ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556
เผยอนาคตสังคมไทยคนโสดเพิ่มขึ้น อ.เกื้อ แจงแผนพัฒนา ศก.และสังคมฯ ฉบับที่ 11 สภาพัฒน์เล็งจัดนโยบาย "เบบี้โบนัส" แก่สามีภรรยาที่มีลูก พร้อมจัด Child Care รับดูแลเด็ก หวังเพิ่มสัดส่วนวัยเรียน ทำงาน ดูแลผู้สูงอายุ ขณะที่คนโสดเตรียมการออม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้เลี้ยงตัวเองเมื่อสูงอายุ
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากโครงสร้างประชากรของประเทศไทย จำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2553-2583 พบว่า
ปี 2553 วัยอายุ 0-14 ปี สัดส่วน 19.8% อายุ 15-59 ปี สัดส่วน 67% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วน 13.2%
ปี 2563 อายุ 0-14 ปี 16.8% อายุ 15-59 ปี 64.1% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 19.1%
ปี 2573 อายุ 0-14 ปี 14.8% อายุ 15-59 ปี 58.6% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 26.6%
และปี 2583 อายุ 0-14 ปี 12.8% อายุ 15-59 ปี 55.1% และอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 32.1%
เห็นได้ว่า ปัจจุบันและในอนาคต โครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้น ประชากรกลุ่มอื่นมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ อนาคตสังคมไทยมีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทน ซึ่งหนึ่งครอบครัวจะต้องมีลูก 2 คน แต่ปัจจุบันหนึ่งครอบครัวมีลูกคนเดียว
"ขณะนี้สังคมไทยกำลังเปลี่ยนจากสังคมแบบ DINK (Double income no kids) สังคมที่มีสามีภรรยา แต่ไม่มีลูก กลายเป็นสังคมแบบ SINK (Single income no kid) สังคมที่ไม่มีการแต่งงาน สมรสลดลง หย่าและคนโสดเพิ่มมากขึ้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) จึงมีการกำหนดนโยบายทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงแบบไม่รุนแรง เพราะถ้าลดลงเร็วเกินไป จะทำให้สัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น สัดส่วนวัยอื่นลดลง จากเดิมสัดส่วนคนทำงานต่อผู้สูงอายุ 4 ต่อ 1 กลายเป็น 3 ต่อ 1 จะส่งผลให้โรงเรียนประถมต้องปิดตัวจากการที่วัยเด็กลดน้อยลง" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวอีกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ มีการกำหนดนโยบาย Baby Bonus (เบบี้โบนัส) เหมือนประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศฝรั่งเศส เช่น ฝรั่งเศส มีลูกคนที่ 1 ให้ 2,000 ยูโร คนที่ 2 ให้ 4,000 ยูโร และคนที่ 3 ให้ 10,000 ยูโร หรือใครมีลูก รัฐบาลจัด Child Care มีศูนย์รับดูแลเด็ก ลดหย่อนภาระทางภาษีเงินได้สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรในครอบครัว โดยใช้ระบบอัตราก้าวหน้าตามจำนวนบุตรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการสนับสนุนเงินดังกล่าวเป็นการให้แต่ละครอบครัว ไม่ใช่ให้เฉพาะครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เป็นการเตรียมคนเพื่อไปดูแลผู้สูงอายุในอนาคต นอกจากนี้ ประชากรวัยแรงงาน เตรียมเรื่องการออม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อมีเงินในการดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และคนที่อายุ 40 ขึ้นไป ต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ตั้งคณะอนุกรรมการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ เป็นประธาน
สภาพัฒน์เล็งจัดเบบี้โบนัส หลังไทยกลายเป็นสังคมของคนโสด
เผยอนาคตสังคมไทยคนโสดเพิ่มขึ้น อ.เกื้อ แจงแผนพัฒนา ศก.และสังคมฯ ฉบับที่ 11 สภาพัฒน์เล็งจัดนโยบาย "เบบี้โบนัส" แก่สามีภรรยาที่มีลูก พร้อมจัด Child Care รับดูแลเด็ก หวังเพิ่มสัดส่วนวัยเรียน ทำงาน ดูแลผู้สูงอายุ ขณะที่คนโสดเตรียมการออม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้เลี้ยงตัวเองเมื่อสูงอายุ
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากโครงสร้างประชากรของประเทศไทย จำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2553-2583 พบว่า
ปี 2553 วัยอายุ 0-14 ปี สัดส่วน 19.8% อายุ 15-59 ปี สัดส่วน 67% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วน 13.2%
ปี 2563 อายุ 0-14 ปี 16.8% อายุ 15-59 ปี 64.1% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 19.1%
ปี 2573 อายุ 0-14 ปี 14.8% อายุ 15-59 ปี 58.6% อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 26.6%
และปี 2583 อายุ 0-14 ปี 12.8% อายุ 15-59 ปี 55.1% และอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 32.1%
เห็นได้ว่า ปัจจุบันและในอนาคต โครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้น ประชากรกลุ่มอื่นมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ อนาคตสังคมไทยมีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทน ซึ่งหนึ่งครอบครัวจะต้องมีลูก 2 คน แต่ปัจจุบันหนึ่งครอบครัวมีลูกคนเดียว
"ขณะนี้สังคมไทยกำลังเปลี่ยนจากสังคมแบบ DINK (Double income no kids) สังคมที่มีสามีภรรยา แต่ไม่มีลูก กลายเป็นสังคมแบบ SINK (Single income no kid) สังคมที่ไม่มีการแต่งงาน สมรสลดลง หย่าและคนโสดเพิ่มมากขึ้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) จึงมีการกำหนดนโยบายทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงแบบไม่รุนแรง เพราะถ้าลดลงเร็วเกินไป จะทำให้สัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น สัดส่วนวัยอื่นลดลง จากเดิมสัดส่วนคนทำงานต่อผู้สูงอายุ 4 ต่อ 1 กลายเป็น 3 ต่อ 1 จะส่งผลให้โรงเรียนประถมต้องปิดตัวจากการที่วัยเด็กลดน้อยลง" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวอีกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ มีการกำหนดนโยบาย Baby Bonus (เบบี้โบนัส) เหมือนประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศฝรั่งเศส เช่น ฝรั่งเศส มีลูกคนที่ 1 ให้ 2,000 ยูโร คนที่ 2 ให้ 4,000 ยูโร และคนที่ 3 ให้ 10,000 ยูโร หรือใครมีลูก รัฐบาลจัด Child Care มีศูนย์รับดูแลเด็ก ลดหย่อนภาระทางภาษีเงินได้สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรในครอบครัว โดยใช้ระบบอัตราก้าวหน้าตามจำนวนบุตรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการสนับสนุนเงินดังกล่าวเป็นการให้แต่ละครอบครัว ไม่ใช่ให้เฉพาะครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เป็นการเตรียมคนเพื่อไปดูแลผู้สูงอายุในอนาคต นอกจากนี้ ประชากรวัยแรงงาน เตรียมเรื่องการออม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อมีเงินในการดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และคนที่อายุ 40 ขึ้นไป ต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ตั้งคณะอนุกรรมการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ เป็นประธาน