28 ธ.ค. 2555 เวลา 22:43:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า 7 ธุรกิจที่ได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะมาเป็นแรงขับเคลื่อนให้สามารถเติบโตได้อย่างโดดเด่นในปี 56 ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์, ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม, ธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี, อุตสาหกรรมก่อสร้าง, ธุรกิจขนส่ง, ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และอุตสาหกรรมยางพารา
ทั้งนี้ 1.อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยคาดว่าจะยังคงความเป็นดาวเด่นต่อเนื่องจากปี 55 รับอานิสงส์จากตลาดส่งออกหลังจากค่ายรถเตรียมโยกกำลังการผลิตที่ดึงไปเพื่อรองรับตลาดในประเทศในปี 55 กลับมาผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น และน่าจะทำให้การส่งออกรถยนต์ยังคงมีอัตราการขยายตัวได้อย่างโดดเด่น และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ต่อที่ระดับ 1,230,000 ถึง 1,290,000 คัน ขยายตัวร้อยละ 20.0 ถึง 26.0 จากยอดส่งออก 1,030, 000 คัน ในปี 2555 (ขยายตัวร้อยละ 40.0)
สำหรับตลาดในประเทศ ในช่วงครึ่งแรกของปี 56 อาจยังคงมีช่วงจังหวะของการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่รับจองไว้ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกที่คาดว่ายังมียอดคงค้างรอส่งมอบไม่ต่ำกว่า400,000คันแต่ช่วงครึ่งหลังของปีมีโอกาสหดตัวลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากผลของโครงการรถยนต์คันแรกที่ทำให้ความต้องการรถยนต์ในอนาคตถูกดึงไปใช้แล้วล่วงหน้า
"ด้วยแรงสนับสนุนของการส่งออกรถยนต์ที่เข้าไปช่วยชดเชยยอดขายในประเทศที่อาจลดลงดังกล่าวจะทำให้การผลิตรถยนต์ปี2556ยังคงมีโอกาสทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่จำนวน 2,500,000 ถึง 2,600,000 คัน จากที่บันทึกสถิติ 2,400,000 คัน ในปี 2555 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.0 ถึง 9.0 อันเนื่องมาจากฐานที่สูงมากในปี 2555"
ขณะที่ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์, ธุรกิจขนส่ง และอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น เครื่องเสียงติดรถยนต์ และสายไฟฟ้า เป็นต้น
2. ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวเด่นที่จะมีอัตราการเติบโตสูง คาดว่าธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูลจะมีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต 3G ต่างหันมาเร่งพัฒนาระบบเครือข่ายและเร่งขยายโครงข่ายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ พร้อมทั้งออกโปรโมชั่นการตลาดเร่งโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทาน 2G เดิมไปสู่ระบบ 3G
แนวโน้มเชิงธุรกิจที่สำคัญหลังการเปิดให้บริการ 3G คาดว่าผู้ให้บริการคอนเทนต์มีแนวโน้มที่จะเข้ามาพัฒนาบริการใหม่ๆ บนช่องทางการสื่อสารไร้สาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการบริโภคเนื้อหาในลักษณะออนไลน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปิดให้บริการ 3G ยังมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมราว 125,000 ล้านบาทในระยะเวลา 3 ปี และยังน่าจะก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคเพื่อใช้งานบริการ 3G มากยิ่งขึ้น
"ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมในปี 2556 มีอัตราเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 11.5-14.2 โดยมีมูลค่าตลาดรวม 210,000-214,900 ล้านบาท เทียบกับ 188,300 ล้านบาทในปี 2555 โดยการบริการด้านข้อมูลซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 32.5 ของมูลค่าตลาดรวม จะยังคงเป็นตัวนำในการเติบโต ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 35.6-44.0 หรือมีมูลค่าตลาด 66,000-70,000 ล้านบาท (ขยายตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 25.8 ในปี 2555)"
ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น กลุ่มสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต, ธุรกิจบริการด้านคอนเทนต์, ธุรกิจ e-commerce และ สถาบันการเงิน (รายได้จากการการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นผ่านบัตรเครดิต)
3. ธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีแข่งแรง ขณะที่ดิจิทัลทีวีนับเป็นจุดเปลี่ยนฟรีทีวี โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)จะเริ่มทยอยออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการในช่วงเดือน ม.ค.56 นอกจากนี้ ทางด้านผู้ประกอบการยังมีแผนที่จะขยายช่องรายการความละเอียดสูง (HDTV) จากเดิมที่มีไม่ถึง 15 ช่อง เป็นมากกว่า 25 ช่อง
