คงเคยได้ยินมาบ้างนะครับ ศิลปินชื่อดังที่เราคุ้นหูเช่น Van Gogh กระทั่งนักวิทยาศาสตร์อย่าง Nikola Tesla เริ่มมีชื่อเสียงเอาจริงๆ ตอนที่ตัวพวกเขาเหล่านี้ตายจากโลก
ในความเป็นจริงก็ไม่ได้มีเฉพาะศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์หรอกครับ แม้แต่ในวงการไอทีก็มีบุคคลที่น่าสนใจจนกลายเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลก ภายหลังการเสียชีวิตของเขา
เขาคนนั้นมีชื่อว่า Aaron Swartz ครับ
พอผมเอ่ยชื่อนี้ขึ้นมาคุณผู้อ่านที่กำลังอ่านบทความชิ้นนี้อยู่ คงเริ่มสงสัยพลางเกาหัวแกรกๆ ว่า แล้ว Aaron Swartz คือใครหว่า ?
เอาแบบนี้ดีกว่า คุณผู้อ่านรู้จัก RSS Feed ที่เป็นฟีดข่าวไว้อ่านบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนไหมครับ? ถ้ารู้จักหรือเคยใช้ นั่นแหละครับ Aaron Swartz เป็นผู้พัฒนามาตรฐานการอ่านฟีดข่าวนั่นเองครับ
หรือคุณผู้อ่านที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะวงการอินเทอร์เน็ตต่างประเทศชื่อของ Reddit ก็เป็นหนึ่งในบอร์ดให้ความรู้ที่ Aaron Swartz เป็นผู้สรรสร้างขึ้นมาเช่นกัน
เอาเป็นว่า เรารู้จัก Aaron Swartz แล้วนะครับ
ชวนดูหนังฟรีเรื่อง The Internet’s Own Boy ว่าด้วยเรื่องราวผู้สร้าง RSS Feed
ที่มาจาก http://mobiledista.com/the-internets-own-boy-the-story-of-aaron-swartz/
ลำพังแค่การที่ Aaron Swartz เป็นผู้ก่อตั้ง RSS Feed หรือ Reddit เพียงเท่านี้ มันไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ผมจำต้องเขียนถึงเขา แบบนั้นสู้ผมเขียนเรื่อง Mark Zuckerberg หรือ Co-founder Google อย่าง Sergey Brin และ Larry Page คงจะดีกว่า เพราะสองคนนี้ก็มีส่วนในการพลิกโลกอินเทอร์เน็ต เผลอๆ ยังดังกว่า Aaron Swartz เสียอีก
ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ได้ใคร่สนใจในตัว Aaron Swartz มากนัก แต่ก็นับถือเขาจากแนวความคิดที่จะเล่าต่อจากนี้ แต่กระทั่งถึงวันหนึ่ง ในช่วงเวลาของวันที่ 11 มกราคม 2013 เขาได้กระทำอนันตวิบากกรรมตัวเองด้วยการแขวนคอ
ตอนรู้ข่าวเป็นอย่างไร? ช็อคสิครับ การที่มนุษย์เราจะฆ่าตัวตายนี่มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มันต้องมีเรื่องที่ขัดข้องหมองใจจนถึงขั้นหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ การเลือกทางตายเลยกลายเป็นทางสำเร็จเพียงทางเดียวเช่นนี้
ช่วงต้นผมได้บอกไปแล้วใช่ไหมครับว่า เขาเป็นผู้ก่อตั้ง RSS Feed และ Reddit ขึ้นมา คิดว่า เขาจะอายุสักเท่าไหร่ ? ไม่ถึงเลขสามหรอกครับ อายุเขาเพิ่งเริ่มแค่วัย 26 ปี แล้วแบบนี้อะไรเป็นเหตุให้เขาต้องฆ่าตัวตาย ?
