ประเด็นหลัก
คำสั่งแรกเป็นการเรียกเก็บค่าปรับเกี่ยวกับคำสั่ง กทช.ที่สั่งให้ บมจ.ทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 1033/2553 และคดีหมายเลขแดงที่ 1178/2555 เมื่อ 16 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา และให้การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทีโอทียื่นฟ้อง กทช.และดีแทค เนื่องจาก กทช.มีคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2551 ให้ทีโอทีต้องทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายกับดีแทค
"เมื่อศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว และมีผลยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว แต่ทีโอทีและดีแทคยังเจรจาทำสัญญาอย่างเป็นทางการไม่เสร็จ แม้ทางปฏิบัติจะเชื่อมต่อโครงข่ายไปแล้ว จึงแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีทราบ เพื่อเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จ และแจ้งให้ชำระค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่ 8 ต.ค. 2553 รวม 819 วัน เป็นเงิน 16.38 ล้านบาท"
คำสั่งของกสทช.มิใช่
ระดาษอีกต่อไป แต่สามารถบังคับได้จริง อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าคำสั่งของกสทช.มิใช่คำสั่งสุดท้าย เพราะผู้ประกอบการมีทางเลือกที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความยุติธรรม ซึ่งทำให้กระบวนการต่างๆต้องใช้เวลา ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งของกสทช.แต่ละคำสั่งจะมีผลได้จริง ก็ต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง จึงถือเป็นที่สิ้นสุด
___________________________________
"กสทช."กร้าวปี′56ใช้ไม้แข็ง ไล่บี้ค่ายมือถือป้องผู้บริโภค
"กสทช."กร้าวปี′56ใช้ไม้แข็ง ไล่บี้ค่ายมือถือป้องผู้บริโภค
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินงานของ กสทช. ในปีนี้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการให้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อ 3 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา จึงออกคำสั่งทางปกครอง 3 เรื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รับทราบเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามประกาศ และคำสั่งของสำนักงาน กสทช. รวมถึงสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
คำสั่งแรกเป็นการเรียกเก็บค่าปรับเกี่ยวกับคำสั่ง กทช.ที่สั่งให้ บมจ.ทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 1033/2553 และคดีหมายเลขแดงที่ 1178/2555 เมื่อ 16 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา และให้การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทีโอทียื่นฟ้อง กทช.และดีแทค เนื่องจาก กทช.มีคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2551 ให้ทีโอทีต้องทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายกับดีแทค
"เมื่อศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว และมีผลยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว แต่ทีโอทีและดีแทคยังเจรจาทำสัญญาอย่างเป็นทางการไม่เสร็จ แม้ทางปฏิบัติจะเชื่อมต่อโครงข่ายไปแล้ว จึงแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีทราบ เพื่อเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จ และแจ้งให้ชำระค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่ 8 ต.ค. 2553 รวม 819 วัน เป็นเงิน 16.38 ล้านบาท"
ส่วนการเจรจาค่าไอซี หากคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ กสทช.บังคับให้ใช้อัตราอ้างอิงที่ 50 สตางค์/นาที เท่าที่ทราบคู่สัญญาได้ตกลงทำข้อสงวนไว้ในสัญญาไอซีว่าผลของไอซีจะไม่ผูกพันกับค่าเอซีที่ทีโอทีมีคดีฟ้องร้องกับดีแทคและทรูมูฟ
นอกจากนี้ยังออกคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับการกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (พรีเพด) หลังจากเมื่อ 30 พ.ค. 2555 สำนักงาน กสทช.ออกคำสั่งกำหนดค่าปรับ เอไอเอส ดีแทคและทรูมูฟ วันละ 100,000 บาท แต่ทั้ง 3 บริษัทยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาที่ประชุม กทค.พิจารณาแล้วเห็นชอบตามคำสั่งที่เลขาธิการ กสทช. การกำหนดค่าปรับดังกล่าว และในวันที่ 3 ม.ค. 2556 ได้ทำหนังสือแจ้งเพื่อให้ทั้ง 3 ราย จ่ายค่าปรับวันละ 1 แสนบาท ตั้งแต่ 30 พ.ค. 2555 ถึง 3 ม.ค. 2556 รวมกว่า 21.9 ล้านบาท (219 วัน)