นอกจากนี้ กสทช. ยังได้มีการวางแผนเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิทัล โดยจะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาตสำหรับช่องบริการธุรกิจ ราวเดือนมี.ค.56 ซึ่งโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล นอกเหนือจากจะมีความคมชัดของภาพสูงกว่าโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกแล้ว ยังเป็นระบบที่สามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างสำคัญเมื่อเทียบกับทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีในปัจจุบัน น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดรายการโทรทัศน์ที่สามารถสื่อสารสองทางกับผู้ชม และก่อให้เกิดความบันเทิงในรูปแบบใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจทีวีมีการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และฟรีทีวีที่จะมาใช้ระบบดิจิทัล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้มีช่องรายการ "ดูฟรี" เพิ่มขึ้น
"ในปี 56 ฐานผู้ชมรายการโทรทัศน์ผ่านทีวีดาวเทียมจะเพิ่มสู่ระดับ 17.4-18.1 ล้านครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 28.1- 33.3 จากฐานผู้ชม 13.6 ล้านครัวเรือนในปี 55 และเคเบิ้ลทีวีราว 6.1-6.2 ล้านครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 7.8-9.2 จากฐานผู้ชม 5.7 ล้านครัวเรือนในปี 2555"
ขณะที่ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น กล่องและอุปกรณ์รับสัญญาณ, โทรทัศน์ที่รับสัญญาณระบบดิจิทัล และธุรกิจโฆษณา
4. อุตสาหกรรมก่อสร้าง คาดว่าในปี 56 จะยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตได้เป็นตัวเลข 2 หลัก ด้วยอานิสงส์ของโครงการก่อสร้างภาครัฐ อาทิ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ 2.27 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบชลประทานและโทรคมนาคม เป็นต้น และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปี 2555 ได้แก่ การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายสาย เช่น สายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เป็นต้น
ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชนปี 56 ความคึกคักจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการขยายการลงทุนของภาคธุรกิจขนาดใหญ่ไปยังจังหวัดสำคัญๆ มากขึ้น อาทิ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การขยายฐานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการรายใหญ่จากกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม การเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า ฯลฯ
"คาดว่า ในปี 56 ภาคก่อสร้างไทย (ณ ราคาปีปัจจุบัน) จะเติบโตประมาณร้อยละ 11.0-12.2 เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 10.0 ในปี 55 โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 1,005,000-1,015,000 ล้านบาท"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซิเมนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น และ ธุรกิจขนส่ง
5. ธุรกิจขนส่ง ยังสามารถเติบโตได้ดี ตามการฟื้นตัวของภาคส่งออก การขยายตัวของกิจกรรมการก่อสร้าง และความเจริญในท้องที่ต่างจังหวัด โดยปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ด้วยแรงหนุนจากภาคการก่อสร้างที่เติบโต การขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รวมถึงการกระจายคลังสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆในภูมิภาค และการเติบโตของกิจกรรมการค้าชายแดน ขณะที่การขนส่งทางเรือในปี 56 คาดว่าจะกลับขึ้นมาเติบโตได้ดี จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะด้านการเกษตรที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น
สำหรับธุรกิจสายการบิน ในด้านของการขนส่งสินค้าในปี 56 คาดว่าจะกลับมาเติบโต ขณะที่การขนส่งคนนั้นจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากธุรกิจสายการบินทั่วไปและธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำที่ต่างปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้นอีกทั้งยังได้มีการขยายเส้นทางบินใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น และเพื่อรองรับกับการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ สายการบินต้นทุนต่ำยังได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของความเป็นเมืองในภาคต่างๆ ของไทย และความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนมาใช้สายการบินต้นทุนต่ำมากขึ้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำของไทยในปีงบประมาณ 56 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.0-18.0 โดยที่จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 23-24 ล้านคน
