่งก็ทำให้รถติด คนใช้น้ำมันกันมากขึ้น แต่เป็นวิธีที่สะท้อนว่าได้คะแนนเสียง
"รัฐบาลนี้ ถ้าพูดภาษาพระ ก็คือขาด หิริโอตตัปปะ ขาดความละอายต่อความชั่ว กลัวที่จะทำบาป ขนาดทำเสียหายต่องบประมาณขนาดนี้ และเขาก็รู้ด้วยนะว่ามันจะเสียหาย เพราะตัวเลขที่ผมยกมาเป็นตัวเลขในหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้เอกสารมาจากกระทรวงการคลัง และเอกสารนี้แทงขึ้นไปถึงนายกฯ ด้วย ผมจึงว่าน่ากลัว ไม่เกรงใจประชาชนผู้เสียภาษีเท่าไร ผมอยากจะบอกว่า ขาดสำนึกของความเป็นผู้นำในการดูแลประเทศ เพราะคนที่มีสำนึกว่าจะต้องบริหารประเทศ และดูแลเศรษฐกิจให้ดีที่สุด เรื่องเสียหายแบบนี้ใครก็ต้องรู้สึก แต่ขณะนี้ไม่มีความรู้สึก ใครเตือนก็ไม่ฟัง" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวด้วยว่า ประเด็นสุดท้ายที่น่าห่วง คือ เกรงว่าประเทศไทยกำลังติดกับดักประชาธิปไตย ซึ่งเดิมการหาเสียงเลือกตั้งในอดีตยังไม่เคยมีพรรคไหนใช้เงินงบประมาณในการหาเสียง แต่ระยะยังเริ่มหนักขึ้น
"ความท้าทายอยู่ที่ เราจะหลุดพ้นกับดักตรงนี้ได้อย่างไร ถ้าแต่ละคนยังใช้งบประมาณภาครัฐเข้ามาช่วยในการหาเสียง เพราะมันใช้ได้เท่ากัน ไม่ใช่ว่าพรรคนี้มีเงินมากกว่า หาเสียงได้มากกว่า แค่หานโยบายที่แรงๆ แล้วใช้เงินงบประมาณมากๆ ก็ยิ่งได้เสียงประชาชนมากๆ เรื่องนี้เป็นความท้าทายที่ยังหาทางออกไม่เจอ"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
กิตติรัตน์ : ไม่กังวลหนี้สาธารณะ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ทิศทางนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน" ว่า ความท้าทายสำหรับการบริหารเศรษฐกิจในอนาคต คือ การทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังซื้อของโลกลดลง ดังนั้น รัฐบาลจึงให้น้ำหนักต่อแนวนโยบายที่จะเพิ่มกำลังซื้อในประเทศ และ นโยบายส่งเสริมการลงทุน
"ในปี 2556 จะเป็นปีที่กำลังซื้อในประเทศจะดีขึ้น และเป็นปีที่มีการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น เป็นการสร้างหนี้ควบคู่ไปกับการสร้างทรัพย์สินที่มีประโยชน์ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้ประเทศสามารถเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งเราไม่กังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศ" นายกิตติรัตน์กล่าว
ช่วง 1 ทศวรรษหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศมีการลอยตัวค่าเงิน ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ช่วยให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก จนทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจประเทศ แต่ในขณะนี้ เงินบาทปรับค่าแข็งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะดูแล
"ผมเองไม่ต้องการคาดหวังให้ ธปท. รับภารกิจนี้ฝ่ายเดียว แต่การเพิ่มขึ้นปริมาณเงินสำคัญของโลกจะทำให้โลกกดดันแน่ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ และการที่ประเทศจะมีโจทก์ที่แตกต่างไป ก็เป็นหน้าที่เรื่องของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทยจะดูแลให้การลงทุนแท้จริงสมดุลกับเงินไหลเข้าออก"
กรณ์ : นโยบายประชานิยมต้องมาจากรายได้
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสัมมนาในหัวข้อ "โจทย์ท้าทาย อนาคตเศรษฐกิจไทย" ว่า โอกาสเศรษฐกิจของไทยในอนาคตนั้นดีมาก เพราะพื้นฐานเราดี โดยเรามีจุดเริ่มต้นที่ได้เปรียบหลายประเทศ แต่สิ่งสำคัญ คือ การรักษาวินัยการคลัง ซึ่งการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใน 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถือว่า สอบตกในเรื่องดังกล่าว ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเร็ว ด้วยการใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์และสร้างมั่งคั่งให้กับคนไทยในอนาคต แต่เกิดจากเป็นการบริโภคในยุคปัจจุบันเท่านั้น ทำให้ประเทศมีความเสี่ยง และบุญเก่าที่สะสมมาจะหมดในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น สิ่งที่เสนอ คือ ต้องสร้างกรอบกติกาที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำให้การกำหนดนโยบายประชานิยมที่เน้นเรื่องใช้จ่าย ต้องเป็นนโยบายที่มาจากรายได้เท่านั้น ไม่ได้มาจากการกู้ยืมเพียงอย่างเดียว และผลักภาระให้ลูกหลานในอนาคต
นโยบายจำนำข้าว รัฐบาลปฏิเสธความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในโครงการจำนำข้าวของรัฐ โดยปฏิเสธเรื่องของการขาดทุน ด้วยเหตุผลว่ายังไม่มีการขายข้าวออกไป กรณีนี้ รัฐบาลควรมีระบบบัญชีตามราคาจริง เพื่อทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจน
"ในทุกรุ่นของการดำเนินนโยบายจำนำข้าวจะมีผลขาดทุนประมาณ 50% ของเงินที่ใช้ ปัจจุบันการจำนำข้าวก็มีโอกาสขาดทุนสูงมาก โดยเมื่อเทียบกับยอดเงินที่ใช้ 4.5 แสนล้านบาทในแต่ละปี ก็เท่ากับว่า รัฐบาลจะขาดทุนประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี กรณีนี้ไม่นับรวมค่าดำเนินงานอีก 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี หากรวม 5 ปี เท่ากับขาดทุนแล้ว 1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ของจีดีพี ถือเป็นความเสี่ยงต่อระดับหนี้สาธารณะ"
Tags : หนี้สาธารณะ • อดึตขุนคลัง • ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล