แนวโน้มการเมืองไทย ปี พ.ศ.2556 "จับตาวาระทักษิณ แช่แข็งประเทศไทย"
เข้าสู่โหมด "1 ประเทศ 2 นายกฯ" เต็มรูป
ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เกิดจากปัญหาทั้งปัจจัยภายในตนเอง มือไม่ถึง ขาดความรู้ความสามารถจริง และการถูกออกแบบกำกับ จัดวาง สร้างให้ โดยพี่ชาย หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาโดยตลอด กว่าปีครึ่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นได้แค่ "นายกฯ พิธีกรรม" เพราะถูกจัดวางให้เล่นบทมุมานะ มุ่งมั่นบริหารบ้านเมือง ไม่เล่นการเมือง ไม่เกลือกกลั้วกับความขัดแย้งหรือการเมืองน้ำเน่าสาดโคลน แต่อีกฉากก็จัดทัพรับมือทั้งในสภานอกสภาเพื่อแก้แค้น เล่นงาน ไล่บี้ เอาคืนฝ่ายตรงข้าม
บทบาทและภาพลักษณ์นายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่อยู่ในแผนการตลาดทางการเมืองจะถูกท้าทาย เปลือยกาย ด้วยสถานการณ์จริงมากขึ้น
ปี 2556 พ.ต.ท.ทักษิณอาจต้องออกแรงจะขยับตัว แสดงบทบาทกำกับชี้นำและตัดสินใจแทนรัฐบาลมากขึ้น ชัดเจนขึ้น ทั้งเพื่อเป็นการประกาศตัวเป็นผู้นำสูงสุดตัวจริงและเพื่อจัดระเบียบกับเครือข่ายบริวาร ก๊ก มุ้ง ต่างๆ ทั้งในรัฐบาล พรรคเพื่อไทย กลุ่มทุน และคนเสื้อแดง ที่เริ่มแตกแถว ตั้งกลุ่มก๊วนต่อรองมากขึ้น
ประเด็นสำคัญการบ้าน "กลับประเทศอย่างเท่ๆ" ที่ฝากคนอื่นทำล้มเหลวไม่เป็นท่า ถึงเวลาต้องลงมือเอง ถ้าอยากกลับจริงในปีนี้ "บทอัศวินม้าขาว" ที่ประเทศไทยขาดไม่ได้จะถูกปูทางออกแบบให้ พ.ต.ท.ทักษิณเดินและเล่นมากขึ้น กระทั่งสร้างกระแสเรียกร้องให้กลับประเทศโดยไม่ต้องรับผิด
ประเทศไทยในปีนี้จะเข้าสู่ปรากฏการณ์ "1 ประเทศ 2 นายกฯ" เต็มรูป มีนายกฯ พิธีกรรม กับนายกฯ ที่ถืออำนาจจริง
การเมืองไทยยังถูกกำหนดด้วย "วาระทักษิณ"
แนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยยังคงรูปแบบและเนื้อหาของความขัดแย้งเดิมที่ต่อเนื่องมาหลายปี โดยเฉพาะ "วาระทักษิณ" ฉะนั้น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปลายทางอยู่ที่การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดทักษิณและเครือข่าย และเพื่อประกันความเสี่ยงทางอำนาจของตัวเองในระยะยาว รวมทั้งการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ซึ่งก็มีปลายทางเดียวกัน ยังจะเป็นประเด็นหลักทางการเมือง
พิมพ์เขียวประเทศไทยภายใต้ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับทักษิณ" ถูกจัดเตรียมไว้แล้วล่วงหน้า เหลือแค่การออกแบบพิธีกรรมในนามของการออกเสียงประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) และเวทีประชาเสวนาที่กระทรวงมหาดไทยและนักวิชาการบางกลุ่มเตรียมขับเคลื่อนในเดือนนี้ เพื่อสยบและเกลี้ยกล่อมแรงต้าน
อย่างไรก็ตาม การเมืองเรื่องรัฐธรรมนูญและ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อล้างผิดทักษิณ ยังเป็นการเมืองที่เชื้อเชิญความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เพราะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย "จับได้ไล่ทัน" ปลายทางของวาระดังกล่าว ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลยังเดินหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง เพื่อทักษิณ ประเทศไทยก็ยังจะถูก "แช่แข็งด้วยวาระทักษิณ" ต่อไป ซึ่งทักษิณและเครือข่ายอาจพึงพอใจและได้ประโยชน์จากความแตกแยก หรือแบ่งแยกและปกครองไปเรื่อยๆ เพื่อรอสถานการณ์ใหญ่
แม้ "วาระทักษิณ" ยังคงกำหนดวาระทางการเมืองไทย ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นต่อไปก็ตาม แต่วาระการเมืองของภาคประชาชน คนระดับล่าง ปัญหาปากท้อง สิทธิ โอกาส และผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ที่ถูกแช่แข็งบดบังมานานก็มีโอกาสปะทุขึ้นได้เช่นกัน เพราะระบบการเมืองล้มเหลวไม่ตอบโจทย์ประชาชนจริงๆ และการระบาดของการทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรงขยายตัวมากขึ้น
เศรษฐกิจหวือหวา แต่ประชาสำลักหนี้
"ประชานิยม" ยังคงเป็นคาถาและกุศโลบายรักษาที่มั่นความนิยมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย การออกแบบเศรษฐกิจให้ดูหวือหวาในระดับมหภาคทั้งตลาดหุ้น สารพัดเมกะโปรเจ็กต์ แผนฟื้นฟูประเทศ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถคันแรก ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ 300 บาท ทำให้เศรษฐกิจระดับปากท้องชาวบ้านถูกกลบเกลื่อนและบดบังไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้าวยากหมากแพง ราคาพืชผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
นโยบายรถคันแรก โครงการรับจำนำข้าว ค่าแรง 300 บาท ชะตากรรม SME จะปลดเปลือยสถานะทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลมากขึ้น แม้นโยบายเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะรัฐบาลไร้แผนรองรับ ก็จะเกิดปัญหาสะสมและปะทุมากขึ้น เช่น ค่าครองชีพและหนี้สินภาคครัวเรือนที่ถีบตัวสูงขึ้น ปิดโรงงาน เลิกจ้างฯ
ในขณะที่รัฐบาลก็ยังไม่มีแนวคิดริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจ ในระดับโครงสร้างการปรับเปลี่ยนนโยบายที่รองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นธรรม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมแต่อย่างใด
จับตา 5 สถานการณ์ร้อนที่อาจเป็นระเบิดเวลาทางการเมือง
1.วิกฤติรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเดินหน้าออกเสียงประชามติ หรือพลิกกลับมาโหวตวาระ 3 ก็ยังเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งอยู่ดีเพราะคนจำนวนมากเชื่อว่าเป้าหมายปลายทางของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อคนคนเดียว ไม่ใช่เพื่อการปฏิรูปประเทศ
2.ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง กลายเป็นสายล่อฟ้า เป็นของต้องห้ามทางการเมืองไปแล้ว เพราะแค่จะบรรจุวาระพิจารณาในสภา ก็เกิดการลุกขึ้นค้านของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายจนต้องพับกระดานเว้นวรรคไปก่อน
3.กลางๆ ปีนี้ศาลโลกจะตัดสินคดีเขาพระวิหาร หากศาลตัดสินแล้วเป็นประโยชน์กับทางกัมพูชามากกว่าไทยประเด็นอธิปไตยและดินแดนจะกลับมาเป็นข้อพิพาทอีกครั้ง
4.ปัญหาความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้น นโยบายของรัฐบาลล้มเหลวเชิงรุกทำได้เพียงตั้งรับ ขบวนการก่อความไม่สงบสามารถปฏิบัติการความรุนแรงในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือจุดสำคัญได้มากขึ้น ถี่ขึ้น เหตุการณ์ตายรายวันขยายจากลอบสังหารทหาร ปรชาชน มาที่ครูมากขึ้น
5.วิกฤติพลังงาน ค่าครองชีพ ข้าวยากหมากแพง ปิดโรงงาน เลิกจ้าง ที่เกิดจากความบกพร่องและล้มเหลวทางนโยบายของรัฐบาล
ปัจจัยที่เป็นได้ทั้งวิกฤติและโอกาส
ในปีนี้มีปัจจัยที่จะเป็นตัวแปรเร่งสถานการณ์สังคมการเมืองไทย ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเพิ่มความเครียด ความเสี่ยงทางการเมือง และปลดปล่อยเงื่อนไขความเสี่ยง คลี่คลายความตึงเครียด สร้างจุดสนใจร่วมกันของประชาชนคนไทยได้ เช่น
- การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
- การรุกเข้ามาของประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐและจีน ที่มองไทยเป็นไข่แดงทางเศรษฐกิจ พลังงาน และการทหารของภูมิภาค
- ปัญหาภัยพิบัติ ที่รุนแรงมากขึ้น มีความถี่และความเสี่ยงสูงขึ้น อาจดึงความสนใจ ความตระหนักรู้ ตระหนักเห็นของประชาชนได้มากขึ้น
นายสุริยะใส กตะศิลา
ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน
(Green Politics)
3 มกราคม 2556
ที่มา :
http://www.thaipost.net/news/040113/67519
