ตอนเป็นเด็กๆ เคยเห็นคนที่จะไปกลั่นแกล้งคนอื่นให้ได้รับความอับอาย แต่แล้วทำไปทำมา ปรากฏว่าตนเองนั่นแหละกลับโดนเสียเอง จึงมีคำพูดในเชิงธรรมะว่า “ทุกขะโต ทุกขะฐานัง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว” แต่มีคนไปแปลงถ้อยคำให้เข้ากับยุคสมัยว่า “ทุกขะโต ทุกขะฐานัว จะเล่นตรรูดเขา เลยเข้าตรรูดตัว” ประมาณนี้..เรียกว่ากรรม !
พุทธศาสนาสอนเรื่อง “กรรม” ที่แปลว่า “การกระทำ”เป็นคำกลางๆ ทำดีเรียก “กุศลกรรม” ถ้าทำชั่วเรียก “อกุศลกรรม” ไม่ดีไม่ชั่วเรียกอัพยากฤต คงได้ยินตอนพระสวดพระอภิธรรมในงานศพกันบ้างเป็นภาษาบาลีว่า “กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อพยากตา ธัมมา..” นั่นแหละ
ในคัมภีร์ชั้นสูงๆของศาสนาพุทธ ยังแยกย่อย กรรม หรือ กัมมะ ไปอีกมายหลายประการ อธิบายขยายความไปถึงการก่อกรรม ที่ประกอบไปด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เรียกว่า “กรรมบถ 10 อย่าง” ลึกซึ้งไปถึง “การรับผลของกรรม”ที่ตนเองได้กระทำไปแล้วด้วย..ชนิดลึกซึ้ง
จะรวบรัดตัดตอนพูดถึง “การรับผลของกรรม” ย่อๆ ชนิดไม่ตกยกตัวอย่าง เพราะสามารถเห็นกันได้ทุกวันๆ..สัก 2 ชนิด
คือ “ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม” กรรมทันตาเห็นหรือกรรมที่ให้ผลชาตินี้ เรียกให้เห็นภาพก็คือกรรมติดจรวด หรือมากไปกว่านั้น ก็อาจเรียกว่า “กรรมออนไลน์”..ว่าไปนั่น
กรรมชนิดนี้ จะให้ผลในชาติปัจจุบันหรือกรรมที่ให้ผลทันตาเห็น เป็นกรรมที่มีพลังอำนาจให้ผลในชาตินี้เลยทีเดียว ไม่มีแรงกรรมไปถึงชาติหน้าหรือชาติอื่นๆ มีทั้งที่ให้ผลทันตาภายในเจ็ดวัน (ปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม) และหลังเจ็ดวันล่วงไปแล้ว แต่ไม่ข้ามภาพข้ามชาติคงให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น (อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม)
ส่วนอีกกรรม ที่ให้ผลชาติหน้า เรียกว่า “อุปปัชชเวทนียกรรม” กรรมที่ให้ในชาติหน้า เป็นกรรมที่บุคคลใดได้กระทำแล้วย่อมมีพลังอำนาจให้ผลในชาติหน้า อันเป็นชาติที่ 2 ต่อจากชาตินี้ เป็นกรรมที่ให้ผลหนักหน่วง รุนแรง ไม่ว่า “กรรมดำ”หรือ “กรรมขาว”ที่ได้กระทำลงไป ประเภทว่า ถ้าทำดีก็ให้ผลดีอย่างแรง ถ้าทำชั่วก็ให้ผลชั่วอย่างมหาศาล..ทบทวีคูณ
ส่วน คำว่า“พรหมลิขิต” นั้น เป็นความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ ที่เชื่อว่าชีวิตที่เกิดมานั้นแล้วแต่พระพรหมจะลิขิตให้เป็นไป สับสนปนเปมากับศาสนาพุทธ แนบชิดชนิดแยกไม่ออกถ้าไม่ศึกษาว่าอันไหนพุทธ อันไหนพรามหณ์ เช่น พิธีตั้งศาลต่างๆ หรือยกศาลอะไรทำนองนั้น..คงคุ้นเคยกันดี !
คนเราหนีกรรมไปไม่พ้น ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว สุดแต่ว่า “กรรมที่ทำลงไปนั้น”จะให้ผลทันตา หรือรอให้ผลเมื่อหมดบุญไปแล้ว หรือรอชาติหน้า แต่ทุกคนต้องได้รับกรรมทั้งนั้น..ทุกคน !
นี่คือพุทธภาษิต ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนไว้..ฟังนะ
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิโต มุญฺเจยฺย ปาปกมฺมา.
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.
ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้ หรือวันต่อๆไป ไม่ว่าในชาตินี้ หรือชาติไหน ไม่ว่าจะลึกลับซับซ้อนสักเพียงไหน ถ้าว่าเมื่อกรรมเริ่มส่งผล คนเราก็หนีกรรมไปไม่พ้น..เชื่อเถอะครับ !!!
..."กรรมลิขิต" คนเราหนีไม่พ้นกรรม !...
พุทธศาสนาสอนเรื่อง “กรรม” ที่แปลว่า “การกระทำ”เป็นคำกลางๆ ทำดีเรียก “กุศลกรรม” ถ้าทำชั่วเรียก “อกุศลกรรม” ไม่ดีไม่ชั่วเรียกอัพยากฤต คงได้ยินตอนพระสวดพระอภิธรรมในงานศพกันบ้างเป็นภาษาบาลีว่า “กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อพยากตา ธัมมา..” นั่นแหละ
ในคัมภีร์ชั้นสูงๆของศาสนาพุทธ ยังแยกย่อย กรรม หรือ กัมมะ ไปอีกมายหลายประการ อธิบายขยายความไปถึงการก่อกรรม ที่ประกอบไปด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เรียกว่า “กรรมบถ 10 อย่าง” ลึกซึ้งไปถึง “การรับผลของกรรม”ที่ตนเองได้กระทำไปแล้วด้วย..ชนิดลึกซึ้ง
จะรวบรัดตัดตอนพูดถึง “การรับผลของกรรม” ย่อๆ ชนิดไม่ตกยกตัวอย่าง เพราะสามารถเห็นกันได้ทุกวันๆ..สัก 2 ชนิด
คือ “ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม” กรรมทันตาเห็นหรือกรรมที่ให้ผลชาตินี้ เรียกให้เห็นภาพก็คือกรรมติดจรวด หรือมากไปกว่านั้น ก็อาจเรียกว่า “กรรมออนไลน์”..ว่าไปนั่น
กรรมชนิดนี้ จะให้ผลในชาติปัจจุบันหรือกรรมที่ให้ผลทันตาเห็น เป็นกรรมที่มีพลังอำนาจให้ผลในชาตินี้เลยทีเดียว ไม่มีแรงกรรมไปถึงชาติหน้าหรือชาติอื่นๆ มีทั้งที่ให้ผลทันตาภายในเจ็ดวัน (ปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม) และหลังเจ็ดวันล่วงไปแล้ว แต่ไม่ข้ามภาพข้ามชาติคงให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น (อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม)
ส่วนอีกกรรม ที่ให้ผลชาติหน้า เรียกว่า “อุปปัชชเวทนียกรรม” กรรมที่ให้ในชาติหน้า เป็นกรรมที่บุคคลใดได้กระทำแล้วย่อมมีพลังอำนาจให้ผลในชาติหน้า อันเป็นชาติที่ 2 ต่อจากชาตินี้ เป็นกรรมที่ให้ผลหนักหน่วง รุนแรง ไม่ว่า “กรรมดำ”หรือ “กรรมขาว”ที่ได้กระทำลงไป ประเภทว่า ถ้าทำดีก็ให้ผลดีอย่างแรง ถ้าทำชั่วก็ให้ผลชั่วอย่างมหาศาล..ทบทวีคูณ
ส่วน คำว่า“พรหมลิขิต” นั้น เป็นความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ ที่เชื่อว่าชีวิตที่เกิดมานั้นแล้วแต่พระพรหมจะลิขิตให้เป็นไป สับสนปนเปมากับศาสนาพุทธ แนบชิดชนิดแยกไม่ออกถ้าไม่ศึกษาว่าอันไหนพุทธ อันไหนพรามหณ์ เช่น พิธีตั้งศาลต่างๆ หรือยกศาลอะไรทำนองนั้น..คงคุ้นเคยกันดี !
คนเราหนีกรรมไปไม่พ้น ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว สุดแต่ว่า “กรรมที่ทำลงไปนั้น”จะให้ผลทันตา หรือรอให้ผลเมื่อหมดบุญไปแล้ว หรือรอชาติหน้า แต่ทุกคนต้องได้รับกรรมทั้งนั้น..ทุกคน !
นี่คือพุทธภาษิต ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนไว้..ฟังนะ
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิโต มุญฺเจยฺย ปาปกมฺมา.
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.
ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้ หรือวันต่อๆไป ไม่ว่าในชาตินี้ หรือชาติไหน ไม่ว่าจะลึกลับซับซ้อนสักเพียงไหน ถ้าว่าเมื่อกรรมเริ่มส่งผล คนเราก็หนีกรรมไปไม่พ้น..เชื่อเถอะครับ !!!