ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 1 มกราคม 2556 01:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ส่องอนาคตหุ้น วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย ผ่านคำบอกเล่าของ“มารุต อรรถไกวัลวที”คนสนิท “คีรี กาญจนพาสน์” ถ้าแผนขยายงานสำเร็จ “กำไรสุทธิ"ขยับปีละ1%
ก่อน บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย” (VGI) จะกลายเป็นหุ้นไอพีโอ “เนื้อหอม” ของเหล่า “นักลงทุน VI” ที่แห่กันมาขอรับฟังข้อมูลบริษัทโดยมิได้นัดหมาย และยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่านักวิเคราะห์ที่พร้อมใจกันโทรมาชวนไปโรดโชว์ต่างประเทศ
ครั้งหนึ่ง “มังกรฮ่องกง” “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่เคย “กังวล” ว่าจะไม่มีใครเชื่อมือ และไม่สนใจหุ้น VGI จนขายทำกำไรกันอย่าง “สนุกมือ” ในวันแรก โดยไม่สนใจพื้นฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ
ทว่าสุดท้ายหุ้น VGI ก็สร้างปรากฎการณ์ ด้วยการเปิดซื้อขายวันแรก (11 ต.ค.2555) ที่ระดับ 57 บาท เพิ่มขึ้น 22 บาท หรือ 62.86% จากราคาเสนอขายที่ 35 บาทต่อหุ้น หลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 26 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท เพื่อจำหน่ายให้ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 377.54 หุ้น ของ BTS ต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ VGI
ก่อนราคาหุ้นจะทะยานขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดบล.ธนชาติ ออกมาแนะนำ “ซื้อ” พร้อมปรับราคาเป้าหมายจาก 85 บาท เป็น 105 บาท ด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทครองส่วนแบ่งตลาดในสื่อบนระบบขนส่งมวลชนถึง 55% และสื่อในร้านค้า 91% ทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณา “สื่อนอกบ้าน” ในเมืองไทยมากที่สุด ขณะที่ BTS มีจำนวนตู้รถไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 35 ตู้ ทำให้บริษัทมีพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้น 25%
“กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” มีนัดกับ” “มารุต อรรถไกวัลวที” นักโฆษณามือโปร ที่ปัจจุบันนั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “ร็อท” (ROT) ที่แปลว่า เน่าเปื่อย เป็นชื่อเล่นที่เพื่อนๆสมัยประถมศึกษาปีที่ 5 ขนานนามเขา เพราะตอนเด็กๆเป็นหวัดบ่อยมาก ส่วนชื่อ “แดง” เป็นชื่อเล่นที่ครอบครัวตั้งให้ตั้งแต่เกิด
ก่อนที่ “ชายวัยกลางคน” จะเข้ามานั่งทำงานใน VGI 13 ปี ช่วงปี 2519 ใกล้เรียนจบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเคยควักเงินเหรียญหยอดตู้โทรศัพท์สาธารณะ ตรงหัวมุมถนนสามย่าน เพื่อโทรไปตื้อขอฝึกงานในบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง ฝึกงานได้ 1 เดือน ก็ได้มีโอกาสทำงานต่อในตำแหน่ง AE ทำได้ 6 ปี ก็ลาออกไปทำงานในบมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ทำได้ 4-5 เดือน ก็ลาออกอีกครั้ง เพราะเริ่มรู้สึกไม่สนุก งานออกแนวซ้ำซากจำเจ
จากนั้นก็ย้ายไปทำงานที่ บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย) ทำได้ 1 ปี ก็ลาออกอีก แล้วย้ายไปทำงานบริษัทโฆษณา ในเครือของ “จีเอ็มเอ็มแกรมมี่”ช่วงนั้น “อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เจ้าของแกรมมี่ “รวย” จากยอดขาย 1 ล้านตลับกับอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ ของวงคาราบาว ทำได้ 1 ปี ก็กลับไปทำงานในโอกิลวี่อีกรอบ ไม่นาน “อากู๋” ก็โทรมาตามให้ไปทำงานทัวร์คอนเสิร์ต “อัศนี วสันต์” และ ”หนุ่ย ไมโคร” ทำไปทำมาชีวิตกลับเข้าสู่โหมด “จำเจ”เหมือนเดิม เขาตัดสินใจออกมาทำโฆษณาบนรถเมล์
ตอนนั้นประสบความสำเร็จมาก “รวย” จากตรงนั้นล่ะ !
