มีเมนูไหนเพิ่มเติมอีก....น่าจะมีเยอะกว่านี้
10 เมนูอาหารแห่งปี 2024 คิวยาว-คนแห่ทำขาย จนเป็นปรากฏการณ์
ปีแห่งเมนูไวรัล! เปิด 10 เมนูยอดฮิตแห่งปี 2024 อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลสูง ดันยอดขายถล่มทลายโตหลายสิบเท่า นักการตลาด ชี้ ธุรกิจอาหารไม่ง่าย อร่อยอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องจัดการดี-สร้างความคุ้มค่า โจทย์หิน คือทำให้ลูกค้าเก่าบอกปากต่อปาก
หลังจากปี 2566 ถูกขนานนามว่า “ปีแห่งหมาล่า” ตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า กระแสเมนูหมาล่าโดยเฉพาะ “หมาล่าสายพาน” ค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติ ไม่มีร้านหมาล่าสายพานให้เห็นกันทุกๆ 300 เมตร ไม่มีคิวยาวเหยียดหลายร้อยคิวให้เห็นกันอีกแล้ว คงเหลือเพียงร้านที่มีฐานลูกค้าเหนียวแน่น รสชาติอร่อยถูกปากคนไทยจริงๆ ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสู่หมาล่าปรุงสุก หรือ “หมาล่าทั่ง” ตามพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจร้านอาหารในไทยยังคงยืนระยะเป็นเซกเมนต์ที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ทว่า ความพิเศษของปีนี้ คือบรรดาเมนูไวรัลตามกระแสที่ผุดให้เห็นทุก 2-3 เดือน ท่ามกลางตลาดที่ดุเดือดมากกว่าปีไหนๆ โดย “LINE MAN Wongnai” ให้นิยามบทสรุปของปี 2567 ไว้ว่า นี่คือปีแห่ง “Eat-fluencer” หลายเมนูไม่ได้เริ่มตัดสายสะดือใหม่ แต่ถูกชุบชีวิตจากบรรดาเซเลบริตี้-อินฟลูเอนเซอร์สายกิน รวมถึงเมนูเกิดใหม่ที่น่าจับตามองก็ยังมีคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ
และนี่คือ 10 เมนูแห่งปี 2024 ที่ได้รับอานิสงส์จากอินฟลูเอนเซอร์สายกินร่วมด้วย โดย “ณัฐพล ม่วงทำ” นักการตลาดเจ้าของเพจ “การตลาดวันละตอน” ให้ความเห็นกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์มีส่วนในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริง เรียกสิ่งนี้ว่า “Creator Economy” เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้มีคนอยากเข้ามาจับตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น เขาระบุว่า สมัยก่อนคนทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้เฉพาะทาง เช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ ต้องแต่งหน้าเก่ง หรืออินฟลูฯ สายรถยนต์ ต้องมีความรู้เรื่องรถอย่างเชี่ยวชาญ
กระทั่งปัจจุบันคนหันมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าที่หยิบมารีวิวก็คือ “อาหาร” เจอร้านไหนอร่อยก็นำมาส่งต่อได้ คนทำคอนเทนต์ได้ฐานผู้ติดตามใหม่ๆ ร้านอาหารได้ลูกค้าเพิ่ม คนกินได้ร้านไปปักหมุดความอร่อย หมุนเวียนจนเกิดเป็นวงล้อเศรษฐกิจในที่สุด เมนู “ทาร์ตมะพร้าวอ่อน” จากร้านโอชิน โฮมเมดเบเกอรี่ เป็นอีกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ เพราะแม้วางขายมายาวนาน แต่กลับถูกพูดถึงอีกครั้งเพราะกระแสรีวิวบน TikTok จนมีรายย่อยรับมาขายเป็นจำนวนมาก
“เพราะเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่เช่นนี้ จึงทำให้คนไม่สามารถใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องใหญ่ๆ ได้ ของกินคือความสุขที่มีราคาถูกที่สุด ทำให้คนหันมาเน้นเรื่องการกินมากขึ้น แม้บางอย่างจะมีราคาสูงแต่ไม่ได้กินบ่อยๆ หรือกินทุกวัน แต่ก่อนเราอาจคุ้นชินกับการถ่ายรูปลงโซเชียลไปกับการจ่ายเงินซื้อสินค้าชิ้นใหญ่-ราคาแพง แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นการถ่ายของกินง่ายๆ กินสนุก กินเอาอร่อย เมนูหลายร้อยก็สามารถแชร์ลงโซเชียลมีเดียได้” นักการตลาดระบุ
https://www.facebook.com/share/p/19cun62drs/
