คนหลายคน เฝ้านับวันรอบางสิ่งบางอย่าง หรือนับวันรอเพื่อให้ถึงวันที่ใฝ่ฝันไว้ แต่การรอคอยบางสิ่งบางอย่างนั้น มันช่างยาวนาน และทรมาน ยิ่งเป็นสิ่งที่รักมากๆ ก็ยิ่งเพิ่มความกังวลและความทรมานใจมากขึ้นเท่านั้น
และในที่สุดแล้ว บางครั้ง สิ่งที่เฝ้ารอ สิ่งที่เราหวังมาเป็นเดือน เป็นปี หรือทั้งชีวิตนั้น กลับไม่เป็นอย่างที่หวัง สิ่งที่รอเราอยู่ตั้งนานแล้วก็ได้เข้ามาประกบเรา คือความเสียใจ
ในชาดกตอนหนึ่ง พระโพธิสัตว์ท่านได้สังเกตเห็นความเป็นจริงข้อนี้ จากผู้หญิงคนหนึ่ง ในค่ำคืนหนึ่ง ความเป็นจริงข้อนี้ เป็นข้อใหญ่ทีเดียว เพราะทำให้พระพุทธเจ้าทรงนำมาสั่งสอนแก่พุทธศาสนิกชน ให้ได้พบกับความสุข ที่เหนือขึ้นมา ให้ได้พบความสุข ที่ไม่ต้องเฝ้ารอ
การรอ เป็นความทรมานที่สุด ถ้าเราพ้นจากความทุกข์ตรงนี้ได้ ชีวิตที่เหลือก็จะมีแต่ความสุขเท่านั้น
อัญเชิญข้อความบางส่วนจากพระไตรปิฎก
~ สีลวีมังสชาดก ~
พระโพธิสัตว์ออกจากพระนครแล้ว ในตอนเย็นได้นอนอยู่ในเรือนของคนผู้หนึ่ง ในบ้านนั้นในระหว่างทาง. ก็นางทาสในเรือนนั้นชื่อปิงคลา ได้นัดแนะกับชายผู้หนึ่งว่า ท่านจงมาในเวลานั้นๆ นางล้างเท้าของเจ้านายทั้งหลายแล้ว เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว นั่งแลดูการมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู คิดว่าเดี๋ยวเขาจะมา เดี๋ยวเขาจะมา จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม(6โมง-4ทุ่ม)และมัชฌิมยาม(4ทุ่ม-ตี2).
ก็ในเวลาใกล้รุ่ง นางหมดหวังว่า เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่ จึงนอนหลับไป. พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงคิดว่า
นางทาสนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ด้วยความหวังว่า ชายผู้นั้นจะมา รู้ว่าบัดนี้เขาไม่มา เป็นผู้หมดความหวัง ย่อมนอนหลับสบาย
**ขึ้นชื่อว่าความหวังในกิเลสทั้งหลาย เป็นทุกข์ ความไม่มีความหวัง(จากกิเลส)เท่านั้น เป็นสุข
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข
ความหวังมีผลก็เป็นสุข
นางปิงคลากระทำความหวัง จนหมดหวังจึงหลับสบาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลวตี ความว่า ความหวังที่ได้ผลนั้น ชื่อว่าเป็นสุข เพราะผลนั้นเป็นสุข. กระทำให้หมดหวัง คือกระทำให้ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัดเสีย คือละเสีย. บทว่า ปิงฺคลา ความว่า บัดนี้ นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.
*************************************
ในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ท่านแสดงถึงความสุข 2 ทาง
ข้อแรก ความสุขจากการได้สมหวัง แต่การได้สมหวังนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการรอคอย และความสุขที่มีก็ได้เพียงเวลานั้นที่ได้สมหวังเท่านั้น แต่เวลานอกนั้นก็จะจมอยู่กับความทุกข์เสมอ
แต่ ข้อที่สอง ความสุขจากการไม่ต้องหวัง เมื่อไม่หวังแล้ว ก็ไม่ต้องพะวักพะวง ว่าจะได้หรือไม่ได้ จะได้สิ่งนั้นจะได้สมหวังกับคนนั้นเมื่อไหร่ ความสุขข้อนี้ ไม่จำเป็นต้องรอคอย เพราะเมื่อไม่คาดหวัง ไม่รอคอย เราก็พ้นจากบ่วงของความทรมานในการรอคอย มีความสุขอยู่เสมอ แม้ว่าจะได้ หรือไม่ได้
ถ้าเราตั้งชีิวิตของเรา ให้จะมีความสุขได้ ก็ต่อเมื่อได้สิ่ง ๆ ใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวมาเท่านั้นแล้ว สิ่งที่เหลือนอกนั้น ก็จะกลายเป็นความทุกข์หมดเลย ชีิวิตของเราเป็นของไม่แน่นอน อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังไม่มาก เพียงแค่ทำความพยายามในหน้าที่ให้มาก เพียงเท่านั้น ชีวิตของเราก็เต็มบริบูรณ์แล้ว เพราะความเต็มอิ่มในชีวิต คือการให้ การทำ ไม่ใ้ช่การได้อะไรมา
เพราะสุดท้าย ก็ต้องเสียไปเพราะความไม่เที่ยง และไม่ใช่ของตน ของเรา หรือของใคร ในเวลาไหน ๆ เลย
คัดเลือกชาดกมาจาก
สีลวีมังสชาดก