วันหนึ่งเขาเดินไปแถวรถไฟฟ้า BTS มองไปมองมาเจอเสาของสถานีรถไฟฟ้า เกิดจุดประกายความคิดอยากนำโฆษณาของลูกค้ามาติดบนเสา แต่บริษัทบอกทำไม่ได้เพราะมีคู่ค้าอยู่แล้ว ตอนหลัง VGI กลับชวนเขาเข้าทำงานด้วยกัน เพราะเห็นถึงความมุ่งมั่น ตอนนั้น “มารุต” ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการทำงานใน VGI หลังมีคนใช้บริการรถไฟฟ้าน้อยมาก
“ไม่เคยคิดว่า VGI จะเติบโตได้มากเท่านี้ ! ถ้าถามว่าทำไมนักลงทุนถึงปลื้มเรามาก ก็คงเป็นเพราะหลายปีที่ผ่านมา บริษิทมีอัตราการเติบโตชัดเจน เรามีเงินสดเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท มีกำไรสะสมเฉลี่ยหลายร้อยล้านบาท ที่สำคัญเรามีอัตรากำไรสุทธิสูง แถมมีแนวโน้มจะมากกว่านี้อีก” “มารุต อรรถไกวัลวที” นั่งหัวโต๊ะวิเคราะห์
ถามว่า “คีรี กาญจนพาสน์” ได้มอบโจทย์สำคัญอะไรหรือไม่ เขา หัวเราะก่อนตอบว่า “ไม่มี” ที่ผ่านมาหุ้นใหญ่รู้อยู่แล้วว่า VGI เติบโตสม่ำเสมอ เขาแฮปปี้ตลอด เขารู้ว่าเราทำได้ ที่ผ่านมาก็สร้าง “เซอร์ไพรส์” ตลอด นั่นเป็นเพราะเรามีความกระตือรืนร้นตลอดวลา
เขา (คีรี) ไม่เคยเดินมาบอกว่า บริษัทต้องโตเท่านั้นเท่านี้ แต่เราจะตั้งตัวเลขการเติบโตแบบอนุรักษ์นิยมปีละ 15-20% อย่างผลประกอบการปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557) เราคาดการณ์ตัวเลขรายได้ว่าอาจเติบโตประมาณ 15-20% หรือมีรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท ถามกลับว่าโอกาสที่จะขยายตัว 40% เหมือนปี 2556 (เม.ย.2555-มี.ค.2556) มีหรือไม่
“แน่นอน” หากผมได้คอนเทกใหญ่ๆ ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยจริงๆ ทุกวันนี้ก็นั่งดูงานใหม่ตลอดเวลาไม่เคยอยู่เฉย
“ร็อท” เล่าต่อว่า วันนี้กำลังคิดจะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างน้อยเราก็พูดภาษาใกล้เคียงกัน การไปทำธุรกิจสื่อโดยผ่านโมเดิร์นเทรดของบ้านเรา ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
สมมุติ BIG C เขาไปประเทศลาวจริงๆ ผมก็คงไปกับเขา แต่ลึกๆในใจของเรา ไม่หวังจะทำธุรกิจแค่นั้นแน่นอน
ผมต้องการเข้าไปทำสื่อโฆษณาต่างๆในห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นมากกว่า ถามว่าถ้าไปแล้วไม่โอเคจะทำอย่างไร หากรู้ว่าพลาดก็ Step Back (ถอยกลับไป) แต่เวลาจะทำอะไร เราทำแบบใจเย็นอยู่แล้ว ทุกคนไม่ต้องห่วง (พูดด้วยสีหน้าจริงจัง)
ถามถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจในสื่อต่างๆ “บุ้น” ศุภรานันท์ ตันวิรัช” ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน พูดก่อนว่า หากเราสามารถขยายธุรกิจได้อย่างที่รับรองได้ว่า “กำไรสุทธิ” จะขยายตัวปีละ 1% ส่วนอัตรากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2556 (เม.ย.2555-มี.ค.2556) เป็น 35% ในปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557) ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นจะยืนระดับ 40-50%
ในส่วนของสื่อโฆษณาและพื้นที่เชิงพาณิชย์ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ที่ผ่านมายอดขายสื่อโฆษณาจากรถไฟฟ้าบีทีเอสมีสัดส่วนมากถึง 51% อนาคตก็จะสูงขึ้นกว่านี้อีก เพราะรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีตู้ใหม่เพิ่มขึ้น 35 ตู้ ปลายปี 2555 และเพิ่มอีก 4 ตู้ ปลายปี 2557
