เป้าหมายแรก -รักษาและสืบทอดอำนาจของกลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารให้นานที่สุด
ลักษณะเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ...
อำนาจการแต่งตั้งจะอยู่ที่ วุฒิสภา + ตุลาการกลุ่มหนึ่ง + ประธานองค์กรอิสระ
นี่เป็นการ ร่วมกันเขียน เวียนกันแต่งตั้ง เพื่อรั้งอำนาจไว้ชั่วนิรันดร์
วุฒิสภามีสมาชิก 150 คน
มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน(เดิมมี 76 จังหวัด)
และมาจากการสรรหา 74 คน
หมายความว่าคน 60 ล้านคน สามารถเลือกวุฒิสมาชิกได้ 76 คน
และคนพิเศษที่เป็นผู้สรรหา 7คน(ประชาชนไม่ได้เลือกมา) ก็สามารถเลือกวุฒิสมาชิกได้ 74 คน
ผู้สรรหาทั้ง 7 ประกอบด้วยใครบ้าง?
1. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2. ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)
3. ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
4. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
5. ประธารกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)
6. ตัวแทนผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย
7. ตัวแทนตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย
จะเห็นว่ากรรมการสรรหาทั้ง 7 คนมาจากการเลือกของศาลต่างๆและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนวุฒิสภาก็มีสิทธิเลือกกรรมการหรือรับรองกรรมการจากองค์กรต่างๆ
ถ้าพิจารณาจากวิธีเลือก จะพบว่าประธานตุลาการในศาลต่างๆจะมีบทบาทสูงในการเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
สายตุลาการส่วนใหญ่จะมีเสียงเกินครึ่ง แม้ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ดังนั้น เสียงส่วนนี้จะมีน้ำหนักในการตัดสินว่าใครจะได้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเกือบทุกองค์กร
ส่วนกรรมการ ปปช. ชุดปัจจุบันมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร คปค.ตั้งแต่ 22 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ถ้ามีการสรรหาก็ต้องผ่าน ศาล และวุฒิสภาเช่นกัน
ลักษณะการเลือกแบบนี้จึงเป็นการที่คนกลุ่มเดียวผลัดกันเลือกบุคคลที่ตนเองพอใจหรือเลือกตามคำสั่งของผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อไปดำรงตำแหน่งต่างๆที่ชี้เป็นชี้ตายปัญหาความขัดแย้งใหญ่ๆในสังคม การทำงานของบุคคลและองค์กรต่างๆ จึงเป็นกระบวนการอยุติธรรมต่อเนื่องปละวุ่นวายแบบที่เห็นมาตลอด 6 ปี
เป้าหมายที่สอง - คุ้มครองคนทำรัฐประหารและผู้อยู่เบื้องหลังไม่ให้ถูกลงโทษทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต
เจตนาของมาตรา 309 ย่อมแจ่มชัด และคุยกันจนไม่รู้จะคุยยังไงแล้ว เพียงแต่บางท่านยัง ignorance โดยพยายามจะไม่เข้าใจประเด็นและความสำคัญของมันว่าทำไมจึงต้องยกเลิก มันไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจโดยตรงอย่างที่บางคนชอบกล่าวอ้างว่ามีหรือไม่มีไม่เห็นจะช่วยอะไรกับปากท้อง แต่ท่านครับ...ธรรมนูญการปกครองที่ดีย่อมส่งผลถึงความร่มเย็นในสังคม หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องมั่นคงย่อมนำมาซึ่งความแข็งแกร่งทางการเมืองในอนาคต และนั่นจะส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ ผมคงอธิบายมากกว่านี้ไม่ได้เพราะถ้าท่าน ignorance ซะแล้ว มันก็เสียเวลาที่จะมานั่งอธิบายกัน ซึ่งที่จริงถ้าท่านเปิดใจ ท่านก็ต้องมองเห็นชัดๆอยู่แล้วโดยผมไม่ต้องมานั่งบรรยาย ดังนั้นเรื่องนี้ผมก็ขอจบเท่านี้ละครับ
หมายเหตุ - ผมเรียบเรียงบางส่วนโดยเฉพาะข้อแรกมาจากบทความของคุณ "มุกดา สุวรรณชาติ" จาก"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับประจำวันที่ 21-27 ธันวาคม ครับ สนใจย้อนอ่านได้
เป้าหมายสองประการของรัฐธรรมนูญ 2550
ลักษณะเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ...
