การเป็นผู้พิพากษาได้นั้น เป็นสิ่งที่ยาก แต่การทำตัวให้เป็นผู้พิพากษาที่ยึดมั่นในความเป็นกลางในความยุติธรรมนั้นยากกว่า ผู้พิพากษาบางท่านเรียนเยอะอ่านแต่ตัวบทกฎหมาย จนลืมใส่ใจถึงสิ่งที่อาจารย์พร่ำสอน แต่ไม่มีสอบในการสอบเป็นผู้พิพากษานั่น คือ หลักวิชาชีพและจรรยาบรรณของนักกฎหมาย ท่านคงจะลืมไปแล้วว่า มันมีหลักคำสอนอยู่หลักนึงที่ผู้พิพากษาควรยึดมั่นและปฏิบัติ
นั่นก็คือหลักอินทภาษ 4 ประการ
ซึ่งเป็นหลักคำสอนในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งพระอินทร์ได้กล่าวแก่บุรุษผู้นึงที่เป็นตุลาการ ใจความคือ
การเป็นตุลาการนั้นต้องปราศจากอคติ 4 ประการ คือ
1.ฉันทาคติ คือการลำเอียงเพราะรัก เข้าด้วยฝ่ายโจทก์หรือจำเลย ไม่วางตัวเป็นกลาง
2.โทสาคติด ลำเอียงเพราะโกรธ อาฆาตเคียดแค้นในใจเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่ออีกฝ่าย
3.โมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลงในลาภยศสรรเสริญ ให้ยึดมั่นในความสุจริตเที่ยงธรรม ตัดสินคดีด้วยจิตใจบริสุทธิ์
4.ภยาคติ คือการลำเอียงเพราะเกิดความกลัว ผู้พิพากษาต้องทำจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ
ในฐานะที่ผมก็เป็นนักศึกษาวิชากฎหมายแม้จะเพิ่งเรียนจบ ป.ตรี และกำลังศึกษาอยู่ที่เนติบัณฑิตยสภาก็ตาม แต่ในความต้องการของผมก็อยากที่จะขึ้นไปสู่จุดสูงสุดนั่นคือการได้เป็นผู้พิพากษา ได้เป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อประชาชนผู้เดือดร้อนและตกทุกข์ได้ยาก และผมก็มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือประชาชนเหล่านั้นโดยไม่สนใจว่าอยู่ฝ่ายไหนขอเพียงได้รับความเดือดร้อนจากความอยุติธรรมผมจะช่วยเหลือเขาทันที
ฉะนั้น ผมจึงใคร่ขอความกรุณาท่านๆทั้งหลายอย่าทำให้วงการผู้พิพากษา ที่ผมเคารพนับถือและอยากเข้าไปนั้น ถูกติฉินนินทาจากประชาชนที่เดือดร้อนว่าท่านไม่วางตัวเป็นกลางไม่มีความยุติธรรมให้กับเขา เพียงเพราะเขาเป็นคนละฝ่ายกับท่านเลย
ปล.เนื้อหาข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ผิดถูกอย่างไรข้าพเจ้าขออภัยต่อสมาชิกพันทิปทุกท่านและขอน้อมรับทุกความเห็นของสมาชิกทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมเห็นพฤติกรรมของผู้พิพากษาหญิงท่านนึงแล้วทนไม่ไหวจริงๆ
นั่นก็คือหลักอินทภาษ 4 ประการ
ซึ่งเป็นหลักคำสอนในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งพระอินทร์ได้กล่าวแก่บุรุษผู้นึงที่เป็นตุลาการ ใจความคือ
การเป็นตุลาการนั้นต้องปราศจากอคติ 4 ประการ คือ
1.ฉันทาคติ คือการลำเอียงเพราะรัก เข้าด้วยฝ่ายโจทก์หรือจำเลย ไม่วางตัวเป็นกลาง
2.โทสาคติด ลำเอียงเพราะโกรธ อาฆาตเคียดแค้นในใจเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่ออีกฝ่าย
3.โมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลงในลาภยศสรรเสริญ ให้ยึดมั่นในความสุจริตเที่ยงธรรม ตัดสินคดีด้วยจิตใจบริสุทธิ์
4.ภยาคติ คือการลำเอียงเพราะเกิดความกลัว ผู้พิพากษาต้องทำจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ
ในฐานะที่ผมก็เป็นนักศึกษาวิชากฎหมายแม้จะเพิ่งเรียนจบ ป.ตรี และกำลังศึกษาอยู่ที่เนติบัณฑิตยสภาก็ตาม แต่ในความต้องการของผมก็อยากที่จะขึ้นไปสู่จุดสูงสุดนั่นคือการได้เป็นผู้พิพากษา ได้เป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อประชาชนผู้เดือดร้อนและตกทุกข์ได้ยาก และผมก็มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือประชาชนเหล่านั้นโดยไม่สนใจว่าอยู่ฝ่ายไหนขอเพียงได้รับความเดือดร้อนจากความอยุติธรรมผมจะช่วยเหลือเขาทันที
ฉะนั้น ผมจึงใคร่ขอความกรุณาท่านๆทั้งหลายอย่าทำให้วงการผู้พิพากษา ที่ผมเคารพนับถือและอยากเข้าไปนั้น ถูกติฉินนินทาจากประชาชนที่เดือดร้อนว่าท่านไม่วางตัวเป็นกลางไม่มีความยุติธรรมให้กับเขา เพียงเพราะเขาเป็นคนละฝ่ายกับท่านเลย
ปล.เนื้อหาข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ผิดถูกอย่างไรข้าพเจ้าขออภัยต่อสมาชิกพันทิปทุกท่านและขอน้อมรับทุกความเห็นของสมาชิกทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้