ที่สำคัญวันนี้ VGI ยังใช้พื้นที่เพื่อลงสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าเพียง 40% เท่านั้น เราตั้งใจจะเพิ่มเป็น 50-60% ในปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557 ที่สำคัญสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 6 แห่ง คือ ทองหล่อ พญาไท สะพานควาย สนามเป้า ราชำริ และราชเทวี ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เร็วๆนี้ BTS จะเพิ่มร้านค้าย่อยต่างๆหากทำเสร็จแล้ว เราก็คงมีพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอีกเพียบ เขาบอก
ถามว่า สื่อโฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้า ทำให้ผู้บริโภคสนใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจริงหรือ “ร็อท” สวนกลับว่า สถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท เคยเซ็นสัญญาลงโฆษณากับเรา 3 เดือน ผ่านมา 4-5 ปี เขาก็ยังอยู่กับเรา แถมเหมาโฆษณาทั้งปีอีกต่างหาก (หัวเราะ) เวลาคนมาใช้บริการถไฟฟ้ายืนรอเฉยๆไม่มีอะไรทำ ก็มองโน่นมองนี่ สุดท้ายกำลังซื้อก็เกิดขึ้น
เขา พูดต่อว่า สำหรับสื่อดิจิตอลที่บริษัทให้บริการในโมเดิร์นเทรด อย่าง Tesco Lotus และ Big C อาทิ สื่อมัลติมีเดีย สื่อวิทยุ และสื่อภาพนิ่ง ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะทุกวันนี้เรายังใช้พื้นที่เพื่อลงสื่อโฆษณาในสาขาเดิมที่ให้บริการอยู่แล้วไม่ครบ 100% อธิบายง่ายๆ โมเดิร์นเทรด 1 สาขา เราใช้พื้นที่โฆษณาแค่บางส่วนของห้าง ยังมีหลายจุดที่ยังไม่ได้ใช้พื้นที่โฆษณา ฉะนั้นหากเราสามารถติดตั้งได้ครบถ้วน รายได้จากตรงนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
“บุ้น” ส่งเอกสารการได้รับสิทธิจากโมเดิร์นเทรดให้ดู ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า วันนี้เราให้บริการสื่อภาพนิ่งในโมเดิร์นเทรด 705 สาขา แต่เมืองไทยมีโมเดิร์นเทรดทั้งสิ้น 1,516 สาขา สื่อวิทยุ 123 สาขา และสื่อมัลติมีเดีย 261 สาขา นั่นแปลว่า เรายังสามารถเข้าไปทำสื่อโฆษณาได้อีกหลายสาขา
ส่วนสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน เราตั้งใจจะขยายการให้บริการอาคารใหญ่ๆในกรุงเทพไม่ต่ำกว่า 5 ตึก ปัจจุบันให้บริการอยู่ 51 ตึก โดยปกติอุตสาหกรรมโฆษณาจะเติบโตปีละ 8-9% คาดว่าสิ้นปี 2555 จะมีมูลค่า 110,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสื่อโทรทัศน์ 60% รองลงมาเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ 13.5% เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่า 104,000 ล้านบาท
“วันนี้อัตรากำไรขั้นต้นในธุรกิจสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าบีทีเอสมีสัดส่วนสูงที่สุด 82% รองลงมาเป็นสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน 74% และสื่อในโมเดิร์นเทรด 26% ส่วนในแง่ของอัตรากำไรสุทธิ สื่อบนรถไฟฟ้าก็ยังสูงสุด 50% สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน 40% และโมเดิร์นเทรด 9%”
“มารุต” ทิ้งท้ายว่า ป้ายไฟชนิดใช้หลอด LED เราก็กำลังมองๆอยากจะทำ แต่ราคาค่อนข้างแพง 1 ป้าย ราคา 30 ล้านบาท ถ้าราคาสมเหตุสมผลก็คงทำ เรายังอยากทำฟรี WI-FI บนรถไฟฟ้าด้วย เดี๋ยวต้องคุยกับ 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ และบมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น (SYMC) เพราะเขาทำมาก่อนแล้ว
“ผมจะมุ่งมั่นสร้างผลกำไรให้ขยายตัวไปเรื่อยๆ เราจะพยายามรักษามาตรฐานแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน ต้องไม่สร้างหนี้เกิดตัว และต้องมีกระแสเงินสดต่อปีในอัตราที่เหมาะสม”
“วีจีไอ โกลบอล มีเดีย” หุ้นโฆษณา “สุดเลิฟ” ของ VI
วันที่ 1 มกราคม 2556 01:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ส่องอนาคตหุ้น วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย ผ่านคำบอกเล่าของ“มารุต อรรถไกวัลวที”คนสนิท “คีรี กาญจนพาสน์” ถ้าแผนขยายงานสำเร็จ “กำไรสุทธิ"ขยับปีละ1%
