ดันสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนหญ้าเลี้ยงช้างหมื่นแห่ง
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ พพ.อยู่ระหว่างจัดทำแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน โดยการใช้หญ้าเลี้ยงช้าง (เนเปียร์)หรือหญ้าโตเร็ว เป็นพืชพลังงานทดแทนตามนโยบายของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เบื้องต้นคาดว่าภายใน 10 ปีจะมีชุมชนเข้าร่วม 10,000 แห่ง หรือจะได้โรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 10,000 โรง แต่ละโรงลงทุน 100 ล้านบาทและใช้พื้นที่ปลูกหญ้า 800-1,000 ไร่ โดยภาคเอกชนลงทุน 60% ชุมชน และเกษตรกรร่วมทุน 40%
ทั้งนี้ คาดใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี โดยในส่วนของชุมชนที่ร่วมทุนมีข้อเสนอให้ภาครัฐช่วยลงทุนก่อน ด้วยการให้ทุนเปล่า 20% และเป็นเงินกู้ทุนหมุนเวียนอีก 20% ขณะที่เกษตรกรจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า เป็นผู้เพาะปลูกหญ้า และร่วมทุนติดตั้งระบบผลิตไบโอก๊าซ ซึ่งจะเป็นผลดีที่สามารถเข้าร่วมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
นายอำนวย กล่าวว่า พพ.จะเข้าไปผลักดันโครงการดังกล่าว ด้วยการเริ่มตั้งแต่การปลูก เทคโนโลยีการปลูก การตัดหญ้า การส่งเสริมการลงทุน การจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย
"หลังจากการสำรวจข้อมูล และการศึกษาเพื่อหาพืชพลังงานทดแทนมาใช้แทน เชื้อเพลิงฟอสซิลพบว่า หญ้าเลี้ยงช้างหรือหญ้าเนเปียร์พันธุ์ที่ดี จะเริ่มตัดผลผลิต ได้ทุก 45 วัน การเพาะปลูก 1 ครั้ง จะมีอายุอยู่ได้ 7 ปี ราคาเพียง 300 บาทต่อตัน ก็คุ้มทุน เร็วกว่าปลูกมันสำปะหลัง และการปลูกข้าวอีก แต่การจะส่งเสริมเช่นนี้ได้ ก็ต้องดำเนินการทั้งระบบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีตลาดชัดเจน และไทยก็ยังลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ด้วย"
ดันสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนหญ้าเลี้ยงช้างหมื่นแห่ง
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ พพ.อยู่ระหว่างจัดทำแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน โดยการใช้หญ้าเลี้ยงช้าง (เนเปียร์)หรือหญ้าโตเร็ว เป็นพืชพลังงานทดแทนตามนโยบายของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เบื้องต้นคาดว่าภายใน 10 ปีจะมีชุมชนเข้าร่วม 10,000 แห่ง หรือจะได้โรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 10,000 โรง แต่ละโรงลงทุน 100 ล้านบาทและใช้พื้นที่ปลูกหญ้า 800-1,000 ไร่ โดยภาคเอกชนลงทุน 60% ชุมชน และเกษตรกรร่วมทุน 40%
ทั้งนี้ คาดใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี โดยในส่วนของชุมชนที่ร่วมทุนมีข้อเสนอให้ภาครัฐช่วยลงทุนก่อน ด้วยการให้ทุนเปล่า 20% และเป็นเงินกู้ทุนหมุนเวียนอีก 20% ขณะที่เกษตรกรจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า เป็นผู้เพาะปลูกหญ้า และร่วมทุนติดตั้งระบบผลิตไบโอก๊าซ ซึ่งจะเป็นผลดีที่สามารถเข้าร่วมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
นายอำนวย กล่าวว่า พพ.จะเข้าไปผลักดันโครงการดังกล่าว ด้วยการเริ่มตั้งแต่การปลูก เทคโนโลยีการปลูก การตัดหญ้า การส่งเสริมการลงทุน การจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย
"หลังจากการสำรวจข้อมูล และการศึกษาเพื่อหาพืชพลังงานทดแทนมาใช้แทน เชื้อเพลิงฟอสซิลพบว่า หญ้าเลี้ยงช้างหรือหญ้าเนเปียร์พันธุ์ที่ดี จะเริ่มตัดผลผลิต ได้ทุก 45 วัน การเพาะปลูก 1 ครั้ง จะมีอายุอยู่ได้ 7 ปี ราคาเพียง 300 บาทต่อตัน ก็คุ้มทุน เร็วกว่าปลูกมันสำปะหลัง และการปลูกข้าวอีก แต่การจะส่งเสริมเช่นนี้ได้ ก็ต้องดำเนินการทั้งระบบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีตลาดชัดเจน และไทยก็ยังลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ด้วย"