เรื่องนี้มันเกิดขึ้นจากการที่ตัว Aaron Swartz ครับ เพราะตัวเขาไม่ได้เป็นแค่โปรแกรมเมอร์ แต่ตัวเขาเป็นทั้งนักเขียน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ไปจนถึงแฮกเกอร์ (Hacktivist)
ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองนั่นเองครับ Aaron Swartz มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า มนุษย์ควรมีเสรีภาพ และมีสิทธิ์ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ไปจนถึงแหล่งทุน โดยไม่ถูกจำกัดจำเขี่ยทางสิทธิ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงได้เคลื่อนไหวทางการเมืองหลายต่อหลายเรื่อง เช่น SOPA (Stop Online Piracy Act) ที่ว่าด้วยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Aaron Swartz ก็เคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างแข็งขันร่วมกับบริษัทไอทีชั้นนำ อาทิ Facebook, Google, Wikipedia และอีกสารพัด
ผลจากการเคลื่อนไหวคราวนั้น ส.ส สหรัฐจำเป็นต้องล่าถอนกฏหมาย SOPA อย่างเสียไม่ได้
อย่างไรก็ตามคนที่แนวความคิดทางการเมืองที่เน้นเสรีภาพเป็นสำคัญอย่าง Aaron Swartz ไม่ได้ยุติการเคลื่อนไหวแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ด้วยความที่เป็น Liberalism ทำให้เลือดของการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างเป็นธรรม และสิทธิ์จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมีเรื่องหนึ่งและน่าจะเรียกได้ว่า เป็นปฐมเหตุสำคัญที่ Aaron Swartz จำต้องปลิดชีพตัวเอง นั่นคือ การเข้าไปแฮกฐานข้อมูลงานวิจัยของ JSTOR ตัวเอกสารข้อมูลมีข้อมูลสำคัญๆ สำหรับคนที่ต้องการเนื้อหาเพื่อนำไปต่อยอด พัฒนาวงการ ยกระดับความเป็นอยู่ของโลกมากมาย แต่ข้อมูลที่ว่านั้นมันไม่ฟรี และมีราคาค่างวดที่แพงมาก
Aaron Swartz มองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่อยู่ข้อมูล หรือเรียกว่าดีเทลในงานวิจัยนั้น ล้วนได้งบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เขามองว่า เมื่องานวิจัยได้เงินจากรัฐบาล เงินจำนวนนั้นก็คือเงินภาษีของประชาชน แต่ประชาชนที่ต้องการเข้าถึงกลับไม่มีสิทธิ์ เพราะด้วยกำแพงทางการเงินที่มีราคาสูง คิดว่าคนที่เก่งกาจอย่าง Aaron Swartz จะทำยังไงครับ ?
ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
เขาจัดการแฮกข้อมูลทั้งหมด แล้วเอามาปล่อยในโลกอินเทอร์เน็ตแบบฟรีๆ สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย
แต่จะใช้ว่า สิ้นเรื่องสิ้นราว ก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะผมบอกแล้วใช่ไหมครับว่า นี่คือต้นเหตุของการจบชีวิต เมื่อการเปิดเผยข้อมูลนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง คือ เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
ดังนั้นกระบวนการทางการกฏหมายเลยเข้าไปจัดการ Aaron Swartz ผลออกมาเป็นลบครับ เขาถูกตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงืน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีโทษจำคุกเพิ่มมาให้ปวดใจถึง 35 ปี
เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว คงต้องนำไปถกเถียงกันต่อครับว่า การกระทำเช่นนี้ของ Aaron Swartz ถูก-ผิดในประเด็นไหนบ้าง
ถ้ามองในแง่ของสิทธิเพียวๆ การกระทำของ Swartz ก็น่าสนใจชวนคิดตามจริงๆ ครับ เพราะจุดยืนเขาชัดมาตลอดว่า โลกของอินเทอร์เน็ตสำหรับ Aaron Swartz คือ ควรเป็นของประชาชนโดยเท่าเทียม ข้อมูลทุกอย่างจึงควรเปิดกว้างให้คนทุกคนเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ถูกจำกัดโดยใครสักคนหนึ่งที่มีอำนาจ
นี่คือ โลกในอุดมคติที่โปรแกรมเมอร์หนุ่มวัย 26 นี้ อยากเห็น และอยากให้โลกเป็น
แต่ก็นั่นแหละครับ ในนิยามของคำว่าอุดมคติมันไม่ต่างจากภาพที่เรากำลังวาดฝันในเวลากลางวัน แต่เพราะไอ้คำว่าฝันกลางวันเหล่านี้ มันสร้างโลกให้ดีขึ้นจริงๆ มานักต่อนักแล้ว
ก่อนพี่น้องตระกูลไรท์จะทำเครื่องบิน มีใครเคยฝันถึงบ้างไหมว่า วันหนึ่งมนุษย์สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยการลอยอยู่บนท้องฟ้าบ้าง หรือกลุ่มคนรักร่วมเพศ (LBGT: Lesbian, Bisexual, Gay and Transgender) คงไม่เคยคิดว่า โลกปี 2000 จะเป็นโลกที่เสรีถึงขนาดให้พวกเขาแสดงตัวเองได้ว่า เขา/เธอเป็นอะไรที่มากกว่าเพศชาย เพศหญิง และไกลกว่านั้นคือ โลกยินดีที่จะเปิดกว้างให้พวกเขาเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน แต่งงานซึ่งกันและกันได้
เรื่องราวการต่อสู้เชิงความคิดของ Aaron Swartz ถูกก่อตัวขึ้นมา ภายหลังการเสียชีวิตของเขา หากเป็นศิลปินชื่อดัง ผลงานของเขาก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น จนประเมินค่าไม่ได้ หรือหากเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็จะได้รับการเชิดชู นำผลงาน-แนวความคิดไปพัฒนาสร้างนวัตกรรมแก่โลก หรือกระทั่งเป็นหน่วยคำนวณวิทยาศาสตร์
แต่สำหรับ Aaron Swartz ภายหลังการต่อสู้ เรื่องราวของเขาถูกนำไปเรียงร้อยถ้อยคำเป็นภาพยนตร์ที่เปิดให้ชมฟรีๆ ไม่เสียเงิน เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ต ใช่ครับ อินเทอร์เน็ตสิ่งที่เขาผู้นี้ต่อสู้ให้เป็นสิ่งที่เสรี ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งเรื่องราวของเขาได้ถูกบรรจุไว้ในวิดีโอออนไลน์ชื่อดังอย่าง YouTube ในชื่อเรื่อง The Internet’s Own Boy ดูหนังเต็มๆ ที่นี่
http://www.youtube.com/watch?v=_OCxuzlN2A8
แม้ว่าตัวของเขาจะไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว ทว่าจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อเสรีภาพจะยังคงอยู่เป็นแรงผลักดันเพื่อเป็นคบเพลิงทางความคิดให้กับคนรุ่นหลังจากนี้ต่อไป
ชวนดูหนังฟรีเรื่อง The Internet’s Own Boy ว่าด้วยเรื่องราวผู้สร้าง RSS Feed
ในความเป็นจริงก็ไม่ได้มีเฉพาะศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์หรอกครับ แม้แต่ในวงการไอทีก็มีบุคคลที่น่าสนใจจนกลายเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลก ภายหลังการเสียชีวิตของเขา
เขาคนนั้นมีชื่อว่า Aaron Swartz ครับ
พอผมเอ่ยชื่อนี้ขึ้นมาคุณผู้อ่านที่กำลังอ่านบทความชิ้นนี้อยู่ คงเริ่มสงสัยพลางเกาหัวแกรกๆ ว่า แล้ว Aaron Swartz คือใครหว่า ?
