พระอริยะที่แท้ ย่อมไม่มีความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
----------------------------
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บทที่ ๑ กุสะลา ธัมมา...หลวงปู่ฝั้น
กะรุณา วิยะ สัตเตสุ ปัญญายัสสะ มะเหสิโน เญยยะธัมเมสุ สัพเพสุ ปวัตติตถะ ยะถารุจิง ทะยายะตายะ สัตเตสุ สะมุสสาหิตะมานะโส (ฯลฯ) อะภิธัมมะกะถัง กะเถสีติ ฯ
[SIZE=5][FONT=Arial][COLOR=green][B]ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้รับประทานวิสัชนาในพระอภิธรรมมาติกา ๒๒ ติกะในเบื้องต้น สมองค์ศรัทธาธรรมของท่านสาธุชนสัปบุรุษโดยสมควรแก่กาลเวลา ด้วยอภิธรรมมาติกานี้ยากที่จะอธิบายแก้ไขแปลออกไปให้พิศดารได้. มีแต่มาติการเพลาบังสุกุลเท่านั้น. แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบาลีอยู่ ยากที่จะเข้าใจได้ ที่ท่านแปลออกไว้ก็มีแต่พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์อย่างย่อเท่านั้น แต่ในพระอภิธรรมมาติกานี้หาได้แปลออกให้วิตถารพิสดารไม่ พระอภิธรรมมาติกา ๒๒ ติกะในเบื้องต้นนี้ ทรงสำแดงเมื่อพระชินสีห์ศาสดาจารย์เสด็จคมนาการขึ้นจำพระวัสสาในชั้นดาวดึงษาเทวโลก ทรงตรัสเทศนาในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดหมู่เทวกัลยามีพระพุทธมารดาเป็นต้น
_________________
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๒ อะกุสะลา ธัมมา
เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แก้ในบทที่ ๒ ว่า อะกุสะลา ธัมมา นี้ต่อไป โดยพระบาลีว่า อะกุสะลา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นอารมณ์แห่งจิต คือว่าทรงไว้ซึ่งจิตอันอกุศล อะกุสะลา ธัมมา แปลว่าธรรมของบุคคลผู้ไม่ฉลาด หรือแปลว่า ไม่ตัดบาปกรรมจากกาย วาจาใจ ก็ได้ ความอธิบายว่าคนโง่ไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตน บางคนบาปยังไม่ทันมาถึงตนเลย เที่ยวแสวงหาบาปใส่ตนก่อนก็มี ท่านสกวาทีอาจารย์จึงถามว่าบาปที่จะมาถึงตนนั้นอย่างไร ทีว่าบาปยังไม่มาถึงแก่ตน ไปเที่ยวแสวงหาบาปใส่ตนก่อนนั้นอย่างไร ขอท่านปรวาทีจงวิสัชนาความข้อนี้ให้เกิดเป็นมยปัญญาแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า
ท่านปรวาทีอาจารย์จึงอธิบายว่าบาปจะมาถึงแก่ตนนั้นด้วยเหตุที่จะกระทำใจให้เดือดร้อนขึ้นก่อนเป็นต้นว่าได้ยินเสียงเขาลงอาญา หรือทุบตีด้วยไม้ฆ้อน ก้อนดินเป็นต้น บุคคลที่จะเกิดความเดือดร้อนนั้นเพราะไม่ปิดป้องกำบังไว้ให้ดี ปล่อยให้เสียงนั้นล่วงเข้ามากระทบหู หรืออายะตะนะนั้นมาถึงแก่ตน บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่ตัดบาป ไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตนฉะนี้ ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนบุคคลที่มีเรือนไฟไหม้ บุรุษนั้นเมื่อได้เห็นไฟไหม้มาแต่ไกลแล้วก็ไม่ระมัดระวังเรือนของตน จนไฟลามมาไหม้เรือนของตน ตนก็ได้ทุกขเวทนาต่างๆฉะนี้ เพราะโทษที่ไม่ระมัดระวังไฟและไม่ตัดเชื้อไฟเสียแต่ที่หัว เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ไม่ฉลาดไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตนดังนี้ ก็แลคำว่าที่ว่าไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนนั้นก็ได้แก่บุคคลที่ปักขวากหลาวไว้และดักบ่วงข่ายไว้สำหรับจะให้สัตว์มาติดตายนั้นแล จักได้ชื่อว่าไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนนั้น ก็แลคำที่ว่าไม่ตัดบาปเสียนั้นมีคำอธิบายว่ายังมีต้นไม้ไทรต้นหนึ่งไม่สู้โตนัก มีใบก้านบริบูรณ์เป็นอันดี อยู่ในป่าหิมวันต ประเทศ วันหนึ่งมีนกบินไปกินลูกเถาวัลย์ในสถานที่อื่น ครั้นภายหลังก็บินมาจับต้นไทรนั้น แล้วก็ถ่ายอุจจาระลงไปในที่ต้นไม้ไทรนั้น ครั้นถึงวสันต์ฤดูเมล็ดเถาวัลย์นั้นก็งอกงามขึ้นมาที่ใต้ต้นไทร ยังมีคนจำพวกหนึ่งบอกแก่ต้นไทรว่าหน่อเถาวัลย์นั้นครั้นงอกงามขึ้นมานี้แล้ว ถ้าทิ้งไว้จนให้เจริญใหญ่โตแล้วก็จะปกคลุมท่านให้ถึงแก่ความตายไป ต้นไทรจึงตอบขึ้นว่าไม่ทันจะงอกงามขึ้นมาได้ สัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายและสุกรเป็นต้น ก็จะมากัดกินเป็นอาหาร เถาวัลย์ก็จะถึงแก่ความตายไป ไม่ทันจะเลื้อยยาวขึ้นมาได้ ครั้นต่อนานไปเถาวัลย์นั้นก็เจริญใหญ่โตขึ้นมาได้ ไม่มีอันตรายด้วยสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายและสุกรเป็นต้น จนเถาวัลย์นั้นเลื้อยขึ้นไปถึงคาคบใหญ่ ยังมีคนจำพวกหนึ่งตักเตือนต้นไทรนั้นว่า เหตุไฉนท่านจึงได้ให้โอกาสแก่เถาวัลย์นั้นเลื้อยขึ้นมาจนถึงเพียงนี้เล่า ครั้นนานไปก็จะคลุมยอดของท่าน ท่านก็จะได้ความลำบากถึงแก่ความตายไป ครั้นต้นไทรได้ฟังจึงตอบขึ้นว่าท่านอย่าได้กลัวไปเลยว่าเถาวัลย์มันจะไม่ตาย ถ้าพวกตัดเสาเขามาเห็นเข้าแล้ว เขาก็จะตัดเอาไปทำเชือกลากเสาไป ต้นเถาวัลย์นั้นมันจะถึงแก่ความตายไป ครั้นนานมาต้นเถาวัลย์นั้นก็เลื้อยขึ้นไปคลุมยอดแห่งต้นไทร จนต้นไทรนั้นถึงแก่ความตาย หักลงเหนือแผ่นปฐพี
แสดงมาทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นความประมาทที่ไม่คิดตัดบาปทางกายวาจาใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องลำบากต่อภายหลังฉะนี้ ท่านสักวาทะยาจารย์จึงถามขึ้นว่าบุคคลที่ไม่ตัดบาปนั้น ครั้นตายแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้นนั้น จะได้แก่บุคคลจำพวกใดพระเจ้าขา
ท่านปรวาทีอาจารย์จึงชักนิทานในคัมภีร์พระธรรมบทมาแสดงให้เห็นปรากฏว่ายังมีกุลบุตรสี่คนพี่น้องกัน ครั้นได้ทัศนาเห็นภรรยาของท่านผู้อื่นแล้วก็ให้จิตปฏิพัทธ์รักใคร่ กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ครั้นกระทำกาลกิริยาตายไปแล้ว ก็ไปตกอยู่ในโลหะกุมภีนั้นนานประมาณ ๖ หมื่นปีแล้ว จนน้ำนั้นเดือดขึ้นมาถึงปากหม้อ แล้วก็ได้สติมีความปรารถนาจะประกาศถึงบุพกรรมของตนให้ปรากฏว่า ทุ สะ นะ โส ดังนี้ ตนที่ ๑ ว่าข้าพเจ้าเป็นคนชั่ว ตนที่ ๒ ว่า ข้าพเจ้ามาตกอยู่ในนรกนี้นานประมาณถึง ๖ หมื่นปีแล้ว ตนที่ ๓ ว่าข้าพเจ้าไม่มีที่สุดว่าจะหมดกรรมเมื่อไร ตนที่ ๔ ว่าข้าพเจ้าจะไม่กระทำอีกต่อไปแล้ว พอยังไม่ทันจะหมดเรื่องได้แต่คนละอักขระๆ เท่านั้น น้ำก็พัดลงก้นหม้ออย่างเดิม แล้วก็ได้เสวยทุกข์ต่อไปกว่าจะสิ้นกรรม เพราะโทษที่ตนไม่ได้ตัดบาปในปวทาระกรรมนั้นตามอำนวยผล เปรตทั้ง ๔ ตนเหล่านี้ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่นั้นก็แปลว่าเป็นคนโง่ คนไม่ฉลาด ไม่ตัดบาปกรรมเสียได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาอยู่ในโลหะกุมภีฉะนี้.