"มูลค่าจีดีพีในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (ณ ราคาปัจจุบัน) ในปี 2556 น่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 5.5-8.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 545,000-561,000 ล้านบาท เทียบกับที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 517,258 ล้านบาท ในปี 2555"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน
6. ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ความเคลื่อนไหวในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2556 จากเดิมที่มีการควบรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ก็เริ่มมีการมองหาพันธมิตร หรือเดินหน้าควบรวมกิจการโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ และเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง รวมทั้งโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูงมากขึ้น ประกอบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 58
นอกจากนี้แนวโน้มการขยายตัวของคนไข้ชาวต่างชาติ การรุกทำการตลาดของผู้ประกอบการกันอย่างเข้มข้นของผู้ประกอบการแต่ละรายและแผนการตลาดของภาครัฐที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย(MedicalHub of Asia) ก็น่าจะยังคงเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจขยายตัว
"ในปี 56 ภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยทั้งปีคาดว่า จะมีรายได้จากผลงานดำเนินการประมาณ 110,000-114,000 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 15.0-20.0 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ในปี 2555"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ และ ธุรกิจอพาร์ตเมนต์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์สำหรับชาวต่างชาติ
7. ยางพารา ทิศทางราคาปรับตัวสูงขึ้น หลังจากปรากฏสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน น่าจะเป็นแรงหนุนให้ตลาดยางพาราโลกกลับมาขยายตัวดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและราคา นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนเสริมจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อันดับ 2 รองจากไทยคาดการณ์ว่าผลผลิตยางพาราในปี 56 อาจลดลงร้อยละ 8.9 ซึ่งความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางรายสำคัญ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในการรักษาเสถียรภาพยางน่าจะช่วยดึงราคายางให้สูงขึ้น โดยราคายางพาราในตลาดล่วงหน้าโตเกียวล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 ปรับตัวแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 หากเทียบกับจุดที่เคยลงไปต่ำสุดเมื่อกลางเดือน ส.ค.55 ทั้งนี้ จากปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะเป็นผลทำให้การส่งออกยางพาราของไทยกลับมาขยายตัวดีขึ้น จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ
"การส่งออกยางพาราในปี 56 อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 10,000-10,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15-20 จากมูลค่า 8,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวกว่าร้อยละ 31 ในปี 2555 กระนั้น ก็ยังคงเป็นระดับที่น้อยกว่าในปี 2554 ที่ไทยเคยทำสถิติส่งออกยางพาราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยปริมาณ 3.4 ล้านตัน มูลค่า 12,698 ล้านเหรียญสหรัฐฯ"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจแปรรูปยาง และ ธุรกิจขนส่ง
สำหรับธุรกิจที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตในระดับปานกลาง แม้จะไม่โดดเด่น แต่ก็มีปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจที่มีทิศทางบวก อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้ว่าตลาดในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะทรงตัว แต่ตลาดต่างจังหวัดกลับมีความคึกคักมาก หรืออุตสาหกรรมอาหาร แม้โดยรวมจะยังมีความเสี่ยงจากเรื่องต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ตลาดคู่ค้าสำคัญอย่างยุโรปยังอ่อนแอ แต่ตลาดส่งออกในตลาดอื่นๆ เช่น อาเซียน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อิรัก และซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น ก็มีแนวโน้มความต้องการนำเข้าอาหารที่เพิ่มขึ้นจากไทย สำหรับธุรกิจที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตปานกลางอื่นๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม และธุรกิจพลังงาน เป็นต้น
ขณะที่บางภาคธุรกิจอาจต้องเผชิญกับความท้าทายในปี 2556 อาทิ ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และธุรกิจเครื่องหนัง เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำนาย 7 ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในปี 56
