ศิริราชพ้อ! นโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาทของรัฐบาลปูแดง ทำสถานะการเงินย่ำแย่ ชี้ ให้งบปรับเงินเดือนครอบคลุมแค่กลุ่ม ขรก.-พนักงานมหาวิทยาลัย ทำให้ต้องจ่ายเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นของพนักงานที่จ้างเองถึง 800 ล้านบาท แถมนโยบายลดค่าใช้จ่ายด้านยา ทำให้ขาดรายได้อีกว่า 1,000 ล้านบาท เล็งปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นภายในปี 56 แก้ปัญหา
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนเริ่มต้นระดับปริญญาตรีที่ 15,000 บาท ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น ส่งผลกระทบต่อ รพ.ศิริราช เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเงินของโรงพยาบาล เนื่องจากงบประมาณที่รัฐบาลให้มาเพื่อใช้ในการปรับฐานเงินเดือนนั้น ครอบคลุมเพียงแค่บุคลากรกลุ่มข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้น ไม่รวมกลุ่มพนักงานที่ รพ.ศิริราช จ้างเอง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4-5 พันคน ดังนั้น เมื่อมีการปรับเงินเดือนพื้นฐานให้แก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานที่ศิริราชจ้างเอง ก็ต้องมีการปรับฐานเงินเดือนด้วยเช่นกันเพื่อความเท่าเทียม ซึ่งแต่ละปีจะต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 700-800 ล้านบาท โดยที่ รพ.ศิริราช ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตรงนี้เอง นอกจากนี้ นโยบายการลดค่าใช้จ่ายทางด้านยาที่ให้หันมาใช้ยาชื่อสามัญที่ผลิตเองภายในประเทศแทนการใช้ยาชื่อสามัญจากต่างประเทศนั้น ก็ส่งผลให้โรงพยาบาลขาดรายได้จากส่วนนี้ไป 900-1,000 ล้านบาท
พิษ 300 บาท! “ศิริราช” แบกภาระค่าแรงลูกจ้างเอง เตรียมเพิ่มอัตราค่าบริการ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนเริ่มต้นระดับปริญญาตรีที่ 15,000 บาท ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น ส่งผลกระทบต่อ รพ.ศิริราช เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเงินของโรงพยาบาล เนื่องจากงบประมาณที่รัฐบาลให้มาเพื่อใช้ในการปรับฐานเงินเดือนนั้น ครอบคลุมเพียงแค่บุคลากรกลุ่มข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้น ไม่รวมกลุ่มพนักงานที่ รพ.ศิริราช จ้างเอง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4-5 พันคน ดังนั้น เมื่อมีการปรับเงินเดือนพื้นฐานให้แก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานที่ศิริราชจ้างเอง ก็ต้องมีการปรับฐานเงินเดือนด้วยเช่นกันเพื่อความเท่าเทียม ซึ่งแต่ละปีจะต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 700-800 ล้านบาท โดยที่ รพ.ศิริราช ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตรงนี้เอง นอกจากนี้ นโยบายการลดค่าใช้จ่ายทางด้านยาที่ให้หันมาใช้ยาชื่อสามัญที่ผลิตเองภายในประเทศแทนการใช้ยาชื่อสามัญจากต่างประเทศนั้น ก็ส่งผลให้โรงพยาบาลขาดรายได้จากส่วนนี้ไป 900-1,000 ล้านบาท