นายฐากรกล่าวต่อว่า ได้แจ้งให้เอไอเอส, ดีแทค, ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ทราบถึงการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์คำสั่งค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาท จากการฝ่าฝืนไม่เก็บข้อมูลลูกค้าแบบพรีเพด โดยให้มีการลงทะเบียนซิม ดังนั้นผู้ให้บริการมือถือต้องจ่ายค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาท ตั้งแต่ 6 ก.ค. 2555 ถึงปัจจุบัน 182 วัน รวมกว่า 14.56 ล้านบาท ยกเว้นทรูมูฟ ที่ยื่นฟ้องพร้อมขอให้ศาลคุ้มครอง
ส่วนการกำหนดค่าบริการด้านเสียง ต้องเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดไม่ให้มีการคิดค่าบริการเกินกว่านาทีละ 99 สตางค์ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันไปเมื่อ 31 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา หลังจากนี้ทุกค่ายทุกโปรโมชั่นต้องมีค่าบริการเฉลี่ยไม่เกิน 99 สตางค์/นาที หากฝ่าฝืนจะกำหนดค่าปรับต่อไป
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ตามประกาศฉบับดังกล่าวบริการประเภทเสียงทั้งหมด รวมถึงโปรโมชั่นเหมาจ่ายเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งจากการสำรวจหลังออกประกาศเมื่อ 4 เม.ย. 2555 ที่ผ่านมา พบว่าเอไอเอสและดีแทคยังมีรายการส่งเสริมการขายที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งสำนักงาน กสทช.กำลังประสานงานกัน เพื่อให้มีการบังคับตามประกาศอย่างเคร่งครัด หากผู้บริโภคพบว่ามีการฝ่าฝืน ร้องเรียนเข้ามาได้ที่เลขหมาย 1200 เพื่อให้ กสทช.มีหลักฐานในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อไป
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1357624448&grpid=02&catid=06&subcatid=0603
_______________________________________
กสชท.เข้มลงดาบยักษ์มือถือ
เปิดศักราชปีงูเล็ก "กสทช." ลงดาบออกคำสั่งทางปกครอง 3 ฉบับรวด เตรียมปรับ "ทีโอที & ค่ายมือถือ" กว่า 50 ล้าน พร้อมสั่งห้ามค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ได้ออกคำสั่งทางปกครอง 3 ฉบับ ได้แก่ 1.คำสั่งให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม(ค่าไอซี) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค 2.คำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย จัดเก็บข้อมูลหรือลงทะเบียนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงินล่วงหน้า(พรีเพด) ทุกราย และ 3.คำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ห้ามกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงินล่วงหน้า โดยให้ผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติตามคำสั่งกสทช.และชำระค่าปรับตามกฎหมายด้วย
ทั้งนี้กรณีของทีโอทีจะต้องชำระค่าปรับให้ กสทช.วันละ 20,000 บาท ไปจนกว่าทีโอทีจะชำระค่าปรับ โดยทีโอทีจะต้องชำระค่าปรับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2556 รวม 812 วัน คิดเป็นเงินค่าปรับ 16.38 ล้านบาทไปจนกว่าทีโอทีจะชำระค่าปรับ แม้ขณะนี้ ทีโอที ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังจากศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ ทีโอที ทำสัญญากับ ดีแทค ดังนั้นแม้จะอยู่ระหว่างรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทีโอที ก็ต้องชำระค่าปรับดังกล่าว ขณะเดียวกันทีโอทีและดีแทค อยู่ระหว่างเจรจาการทำสัญญาระหว่างกัน คาดว่าจะมีข้อยุติเร็วๆนี้
