ท.พญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ นักวิจัยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวในการเสวนาเรื่อง ภาษีอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ได้แอลกอฮอล์ ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 1 แผนงานวิจัยอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP) ว่า ปัจจุบันจากปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งการบริโภคไม่เหมาะสมถือเป็นปัญหาสำคัญ ในหลายประเทศทั่วโลก จึงมีการดำเนินนโยบายควบคุมโภชนาการโดยเฉพาะเรื่องเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม โซดา ชา กาแฟ น้ำผักผลไม้ เป็นต้น โดยมีการจัดเก็บภาษีสินค้าเหล่านี้ ลักษณะคล้ายกับภาษีเหล้า โดยนำภาษีไปแก้ปัญหาโรคที่เกิดจากโภชนาการเกิน โดยพบว่าเบาหวานยังเป็นสาเหตุให้คนเกิดโรคหัวใจมากขึ้น
ท.พญ.จันทนากล่าวว่า สำหรับประเทศไทย พบแนวโน้มการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลคณะกรรมการน้ำตาล พบว่าน้ำตาลถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากที่สุด และเมื่อเทียบกับ 5 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคน้ำตาลมากที่สุด โดยกลุ่มผู้หญิงบริโภคมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า ผู้หญิงจึงมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากกว่า ในขณะที่ราคาเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ของไทยมีราคาต่ำมากเมื่อเทียบกับอีก 17 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ จำเป็นต้องศึกษาทั้งด้านสุขภาพ ซึ่งมีงานศึกษาจำนวนมากชี้ว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน และศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อหารูปแบบการจัดเก็บภาษี และสร้างความเข้าใจต่อสังคม
"ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการสร้างพฤติกรรมลดหวาน โดยทำโครงการโรงเรียนอ่อนหวานในระดับชั้นประถม โดยพบว่าเด็กติดพฤติกรรมการไม่ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ทั้งดื่มลดลงและไม่ดื่ม ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ทำให้เห็นได้ว่าพฤติกรรมโภชนาการเหมาะสมนั้นสามารถสร้างได้" ท.พญ.จันทนากล่าว
ข่าวสด
ไม่คิดว่าเรื่องของความหวานจะนำปัญหามาให้ถึงขนาดต้องเก็บภาษีกันเลย ว่าแต่จะได้ผลไหมขนาดเหล้ายังขึ้นภาษีบ่อยๆ พร้อมมีคำเตือนแต่ดูจะไมได้ผล
สะท้อนสังคมไทย ผู้คน เอาแต่สบาย ตามใจปาก หลงไปกับสิ่งยั่วยุต่างๆ ได้ง่าย
เก็บภาษีเครื่องดื่มใส่น้ำตาล เลียนภาษีเหล้าเอาไปดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ท.พญ.จันทนากล่าวว่า สำหรับประเทศไทย พบแนวโน้มการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลคณะกรรมการน้ำตาล พบว่าน้ำตาลถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากที่สุด และเมื่อเทียบกับ 5 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคน้ำตาลมากที่สุด โดยกลุ่มผู้หญิงบริโภคมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า ผู้หญิงจึงมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากกว่า ในขณะที่ราคาเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ของไทยมีราคาต่ำมากเมื่อเทียบกับอีก 17 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ จำเป็นต้องศึกษาทั้งด้านสุขภาพ ซึ่งมีงานศึกษาจำนวนมากชี้ว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน และศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อหารูปแบบการจัดเก็บภาษี และสร้างความเข้าใจต่อสังคม
"ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการสร้างพฤติกรรมลดหวาน โดยทำโครงการโรงเรียนอ่อนหวานในระดับชั้นประถม โดยพบว่าเด็กติดพฤติกรรมการไม่ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ทั้งดื่มลดลงและไม่ดื่ม ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ทำให้เห็นได้ว่าพฤติกรรมโภชนาการเหมาะสมนั้นสามารถสร้างได้" ท.พญ.จันทนากล่าว
ข่าวสด
ไม่คิดว่าเรื่องของความหวานจะนำปัญหามาให้ถึงขนาดต้องเก็บภาษีกันเลย ว่าแต่จะได้ผลไหมขนาดเหล้ายังขึ้นภาษีบ่อยๆ พร้อมมีคำเตือนแต่ดูจะไมได้ผล
สะท้อนสังคมไทย ผู้คน เอาแต่สบาย ตามใจปาก หลงไปกับสิ่งยั่วยุต่างๆ ได้ง่าย