...สมาธิสูตร..ปฏิจจสมุปบาทวาระจิตเดียวหรือไม่ ? พิจาณาครับ.

กระทู้สนทนา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
            [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว  ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา  ความเกิดและความดับแห่งสังขาร  ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
            [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป  อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
            [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.
            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๒๙๓ - ๓๓๑.  หน้าที่  ๑๓ - ๑๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=27
            สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๗
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_17

 
ความคิดเห็นที่ 25    

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๑๑. ทสุตตรสูตร (๓๔)
---------------------

           [๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ -

           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตนครจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวว่า

           [๓๖๕] เราจักกล่าวธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับ
                        เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด เพื่อถึง
                        พระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
           [๓๖๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมาก ธรรมอย่าง-
*หนึ่งควรให้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่งควรละ ธรรม
อย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม
อย่างหนึ่งแทงตลอดได้ยาก ธรรมอย่างหนึ่งควรให้บังเกิดขึ้น ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้
ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง ฯ
           [๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือความไม่ประมาทใน
กุศลธรรมทั้งหลาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมาก ฯ
           [๓๖๘] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือกายคตาสติอันประกอบ
ด้วยความสำราญ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญ ฯ
           [๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือผัสสะที่ยังมีอาสวะ
มีอุปาทาน นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯ
           [๓๗๐] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรละเป็นไฉน คืออัสมิมานะ นี้ธรรมอย่างหนึ่ง
ที่ควรละ ฯ
           [๓๗๑] ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือการกระทำ
ไว้ในใจโดยไม่แยบคาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ
           [๓๗๒] ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือการกระทำ
ไว้ในใจโดยแยบคาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างดี ฯ

           [๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือเจโตสมาธิเป็น
อนันตริก ๑- นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยาก ฯ

           [๓๗๔] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือญาณที่ไม่กำเริบ
นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ
           [๓๗๕] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมี
อาหารเป็นที่ตั้ง นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรรู้ยิ่ง ฯ
           [๓๗๖] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือเจโตวิมุตติอันไม่
กำเริบ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรทำให้แจ้ง ฯ
           ธรรมทั้งสิบดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด
ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
           [๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เจริญ ธรรม
๒ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วน
ข้างเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก
ธรรม ๒ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
           [๓๗๘] ธรรม ๒ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ
           [๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
           [๓๘๐] ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม
๒ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ

@๑. คือจิตเป็นสมาธิเป็นลำดับติดต่อกันไป หาธรรมอื่นจะบังจะกั้นมิได้ อธิบาย
@ว่า ผลจิตบังเกิดในลำดับแห่งมัคคจิตมรรค บังเกิดขณะจิตหนึ่งแล้วก็ถึงผล จะได้มีจิตอื่น
@เข้ากั้น กางอยู่หามิได้

...
...

จบ ทสุตตรสูตร ที่ ๑๑
จบ ปาฏิกวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้ มี ๑๑ สูตร คือ
           ๑. ปาฏิกสูตร  ๒. อุทุมพลิกสูตร ๓. จักกวัตติสูตร
           ๔. อัคคัญญสูตร ๕. สัมปสาทนียสูตร ๖. ปาสาทิกสูตร
           ๗. ลักขณสูตร ๘. สิงคาลกสูตร ๙. อาฏานาฏิยสูตร
           ๑๐. สังคีติสูตร ๑๑. ทสุตตรสูตร ฯ
ทีฆนิกายซึ่งประดับด้วยสูตร ๓๔ สูตร จบ
           ทีฆนิกายนี้มีพระสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค ชื่อว่าทีฆนิกาย เป็น
นิกายต้น เป็นไปโดยสมควร ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย
เพราะเป็นที่รวมเป็นที่อยู่แห่งพระสูตรขนาดยาวๆ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ดังนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

           เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๗๐๑๖ - ๘๑๓๗.  หน้าที่  ๒๘๙ - ๓๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&Z=8137&pagebreak=0
           ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364

แก้ไขเมื่อ 21 ธ.ค. 55 21:42:56

จากคุณ : JitZungkabuai    
เขียนเมื่อ : 21 ธ.ค. 55 21:38:24  
ถูกใจ : P_vicha

ความคิดเห็นที่ 26    

แล้วเฉลิมศักดิบอกว่าในพระสูตรไม่มีขณะจิตเดียว

ต้องของอ.บุญมีเท่านั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้

ทำไมอภิธรรมต้องขโมยกันอย่างนี้

อ.บุญมีอยากเป็นพระพุทธเจ้า กล้าบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้

แต่ตัวเองอธิบายได้เองคนเดียว

กราบขอบพระคุณท่านจิต. คุณวิชา คุณกรุงธน

และท่านเซ็นไว้ณ.โอกาสนี้

ทำให้เห็นเลห์เหลี่ยมใส่ร้ายจอมโกง ของเฉลิมศักดิ

เปิดเผยสู่สาธารณชน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่