เอาแบบนี้ดีกว่า คุณผู้อ่านรู้จัก RSS Feed ที่เป็นฟีดข่าวไว้อ่านบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนไหมครับ? ถ้ารู้จักหรือเคยใช้ นั่นแหละครับ Aaron Swartz เป็นผู้พัฒนามาตรฐานการอ่านฟีดข่าวนั่นเองครับ
หรือคุณผู้อ่านที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะวงการอินเทอร์เน็ตต่างประเทศชื่อของ Reddit ก็เป็นหนึ่งในบอร์ดให้ความรู้ที่ Aaron Swartz เป็นผู้สรรสร้างขึ้นมาเช่นกัน
เอาเป็นว่า เรารู้จัก Aaron Swartz แล้วนะครับ
ชวนดูหนังฟรีเรื่อง The Internet’s Own Boy ว่าด้วยเรื่องราวผู้สร้าง RSS Feed
ที่มาจาก http://mobiledista.com/the-internets-own-boy-the-story-of-aaron-swartz/
ลำพังแค่การที่ Aaron Swartz เป็นผู้ก่อตั้ง RSS Feed หรือ Reddit เพียงเท่านี้ มันไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ผมจำต้องเขียนถึงเขา แบบนั้นสู้ผมเขียนเรื่อง Mark Zuckerberg หรือ Co-founder Google อย่าง Sergey Brin และ Larry Page คงจะดีกว่า เพราะสองคนนี้ก็มีส่วนในการพลิกโลกอินเทอร์เน็ต เผลอๆ ยังดังกว่า Aaron Swartz เสียอีก
ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ได้ใคร่สนใจในตัว Aaron Swartz มากนัก แต่ก็นับถือเขาจากแนวความคิดที่จะเล่าต่อจากนี้ แต่กระทั่งถึงวันหนึ่ง ในช่วงเวลาของวันที่ 11 มกราคม 2013 เขาได้กระทำอนันตวิบากกรรมตัวเองด้วยการแขวนคอ
ตอนรู้ข่าวเป็นอย่างไร? ช็อคสิครับ การที่มนุษย์เราจะฆ่าตัวตายนี่มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มันต้องมีเรื่องที่ขัดข้องหมองใจจนถึงขั้นหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ การเลือกทางตายเลยกลายเป็นทางสำเร็จเพียงทางเดียวเช่นนี้
ช่วงต้นผมได้บอกไปแล้วใช่ไหมครับว่า เขาเป็นผู้ก่อตั้ง RSS Feed และ Reddit ขึ้นมา คิดว่า เขาจะอายุสักเท่าไหร่ ? ไม่ถึงเลขสามหรอกครับ อายุเขาเพิ่งเริ่มแค่วัย 26 ปี แล้วแบบนี้อะไรเป็นเหตุให้เขาต้องฆ่าตัวตาย ?
เรื่องนี้มันเกิดขึ้นจากการที่ตัว Aaron Swartz ครับ เพราะตัวเขาไม่ได้เป็นแค่โปรแกรมเมอร์ แต่ตัวเขาเป็นทั้งนักเขียน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ไปจนถึงแฮกเกอร์ (Hacktivist)
ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองนั่นเองครับ Aaron Swartz มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า มนุษย์ควรมีเสรีภาพ และมีสิทธิ์ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ไปจนถึงแหล่งทุน โดยไม่ถูกจำกัดจำเขี่ยทางสิทธิ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงได้เคลื่อนไหวทางการเมืองหลายต่อหลายเรื่อง เช่น SOPA (Stop Online Piracy Act) ที่ว่าด้วยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Aaron Swartz ก็เคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างแข็งขันร่วมกับบริษัทไอทีชั้นนำ อาทิ Facebook, Google, Wikipedia และอีกสารพัด
ผลจากการเคลื่อนไหวคราวนั้น ส.ส สหรัฐจำเป็นต้องล่าถอนกฏหมาย SOPA อย่างเสียไม่ได้
อย่างไรก็ตามคนที่แนวความคิดทางการเมืองที่เน้นเสรีภาพเป็นสำคัญอย่าง Aaron Swartz ไม่ได้ยุติการเคลื่อนไหวแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ด้วยความที่เป็น Liberalism ทำให้เลือดของการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างเป็นธรรม และสิทธิ์จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมีเรื่องหนึ่งและน่าจะเรียกได้ว่า เป็นปฐมเหตุสำคัญที่ Aaron Swartz จำต้องปลิดชีพตัวเอง นั่นคือ การเข้าไปแฮกฐานข้อมูลงานวิจัยของ JSTOR ตัวเอกสารข้อมูลมีข้อมูลสำคัญๆ สำหรับคนที่ต้องการเนื้อหาเพื่อนำไปต่อยอด พัฒนาวงการ ยกระดับความเป็นอยู่ของโลกมากมาย แต่ข้อมูลที่ว่านั้นมันไม่ฟรี และมีราคาค่างวดที่แพงมาก
Aaron Swartz มองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่อยู่ข้อมูล หรือเรียกว่าดีเทลในงานวิจัยนั้น ล้วนได้งบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เขามองว่า เมื่องานวิจัยได้เงินจากรัฐบาล เงินจำนวนนั้นก็คือเงินภาษีของประชาชน แต่ประชาชนที่ต้องการเข้าถึงกลับไม่มีสิทธิ์ เพราะด้วยกำแพงทางการเงินที่มีราคาสูง คิดว่าคนที่เก่งกาจอย่าง Aaron Swartz จะทำยังไงครับ ?
ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก
เขาจัดการแฮกข้อมูลทั้งหมด แล้วเอามาปล่อยในโลกอินเทอร์เน็ตแบบฟรีๆ สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย
แต่จะใช้ว่า สิ้นเรื่องสิ้นราว ก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะผมบอกแล้วใช่ไหมครับว่า นี่คือต้นเหตุของการจบชีวิต เมื่อการเปิดเผยข้อมูลนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง คือ เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
ดังนั้นกระบวนการทางการกฏหมายเลยเข้าไปจัดการ Aaron Swartz ผลออกมาเป็นลบครับ เขาถูกตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงืน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีโทษจำคุกเพิ่มมาให้ปวดใจถึง 35 ปี
เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว คงต้องนำไปถกเถียงกันต่อครับว่า การกระทำเช่นนี้ของ Aaron Swartz ถูก-ผิดในประเด็นไหนบ้าง
ถ้ามองในแง่ของสิทธิเพียวๆ การกระทำของ Swartz ก็น่าสนใจชวนคิดตามจริงๆ ครับ เพราะจุดยืนเขาชัดมาตลอดว่า โลกของอินเทอร์เน็ตสำหรับ Aaron Swartz คือ ควรเป็นของประชาชนโดยเท่าเทียม ข้อมูลทุกอย่างจึงควรเปิดกว้างให้คนทุกคนเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ถูกจำกัดโดยใครสักคนหนึ่งที่มีอำนาจ
นี่คือ โลกในอุดมคติที่โปรแกรมเมอร์หนุ่มวัย 26 นี้ อยากเห็น และอยากให้โลกเป็น
แต่ก็นั่นแหละครับ ในนิยามของคำว่าอุดมคติมันไม่ต่างจากภาพที่เรากำลังวาดฝันในเวลากลางวัน แต่เพราะไอ้คำว่าฝันกลางวันเหล่านี้ มันสร้างโลกให้ดีขึ้นจริงๆ มานักต่อนักแล้ว
ก่อนพี่น้องตระกูลไรท์จะทำเครื่องบิน มีใครเคยฝันถึงบ้างไหมว่า วันหนึ่งมนุษย์สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยการลอยอยู่บนท้องฟ้าบ้าง หรือกลุ่มคนรักร่วมเพศ (LBGT: Lesbian, Bisexual, Gay and Transgender) คงไม่เคยคิดว่า โลกปี 2000 จะเป็นโลกที่เสรีถึงขนาดให้พวกเขาแสดงตัวเองได้ว่า เขา/เธอเป็นอะไรที่มากกว่าเพศชาย เพศหญิง และไกลกว่านั้นคือ โลกยินดีที่จะเปิดกว้างให้พวกเขาเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน แต่งงานซึ่งกันและกันได้
เรื่องราวการต่อสู้เชิงความคิดของ Aaron Swartz ถูกก่อตัวขึ้นมา ภายหลังการเสียชีวิตของเขา หากเป็นศิลปินชื่อดัง ผลงานของเขาก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น จนประเมินค่าไม่ได้ หรือหากเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็จะได้รับการเชิดชู นำผลงาน-แนวความคิดไปพัฒนาสร้างนวัตกรรมแก่โลก หรือกระทั่งเป็นหน่วยคำนวณวิทยาศาสตร์
แต่สำหรับ Aaron Swartz ภายหลังการต่อสู้ เรื่องราวของเขาถูกนำไปเรียงร้อยถ้อยคำเป็นภาพยนตร์ที่เปิดให้ชมฟรีๆ ไม่เสียเงิน เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ต ใช่ครับ อินเทอร์เน็ตสิ่งที่เขาผู้นี้ต่อสู้ให้เป็นสิ่งที่เสรี ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งเรื่องราวของเขาได้ถูกบรรจุไว้ในวิดีโอออนไลน์ชื่อดังอย่าง YouTube ในชื่อเรื่อง The Internet’s Own Boy ดูหนังเต็มๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=_OCxuzlN2A8
แม้ว่าตัวของเขาจะไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว ทว่าจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อเสรีภาพจะยังคงอยู่เป็นแรงผลักดันเพื่อเป็นคบเพลิงทางความคิดให้กับคนรุ่นหลังจากนี้ต่อไป