อำนาจการแต่งตั้งจะอยู่ที่ วุฒิสภา + ตุลาการกลุ่มหนึ่ง + ประธานองค์กรอิสระ
นี่เป็นการ ร่วมกันเขียน เวียนกันแต่งตั้ง เพื่อรั้งอำนาจไว้ชั่วนิรันดร์
วุฒิสภามีสมาชิก 150 คน
มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน(เดิมมี 76 จังหวัด)
และมาจากการสรรหา 74 คน
หมายความว่าคน 60 ล้านคน สามารถเลือกวุฒิสมาชิกได้ 76 คน
และคนพิเศษที่เป็นผู้สรรหา 7คน(ประชาชนไม่ได้เลือกมา) ก็สามารถเลือกวุฒิสมาชิกได้ 74 คน
ผู้สรรหาทั้ง 7 ประกอบด้วยใครบ้าง?
1. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2. ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)
3. ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
4. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
5. ประธารกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)
6. ตัวแทนผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย
7. ตัวแทนตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย
จะเห็นว่ากรรมการสรรหาทั้ง 7 คนมาจากการเลือกของศาลต่างๆและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนวุฒิสภาก็มีสิทธิเลือกกรรมการหรือรับรองกรรมการจากองค์กรต่างๆ
ถ้าพิจารณาจากวิธีเลือก จะพบว่าประธานตุลาการในศาลต่างๆจะมีบทบาทสูงในการเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
สายตุลาการส่วนใหญ่จะมีเสียงเกินครึ่ง แม้ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ดังนั้น เสียงส่วนนี้จะมีน้ำหนักในการตัดสินว่าใครจะได้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเกือบทุกองค์กร
ส่วนกรรมการ ปปช. ชุดปัจจุบันมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร คปค.ตั้งแต่ 22 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ถ้ามีการสรรหาก็ต้องผ่าน ศาล และวุฒิสภาเช่นกัน
ลักษณะการเลือกแบบนี้จึงเป็นการที่คนกลุ่มเดียวผลัดกันเลือกบุคคลที่ตนเองพอใจหรือเลือกตามคำสั่งของผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อไปดำรงตำแหน่งต่างๆที่ชี้เป็นชี้ตายปัญหาความขัดแย้งใหญ่ๆในสังคม การทำงานของบุคคลและองค์กรต่างๆ จึงเป็นกระบวนการอยุติธรรมต่อเนื่องปละวุ่นวายแบบที่เห็นมาตลอด 6 ปี
เป้าหมายที่สอง - คุ้มครองคนทำรัฐประหารและผู้อยู่เบื้องหลังไม่ให้ถูกลงโทษทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต
เจตนาของมาตรา 309 ย่อมแจ่มชัด และคุยกันจนไม่รู้จะคุยยังไงแล้ว เพียงแต่บางท่านยัง ignorance โดยพยายามจะไม่เข้าใจประเด็นและความสำคัญของมันว่าทำไมจึงต้องยกเลิก มันไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐกิจโดยตรงอย่างที่บางคนชอบกล่าวอ้างว่ามีหรือไม่มีไม่เห็นจะช่วยอะไรกับปากท้อง แต่ท่านครับ...ธรรมนูญการปกครองที่ดีย่อมส่งผลถึงความร่มเย็นในสังคม หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องมั่นคงย่อมนำมาซึ่งความแข็งแกร่งทางการเมืองในอนาคต และนั่นจะส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ ผมคงอธิบายมากกว่านี้ไม่ได้เพราะถ้าท่าน ignorance ซะแล้ว มันก็เสียเวลาที่จะมานั่งอธิบายกัน ซึ่งที่จริงถ้าท่านเปิดใจ ท่านก็ต้องมองเห็นชัดๆอยู่แล้วโดยผมไม่ต้องมานั่งบรรยาย ดังนั้นเรื่องนี้ผมก็ขอจบเท่านี้ละครับ
หมายเหตุ - ผมเรียบเรียงบางส่วนโดยเฉพาะข้อแรกมาจากบทความของคุณ "มุกดา สุวรรณชาติ" จาก"มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับประจำวันที่ 21-27 ธันวาคม ครับ สนใจย้อนอ่านได้