รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง ว่าดำเนินนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท แบบไม่รับผิดชอบ
ธุรกิจปิดกิจการ คนตกงาน ค่าครองชีพขึ้นไปดักหน้า ฯลฯ
ล่าสุด รัฐบาลมีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบ แต่ธุรกิจใหญ่น้อย รวมถึงตำแหน่งงานของลูกจ้าง ก็ยังคงแขวนอยู่บนเส้นด้าย
เพราะปัญหาใหญ่ขณะนี้ คือ กิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีสายป่านไม่ยาว มีกำไรไม่มาก ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนไปสู่การขึ้นราคาสินค้าและบริการ เพื่อทำให้กิจการยังมีผลกำไร มีเงินรายได้ไปจ่ายภาษี และมีความคุ้มค่าน่าลงทุนต่อไป กิจการจำพวกนี้สามารถจะยืนหยัดต่อไปไม่ถึงปี
และถึงเวลานั้น แรงงานก็จะตกงาน เซ่นสังเวย “ปูกรรเชียง” เรียบร้อย
1) มาตรการแก้ขัดที่รัฐบาลอนุมัติออกมานั้น ไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
เป็นได้อย่างมากก็แค่แก้ขัด
(1) มาตรการเกี่ยวกับภาษี ไม่ว่าจะเป็น ให้นายจ้างหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำได้ 1.5 เท่า, ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่, ให้สามารถหักค่าเสื่อมเครื่องจักรใหม่ได้ร้อยละ 100 ในปีแรก, เพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
มาตรการเหล่านี้จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง หากกิจการไม่สามารถอยู่ได้จนถึงสิ้นปี หรือหากนายจ้างเล็งเห็นว่าอยู่ไปก็ไม่คุ้ม ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาประคองกิจการ เสมือนหนึ่งรอวันเจ๊ง
ยิ่งกว่านั้น บางมาตรการที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ (บางส่วนที่พออยู่ได้) หันไปใช้เครื่องจักร ก็จะมีผลให้แรงงานจำนวนหนึ่งต้องตกงาน (ไม่นับส่วนที่ตกงานเพราะการปิดกิจการ)
(2) โครงการสินเชื่อต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะถ้าเป็นหนี้แล้วกิจการในระยะยาวอยู่ไม่ได้ ขายสู้คู่แข่งรายอื่นๆ ไม่ได้ ไม่มีใครอยากเป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไปแล้วก็จะเจ๊ง แล้วก็จะกลายเป็นหนี้เสียไปในที่สุด
ส่วนมาตรการเพิ่มอัตราค่าเช่าที่พักและค่าอาหารในการฝึกอบรมของส่วนราชการ ก็ช่วยได้เฉพาะกิจการบางประเภท โรงแรมที่พักบางส่วน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
(3) ปัญหาที่เกิดขึ้น สะท้อนว่ารัฐบาลผลักดันนโยบายหาเสียงออกมาโดยปราศจากความรับผิดชอบ
ไม่มีแผนรองรับ ไม่มีมาตรการป้องกันบรรเทาผลกระทบมาตั้งแต่ต้น
ผลักภาระให้เอกชนรับต้นทุนของนโยบาย หนีตาย เอาตัวรอดกันตามยถากรรม
เมื่อเกิดปัญหา ความจริงปรากฏ เกินกว่าจะซุกไว้ใต้พรม รัฐบาลค่อยมาออกนโยบายแก้ขัด แก้หน้า มากกว่าจะตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบจากนโยบายหาเสียงของตนเองอย่างแท้จริง
การบังคับขึ้นค่าแรงอย่างก้าวกระโดด บางจังหวัดกว่า 70% แบบนี้ ไม่ต่างกับ “การออกใบสั่งตาย” ให้กับกิจการที่มีกำไรน้อย กระเบียดกระเสียร และอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง
เป็นการกำหนดนโยบายที่ “ก่อให้เกิดการเจ๊ง ปิดกิจการ ปลดคนงาน โดยเจตนาเล็งเห็นผล”
2) ท่าทีของภาคเอกชนในเวลานี้ เป็นยิ่งกว่าถูกลอยแพ
เสมือนถูกผลักดันไปอยู่บนปากเหว
อยู่บนหน้าผาประชานิยมปูกรรเชียง
รัฐบาลล้วงกระเป๋าผู้ประกอบการเอกชนมาใช้ในการหาคะแนนนิยมให้กับตนเอง
ปล้นซึ่งหน้า
แต่อำมหิตมากกว่าโจรปล้นธนาคาร เพราะรัฐบาลใช้แรงงานเป็นตัวปะทะ
หากรัฐบาลมีเจตนาจะช่วยเหลือแรงงานจริง ก็ควรหามาตรการที่จะเจาะลงไปถึงตัวแรงงานโดยตรง โดยไม่ทำลายความสามารถในการแข่งขันของเอกชน เช่น มุ่งเพิ่มความสามารถในการทำงาน เพิ่มรายได้เสริมให้กับแรงงาน เพื่อส่งเสริมให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง
หรือแม้แต่การลดค่าครองชีพให้กับแรงงาน ก็ยังจะช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าของแรงงานได้ดีกว่า