ก่อน บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย” (VGI) จะกลายเป็นหุ้นไอพีโอ “เนื้อหอม” ของเหล่า “นักลงทุน VI” ที่แห่กันมาขอรับฟังข้อมูลบริษัทโดยมิได้นัดหมาย และยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่านักวิเคราะห์ที่พร้อมใจกันโทรมาชวนไปโรดโชว์ต่างประเทศ
ครั้งหนึ่ง “มังกรฮ่องกง” “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่เคย “กังวล” ว่าจะไม่มีใครเชื่อมือ และไม่สนใจหุ้น VGI จนขายทำกำไรกันอย่าง “สนุกมือ” ในวันแรก โดยไม่สนใจพื้นฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ
ทว่าสุดท้ายหุ้น VGI ก็สร้างปรากฎการณ์ ด้วยการเปิดซื้อขายวันแรก (11 ต.ค.2555) ที่ระดับ 57 บาท เพิ่มขึ้น 22 บาท หรือ 62.86% จากราคาเสนอขายที่ 35 บาทต่อหุ้น หลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 26 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท เพื่อจำหน่ายให้ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 377.54 หุ้น ของ BTS ต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ VGI
ก่อนราคาหุ้นจะทะยานขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดบล.ธนชาติ ออกมาแนะนำ “ซื้อ” พร้อมปรับราคาเป้าหมายจาก 85 บาท เป็น 105 บาท ด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทครองส่วนแบ่งตลาดในสื่อบนระบบขนส่งมวลชนถึง 55% และสื่อในร้านค้า 91% ทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณา “สื่อนอกบ้าน” ในเมืองไทยมากที่สุด ขณะที่ BTS มีจำนวนตู้รถไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 35 ตู้ ทำให้บริษัทมีพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้น 25%
“กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” มีนัดกับ” “มารุต อรรถไกวัลวที” นักโฆษณามือโปร ที่ปัจจุบันนั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “ร็อท” (ROT) ที่แปลว่า เน่าเปื่อย เป็นชื่อเล่นที่เพื่อนๆสมัยประถมศึกษาปีที่ 5 ขนานนามเขา เพราะตอนเด็กๆเป็นหวัดบ่อยมาก ส่วนชื่อ “แดง” เป็นชื่อเล่นที่ครอบครัวตั้งให้ตั้งแต่เกิด
ก่อนที่ “ชายวัยกลางคน” จะเข้ามานั่งทำงานใน VGI 13 ปี ช่วงปี 2519 ใกล้เรียนจบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเคยควักเงินเหรียญหยอดตู้โทรศัพท์สาธารณะ ตรงหัวมุมถนนสามย่าน เพื่อโทรไปตื้อขอฝึกงานในบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง ฝึกงานได้ 1 เดือน ก็ได้มีโอกาสทำงานต่อในตำแหน่ง AE ทำได้ 6 ปี ก็ลาออกไปทำงานในบมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ทำได้ 4-5 เดือน ก็ลาออกอีกครั้ง เพราะเริ่มรู้สึกไม่สนุก งานออกแนวซ้ำซากจำเจ
จากนั้นก็ย้ายไปทำงานที่ บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย) ทำได้ 1 ปี ก็ลาออกอีก แล้วย้ายไปทำงานบริษัทโฆษณา ในเครือของ “จีเอ็มเอ็มแกรมมี่”ช่วงนั้น “อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เจ้าของแกรมมี่ “รวย” จากยอดขาย 1 ล้านตลับกับอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ ของวงคาราบาว ทำได้ 1 ปี ก็กลับไปทำงานในโอกิลวี่อีกรอบ ไม่นาน “อากู๋” ก็โทรมาตามให้ไปทำงานทัวร์คอนเสิร์ต “อัศนี วสันต์” และ ”หนุ่ย ไมโคร” ทำไปทำมาชีวิตกลับเข้าสู่โหมด “จำเจ”เหมือนเดิม เขาตัดสินใจออกมาทำโฆษณาบนรถเมล์
ตอนนั้นประสบความสำเร็จมาก “รวย” จากตรงนั้นล่ะ !