10 เมนูอาหารแห่งปี 2024 คิวยาว-คนแห่ทำขาย จนเป็นปรากฏการณ์
10 เมนูอาหารแห่งปี 2024 คิวยาว-คนแห่ทำขาย จนเป็นปรากฏการณ์
ปีแห่งเมนูไวรัล! เปิด 10 เมนูยอดฮิตแห่งปี 2024 อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลสูง ดันยอดขายถล่มทลายโตหลายสิบเท่า นักการตลาด ชี้ ธุรกิจอาหารไม่ง่าย อร่อยอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องจัดการดี-สร้างความคุ้มค่า โจทย์หิน คือทำให้ลูกค้าเก่าบอกปากต่อปาก
หลังจากปี 2566 ถูกขนานนามว่า “ปีแห่งหมาล่า” ตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า กระแสเมนูหมาล่าโดยเฉพาะ “หมาล่าสายพาน” ค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติ ไม่มีร้านหมาล่าสายพานให้เห็นกันทุกๆ 300 เมตร ไม่มีคิวยาวเหยียดหลายร้อยคิวให้เห็นกันอีกแล้ว คงเหลือเพียงร้านที่มีฐานลูกค้าเหนียวแน่น รสชาติอร่อยถูกปากคนไทยจริงๆ ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสู่หมาล่าปรุงสุก หรือ “หมาล่าทั่ง” ตามพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจร้านอาหารในไทยยังคงยืนระยะเป็นเซกเมนต์ที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ทว่า ความพิเศษของปีนี้ คือบรรดาเมนูไวรัลตามกระแสที่ผุดให้เห็นทุก 2-3 เดือน ท่ามกลางตลาดที่ดุเดือดมากกว่าปีไหนๆ โดย “LINE MAN Wongnai” ให้นิยามบทสรุปของปี 2567 ไว้ว่า นี่คือปีแห่ง “Eat-fluencer” หลายเมนูไม่ได้เริ่มตัดสายสะดือใหม่ แต่ถูกชุบชีวิตจากบรรดาเซเลบริตี้-อินฟลูเอนเซอร์สายกิน รวมถึงเมนูเกิดใหม่ที่น่าจับตามองก็ยังมีคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญ
และนี่คือ 10 เมนูแห่งปี 2024 ที่ได้รับอานิสงส์จากอินฟลูเอนเซอร์สายกินร่วมด้วย โดย “ณัฐพล ม่วงทำ” นักการตลาดเจ้าของเพจ “การตลาดวันละตอน” ให้ความเห็นกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์มีส่วนในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริง เรียกสิ่งนี้ว่า “Creator Economy” เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้มีคนอยากเข้ามาจับตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น เขาระบุว่า สมัยก่อนคนทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้เฉพาะทาง เช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ ต้องแต่งหน้าเก่ง หรืออินฟลูฯ สายรถยนต์ ต้องมีความรู้เรื่องรถอย่างเชี่ยวชาญ
กระทั่งปัจจุบันคนหันมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าที่หยิบมารีวิวก็คือ “อาหาร” เจอร้านไหนอร่อยก็นำมาส่งต่อได้ คนทำคอนเทนต์ได้ฐานผู้ติดตามใหม่ๆ ร้านอาหารได้ลูกค้าเพิ่ม คนกินได้ร้านไปปักหมุดความอร่อย หมุนเวียนจนเกิดเป็นวงล้อเศรษฐกิจในที่สุด เมนู “ทาร์ตมะพร้าวอ่อน” จากร้านโอชิน โฮมเมดเบเกอรี่ เป็นอีกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ เพราะแม้วางขายมายาวนาน แต่กลับถูกพูดถึงอีกครั้งเพราะกระแสรีวิวบน TikTok จนมีรายย่อยรับมาขายเป็นจำนวนมาก
“เพราะเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่เช่นนี้ จึงทำให้คนไม่สามารถใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องใหญ่ๆ ได้ ของกินคือความสุขที่มีราคาถูกที่สุด ทำให้คนหันมาเน้นเรื่องการกินมากขึ้น แม้บางอย่างจะมีราคาสูงแต่ไม่ได้กินบ่อยๆ หรือกินทุกวัน แต่ก่อนเราอาจคุ้นชินกับการถ่ายรูปลงโซเชียลไปกับการจ่ายเงินซื้อสินค้าชิ้นใหญ่-ราคาแพง แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นการถ่ายของกินง่ายๆ กินสนุก กินเอาอร่อย เมนูหลายร้อยก็สามารถแชร์ลงโซเชียลมีเดียได้” นักการตลาดระบุ
https://www.facebook.com/share/p/19cun62drs/