ผู้ที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้ก็คือ นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ท่านอธิบดีบอกว่า จากการสำรวจอัตราการเกิดของไทยในปี 2557 น้อยลง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ปีละ 8 แสนคน เหลือเพียง 6 แสนคนต่อปี เนื่องจากคนไทยแต่งงานช้า และไม่ยอมมีบุตร
แหละนี่คือสัญญาณของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว
มาดูข้อมูล ประชากรไทยในอนาคต โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล การที่ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลงนั้น เป็นผลเนื่องมาจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้นอีก
โดยประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2548 – 2578 จะลดลงจาก 14 ล้าน เหลือ 9 ล้านคนเศษ
ส่วนประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 – 59 ปี มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือในช่วง พ.ศ. 2548 – 2558 จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้าน เป็น 43 ล้านคน หลังจากนั้นจะลดจำนวนลงเหลือ 38 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578
การที่ประชากรวัยเด็กลดลงอย่างมากจะมีผลทำให้ประชากรในวัยเรียน อายุ 6 – 21 ปี ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 16 ล้านคนในปี พ.ศ. 2548 เป็น 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578
สำหรับประชากรกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2548 มีประชากรสูงอายุอยู่ 6 ล้านคนเศษ หรือร้อยละ 10 เมื่อถึงปี พ.ศ. 2578 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านคน หรือร้อยละ 25 เท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวในเวลาราว ๆ 30 ปีเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ทำให้สังคมไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในอีก10-15 ปีข้างหน้า นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมจึงต้องมีนโยบายให้คนไทยปั๊มลูกเพิ่มขึ้น
เครดิต
http://www.thairath.co.th/clip/16699
"ประเทศไทย" กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ !
ผู้ที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้ก็คือ นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ท่านอธิบดีบอกว่า จากการสำรวจอัตราการเกิดของไทยในปี 2557 น้อยลง จากเดิมเด็กเกิดใหม่ปีละ 8 แสนคน เหลือเพียง 6 แสนคนต่อปี เนื่องจากคนไทยแต่งงานช้า และไม่ยอมมีบุตร
แหละนี่คือสัญญาณของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว
มาดูข้อมูล ประชากรไทยในอนาคต โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล การที่ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลงนั้น เป็นผลเนื่องมาจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้นอีก
โดยประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2548 – 2578 จะลดลงจาก 14 ล้าน เหลือ 9 ล้านคนเศษ
ส่วนประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 – 59 ปี มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือในช่วง พ.ศ. 2548 – 2558 จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้าน เป็น 43 ล้านคน หลังจากนั้นจะลดจำนวนลงเหลือ 38 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578
การที่ประชากรวัยเด็กลดลงอย่างมากจะมีผลทำให้ประชากรในวัยเรียน อายุ 6 – 21 ปี ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 16 ล้านคนในปี พ.ศ. 2548 เป็น 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578
สำหรับประชากรกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2548 มีประชากรสูงอายุอยู่ 6 ล้านคนเศษ หรือร้อยละ 10 เมื่อถึงปี พ.ศ. 2578 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านคน หรือร้อยละ 25 เท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวในเวลาราว ๆ 30 ปีเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ทำให้สังคมไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในอีก10-15 ปีข้างหน้า นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมจึงต้องมีนโยบายให้คนไทยปั๊มลูกเพิ่มขึ้น
เครดิต http://www.thairath.co.th/clip/16699