ส่วนกรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ค่ายมือถือ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และดีแทค ต้องลงทะเบียนผู้ใช้บัตรเติมเงินล่วงหน้านั้น ทั้ง 3 ค่ายมือถือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกสทช.จึงต้องสั่งปรับวันละ 80,000 บาท โดยมีคำสั่งปรับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 จนถึงวันที่ 3มกราคม2556 รวม 182 วัน คิดเป็นเงินรวม14.56 ล้านบาท หรือรายละ 3.64ล้านบาท และเพิ่มขึ้นวันละ 80,000 บาท ไปจนกว่าทั้ง 3 รายจะชำระค่าปรับตามคำสั่งกสทช. และกรณีที่ 3 ค่ายมือถือยังคงกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน ซึ่งถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกสทช. จึงได้มีคำสั่งปรับวันละ 100,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 จนถึง 3มกราคม 2556 รวม 219 วัน คิดเป็นเงิน 21.90 ล้านบาท หรือรายละ 7.30 ล้านบาท ไปจนกว่าทั้ง 3 ค่ายมือถือชำระค่าปรับดังกล่าว
"สำหรับปีนี้ กสทช.ถือว่าเป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคที่ กสทช.ต้องรักษาสิทธิ์ของผู้บริโภค ฉะนั้นจึงต้องออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามคำสั่ง นอกจากออกคำสั่งปรับแล้ว ก็จะเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกรายมาหารือทำความเข้าใจและขอร้องแบบบังคับให้ชำระค่าปรับด้วย "นายฐากร
กล่าวและว่า
คำสั่งของกสทช.มิใช่
ระดาษอีกต่อไป แต่สามารถบังคับได้จริง อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าคำสั่งของกสทช.มิใช่คำสั่งสุดท้าย เพราะผู้ประกอบการมีทางเลือกที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความยุติธรรม ซึ่งทำให้กระบวนการต่างๆต้องใช้เวลา ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งของกสทช.แต่ละคำสั่งจะมีผลได้จริง ก็ต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง จึงถือเป็นที่สิ้นสุด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=162235:2013-01-04-09-27-40&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
วันนี้ งด ทำ สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสารที่เหลือ ประจำวัน 08/01/2555 ( เหตุข้อจำกัด 4 เรื่องต่อวัน )
เพราะเนื้อข่าวมากจริงวันนี้ ( แต่ให้ 4 ข่าวเต็มครับ ) ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ
(ผมไม่ใช้ใช่แมวกระดาษ) กสทช.เร่ง TOT เชื่อมท่อส่งสัญญาณ DTAC ด่วนที่สุด!! ศาลสั่งผ่านไป 4 เดือนไร้ผล
คำสั่งแรกเป็นการเรียกเก็บค่าปรับเกี่ยวกับคำสั่ง กทช.ที่สั่งให้ บมจ.ทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 1033/2553 และคดีหมายเลขแดงที่ 1178/2555 เมื่อ 16 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา และให้การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทีโอทียื่นฟ้อง กทช.และดีแทค เนื่องจาก กทช.มีคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2551 ให้ทีโอทีต้องทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายกับดีแทค
"เมื่อศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว และมีผลยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว แต่ทีโอทีและดีแทคยังเจรจาทำสัญญาอย่างเป็นทางการไม่เสร็จ แม้ทางปฏิบัติจะเชื่อมต่อโครงข่ายไปแล้ว จึงแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีทราบ เพื่อเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จ และแจ้งให้ชำระค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่ 8 ต.ค. 2553 รวม 819 วัน เป็นเงิน 16.38 ล้านบาท"
คำสั่งของกสทช.มิใช่ระดาษอีกต่อไป แต่สามารถบังคับได้จริง อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าคำสั่งของกสทช.มิใช่คำสั่งสุดท้าย เพราะผู้ประกอบการมีทางเลือกที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความยุติธรรม ซึ่งทำให้กระบวนการต่างๆต้องใช้เวลา ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งของกสทช.แต่ละคำสั่งจะมีผลได้จริง ก็ต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง จึงถือเป็นที่สิ้นสุด
___________________________________
"กสทช."กร้าวปี′56ใช้ไม้แข็ง ไล่บี้ค่ายมือถือป้องผู้บริโภค
"กสทช."กร้าวปี′56ใช้ไม้แข็ง ไล่บี้ค่ายมือถือป้องผู้บริโภค