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า 7 ธุรกิจที่ได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะมาเป็นแรงขับเคลื่อนให้สามารถเติบโตได้อย่างโดดเด่นในปี 56 ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์, ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม, ธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี, อุตสาหกรรมก่อสร้าง, ธุรกิจขนส่ง, ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และอุตสาหกรรมยางพารา
ทั้งนี้ 1.อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยคาดว่าจะยังคงความเป็นดาวเด่นต่อเนื่องจากปี 55 รับอานิสงส์จากตลาดส่งออกหลังจากค่ายรถเตรียมโยกกำลังการผลิตที่ดึงไปเพื่อรองรับตลาดในประเทศในปี 55 กลับมาผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น และน่าจะทำให้การส่งออกรถยนต์ยังคงมีอัตราการขยายตัวได้อย่างโดดเด่น และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ต่อที่ระดับ 1,230,000 ถึง 1,290,000 คัน ขยายตัวร้อยละ 20.0 ถึง 26.0 จากยอดส่งออก 1,030, 000 คัน ในปี 2555 (ขยายตัวร้อยละ 40.0)
สำหรับตลาดในประเทศ ในช่วงครึ่งแรกของปี 56 อาจยังคงมีช่วงจังหวะของการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่รับจองไว้ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกที่คาดว่ายังมียอดคงค้างรอส่งมอบไม่ต่ำกว่า400,000คันแต่ช่วงครึ่งหลังของปีมีโอกาสหดตัวลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อน จากผลของโครงการรถยนต์คันแรกที่ทำให้ความต้องการรถยนต์ในอนาคตถูกดึงไปใช้แล้วล่วงหน้า
"ด้วยแรงสนับสนุนของการส่งออกรถยนต์ที่เข้าไปช่วยชดเชยยอดขายในประเทศที่อาจลดลงดังกล่าวจะทำให้การผลิตรถยนต์ปี2556ยังคงมีโอกาสทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่จำนวน 2,500,000 ถึง 2,600,000 คัน จากที่บันทึกสถิติ 2,400,000 คัน ในปี 2555 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.0 ถึง 9.0 อันเนื่องมาจากฐานที่สูงมากในปี 2555"
ขณะที่ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์, ธุรกิจขนส่ง และอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น เครื่องเสียงติดรถยนต์ และสายไฟฟ้า เป็นต้น
2. ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวเด่นที่จะมีอัตราการเติบโตสูง คาดว่าธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูลจะมีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต 3G ต่างหันมาเร่งพัฒนาระบบเครือข่ายและเร่งขยายโครงข่ายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ พร้อมทั้งออกโปรโมชั่นการตลาดเร่งโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทาน 2G เดิมไปสู่ระบบ 3G
แนวโน้มเชิงธุรกิจที่สำคัญหลังการเปิดให้บริการ 3G คาดว่าผู้ให้บริการคอนเทนต์มีแนวโน้มที่จะเข้ามาพัฒนาบริการใหม่ๆ บนช่องทางการสื่อสารไร้สาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการบริโภคเนื้อหาในลักษณะออนไลน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปิดให้บริการ 3G ยังมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมราว 125,000 ล้านบาทในระยะเวลา 3 ปี และยังน่าจะก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคเพื่อใช้งานบริการ 3G มากยิ่งขึ้น
"ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมในปี 2556 มีอัตราเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 11.5-14.2 โดยมีมูลค่าตลาดรวม 210,000-214,900 ล้านบาท เทียบกับ 188,300 ล้านบาทในปี 2555 โดยการบริการด้านข้อมูลซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 32.5 ของมูลค่าตลาดรวม จะยังคงเป็นตัวนำในการเติบโต ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 35.6-44.0 หรือมีมูลค่าตลาด 66,000-70,000 ล้านบาท (ขยายตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 25.8 ในปี 2555)"
ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น กลุ่มสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต, ธุรกิจบริการด้านคอนเทนต์, ธุรกิจ e-commerce และ สถาบันการเงิน (รายได้จากการการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นผ่านบัตรเครดิต)
3. ธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีแข่งแรง ขณะที่ดิจิทัลทีวีนับเป็นจุดเปลี่ยนฟรีทีวี โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)จะเริ่มทยอยออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการในช่วงเดือน ม.ค.56 นอกจากนี้ ทางด้านผู้ประกอบการยังมีแผนที่จะขยายช่องรายการความละเอียดสูง (HDTV) จากเดิมที่มีไม่ถึง 15 ช่อง เป็นมากกว่า 25 ช่อง