---------------------
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๓ อัพะยากตา ธัมมา...หลวงปู่ฝั้น
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๓ อัพะยากตา ธัมมา
ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาแก้ไขในบทที่ ๓ สืบต่อไปโดยพระบาลีว่า อัพะยากตา ธัมมา แปลว่า ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งจิตที่เป็นอัพยากฤต ข้อนั้นแปลว่าธรรมอันพระพุทธเจ้าไม่ได้พยากรณ์ว่าเป็นบุญและเป็นบาปดังนี้ โดยความอธิบายว่าจิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่โสมนัสโทมนัสนั้นแลชื่อว่าอัพยากฤต เปรียบเหมือนหนึ่งว่าใบบัวอันน้ำดีและน้ำชั่วตกถูกต้องแล้วก็ไหลไป ไม่ขังอยู่ได้ฉะนั้น ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนเสาไม้แก่นอันบุคคลฝังไว้แล้วเหนือแผ่นเดินผงเผ่า เถ้าธุลีจะปลิวมาสักเท่าใดๆ ก็ดี ไม่ติดอยู่ที่เสานั้น จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นถึงใครๆ จะบูชาดีก็ดี บูชาชั่วก็ดีก็ไม่ยินดียินร้าย ฉะนั้นท่านสกวาทะยาจารย์จึงอุปมาอุปไมยขึ้นอีกว่าข้าแต่ท่านปรวาทะยาจารย์ ซึ่งท่านได้ชี้แจงแสดงมาก็ถูกต้องตามบาลีดีแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความยินดีชอบใจทุกประการแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความยินดีชอบใจทุกประการแล้ว แต่ข้าพเจ้าขออุปมาอุปไมยอีกสักหน่อยพระเจ้าข้า ท่านปรวาทะยาจารย์จึงแสดงอุปมาอุปไมยว่าดูกรท่านสกวาทะยาจารย์ นครทวาริกะ ปุริโสวิยะ จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งทวาริกะ บุรุษผู้เฝ้าซึ่งประตูนคร จิตที่เป็นกุศลนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งชนที่เข้าในประตูพระนคร จิตที่เป็นอกุศลนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งชนที่ออกไปจากประตูพระนคร นายทวาริกะผู้เฝ้าประตูพระนครนั้นก็ไม่ได้ไต่ถามซึ่งชนที่เข้าออก เป็นแต่เห็น หาได้ไต่ถามชนที่เข้าออกนั้นไม่ เช่นนี้แลชื่อว่าอัพยากฤต ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งภาชนะที่ใส่น้ำเป็นต้น ภาชนะที่เต็มแล้วด้วยน้ำนั้น ถึงใครๆ จะเอาน้ำใส่ลงไปอีกสักเท่าใดๆ ก็ดี น้ำในนั้นก็ไหลล้นออกไปจากภาชนะ ไม่สามารถขังอยู่ ฉันใดก็ดี จิตที่เป็นอัพยากฤต ที่พระพุทธเจ้าไมได้พยากรณ์ไว้ว่าเป็นบุญเป็นบาปนั้นก็ชื่อว่าบุญบาปไม่มี ถึงบุญบาปจะมีมาสักเท่าใดๆ ก็ดี ก็ไม่สามารถจะติดค้างอยู่ได้ มีอุปไมยดังภาชนะที่เต็มแล้วด้วยน้ำฉะนั้น จิตที่เป็นอัพยากฤตนี้ก็ย่อมมีแต่พระอริยเจ้าจำพวกเดียวเท่านั้น หาได้มีแก่ปุถุชนไม่ ปุถุชนนั้นมีแต่จิตเป็นบุญเป็นบาปทั้งสองประการ จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นหาได้มีไม่ เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นจึงมิได้บังเกิดแก่ปุถุชน
