วันพฤหัสบดี (22 ส.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้เปิดเผยว่าเงินบำนาญรายเดือนของผู้สูงอายุชาวเกาหลีใต้ต่ำกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำอย่างมากในปี 2022 โดยผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปได้รับเงินบำนาญรวมเฉลี่ย 650,000 วอน (ราว 17,000 บาท) ต่อเดือน
ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากปีก่อนหน้า
การประมาณการจากสถาบันวิจัยเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลีใต้ พบว่าตัวเลขเงินบำนาญนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพขั้นต่ำ 1,243,000 วอน (ราว 32,000 บาท) ต่อเดือนที่จำเป็นสำหรับกลุ่มคนอายุนี้
จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเงินบำนาญในปี 2022 รวมอยู่ที่ 8,182,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 7,768,000 คนเมื่อปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 90.4 ของกลุ่มประชากรอายุดังกล่าวทั้งหมด และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2016
ในหมู่ผู้รับเงินบำนาญทั้งหมด พบว่าร้อยละ 40.4 ได้รับเงินบำนาญ 250,000-500,000 วอน (ราว 6,500-13,000 บาท) ต่อเดือน
ตามมาด้วยร้อยละ 27.5 ได้รับเงินบำนาญ 500,000-1,000,000 วอน (ราว 13,000-26,000 บาท) และร้อยละ 19.9 ได้รับน้อยกว่า 250,000 วอน
ทั้งนี้ ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี พบว่าร้อยละ 80.2 มีโครงการบำนาญอย่างน้อยหนึ่งโครงการ ซึ่งจ่ายเบี้ยประกันเฉลี่ยเดือนละ 318,000 วอน (ราว 8,200 บาท)
เครดิตสำนักข่าวซินหัว
ผู้สูงวัยในเกาหลีใต้ได้ ’เงินบำนาญ‘ น้อยกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำ
ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากปีก่อนหน้า
การประมาณการจากสถาบันวิจัยเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลีใต้ พบว่าตัวเลขเงินบำนาญนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพขั้นต่ำ 1,243,000 วอน (ราว 32,000 บาท) ต่อเดือนที่จำเป็นสำหรับกลุ่มคนอายุนี้
จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเงินบำนาญในปี 2022 รวมอยู่ที่ 8,182,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 7,768,000 คนเมื่อปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 90.4 ของกลุ่มประชากรอายุดังกล่าวทั้งหมด และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2016
ในหมู่ผู้รับเงินบำนาญทั้งหมด พบว่าร้อยละ 40.4 ได้รับเงินบำนาญ 250,000-500,000 วอน (ราว 6,500-13,000 บาท) ต่อเดือน
ตามมาด้วยร้อยละ 27.5 ได้รับเงินบำนาญ 500,000-1,000,000 วอน (ราว 13,000-26,000 บาท) และร้อยละ 19.9 ได้รับน้อยกว่า 250,000 วอน
ทั้งนี้ ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี พบว่าร้อยละ 80.2 มีโครงการบำนาญอย่างน้อยหนึ่งโครงการ ซึ่งจ่ายเบี้ยประกันเฉลี่ยเดือนละ 318,000 วอน (ราว 8,200 บาท)
เครดิตสำนักข่าวซินหัว