เอกชนจึงต้องหาทางรอดของตัวเองตามยถากรรม โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด
กลวิธีที่ผู้ประกอบการใช้หนีตาย เช่น ลดจำนวนการจ้างแรงงานลง พยายามใช้เครื่องจักรมากขึ้น บีบกดดันแรงงานให้รับผิดชอบงานเข้มงวดมากขึ้น มอบหมายงานมากขึ้น ลดโอที เลิกจ้างประจำ หันไปจ้างพาร์ตไทม์ หรือจ้างผลิตงานต่อชิ้น โดยจะจ้างเมื่อมีงานเข้ามา เมื่อไม่มีงานก็จะไม่จ้าง เป็นต้น
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า การปรับค่าจ้างเป็น 300 บาททั่วประเทศ กระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นค่อนข้างมาก ล่าสุด มีหลายบริษัทได้เริ่มทยอยปิดตัวแล้ว ส่วนจะปิดตัวเพิ่มมากน้อยเพียงใดนั้น จะเห็นผลชัดเจนใน 6 เดือน-1 ปีจากนี้ไป
“จากนี้ไป การปรับค่าจ้างโดยคณะกรรมการไตรภาคีที่เคยทำมา ไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะยึดนโยบายรัฐบาลเป็นสำคัญ ทำให้การปรับค่าจ้างจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ การเลือกตั้งครั้งหน้าภาคการเมืองอาจมีนโยบายปรับเพิ่มเป็น 400 บาทก็ได้ เหตุนี้ทำให้ตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทการ์เมนต์ขนาดใหญ่ได้ทยอยขยายฐานการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาว และที่กำลังเป็นดาวรุ่งในเวลานี้ คือ เมียนมาร์ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ค่าจ้างยังถูก แรงงานยังมีจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้”
ทั้งหมดนี้ ตอกย้ำชัดถึงการบริหารประเทศแบบ “ปูกรรเชียง”
เมื่อกิจการเจ๊ง หรือลดการจ้างงาน สุดท้ายก็กระทบกับผู้ใช้แรงงาน
สุดท้าย... นโยบายค่าแรง 300 บาท ก็จะกลายเป็นเสมือนหนึ่ง “เงินปากผี” เนื่องจากแรงงานจำนวนมากจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะกิจการล้มตายไปเสียก่อน
ที่มา:
http://www.naewna.com/politic/columnist/4864
ปล.รอดูผลกันอีก 3 เดือนข้างหน้าครับ....เอิ๊ก ๆ ๆ
ค่าแรงเงินปากผี
ธุรกิจปิดกิจการ คนตกงาน ค่าครองชีพขึ้นไปดักหน้า ฯลฯ
ล่าสุด รัฐบาลมีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบ แต่ธุรกิจใหญ่น้อย รวมถึงตำแหน่งงานของลูกจ้าง ก็ยังคงแขวนอยู่บนเส้นด้าย
เพราะปัญหาใหญ่ขณะนี้ คือ กิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีสายป่านไม่ยาว มีกำไรไม่มาก ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนไปสู่การขึ้นราคาสินค้าและบริการ เพื่อทำให้กิจการยังมีผลกำไร มีเงินรายได้ไปจ่ายภาษี และมีความคุ้มค่าน่าลงทุนต่อไป กิจการจำพวกนี้สามารถจะยืนหยัดต่อไปไม่ถึงปี
และถึงเวลานั้น แรงงานก็จะตกงาน เซ่นสังเวย “ปูกรรเชียง” เรียบร้อย
1) มาตรการแก้ขัดที่รัฐบาลอนุมัติออกมานั้น ไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
เป็นได้อย่างมากก็แค่แก้ขัด
(1) มาตรการเกี่ยวกับภาษี ไม่ว่าจะเป็น ให้นายจ้างหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำได้ 1.5 เท่า, ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่, ให้สามารถหักค่าเสื่อมเครื่องจักรใหม่ได้ร้อยละ 100 ในปีแรก, เพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
มาตรการเหล่านี้จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง หากกิจการไม่สามารถอยู่ได้จนถึงสิ้นปี หรือหากนายจ้างเล็งเห็นว่าอยู่ไปก็ไม่คุ้ม ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาประคองกิจการ เสมือนหนึ่งรอวันเจ๊ง
ยิ่งกว่านั้น บางมาตรการที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ (บางส่วนที่พออยู่ได้) หันไปใช้เครื่องจักร ก็จะมีผลให้แรงงานจำนวนหนึ่งต้องตกงาน (ไม่นับส่วนที่ตกงานเพราะการปิดกิจการ)
