ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่า สตรีทั้งหลายนี้ได้เคยทำความเศร้าหมองให้เกิดแม้แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายผู้ที่ข่มกิเลสได้ด้วย
กำลังฌาน เหตุไฉน จักไม่ทำบุคคลผู้ไร้คุณสมบัติเช่นเธอให้เศร้าหมองเล่า
ท่านผู้บริสุทธิ์ยังเศร้าหมองได้ ทั้งท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอุดมยศก็ยังถึงความเสื่อมยศได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ไม่บริสุทธิ์เล่า
ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ไฉนจักไม่พัดขยะใบใม้เก่าให้กระจัดกระจายเล่า
กิเลสนี้ยังก่อกวนสัตว์ผู้นั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ กำลังจะตรัสรู้ได้ ไฉนจักไม่ก่อกวนคนเช่นเธอเล่า
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังนี้:-
ในอดีตกาล ...
พระโพธิสัตว์เป็นพระดาบสอาศัยในป่าหิมพานต์สำเร็จอภิญญาและสมาบัติ
วันหนึ่งออกจากป่าจาริกเข้าไปในเมือง พระราชาทอดพระเนตรเห็นทางช่องพระแกล ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของเธอ
จึงนิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ให้พระดาบสลำบากด้วยปัจจัย ๔
ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ได้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเป็นเวลา ๑๒ ปี
อยู่มาวันหนึ่ง ...
ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขาภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่
พระเทวีได้ทรงสดับเสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้น
ก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็นวิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตะลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม
ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้
ก็แผ่พังพานขึ้นฉะนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น
องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิดขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีกขาดฉะนั้น
พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง
ปกติเมื่อทำภัตตกิจแล้ว พระดาบสจะเหาะออกไปทางหน้าต่าง
แต่ว่าคราวนี้เนื่องจากฌานเสื่อม จึงเดินลงทางบันไดใหญ่กลับไปยังพระราชอุทยาน
เมื่อกลับมาแล้วก็ไม่บริโภคภัตตาหารเลย เอาวางไว้ใต้เตียง นอนรำพันว่า
พระหัตถ์เห็นปานนี้ของพระเทวีงาม พระบาทก็งาม นั้นพระองค์เห็นปานนี้ ลักษณะของพระอูรุเห็นปานนี้ ดังนี้เป็นต้น
นอนบ่นเพ้ออยู่ถึง ๗ วัน ภัตตาหารบูด มีหมู่แมลงวันหัวเขียวตอมกันสะพรั่ง
พระราชาเห็นผิดปกติ จึงเสด็จไปหาแล้วตรัสถามพระดาบสว่า ท่านไม่สบายไปหรือ?
พระดาบสทูลตอบว่า มหาบพิตร อาตมภาพถูกลูกศรเสียบแทง
พระราชาเข้าพระทัยว่า ชะรอยพวกปัจจามิตรของเราไม่ได้โอกาสในตัวเรา จึงมายิงพระดาบสนี้ โดยคิดว่า
จักทำฐานะอันเป็นที่รักของพระราชานั้น ให้ทุรพลภาพ จึงทรงพลิกร่างกายตรวจดูรอยที่ถูกยิง ก็ไม่เห็นรอยที่ยิง
จึงตรัสถามว่า ท่านถูกเขายิงที่ไหนหรือ พระคุณเจ้า
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพมิได้ถูกคนอื่นยิง แต่อาตมภาพยิงตัวของตัวเองแหละที่หัวใจ
ครั้นทูลแล้ว จึงลุกขึ้นนั่งกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
อาตมภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูกศรนั้นอันกำซาบด้วยราคะเกิดจากความดำริ อันลับด้วยวิตกคือความดำริ
อันนายช่างมิได้ตกแต่งให้เรียบร้อย
อันนายช่างศรมิได้ทำ ยังไม่พ้นหมวกหู ทั้งยังไม่ติดขนนกยูง แต่ทำความเร่าร้อนให้ทั่วสรรพางค์กาย
อาตมภาพไม่เห็นรูแผลที่เลือดไหลออก ลูกศรนั้นแทงจิตที่ไม่แยบคายได้มั่นเหมาะ
ความทุกข์นี้อาตมภาพนำมาด้วยตนเอง
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถา ๓ คาถานี้อย่างนี้แล้ว จึงทูลให้พระราชาเสด็จออกประทับภายนอก
บรรณศาลา แล้วกระทำกสิณบริกรรมทำฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นแล้ว ออกจากบรรณศาลา เหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ
โอวาทพระราชาเสร็จแล้วทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม
แม้พระราชาจะตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ อย่าไปเลย
ก็ทูลชี้แจงว่า มหาบพิตร เพราะอาตมภาพอยู่ในที่นี้ จึงได้รับอาการอันผิดแผกเห็นปานนี้
บัดนี้ ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ต่อไป
ทั้งๆ ที่พระราชาทรงอ้อนวอนอยู่นั่นเอง ก็เหาะไปป่าหิมพานต์ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในเวลาสิ้นสุดอายุก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจกถา ภิกษุผู้กระสันจะสึก ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี
บางพวกได้เป็นพระอนาคามี.
