‘สูงวัย’เนื้อหอม! หลายพรรคเปิดนโยบาย‘เพิ่มเบี้ยรายเดือน’ทุ่มเล่นใหญ่สู้ศึกเลือกตั้ง’66

 อมยิ้ม02
“12,519,926 คน” เป็นจำนวนของ “ผู้สูงอายุ” ในประเทศไทย ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน คือ 66,090,475 คน สัดส่วนของผู้สูงอายุไทยจะคิดเป็นร้อยละ 18.94 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นจึงเท่ากับว่า “ไทยเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยแล้ว” โดย องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แบ่งภาวะสังคมสูงวัย หรือสังคมผู้สูงอายุไว้ 3 รดับ คือ
1.สังคมสูงวัย (Aging Society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ7 ของประชากรทั้งประเทศ 2.สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ และ 3.สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) หรือสังคมสูงวัยแบบเต็มที่ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ

เมื่อกล่าวถึงผู้สูงอายุ นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว “ความมั่นคงในชีวิต” ก็เป็นเรื่องเรื่องที่มีการเรียกร้องอย่างมาก โดยเฉพาะการ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ที่ปัจจุบันจ่ายแบบขั้นบันได เช่น 600 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 60-69 ปี, 700 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 70-79 ปี,800 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 80-89 ปี และ 1,000 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 90 ปีขึ้นไป ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ทำให้ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากครอบครัว กลายเป็นปัญหาที่ส่งต่อถึงรุ่นลูก (หรือแม้แต่รุ่นหลาน) แทนที่จะได้เก็บออมเงินสร้างเนื้อสร้างตัว ก็ต้องนำมาใช้ดูแลพ่อแม่หรือผู้อาวุโสภายในครัวเรือน

จำนวนผู้สูงอายุไทย ปี 2565 (กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
นั่นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ตั้งแต่ในช่วงท้ายของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ซึ่งล่าสุดเพิ่งประกาศยุบสภาไปแบบสดๆ ร้อนๆ ในวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก่อนหน้าที่รายงานฉบับนี้จะเขียนขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง) บรรดาพรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่จะมีการ “เกทับ” ต่อสู้แข่งขันกันในประเด็น “เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (หรือเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นๆ ด้วย เช่น บำนาญพื้นฐาน บำนาญแห่งชาติ)” เพราะหวังผลคะแนนเสียงได้ทั้งผู้สูงวัยกว่า 12 ล้านคน ตลอดจนคนรุ่นลูก-รุ่นหลานที่ต้องดูแล ดังนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่