นอกจากนี้ กสทช. ยังได้มีการวางแผนเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิทัล โดยจะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาตสำหรับช่องบริการธุรกิจ ราวเดือนมี.ค.56 ซึ่งโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล นอกเหนือจากจะมีความคมชัดของภาพสูงกว่าโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกแล้ว ยังเป็นระบบที่สามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างสำคัญเมื่อเทียบกับทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีในปัจจุบัน น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดรายการโทรทัศน์ที่สามารถสื่อสารสองทางกับผู้ชม และก่อให้เกิดความบันเทิงในรูปแบบใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจทีวีมีการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และฟรีทีวีที่จะมาใช้ระบบดิจิทัล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้มีช่องรายการ "ดูฟรี" เพิ่มขึ้น
"ในปี 56 ฐานผู้ชมรายการโทรทัศน์ผ่านทีวีดาวเทียมจะเพิ่มสู่ระดับ 17.4-18.1 ล้านครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 28.1- 33.3 จากฐานผู้ชม 13.6 ล้านครัวเรือนในปี 55 และเคเบิ้ลทีวีราว 6.1-6.2 ล้านครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 7.8-9.2 จากฐานผู้ชม 5.7 ล้านครัวเรือนในปี 2555"
ขณะที่ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น กล่องและอุปกรณ์รับสัญญาณ, โทรทัศน์ที่รับสัญญาณระบบดิจิทัล และธุรกิจโฆษณา
4. อุตสาหกรรมก่อสร้าง คาดว่าในปี 56 จะยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตได้เป็นตัวเลข 2 หลัก ด้วยอานิสงส์ของโครงการก่อสร้างภาครัฐ อาทิ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ 2.27 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบชลประทานและโทรคมนาคม เป็นต้น และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปี 2555 ได้แก่ การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายสาย เช่น สายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) สายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เป็นต้น
ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชนปี 56 ความคึกคักจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการขยายการลงทุนของภาคธุรกิจขนาดใหญ่ไปยังจังหวัดสำคัญๆ มากขึ้น อาทิ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การขยายฐานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการรายใหญ่จากกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม การเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า ฯลฯ
"คาดว่า ในปี 56 ภาคก่อสร้างไทย (ณ ราคาปีปัจจุบัน) จะเติบโตประมาณร้อยละ 11.0-12.2 เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 10.0 ในปี 55 โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 1,005,000-1,015,000 ล้านบาท"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซิเมนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น และ ธุรกิจขนส่ง
5. ธุรกิจขนส่ง ยังสามารถเติบโตได้ดี ตามการฟื้นตัวของภาคส่งออก การขยายตัวของกิจกรรมการก่อสร้าง และความเจริญในท้องที่ต่างจังหวัด โดยปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ด้วยแรงหนุนจากภาคการก่อสร้างที่เติบโต การขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รวมถึงการกระจายคลังสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆในภูมิภาค และการเติบโตของกิจกรรมการค้าชายแดน ขณะที่การขนส่งทางเรือในปี 56 คาดว่าจะกลับขึ้นมาเติบโตได้ดี จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะด้านการเกษตรที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น
สำหรับธุรกิจสายการบิน ในด้านของการขนส่งสินค้าในปี 56 คาดว่าจะกลับมาเติบโต ขณะที่การขนส่งคนนั้นจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากธุรกิจสายการบินทั่วไปและธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำที่ต่างปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้นอีกทั้งยังได้มีการขยายเส้นทางบินใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ครอบคลุมมากขึ้น และเพื่อรองรับกับการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ สายการบินต้นทุนต่ำยังได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของความเป็นเมืองในภาคต่างๆ ของไทย และความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนมาใช้สายการบินต้นทุนต่ำมากขึ้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำของไทยในปีงบประมาณ 56 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.0-18.0 โดยที่จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 23-24 ล้านคน