ว่าด้วย ธรรมที่นำความสุขมาให้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=618
"ผู้ไม่หวังย่อมหลับเป็นสุข" ... หลายครั้ง ที่ความสุขจากการไม่อยากได้ อิ่มกว่าความสุขจากการสมหวัง
และในที่สุดแล้ว บางครั้ง สิ่งที่เฝ้ารอ สิ่งที่เราหวังมาเป็นเดือน เป็นปี หรือทั้งชีวิตนั้น กลับไม่เป็นอย่างที่หวัง สิ่งที่รอเราอยู่ตั้งนานแล้วก็ได้เข้ามาประกบเรา คือความเสียใจ
ในชาดกตอนหนึ่ง พระโพธิสัตว์ท่านได้สังเกตเห็นความเป็นจริงข้อนี้ จากผู้หญิงคนหนึ่ง ในค่ำคืนหนึ่ง ความเป็นจริงข้อนี้ เป็นข้อใหญ่ทีเดียว เพราะทำให้พระพุทธเจ้าทรงนำมาสั่งสอนแก่พุทธศาสนิกชน ให้ได้พบกับความสุข ที่เหนือขึ้นมา ให้ได้พบความสุข ที่ไม่ต้องเฝ้ารอ
การรอ เป็นความทรมานที่สุด ถ้าเราพ้นจากความทุกข์ตรงนี้ได้ ชีวิตที่เหลือก็จะมีแต่ความสุขเท่านั้น
อัญเชิญข้อความบางส่วนจากพระไตรปิฎก
~ สีลวีมังสชาดก ~
พระโพธิสัตว์ออกจากพระนครแล้ว ในตอนเย็นได้นอนอยู่ในเรือนของคนผู้หนึ่ง ในบ้านนั้นในระหว่างทาง. ก็นางทาสในเรือนนั้นชื่อปิงคลา ได้นัดแนะกับชายผู้หนึ่งว่า ท่านจงมาในเวลานั้นๆ นางล้างเท้าของเจ้านายทั้งหลายแล้ว เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว นั่งแลดูการมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู คิดว่าเดี๋ยวเขาจะมา เดี๋ยวเขาจะมา จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม(6โมง-4ทุ่ม)และมัชฌิมยาม(4ทุ่ม-ตี2).
ก็ในเวลาใกล้รุ่ง นางหมดหวังว่า เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่ จึงนอนหลับไป. พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงคิดว่า
นางทาสนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ด้วยความหวังว่า ชายผู้นั้นจะมา รู้ว่าบัดนี้เขาไม่มา เป็นผู้หมดความหวัง ย่อมนอนหลับสบาย
**ขึ้นชื่อว่าความหวังในกิเลสทั้งหลาย เป็นทุกข์ ความไม่มีความหวัง(จากกิเลส)เท่านั้น เป็นสุข
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข
ความหวังมีผลก็เป็นสุข
นางปิงคลากระทำความหวัง จนหมดหวังจึงหลับสบาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลวตี ความว่า ความหวังที่ได้ผลนั้น ชื่อว่าเป็นสุข เพราะผลนั้นเป็นสุข. กระทำให้หมดหวัง คือกระทำให้ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัดเสีย คือละเสีย. บทว่า ปิงฺคลา ความว่า บัดนี้ นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.
*************************************
ในชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ท่านแสดงถึงความสุข 2 ทาง
ข้อแรก ความสุขจากการได้สมหวัง แต่การได้สมหวังนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการรอคอย และความสุขที่มีก็ได้เพียงเวลานั้นที่ได้สมหวังเท่านั้น แต่เวลานอกนั้นก็จะจมอยู่กับความทุกข์เสมอ
แต่ ข้อที่สอง ความสุขจากการไม่ต้องหวัง เมื่อไม่หวังแล้ว ก็ไม่ต้องพะวักพะวง ว่าจะได้หรือไม่ได้ จะได้สิ่งนั้นจะได้สมหวังกับคนนั้นเมื่อไหร่ ความสุขข้อนี้ ไม่จำเป็นต้องรอคอย เพราะเมื่อไม่คาดหวัง ไม่รอคอย เราก็พ้นจากบ่วงของความทรมานในการรอคอย มีความสุขอยู่เสมอ แม้ว่าจะได้ หรือไม่ได้
ถ้าเราตั้งชีิวิตของเรา ให้จะมีความสุขได้ ก็ต่อเมื่อได้สิ่ง ๆ ใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวมาเท่านั้นแล้ว สิ่งที่เหลือนอกนั้น ก็จะกลายเป็นความทุกข์หมดเลย ชีิวิตของเราเป็นของไม่แน่นอน อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องตั้งความหวังไม่มาก เพียงแค่ทำความพยายามในหน้าที่ให้มาก เพียงเท่านั้น ชีวิตของเราก็เต็มบริบูรณ์แล้ว เพราะความเต็มอิ่มในชีวิต คือการให้ การทำ ไม่ใ้ช่การได้อะไรมา
เพราะสุดท้าย ก็ต้องเสียไปเพราะความไม่เที่ยง และไม่ใช่ของตน ของเรา หรือของใคร ในเวลาไหน ๆ เลย
คัดเลือกชาดกมาจาก
สีลวีมังสชาดก
ว่าด้วย ธรรมที่นำความสุขมาให้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=618