ขอไว้อาลัยกับการเสียชีวิตของ Aaron Swartz กับคำถามที่ตามมาฐานขัอมูลงานวิจัยควรจะสามารถเข้าถึงอย่างเสรีหรือไม่

กระทู้คำถาม
Aaron Swartz ผู้ร่วมสร้างมาตรฐาน RSS 1.0 (ตั้งแต่อายุ 14 ปี) ในปี 1995 และมีผลงานด้านคอมพิวเตอร์และการทำกิจกรรมเพื่อเสรีภาพได้เสียชีวิตลงแล้วจากการฆ่าตัวตายในวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา
Swartz มีอาการเครียดเรื้อรัง (chronic depression) มาตั้งแต่ปี 2007 ในช่วงปี 2011 เขาได้เขียนโปรแกรมเข้าไปดาวน์โหลดงานวิจัยจาก JSTOR จำนวนกว่าสี่ล้านไฟล์จนทำให้ถูกฟ้องและยังคงเป็นคดีมาจนทุกวันนี้
จากนั้นจึงได้ก่อตั้งบริษัท Infogami ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Reddit และภายหลังได้เป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Demographic Progress ที่จัดกิจกรรมต่อต้านกฎหมาย SOPA ในแง่เทคนิคแล้วเขาเป็นผู้สร้างโครงการ web.py เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมสูงมากตัวหนึ่งในชุมชนไพธอน
คนจำนวนมากโทษว่าการฆ่าตัวตายของ Swartz เกิดจากความเครียดที่ถูก JSTOR ฟ้องในคอมเมนต์นับร้อยนับพัน (ดูข่าวที่มา) หลังจากนี้คงมีแรงกดดันไปยัง JSTOR อีกมาก  http://www.blognone.com/node/39913

/////

ตอนนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ล่าสุดมีการแฮคเว็บไซท์ของ mit เพื่อไว้อาลัยแด่ Swartz

คร่าวๆคือ

สรุปคือชายคนหนึ่งไม่พอใจที่เว็บไซท์ฐานข้อมูลทางวิชาการจะต้องเสียเงินเพื่อเข้าไปใช้ เพราะเป็นสิ่งที่มีความรู้ สร้างประโยชน์แก่สังคม แม้แต่เว็บน้องพรยังมีตั้งหลายเว็บที่เข้าไปดูฟรี แต่ทำไมคนทั่วไปจะเข้าไปอ่านงานวิจัยถึงต้องเสียเงิน อีกประการหนึ่งเงินทำงานวิจัยหลายๆงานก็ได้เงินทุนอุดหนุนจากรัฐบาล ดังนั้นมันก็คือเงินภาษีของประชาชน ประชาชนก็ควรจะมีสิทธิ์ในการเข้าไปใช้   เขาไม่พอใจดังนี้จึงไปแฮกเว็บไซท์เอาข้อมูลงานวิจัยมาให้คนทั่วไปได้อ่านกันฟรีๆ

สุดท้ายก็ถูกจับดำเนินคดี ทำให้เขาซึมเศร้าสุดท้ายก็ตัดสินใจฆ่าตัวตาย

ถึงความจริงจะมีเวบอย่าง arxiv.org หรือมหาวิทยาลัยจะ subscript ไว้ แต่ก็ไม่ครบหรือไม่สะดวก

คำถามที่ตามมาคือ  ข้อมูลงานวิจัยควรจะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องเก็บตังไหม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่