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินงานของ กสทช. ในปีนี้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการให้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อ 3 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา จึงออกคำสั่งทางปกครอง 3 เรื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รับทราบเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามประกาศ และคำสั่งของสำนักงาน กสทช. รวมถึงสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
คำสั่งแรกเป็นการเรียกเก็บค่าปรับเกี่ยวกับคำสั่ง กทช.ที่สั่งให้ บมจ.ทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) หลังศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 1033/2553 และคดีหมายเลขแดงที่ 1178/2555 เมื่อ 16 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา และให้การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทีโอทียื่นฟ้อง กทช.และดีแทค เนื่องจาก กทช.มีคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2551 ให้ทีโอทีต้องทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายกับดีแทค
"เมื่อศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาแล้ว และมีผลยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว แต่ทีโอทีและดีแทคยังเจรจาทำสัญญาอย่างเป็นทางการไม่เสร็จ แม้ทางปฏิบัติจะเชื่อมต่อโครงข่ายไปแล้ว จึงแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีทราบ เพื่อเร่งให้ดำเนินการให้เสร็จ และแจ้งให้ชำระค่าปรับวันละ 2 หมื่นบาท ตั้งแต่ 8 ต.ค. 2553 รวม 819 วัน เป็นเงิน 16.38 ล้านบาท"
ส่วนการเจรจาค่าไอซี หากคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ กสทช.บังคับให้ใช้อัตราอ้างอิงที่ 50 สตางค์/นาที เท่าที่ทราบคู่สัญญาได้ตกลงทำข้อสงวนไว้ในสัญญาไอซีว่าผลของไอซีจะไม่ผูกพันกับค่าเอซีที่ทีโอทีมีคดีฟ้องร้องกับดีแทคและทรูมูฟ
นอกจากนี้ยังออกคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับการกำหนดวันหมดอายุของบริการโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (พรีเพด) หลังจากเมื่อ 30 พ.ค. 2555 สำนักงาน กสทช.ออกคำสั่งกำหนดค่าปรับ เอไอเอส ดีแทคและทรูมูฟ วันละ 100,000 บาท แต่ทั้ง 3 บริษัทยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาที่ประชุม กทค.พิจารณาแล้วเห็นชอบตามคำสั่งที่เลขาธิการ กสทช. การกำหนดค่าปรับดังกล่าว และในวันที่ 3 ม.ค. 2556 ได้ทำหนังสือแจ้งเพื่อให้ทั้ง 3 ราย จ่ายค่าปรับวันละ 1 แสนบาท ตั้งแต่ 30 พ.ค. 2555 ถึง 3 ม.ค. 2556 รวมกว่า 21.9 ล้านบาท (219 วัน)
นายฐากรกล่าวต่อว่า ได้แจ้งให้เอไอเอส, ดีแทค, ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ทราบถึงการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์คำสั่งค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาท จากการฝ่าฝืนไม่เก็บข้อมูลลูกค้าแบบพรีเพด โดยให้มีการลงทะเบียนซิม ดังนั้นผู้ให้บริการมือถือต้องจ่ายค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาท ตั้งแต่ 6 ก.ค. 2555 ถึงปัจจุบัน 182 วัน รวมกว่า 14.56 ล้านบาท ยกเว้นทรูมูฟ ที่ยื่นฟ้องพร้อมขอให้ศาลคุ้มครอง
ส่วนการกำหนดค่าบริการด้านเสียง ต้องเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดไม่ให้มีการคิดค่าบริการเกินกว่านาทีละ 99 สตางค์ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันไปเมื่อ 31 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา หลังจากนี้ทุกค่ายทุกโปรโมชั่นต้องมีค่าบริการเฉลี่ยไม่เกิน 99 สตางค์/นาที หากฝ่าฝืนจะกำหนดค่าปรับต่อไป
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ตามประกาศฉบับดังกล่าวบริการประเภทเสียงทั้งหมด รวมถึงโปรโมชั่นเหมาจ่ายเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งจากการสำรวจหลังออกประกาศเมื่อ 4 เม.ย. 2555 ที่ผ่านมา พบว่าเอไอเอสและดีแทคยังมีรายการส่งเสริมการขายที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งสำนักงาน กสทช.กำลังประสานงานกัน เพื่อให้มีการบังคับตามประกาศอย่างเคร่งครัด หากผู้บริโภคพบว่ามีการฝ่าฝืน ร้องเรียนเข้ามาได้ที่เลขหมาย 1200 เพื่อให้ กสทช.มีหลักฐานในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อไป