(2) โครงการสินเชื่อต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะถ้าเป็นหนี้แล้วกิจการในระยะยาวอยู่ไม่ได้ ขายสู้คู่แข่งรายอื่นๆ ไม่ได้ ไม่มีใครอยากเป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไปแล้วก็จะเจ๊ง แล้วก็จะกลายเป็นหนี้เสียไปในที่สุด
ส่วนมาตรการเพิ่มอัตราค่าเช่าที่พักและค่าอาหารในการฝึกอบรมของส่วนราชการ ก็ช่วยได้เฉพาะกิจการบางประเภท โรงแรมที่พักบางส่วน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
(3) ปัญหาที่เกิดขึ้น สะท้อนว่ารัฐบาลผลักดันนโยบายหาเสียงออกมาโดยปราศจากความรับผิดชอบ
ไม่มีแผนรองรับ ไม่มีมาตรการป้องกันบรรเทาผลกระทบมาตั้งแต่ต้น
ผลักภาระให้เอกชนรับต้นทุนของนโยบาย หนีตาย เอาตัวรอดกันตามยถากรรม
เมื่อเกิดปัญหา ความจริงปรากฏ เกินกว่าจะซุกไว้ใต้พรม รัฐบาลค่อยมาออกนโยบายแก้ขัด แก้หน้า มากกว่าจะตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบจากนโยบายหาเสียงของตนเองอย่างแท้จริง
การบังคับขึ้นค่าแรงอย่างก้าวกระโดด บางจังหวัดกว่า 70% แบบนี้ ไม่ต่างกับ “การออกใบสั่งตาย” ให้กับกิจการที่มีกำไรน้อย กระเบียดกระเสียร และอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง
เป็นการกำหนดนโยบายที่ “ก่อให้เกิดการเจ๊ง ปิดกิจการ ปลดคนงาน โดยเจตนาเล็งเห็นผล”
2) ท่าทีของภาคเอกชนในเวลานี้ เป็นยิ่งกว่าถูกลอยแพ
เสมือนถูกผลักดันไปอยู่บนปากเหว
อยู่บนหน้าผาประชานิยมปูกรรเชียง
รัฐบาลล้วงกระเป๋าผู้ประกอบการเอกชนมาใช้ในการหาคะแนนนิยมให้กับตนเอง
ปล้นซึ่งหน้า
แต่อำมหิตมากกว่าโจรปล้นธนาคาร เพราะรัฐบาลใช้แรงงานเป็นตัวปะทะ
หากรัฐบาลมีเจตนาจะช่วยเหลือแรงงานจริง ก็ควรหามาตรการที่จะเจาะลงไปถึงตัวแรงงานโดยตรง โดยไม่ทำลายความสามารถในการแข่งขันของเอกชน เช่น มุ่งเพิ่มความสามารถในการทำงาน เพิ่มรายได้เสริมให้กับแรงงาน เพื่อส่งเสริมให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง
หรือแม้แต่การลดค่าครองชีพให้กับแรงงาน ก็ยังจะช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าของแรงงานได้ดีกว่า
เอกชนจึงต้องหาทางรอดของตัวเองตามยถากรรม โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด
กลวิธีที่ผู้ประกอบการใช้หนีตาย เช่น ลดจำนวนการจ้างแรงงานลง พยายามใช้เครื่องจักรมากขึ้น บีบกดดันแรงงานให้รับผิดชอบงานเข้มงวดมากขึ้น มอบหมายงานมากขึ้น ลดโอที เลิกจ้างประจำ หันไปจ้างพาร์ตไทม์ หรือจ้างผลิตงานต่อชิ้น โดยจะจ้างเมื่อมีงานเข้ามา เมื่อไม่มีงานก็จะไม่จ้าง เป็นต้น
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า การปรับค่าจ้างเป็น 300 บาททั่วประเทศ กระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นค่อนข้างมาก ล่าสุด มีหลายบริษัทได้เริ่มทยอยปิดตัวแล้ว ส่วนจะปิดตัวเพิ่มมากน้อยเพียงใดนั้น จะเห็นผลชัดเจนใน 6 เดือน-1 ปีจากนี้ไป
“จากนี้ไป การปรับค่าจ้างโดยคณะกรรมการไตรภาคีที่เคยทำมา ไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะยึดนโยบายรัฐบาลเป็นสำคัญ ทำให้การปรับค่าจ้างจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ การเลือกตั้งครั้งหน้าภาคการเมืองอาจมีนโยบายปรับเพิ่มเป็น 400 บาทก็ได้ เหตุนี้ทำให้ตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทการ์เมนต์ขนาดใหญ่ได้ทยอยขยายฐานการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาว และที่กำลังเป็นดาวรุ่งในเวลานี้ คือ เมียนมาร์ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ค่าจ้างยังถูก แรงงานยังมีจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้”
ทั้งหมดนี้ ตอกย้ำชัดถึงการบริหารประเทศแบบ “ปูกรรเชียง”
เมื่อกิจการเจ๊ง หรือลดการจ้างงาน สุดท้ายก็กระทบกับผู้ใช้แรงงาน
สุดท้าย... นโยบายค่าแรง 300 บาท ก็จะกลายเป็นเสมือนหนึ่ง “เงินปากผี” เนื่องจากแรงงานจำนวนมากจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะกิจการล้มตายไปเสียก่อน
ที่มา:http://www.naewna.com/politic/columnist/4864
ปล.รอดูผลกันอีก 3 เดือนข้างหน้าครับ....เอิ๊ก ๆ ๆ