ท่านสกวาทะยาจารย์ได้ฟังก็ชอบใจ จึงไต่ถามต่อไปว่าบุคคลผู้ใดที่มีแต่จิตเป็นกุศลส่วนอกุศลและอัพยากฤตไม่มี, บุคคลผู้ใดมีแต่จิตเป็นอกุศล กุศลและอัพยากฤตไม่มี, ผู้ใดที่มีจิตเป็นอัพยากฤต กุศลแลอกุศลไม่มีเล่าพระเจ้าขา พระปรวาทะยาจารย์จึงวิสัชนาว่าบุคคลที่มีจิตเป็นบาปเป็นอกุศลนั้นก็ได้แก่นายพราน คิดแต่จะฆ่าเนื้อฆ่าปลาอยู่เป็นนิจ กุศลจิต และอัพยากฤตนั้นไม่บังเกิดมีแก่นายพรานเลย ดังนี้. บุคคลที่มีจิตเป็นบุญเป็นกุศลนั้นก็ได้แก่พระอริยะสัปบุรุษ ท่านคิดแต่บำเพ็ญทานรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา สดับฟังธรรมเทศนาอยู่เป็นนิจ อกุศลจิต และอัพยากฤตก็ไม่บังเกิดมีแก่ท่านดังนี้. เพราะฉะนั้นจึงว่าจิตที่เป็นอัพยากฤตนี้ย่อมบังเกิดมีแต่พระอรหันต์จำพวกเดียว พระอรหันต์เมื่อเข้านิโรธสมาบัติแล้ว จิตที่เป็นบุญเป็นบาปนั้นไม่บังเกิดแก่ท่าน ฉะนี้นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึงสันนิษฐานเข้าใจตามในพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิศดาร อาตมาแก้ไขมาในปฐมติกะ มาติกา บทที่ ๓ โดยสังเขปกถาก็ยุติลงแต่เพียงนี้.
ส่วนที่เหลือ
http://audio.palungjit.com/f22/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%92%E0%B9%92-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-5544.html
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา by หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
----------------------------
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บทที่ ๑ กุสะลา ธัมมา...หลวงปู่ฝั้น
กะรุณา วิยะ สัตเตสุ ปัญญายัสสะ มะเหสิโน เญยยะธัมเมสุ สัพเพสุ ปวัตติตถะ ยะถารุจิง ทะยายะตายะ สัตเตสุ สะมุสสาหิตะมานะโส (ฯลฯ) อะภิธัมมะกะถัง กะเถสีติ ฯ
[SIZE=5][FONT=Arial][COLOR=green][B]ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้รับประทานวิสัชนาในพระอภิธรรมมาติกา ๒๒ ติกะในเบื้องต้น สมองค์ศรัทธาธรรมของท่านสาธุชนสัปบุรุษโดยสมควรแก่กาลเวลา ด้วยอภิธรรมมาติกานี้ยากที่จะอธิบายแก้ไขแปลออกไปให้พิศดารได้. มีแต่มาติการเพลาบังสุกุลเท่านั้น. แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบาลีอยู่ ยากที่จะเข้าใจได้ ที่ท่านแปลออกไว้ก็มีแต่พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์อย่างย่อเท่านั้น แต่ในพระอภิธรรมมาติกานี้หาได้แปลออกให้วิตถารพิสดารไม่ พระอภิธรรมมาติกา ๒๒ ติกะในเบื้องต้นนี้ ทรงสำแดงเมื่อพระชินสีห์ศาสดาจารย์เสด็จคมนาการขึ้นจำพระวัสสาในชั้นดาวดึงษาเทวโลก ทรงตรัสเทศนาในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดหมู่เทวกัลยามีพระพุทธมารดาเป็นต้น
_________________
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๒ อะกุสะลา ธัมมา