วันหนึ่งเขาเดินไปแถวรถไฟฟ้า BTS มองไปมองมาเจอเสาของสถานีรถไฟฟ้า เกิดจุดประกายความคิดอยากนำโฆษณาของลูกค้ามาติดบนเสา แต่บริษัทบอกทำไม่ได้เพราะมีคู่ค้าอยู่แล้ว ตอนหลัง VGI กลับชวนเขาเข้าทำงานด้วยกัน เพราะเห็นถึงความมุ่งมั่น ตอนนั้น “มารุต” ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการทำงานใน VGI หลังมีคนใช้บริการรถไฟฟ้าน้อยมาก
“ไม่เคยคิดว่า VGI จะเติบโตได้มากเท่านี้ ! ถ้าถามว่าทำไมนักลงทุนถึงปลื้มเรามาก ก็คงเป็นเพราะหลายปีที่ผ่านมา บริษิทมีอัตราการเติบโตชัดเจน เรามีเงินสดเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท มีกำไรสะสมเฉลี่ยหลายร้อยล้านบาท ที่สำคัญเรามีอัตรากำไรสุทธิสูง แถมมีแนวโน้มจะมากกว่านี้อีก” “มารุต อรรถไกวัลวที” นั่งหัวโต๊ะวิเคราะห์
ถามว่า “คีรี กาญจนพาสน์” ได้มอบโจทย์สำคัญอะไรหรือไม่ เขา หัวเราะก่อนตอบว่า “ไม่มี” ที่ผ่านมาหุ้นใหญ่รู้อยู่แล้วว่า VGI เติบโตสม่ำเสมอ เขาแฮปปี้ตลอด เขารู้ว่าเราทำได้ ที่ผ่านมาก็สร้าง “เซอร์ไพรส์” ตลอด นั่นเป็นเพราะเรามีความกระตือรืนร้นตลอดวลา
เขา (คีรี) ไม่เคยเดินมาบอกว่า บริษัทต้องโตเท่านั้นเท่านี้ แต่เราจะตั้งตัวเลขการเติบโตแบบอนุรักษ์นิยมปีละ 15-20% อย่างผลประกอบการปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557) เราคาดการณ์ตัวเลขรายได้ว่าอาจเติบโตประมาณ 15-20% หรือมีรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท ถามกลับว่าโอกาสที่จะขยายตัว 40% เหมือนปี 2556 (เม.ย.2555-มี.ค.2556) มีหรือไม่
“แน่นอน” หากผมได้คอนเทกใหญ่ๆ ตัวเลขนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยจริงๆ ทุกวันนี้ก็นั่งดูงานใหม่ตลอดเวลาไม่เคยอยู่เฉย
“ร็อท” เล่าต่อว่า วันนี้กำลังคิดจะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างน้อยเราก็พูดภาษาใกล้เคียงกัน การไปทำธุรกิจสื่อโดยผ่านโมเดิร์นเทรดของบ้านเรา ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
สมมุติ BIG C เขาไปประเทศลาวจริงๆ ผมก็คงไปกับเขา แต่ลึกๆในใจของเรา ไม่หวังจะทำธุรกิจแค่นั้นแน่นอน
ผมต้องการเข้าไปทำสื่อโฆษณาต่างๆในห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นมากกว่า ถามว่าถ้าไปแล้วไม่โอเคจะทำอย่างไร หากรู้ว่าพลาดก็ Step Back (ถอยกลับไป) แต่เวลาจะทำอะไร เราทำแบบใจเย็นอยู่แล้ว ทุกคนไม่ต้องห่วง (พูดด้วยสีหน้าจริงจัง)
ถามถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจในสื่อต่างๆ “บุ้น” ศุภรานันท์ ตันวิรัช” ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน พูดก่อนว่า หากเราสามารถขยายธุรกิจได้อย่างที่รับรองได้ว่า “กำไรสุทธิ” จะขยายตัวปีละ 1% ส่วนอัตรากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2556 (เม.ย.2555-มี.ค.2556) เป็น 35% ในปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557) ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นจะยืนระดับ 40-50%
ในส่วนของสื่อโฆษณาและพื้นที่เชิงพาณิชย์ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ที่ผ่านมายอดขายสื่อโฆษณาจากรถไฟฟ้าบีทีเอสมีสัดส่วนมากถึง 51% อนาคตก็จะสูงขึ้นกว่านี้อีก เพราะรถไฟฟ้าบีทีเอสจะมีตู้ใหม่เพิ่มขึ้น 35 ตู้ ปลายปี 2555 และเพิ่มอีก 4 ตู้ ปลายปี 2557