"มูลค่าจีดีพีในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (ณ ราคาปัจจุบัน) ในปี 2556 น่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 5.5-8.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 545,000-561,000 ล้านบาท เทียบกับที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 517,258 ล้านบาท ในปี 2555"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน
6. ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ความเคลื่อนไหวในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2556 จากเดิมที่มีการควบรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ก็เริ่มมีการมองหาพันธมิตร หรือเดินหน้าควบรวมกิจการโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ และเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง รวมทั้งโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูงมากขึ้น ประกอบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 58
นอกจากนี้แนวโน้มการขยายตัวของคนไข้ชาวต่างชาติ การรุกทำการตลาดของผู้ประกอบการกันอย่างเข้มข้นของผู้ประกอบการแต่ละรายและแผนการตลาดของภาครัฐที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย(MedicalHub of Asia) ก็น่าจะยังคงเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจขยายตัว
"ในปี 56 ภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยทั้งปีคาดว่า จะมีรายได้จากผลงานดำเนินการประมาณ 110,000-114,000 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 15.0-20.0 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 ในปี 2555"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ และ ธุรกิจอพาร์ตเมนต์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์สำหรับชาวต่างชาติ
7. ยางพารา ทิศทางราคาปรับตัวสูงขึ้น หลังจากปรากฏสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน น่าจะเป็นแรงหนุนให้ตลาดยางพาราโลกกลับมาขยายตัวดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและราคา นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนเสริมจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อันดับ 2 รองจากไทยคาดการณ์ว่าผลผลิตยางพาราในปี 56 อาจลดลงร้อยละ 8.9 ซึ่งความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางรายสำคัญ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในการรักษาเสถียรภาพยางน่าจะช่วยดึงราคายางให้สูงขึ้น โดยราคายางพาราในตลาดล่วงหน้าโตเกียวล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 ปรับตัวแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 หากเทียบกับจุดที่เคยลงไปต่ำสุดเมื่อกลางเดือน ส.ค.55 ทั้งนี้ จากปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะเป็นผลทำให้การส่งออกยางพาราของไทยกลับมาขยายตัวดีขึ้น จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ
"การส่งออกยางพาราในปี 56 อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 10,000-10,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15-20 จากมูลค่า 8,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวกว่าร้อยละ 31 ในปี 2555 กระนั้น ก็ยังคงเป็นระดับที่น้อยกว่าในปี 2554 ที่ไทยเคยทำสถิติส่งออกยางพาราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยปริมาณ 3.4 ล้านตัน มูลค่า 12,698 ล้านเหรียญสหรัฐฯ"
ขณะที่ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจแปรรูปยาง และ ธุรกิจขนส่ง
สำหรับธุรกิจที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตในระดับปานกลาง แม้จะไม่โดดเด่น แต่ก็มีปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจที่มีทิศทางบวก อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้ว่าตลาดในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะทรงตัว แต่ตลาดต่างจังหวัดกลับมีความคึกคักมาก หรืออุตสาหกรรมอาหาร แม้โดยรวมจะยังมีความเสี่ยงจากเรื่องต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ตลาดคู่ค้าสำคัญอย่างยุโรปยังอ่อนแอ แต่ตลาดส่งออกในตลาดอื่นๆ เช่น อาเซียน ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อิรัก และซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น ก็มีแนวโน้มความต้องการนำเข้าอาหารที่เพิ่มขึ้นจากไทย สำหรับธุรกิจที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตปานกลางอื่นๆ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม และธุรกิจพลังงาน เป็นต้น
ขณะที่บางภาคธุรกิจอาจต้องเผชิญกับความท้าทายในปี 2556 อาทิ ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ และธุรกิจเครื่องหนัง เป็นต้น