เบื้องหน้าแต่นี้จะได้แก้ในบทที่ ๒ ว่า อะกุสะลา ธัมมา นี้ต่อไป โดยพระบาลีว่า อะกุสะลา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นอารมณ์แห่งจิต คือว่าทรงไว้ซึ่งจิตอันอกุศล อะกุสะลา ธัมมา แปลว่าธรรมของบุคคลผู้ไม่ฉลาด หรือแปลว่า ไม่ตัดบาปกรรมจากกาย วาจาใจ ก็ได้ ความอธิบายว่าคนโง่ไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตน บางคนบาปยังไม่ทันมาถึงตนเลย เที่ยวแสวงหาบาปใส่ตนก่อนก็มี ท่านสกวาทีอาจารย์จึงถามว่าบาปที่จะมาถึงตนนั้นอย่างไร ทีว่าบาปยังไม่มาถึงแก่ตน ไปเที่ยวแสวงหาบาปใส่ตนก่อนนั้นอย่างไร ขอท่านปรวาทีจงวิสัชนาความข้อนี้ให้เกิดเป็นมยปัญญาแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า
ท่านปรวาทีอาจารย์จึงอธิบายว่าบาปจะมาถึงแก่ตนนั้นด้วยเหตุที่จะกระทำใจให้เดือดร้อนขึ้นก่อนเป็นต้นว่าได้ยินเสียงเขาลงอาญา หรือทุบตีด้วยไม้ฆ้อน ก้อนดินเป็นต้น บุคคลที่จะเกิดความเดือดร้อนนั้นเพราะไม่ปิดป้องกำบังไว้ให้ดี ปล่อยให้เสียงนั้นล่วงเข้ามากระทบหู หรืออายะตะนะนั้นมาถึงแก่ตน บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่ตัดบาป ไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตนฉะนี้ ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนบุคคลที่มีเรือนไฟไหม้ บุรุษนั้นเมื่อได้เห็นไฟไหม้มาแต่ไกลแล้วก็ไม่ระมัดระวังเรือนของตน จนไฟลามมาไหม้เรือนของตน ตนก็ได้ทุกขเวทนาต่างๆฉะนี้ เพราะโทษที่ไม่ระมัดระวังไฟและไม่ตัดเชื้อไฟเสียแต่ที่หัว เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ไม่ฉลาดไม่ระวังบาปที่จะมาถึงแก่ตนดังนี้ ก็แลคำว่าที่ว่าไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนนั้นก็ได้แก่บุคคลที่ปักขวากหลาวไว้และดักบ่วงข่ายไว้สำหรับจะให้สัตว์มาติดตายนั้นแล จักได้ชื่อว่าไปเที่ยวแสวงหาบาปมาใส่ตนนั้น ก็แลคำที่ว่าไม่ตัดบาปเสียนั้นมีคำอธิบายว่ายังมีต้นไม้ไทรต้นหนึ่งไม่สู้โตนัก มีใบก้านบริบูรณ์เป็นอันดี อยู่ในป่าหิมวันต ประเทศ วันหนึ่งมีนกบินไปกินลูกเถาวัลย์ในสถานที่อื่น ครั้นภายหลังก็บินมาจับต้นไทรนั้น แล้วก็ถ่ายอุจจาระลงไปในที่ต้นไม้ไทรนั้น ครั้นถึงวสันต์ฤดูเมล็ดเถาวัลย์นั้นก็งอกงามขึ้นมาที่ใต้ต้นไทร ยังมีคนจำพวกหนึ่งบอกแก่ต้นไทรว่าหน่อเถาวัลย์นั้นครั้นงอกงามขึ้นมานี้แล้ว ถ้าทิ้งไว้จนให้เจริญใหญ่โตแล้วก็จะปกคลุมท่านให้ถึงแก่ความตายไป ต้นไทรจึงตอบขึ้นว่าไม่ทันจะงอกงามขึ้นมาได้ สัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายและสุกรเป็นต้น ก็จะมากัดกินเป็นอาหาร เถาวัลย์ก็จะถึงแก่ความตายไป ไม่ทันจะเลื้อยยาวขึ้นมาได้ ครั้นต่อนานไปเถาวัลย์นั้นก็เจริญใหญ่โตขึ้นมาได้ ไม่มีอันตรายด้วยสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายและสุกรเป็นต้น จนเถาวัลย์นั้นเลื้อยขึ้นไปถึงคาคบใหญ่ ยังมีคนจำพวกหนึ่งตักเตือนต้นไทรนั้นว่า เหตุไฉนท่านจึงได้ให้โอกาสแก่เถาวัลย์นั้นเลื้อยขึ้นมาจนถึงเพียงนี้เล่า ครั้นนานไปก็จะคลุมยอดของท่าน ท่านก็จะได้ความลำบากถึงแก่ความตายไป ครั้นต้นไทรได้ฟังจึงตอบขึ้นว่าท่านอย่าได้กลัวไปเลยว่าเถาวัลย์มันจะไม่ตาย ถ้าพวกตัดเสาเขามาเห็นเข้าแล้ว เขาก็จะตัดเอาไปทำเชือกลากเสาไป ต้นเถาวัลย์นั้นมันจะถึงแก่ความตายไป ครั้นนานมาต้นเถาวัลย์นั้นก็เลื้อยขึ้นไปคลุมยอดแห่งต้นไทร จนต้นไทรนั้นถึงแก่ความตาย หักลงเหนือแผ่นปฐพี
แสดงมาทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นความประมาทที่ไม่คิดตัดบาปทางกายวาจาใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องลำบากต่อภายหลังฉะนี้ ท่านสักวาทะยาจารย์จึงถามขึ้นว่าบุคคลที่ไม่ตัดบาปนั้น ครั้นตายแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้นนั้น จะได้แก่บุคคลจำพวกใดพระเจ้าขา
ท่านปรวาทีอาจารย์จึงชักนิทานในคัมภีร์พระธรรมบทมาแสดงให้เห็นปรากฏว่ายังมีกุลบุตรสี่คนพี่น้องกัน ครั้นได้ทัศนาเห็นภรรยาของท่านผู้อื่นแล้วก็ให้จิตปฏิพัทธ์รักใคร่ กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ครั้นกระทำกาลกิริยาตายไปแล้ว ก็ไปตกอยู่ในโลหะกุมภีนั้นนานประมาณ ๖ หมื่นปีแล้ว จนน้ำนั้นเดือดขึ้นมาถึงปากหม้อ แล้วก็ได้สติมีความปรารถนาจะประกาศถึงบุพกรรมของตนให้ปรากฏว่า ทุ สะ นะ โส ดังนี้ ตนที่ ๑ ว่าข้าพเจ้าเป็นคนชั่ว ตนที่ ๒ ว่า ข้าพเจ้ามาตกอยู่ในนรกนี้นานประมาณถึง ๖ หมื่นปีแล้ว ตนที่ ๓ ว่าข้าพเจ้าไม่มีที่สุดว่าจะหมดกรรมเมื่อไร ตนที่ ๔ ว่าข้าพเจ้าจะไม่กระทำอีกต่อไปแล้ว พอยังไม่ทันจะหมดเรื่องได้แต่คนละอักขระๆ เท่านั้น น้ำก็พัดลงก้นหม้ออย่างเดิม แล้วก็ได้เสวยทุกข์ต่อไปกว่าจะสิ้นกรรม เพราะโทษที่ตนไม่ได้ตัดบาปในปวทาระกรรมนั้นตามอำนวยผล เปรตทั้ง ๔ ตนเหล่านี้ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่นั้นก็แปลว่าเป็นคนโง่ คนไม่ฉลาด ไม่ตัดบาปกรรมเสียได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาอยู่ในโลหะกุมภีฉะนี้.
---------------------
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๓ อัพะยากตา ธัมมา...หลวงปู่ฝั้น
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกา บท ๓ อัพะยากตา ธัมมา
ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาแก้ไขในบทที่ ๓ สืบต่อไปโดยพระบาลีว่า อัพะยากตา ธัมมา แปลว่า ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งจิตที่เป็นอัพยากฤต ข้อนั้นแปลว่าธรรมอันพระพุทธเจ้าไม่ได้พยากรณ์ว่าเป็นบุญและเป็นบาปดังนี้ โดยความอธิบายว่าจิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่โสมนัสโทมนัสนั้นแลชื่อว่าอัพยากฤต เปรียบเหมือนหนึ่งว่าใบบัวอันน้ำดีและน้ำชั่วตกถูกต้องแล้วก็ไหลไป ไม่ขังอยู่ได้ฉะนั้น ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนเสาไม้แก่นอันบุคคลฝังไว้แล้วเหนือแผ่นเดินผงเผ่า เถ้าธุลีจะปลิวมาสักเท่าใดๆ ก็ดี ไม่ติดอยู่ที่เสานั้น จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นถึงใครๆ จะบูชาดีก็ดี บูชาชั่วก็ดีก็ไม่ยินดียินร้าย ฉะนั้นท่านสกวาทะยาจารย์จึงอุปมาอุปไมยขึ้นอีกว่าข้าแต่ท่านปรวาทะยาจารย์ ซึ่งท่านได้ชี้แจงแสดงมาก็ถูกต้องตามบาลีดีแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความยินดีชอบใจทุกประการแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความยินดีชอบใจทุกประการแล้ว แต่ข้าพเจ้าขออุปมาอุปไมยอีกสักหน่อยพระเจ้าข้า ท่านปรวาทะยาจารย์จึงแสดงอุปมาอุปไมยว่าดูกรท่านสกวาทะยาจารย์ นครทวาริกะ ปุริโสวิยะ จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งทวาริกะ บุรุษผู้เฝ้าซึ่งประตูนคร จิตที่เป็นกุศลนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งชนที่เข้าในประตูพระนคร จิตที่เป็นอกุศลนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งชนที่ออกไปจากประตูพระนคร นายทวาริกะผู้เฝ้าประตูพระนครนั้นก็ไม่ได้ไต่ถามซึ่งชนที่เข้าออก เป็นแต่เห็น หาได้ไต่ถามชนที่เข้าออกนั้นไม่ เช่นนี้แลชื่อว่าอัพยากฤต ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนหนึ่งภาชนะที่ใส่น้ำเป็นต้น ภาชนะที่เต็มแล้วด้วยน้ำนั้น ถึงใครๆ จะเอาน้ำใส่ลงไปอีกสักเท่าใดๆ ก็ดี น้ำในนั้นก็ไหลล้นออกไปจากภาชนะ ไม่สามารถขังอยู่ ฉันใดก็ดี จิตที่เป็นอัพยากฤต ที่พระพุทธเจ้าไมได้พยากรณ์ไว้ว่าเป็นบุญเป็นบาปนั้นก็ชื่อว่าบุญบาปไม่มี ถึงบุญบาปจะมีมาสักเท่าใดๆ ก็ดี ก็ไม่สามารถจะติดค้างอยู่ได้ มีอุปไมยดังภาชนะที่เต็มแล้วด้วยน้ำฉะนั้น จิตที่เป็นอัพยากฤตนี้ก็ย่อมมีแต่พระอริยเจ้าจำพวกเดียวเท่านั้น หาได้มีแก่ปุถุชนไม่ ปุถุชนนั้นมีแต่จิตเป็นบุญเป็นบาปทั้งสองประการ จิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นหาได้มีไม่ เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นอัพยากฤตนั้นจึงมิได้บังเกิดแก่ปุถุชน
ท่านสกวาทะยาจารย์ได้ฟังก็ชอบใจ จึงไต่ถามต่อไปว่าบุคคลผู้ใดที่มีแต่จิตเป็นกุศลส่วนอกุศลและอัพยากฤตไม่มี, บุคคลผู้ใดมีแต่จิตเป็นอกุศล กุศลและอัพยากฤตไม่มี, ผู้ใดที่มีจิตเป็นอัพยากฤต กุศลแลอกุศลไม่มีเล่าพระเจ้าขา พระปรวาทะยาจารย์จึงวิสัชนาว่าบุคคลที่มีจิตเป็นบาปเป็นอกุศลนั้นก็ได้แก่นายพราน คิดแต่จะฆ่าเนื้อฆ่าปลาอยู่เป็นนิจ กุศลจิต และอัพยากฤตนั้นไม่บังเกิดมีแก่นายพรานเลย ดังนี้. บุคคลที่มีจิตเป็นบุญเป็นกุศลนั้นก็ได้แก่พระอริยะสัปบุรุษ ท่านคิดแต่บำเพ็ญทานรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา สดับฟังธรรมเทศนาอยู่เป็นนิจ อกุศลจิต และอัพยากฤตก็ไม่บังเกิดมีแก่ท่านดังนี้. เพราะฉะนั้นจึงว่าจิตที่เป็นอัพยากฤตนี้ย่อมบังเกิดมีแต่พระอรหันต์จำพวกเดียว พระอรหันต์เมื่อเข้านิโรธสมาบัติแล้ว จิตที่เป็นบุญเป็นบาปนั้นไม่บังเกิดแก่ท่าน ฉะนี้นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึงสันนิษฐานเข้าใจตามในพระพุทธภาษิตอันวิจิตรพิศดาร อาตมาแก้ไขมาในปฐมติกะ มาติกา บทที่ ๓ โดยสังเขปกถาก็ยุติลงแต่เพียงนี้.
ส่วนที่เหลือ
http://audio.palungjit.com/f22/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%92%E0%B9%92-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B0-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-5544.html