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1357624448&grpid=02&catid=06&subcatid=0603
_______________________________________
กสชท.เข้มลงดาบยักษ์มือถือ
เปิดศักราชปีงูเล็ก "กสทช." ลงดาบออกคำสั่งทางปกครอง 3 ฉบับรวด เตรียมปรับ "ทีโอที & ค่ายมือถือ" กว่า 50 ล้าน พร้อมสั่งห้ามค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ได้ออกคำสั่งทางปกครอง 3 ฉบับ ได้แก่ 1.คำสั่งให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม(ค่าไอซี) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค 2.คำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกราย จัดเก็บข้อมูลหรือลงทะเบียนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงินล่วงหน้า(พรีเพด) ทุกราย และ 3.คำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ห้ามกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงินล่วงหน้า โดยให้ผู้ประกอบการทุกรายปฏิบัติตามคำสั่งกสทช.และชำระค่าปรับตามกฎหมายด้วย
ทั้งนี้กรณีของทีโอทีจะต้องชำระค่าปรับให้ กสทช.วันละ 20,000 บาท ไปจนกว่าทีโอทีจะชำระค่าปรับ โดยทีโอทีจะต้องชำระค่าปรับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2556 รวม 812 วัน คิดเป็นเงินค่าปรับ 16.38 ล้านบาทไปจนกว่าทีโอทีจะชำระค่าปรับ แม้ขณะนี้ ทีโอที ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังจากศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ ทีโอที ทำสัญญากับ ดีแทค ดังนั้นแม้จะอยู่ระหว่างรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทีโอที ก็ต้องชำระค่าปรับดังกล่าว ขณะเดียวกันทีโอทีและดีแทค อยู่ระหว่างเจรจาการทำสัญญาระหว่างกัน คาดว่าจะมีข้อยุติเร็วๆนี้
ส่วนกรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ค่ายมือถือ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และดีแทค ต้องลงทะเบียนผู้ใช้บัตรเติมเงินล่วงหน้านั้น ทั้ง 3 ค่ายมือถือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกสทช.จึงต้องสั่งปรับวันละ 80,000 บาท โดยมีคำสั่งปรับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 จนถึงวันที่ 3มกราคม2556 รวม 182 วัน คิดเป็นเงินรวม14.56 ล้านบาท หรือรายละ 3.64ล้านบาท และเพิ่มขึ้นวันละ 80,000 บาท ไปจนกว่าทั้ง 3 รายจะชำระค่าปรับตามคำสั่งกสทช. และกรณีที่ 3 ค่ายมือถือยังคงกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน ซึ่งถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกสทช. จึงได้มีคำสั่งปรับวันละ 100,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 จนถึง 3มกราคม 2556 รวม 219 วัน คิดเป็นเงิน 21.90 ล้านบาท หรือรายละ 7.30 ล้านบาท ไปจนกว่าทั้ง 3 ค่ายมือถือชำระค่าปรับดังกล่าว
"สำหรับปีนี้ กสทช.ถือว่าเป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคที่ กสทช.ต้องรักษาสิทธิ์ของผู้บริโภค ฉะนั้นจึงต้องออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามคำสั่ง นอกจากออกคำสั่งปรับแล้ว ก็จะเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกรายมาหารือทำความเข้าใจและขอร้องแบบบังคับให้ชำระค่าปรับด้วย "นายฐากร
กล่าวและว่า
คำสั่งของกสทช.มิใช่ระดาษอีกต่อไป แต่สามารถบังคับได้จริง อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าคำสั่งของกสทช.มิใช่คำสั่งสุดท้าย เพราะผู้ประกอบการมีทางเลือกที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความยุติธรรม ซึ่งทำให้กระบวนการต่างๆต้องใช้เวลา ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งของกสทช.แต่ละคำสั่งจะมีผลได้จริง ก็ต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง จึงถือเป็นที่สิ้นสุด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=162235:2013-01-04-09-27-40&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
วันนี้ งด ทำ สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสารที่เหลือ ประจำวัน 08/01/2555 ( เหตุข้อจำกัด 4 เรื่องต่อวัน )
เพราะเนื้อข่าวมากจริงวันนี้ ( แต่ให้ 4 ข่าวเต็มครับ ) ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