พระราชาในกาลนั้น ได้เป็น
พระอานนท์ ในบัดนี้
ส่วนดาบสคือ
เราตถาคต ฉะนี้แล.
สังกัปปราคชาดก ว่าด้วย ลูกศรคือกิเลส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๙๘๖ - ๑๙๙๘. หน้าที่ ๙๘.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=1986&Z=1998&bgc=honeydew&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=352&bgc=honeydew
บรรดารูปที่น่าพอใจ เช่น รูปกายของสตรีหรือของบุรุษ อันเป็นที่น่าพอใจแก่บุรุษและสตรี กลิ่นหอม ต่างๆ ฯลฯ
วัตถุกามเหล่านี้ เมื่อปุถุชนผู้ยังพอใจในกามอยู่ เมื่อได้เห็นได้ยินได้ทราบ ก็กำหนัดไปด้วยกิเลสกาม
วัตถุกามเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างนั้นนั่นเอง การขจัดกิเลสกามนั้นไม่ใช่ว่าต้องไปทำลายวัตถุกามเหล่านั้น
แต่ขจัดกิเลสกามด้วยปัญญาเห็นตามจริง หรือหากยังไม่อาจขจัดอย่างเด็ดขาด เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า
ก็ควรข่มไว้โดยชอบด้วยวิธีต่างๆ เช่น สำรวมด้วยศีล มนสิการกรรมฐานต่างๆ มีอสุภะ หรือกายคตาสติเป็นต้น
แต่เพราะเหตุว่าวัตถุเหล่านั้น ปุถุชนยังละความพอใจในกามไม่ได้ ดังนั้นจึงควรมี
อินทรียสังวรไว้ด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าไปทำลายจักษุเพื่อไม่ให้เห็นรูป ไม่ใช่ว่าไปทำลายหูเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียง ฯลฯ
เพราะการทำลายทั้งวัตถุกาม หรือทำลายจักษุเป็นต้น ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง
อินทรียสังวร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=1612&w=อินทรียสังวร
คำว่า อินทรียสังวร
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรียสังวร&detail=on
คำว่า กาม 2
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2
อินทริยภาวนาสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=10912&Z=11073
อาตมภาพถูกลูกศร คือ กิเลส เสียบแทงที่หทัย
ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่า สตรีทั้งหลายนี้ได้เคยทำความเศร้าหมองให้เกิดแม้แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายผู้ที่ข่มกิเลสได้ด้วย
กำลังฌาน เหตุไฉน จักไม่ทำบุคคลผู้ไร้คุณสมบัติเช่นเธอให้เศร้าหมองเล่า
ท่านผู้บริสุทธิ์ยังเศร้าหมองได้ ทั้งท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอุดมยศก็ยังถึงความเสื่อมยศได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ไม่บริสุทธิ์เล่า
ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ไฉนจักไม่พัดขยะใบใม้เก่าให้กระจัดกระจายเล่า
กิเลสนี้ยังก่อกวนสัตว์ผู้นั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ กำลังจะตรัสรู้ได้ ไฉนจักไม่ก่อกวนคนเช่นเธอเล่า
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังนี้:-
ในอดีตกาล ...
พระโพธิสัตว์เป็นพระดาบสอาศัยในป่าหิมพานต์สำเร็จอภิญญาและสมาบัติ
วันหนึ่งออกจากป่าจาริกเข้าไปในเมือง พระราชาทอดพระเนตรเห็นทางช่องพระแกล ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของเธอ
จึงนิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ให้พระดาบสลำบากด้วยปัจจัย ๔
ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ได้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเป็นเวลา ๑๒ ปี
อยู่มาวันหนึ่ง ...
ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขาภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่
พระเทวีได้ทรงสดับเสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้น
ก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็นวิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตะลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม
ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้
ก็แผ่พังพานขึ้นฉะนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น
องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิดขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีกขาดฉะนั้น
พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง
ปกติเมื่อทำภัตตกิจแล้ว พระดาบสจะเหาะออกไปทางหน้าต่าง
แต่ว่าคราวนี้เนื่องจากฌานเสื่อม จึงเดินลงทางบันไดใหญ่กลับไปยังพระราชอุทยาน
เมื่อกลับมาแล้วก็ไม่บริโภคภัตตาหารเลย เอาวางไว้ใต้เตียง นอนรำพันว่า
พระหัตถ์เห็นปานนี้ของพระเทวีงาม พระบาทก็งาม นั้นพระองค์เห็นปานนี้ ลักษณะของพระอูรุเห็นปานนี้ ดังนี้เป็นต้น
นอนบ่นเพ้ออยู่ถึง ๗ วัน ภัตตาหารบูด มีหมู่แมลงวันหัวเขียวตอมกันสะพรั่ง
พระราชาเห็นผิดปกติ จึงเสด็จไปหาแล้วตรัสถามพระดาบสว่า ท่านไม่สบายไปหรือ?