ไอสุริยะใสบอกทักษิณจะแช่แข็งประเทศ ไม่ดูตัวเองเลยเนาะ
เข้าสู่โหมด "1 ประเทศ 2 นายกฯ" เต็มรูป
ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เกิดจากปัญหาทั้งปัจจัยภายในตนเอง มือไม่ถึง ขาดความรู้ความสามารถจริง และการถูกออกแบบกำกับ จัดวาง สร้างให้ โดยพี่ชาย หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาโดยตลอด กว่าปีครึ่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นได้แค่ "นายกฯ พิธีกรรม" เพราะถูกจัดวางให้เล่นบทมุมานะ มุ่งมั่นบริหารบ้านเมือง ไม่เล่นการเมือง ไม่เกลือกกลั้วกับความขัดแย้งหรือการเมืองน้ำเน่าสาดโคลน แต่อีกฉากก็จัดทัพรับมือทั้งในสภานอกสภาเพื่อแก้แค้น เล่นงาน ไล่บี้ เอาคืนฝ่ายตรงข้าม
บทบาทและภาพลักษณ์นายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่อยู่ในแผนการตลาดทางการเมืองจะถูกท้าทาย เปลือยกาย ด้วยสถานการณ์จริงมากขึ้น
ปี 2556 พ.ต.ท.ทักษิณอาจต้องออกแรงจะขยับตัว แสดงบทบาทกำกับชี้นำและตัดสินใจแทนรัฐบาลมากขึ้น ชัดเจนขึ้น ทั้งเพื่อเป็นการประกาศตัวเป็นผู้นำสูงสุดตัวจริงและเพื่อจัดระเบียบกับเครือข่ายบริวาร ก๊ก มุ้ง ต่างๆ ทั้งในรัฐบาล พรรคเพื่อไทย กลุ่มทุน และคนเสื้อแดง ที่เริ่มแตกแถว ตั้งกลุ่มก๊วนต่อรองมากขึ้น
ประเด็นสำคัญการบ้าน "กลับประเทศอย่างเท่ๆ" ที่ฝากคนอื่นทำล้มเหลวไม่เป็นท่า ถึงเวลาต้องลงมือเอง ถ้าอยากกลับจริงในปีนี้ "บทอัศวินม้าขาว" ที่ประเทศไทยขาดไม่ได้จะถูกปูทางออกแบบให้ พ.ต.ท.ทักษิณเดินและเล่นมากขึ้น กระทั่งสร้างกระแสเรียกร้องให้กลับประเทศโดยไม่ต้องรับผิด
ประเทศไทยในปีนี้จะเข้าสู่ปรากฏการณ์ "1 ประเทศ 2 นายกฯ" เต็มรูป มีนายกฯ พิธีกรรม กับนายกฯ ที่ถืออำนาจจริง
การเมืองไทยยังถูกกำหนดด้วย "วาระทักษิณ"
แนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยยังคงรูปแบบและเนื้อหาของความขัดแย้งเดิมที่ต่อเนื่องมาหลายปี โดยเฉพาะ "วาระทักษิณ" ฉะนั้น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปลายทางอยู่ที่การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดทักษิณและเครือข่าย และเพื่อประกันความเสี่ยงทางอำนาจของตัวเองในระยะยาว รวมทั้งการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ซึ่งก็มีปลายทางเดียวกัน ยังจะเป็นประเด็นหลักทางการเมือง
พิมพ์เขียวประเทศไทยภายใต้ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับทักษิณ" ถูกจัดเตรียมไว้แล้วล่วงหน้า เหลือแค่การออกแบบพิธีกรรมในนามของการออกเสียงประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) และเวทีประชาเสวนาที่กระทรวงมหาดไทยและนักวิชาการบางกลุ่มเตรียมขับเคลื่อนในเดือนนี้ เพื่อสยบและเกลี้ยกล่อมแรงต้าน
อย่างไรก็ตาม การเมืองเรื่องรัฐธรรมนูญและ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อล้างผิดทักษิณ ยังเป็นการเมืองที่เชื้อเชิญความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เพราะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย "จับได้ไล่ทัน" ปลายทางของวาระดังกล่าว ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลยังเดินหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง เพื่อทักษิณ ประเทศไทยก็ยังจะถูก "แช่แข็งด้วยวาระทักษิณ" ต่อไป ซึ่งทักษิณและเครือข่ายอาจพึงพอใจและได้ประโยชน์จากความแตกแยก หรือแบ่งแยกและปกครองไปเรื่อยๆ เพื่อรอสถานการณ์ใหญ่
แม้ "วาระทักษิณ" ยังคงกำหนดวาระทางการเมืองไทย ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นต่อไปก็ตาม แต่วาระการเมืองของภาคประชาชน คนระดับล่าง ปัญหาปากท้อง สิทธิ โอกาส และผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ที่ถูกแช่แข็งบดบังมานานก็มีโอกาสปะทุขึ้นได้เช่นกัน เพราะระบบการเมืองล้มเหลวไม่ตอบโจทย์ประชาชนจริงๆ และการระบาดของการทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรงขยายตัวมากขึ้น
เศรษฐกิจหวือหวา แต่ประชาสำลักหนี้
"ประชานิยม" ยังคงเป็นคาถาและกุศโลบายรักษาที่มั่นความนิยมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย การออกแบบเศรษฐกิจให้ดูหวือหวาในระดับมหภาคทั้งตลาดหุ้น สารพัดเมกะโปรเจ็กต์ แผนฟื้นฟูประเทศ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถคันแรก ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ 300 บาท ทำให้เศรษฐกิจระดับปากท้องชาวบ้านถูกกลบเกลื่อนและบดบังไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้าวยากหมากแพง ราคาพืชผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ
นโยบายรถคันแรก โครงการรับจำนำข้าว ค่าแรง 300 บาท ชะตากรรม SME จะปลดเปลือยสถานะทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลมากขึ้น แม้นโยบายเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะรัฐบาลไร้แผนรองรับ ก็จะเกิดปัญหาสะสมและปะทุมากขึ้น เช่น ค่าครองชีพและหนี้สินภาคครัวเรือนที่ถีบตัวสูงขึ้น ปิดโรงงาน เลิกจ้างฯ
ในขณะที่รัฐบาลก็ยังไม่มีแนวคิดริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจ ในระดับโครงสร้างการปรับเปลี่ยนนโยบายที่รองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นธรรม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมแต่อย่างใด
จับตา 5 สถานการณ์ร้อนที่อาจเป็นระเบิดเวลาทางการเมือง
1.วิกฤติรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเดินหน้าออกเสียงประชามติ หรือพลิกกลับมาโหวตวาระ 3 ก็ยังเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งอยู่ดีเพราะคนจำนวนมากเชื่อว่าเป้าหมายปลายทางของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อคนคนเดียว ไม่ใช่เพื่อการปฏิรูปประเทศ
2.ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง กลายเป็นสายล่อฟ้า เป็นของต้องห้ามทางการเมืองไปแล้ว เพราะแค่จะบรรจุวาระพิจารณาในสภา ก็เกิดการลุกขึ้นค้านของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายจนต้องพับกระดานเว้นวรรคไปก่อน
3.กลางๆ ปีนี้ศาลโลกจะตัดสินคดีเขาพระวิหาร หากศาลตัดสินแล้วเป็นประโยชน์กับทางกัมพูชามากกว่าไทยประเด็นอธิปไตยและดินแดนจะกลับมาเป็นข้อพิพาทอีกครั้ง
4.ปัญหาความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้น นโยบายของรัฐบาลล้มเหลวเชิงรุกทำได้เพียงตั้งรับ ขบวนการก่อความไม่สงบสามารถปฏิบัติการความรุนแรงในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือจุดสำคัญได้มากขึ้น ถี่ขึ้น เหตุการณ์ตายรายวันขยายจากลอบสังหารทหาร ปรชาชน มาที่ครูมากขึ้น
5.วิกฤติพลังงาน ค่าครองชีพ ข้าวยากหมากแพง ปิดโรงงาน เลิกจ้าง ที่เกิดจากความบกพร่องและล้มเหลวทางนโยบายของรัฐบาล
ปัจจัยที่เป็นได้ทั้งวิกฤติและโอกาส
ในปีนี้มีปัจจัยที่จะเป็นตัวแปรเร่งสถานการณ์สังคมการเมืองไทย ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเพิ่มความเครียด ความเสี่ยงทางการเมือง และปลดปล่อยเงื่อนไขความเสี่ยง คลี่คลายความตึงเครียด สร้างจุดสนใจร่วมกันของประชาชนคนไทยได้ เช่น
- การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
- การรุกเข้ามาของประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐและจีน ที่มองไทยเป็นไข่แดงทางเศรษฐกิจ พลังงาน และการทหารของภูมิภาค
- ปัญหาภัยพิบัติ ที่รุนแรงมากขึ้น มีความถี่และความเสี่ยงสูงขึ้น อาจดึงความสนใจ ความตระหนักรู้ ตระหนักเห็นของประชาชนได้มากขึ้น
นายสุริยะใส กตะศิลา
ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน
(Green Politics)
3 มกราคม 2556
ที่มา : http://www.thaipost.net/news/040113/67519