ที่สำคัญวันนี้ VGI ยังใช้พื้นที่เพื่อลงสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าเพียง 40% เท่านั้น เราตั้งใจจะเพิ่มเป็น 50-60% ในปี 2557 (เม.ย.2556-มี.ค.2557 ที่สำคัญสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 6 แห่ง คือ ทองหล่อ พญาไท สะพานควาย สนามเป้า ราชำริ และราชเทวี ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ เร็วๆนี้ BTS จะเพิ่มร้านค้าย่อยต่างๆหากทำเสร็จแล้ว เราก็คงมีพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอีกเพียบ เขาบอก
ถามว่า สื่อโฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้า ทำให้ผู้บริโภคสนใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจริงหรือ “ร็อท” สวนกลับว่า สถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท เคยเซ็นสัญญาลงโฆษณากับเรา 3 เดือน ผ่านมา 4-5 ปี เขาก็ยังอยู่กับเรา แถมเหมาโฆษณาทั้งปีอีกต่างหาก (หัวเราะ) เวลาคนมาใช้บริการถไฟฟ้ายืนรอเฉยๆไม่มีอะไรทำ ก็มองโน่นมองนี่ สุดท้ายกำลังซื้อก็เกิดขึ้น
เขา พูดต่อว่า สำหรับสื่อดิจิตอลที่บริษัทให้บริการในโมเดิร์นเทรด อย่าง Tesco Lotus และ Big C อาทิ สื่อมัลติมีเดีย สื่อวิทยุ และสื่อภาพนิ่ง ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะทุกวันนี้เรายังใช้พื้นที่เพื่อลงสื่อโฆษณาในสาขาเดิมที่ให้บริการอยู่แล้วไม่ครบ 100% อธิบายง่ายๆ โมเดิร์นเทรด 1 สาขา เราใช้พื้นที่โฆษณาแค่บางส่วนของห้าง ยังมีหลายจุดที่ยังไม่ได้ใช้พื้นที่โฆษณา ฉะนั้นหากเราสามารถติดตั้งได้ครบถ้วน รายได้จากตรงนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
“บุ้น” ส่งเอกสารการได้รับสิทธิจากโมเดิร์นเทรดให้ดู ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า วันนี้เราให้บริการสื่อภาพนิ่งในโมเดิร์นเทรด 705 สาขา แต่เมืองไทยมีโมเดิร์นเทรดทั้งสิ้น 1,516 สาขา สื่อวิทยุ 123 สาขา และสื่อมัลติมีเดีย 261 สาขา นั่นแปลว่า เรายังสามารถเข้าไปทำสื่อโฆษณาได้อีกหลายสาขา
ส่วนสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน เราตั้งใจจะขยายการให้บริการอาคารใหญ่ๆในกรุงเทพไม่ต่ำกว่า 5 ตึก ปัจจุบันให้บริการอยู่ 51 ตึก โดยปกติอุตสาหกรรมโฆษณาจะเติบโตปีละ 8-9% คาดว่าสิ้นปี 2555 จะมีมูลค่า 110,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสื่อโทรทัศน์ 60% รองลงมาเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ 13.5% เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่า 104,000 ล้านบาท
“วันนี้อัตรากำไรขั้นต้นในธุรกิจสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าบีทีเอสมีสัดส่วนสูงที่สุด 82% รองลงมาเป็นสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน 74% และสื่อในโมเดิร์นเทรด 26% ส่วนในแง่ของอัตรากำไรสุทธิ สื่อบนรถไฟฟ้าก็ยังสูงสุด 50% สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน 40% และโมเดิร์นเทรด 9%”
“มารุต” ทิ้งท้ายว่า ป้ายไฟชนิดใช้หลอด LED เราก็กำลังมองๆอยากจะทำ แต่ราคาค่อนข้างแพง 1 ป้าย ราคา 30 ล้านบาท ถ้าราคาสมเหตุสมผลก็คงทำ เรายังอยากทำฟรี WI-FI บนรถไฟฟ้าด้วย เดี๋ยวต้องคุยกับ 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ และบมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น (SYMC) เพราะเขาทำมาก่อนแล้ว
“ผมจะมุ่งมั่นสร้างผลกำไรให้ขยายตัวไปเรื่อยๆ เราจะพยายามรักษามาตรฐานแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน ต้องไม่สร้างหนี้เกิดตัว และต้องมีกระแสเงินสดต่อปีในอัตราที่เหมาะสม”