พระดาบสทูลตอบว่า มหาบพิตร อาตมภาพถูกลูกศรเสียบแทง
พระราชาเข้าพระทัยว่า ชะรอยพวกปัจจามิตรของเราไม่ได้โอกาสในตัวเรา จึงมายิงพระดาบสนี้ โดยคิดว่า
จักทำฐานะอันเป็นที่รักของพระราชานั้น ให้ทุรพลภาพ จึงทรงพลิกร่างกายตรวจดูรอยที่ถูกยิง ก็ไม่เห็นรอยที่ยิง
จึงตรัสถามว่า ท่านถูกเขายิงที่ไหนหรือ พระคุณเจ้า
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพมิได้ถูกคนอื่นยิง แต่อาตมภาพยิงตัวของตัวเองแหละที่หัวใจ
ครั้นทูลแล้ว จึงลุกขึ้นนั่งกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
อาตมภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูกศรนั้นอันกำซาบด้วยราคะเกิดจากความดำริ อันลับด้วยวิตกคือความดำริ
อันนายช่างมิได้ตกแต่งให้เรียบร้อย
อันนายช่างศรมิได้ทำ ยังไม่พ้นหมวกหู ทั้งยังไม่ติดขนนกยูง แต่ทำความเร่าร้อนให้ทั่วสรรพางค์กาย
อาตมภาพไม่เห็นรูแผลที่เลือดไหลออก ลูกศรนั้นแทงจิตที่ไม่แยบคายได้มั่นเหมาะ
ความทุกข์นี้อาตมภาพนำมาด้วยตนเอง
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถา ๓ คาถานี้อย่างนี้แล้ว จึงทูลให้พระราชาเสด็จออกประทับภายนอก
บรรณศาลา แล้วกระทำกสิณบริกรรมทำฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นแล้ว ออกจากบรรณศาลา เหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ
โอวาทพระราชาเสร็จแล้วทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม
แม้พระราชาจะตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ อย่าไปเลย
ก็ทูลชี้แจงว่า มหาบพิตร เพราะอาตมภาพอยู่ในที่นี้ จึงได้รับอาการอันผิดแผกเห็นปานนี้
บัดนี้ ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ต่อไป
ทั้งๆ ที่พระราชาทรงอ้อนวอนอยู่นั่นเอง ก็เหาะไปป่าหิมพานต์ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในเวลาสิ้นสุดอายุก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก.
ในเวลาจบสัจจกถา ภิกษุผู้กระสันจะสึก ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี
บางพวกได้เป็นพระอนาคามี.
พระราชาในกาลนั้น ได้เป็น พระอานนท์ ในบัดนี้
ส่วนดาบสคือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
สังกัปปราคชาดก ว่าด้วย ลูกศรคือกิเลส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๙๘๖ - ๑๙๙๘. หน้าที่ ๙๘.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=1986&Z=1998&bgc=honeydew&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=352&bgc=honeydew
บรรดารูปที่น่าพอใจ เช่น รูปกายของสตรีหรือของบุรุษ อันเป็นที่น่าพอใจแก่บุรุษและสตรี กลิ่นหอม ต่างๆ ฯลฯ
วัตถุกามเหล่านี้ เมื่อปุถุชนผู้ยังพอใจในกามอยู่ เมื่อได้เห็นได้ยินได้ทราบ ก็กำหนัดไปด้วยกิเลสกาม
วัตถุกามเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างนั้นนั่นเอง การขจัดกิเลสกามนั้นไม่ใช่ว่าต้องไปทำลายวัตถุกามเหล่านั้น
แต่ขจัดกิเลสกามด้วยปัญญาเห็นตามจริง หรือหากยังไม่อาจขจัดอย่างเด็ดขาด เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า
ก็ควรข่มไว้โดยชอบด้วยวิธีต่างๆ เช่น สำรวมด้วยศีล มนสิการกรรมฐานต่างๆ มีอสุภะ หรือกายคตาสติเป็นต้น
แต่เพราะเหตุว่าวัตถุเหล่านั้น ปุถุชนยังละความพอใจในกามไม่ได้ ดังนั้นจึงควรมีอินทรียสังวรไว้ด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าไปทำลายจักษุเพื่อไม่ให้เห็นรูป ไม่ใช่ว่าไปทำลายหูเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียง ฯลฯ
เพราะการทำลายทั้งวัตถุกาม หรือทำลายจักษุเป็นต้น ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง
อินทรียสังวร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=1612&w=อินทรียสังวร
คำว่า อินทรียสังวร
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรียสังวร&detail=on
คำว่า กาม 2
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2
อินทริยภาวนาสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=10912&Z=11073