ต่อเนื่องมาจาก
http://www.ppantip.com/cafe/religious/topic/Y13094834/Y13094834.html-----------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบและวิธีการสอนมี 3 รูปแบบ
1. รูปแบบที่เป็นสามัญสำนึกและสัญชาตญาณ คือความรู้ที่ให้กับสรรพสิ่งทั้งหลายโดยไม่ต้องศึกษาหรือค้นหา เช่นการดื่ม การกิน การนอน การตื่น การขับถ่ายและอื่นๆ
2. รูปแบบที่ต้องเสาะแสวงหา คือความรู้ที่ได้มาด้วยการใช้ความพยายาม วิริยะอุตสาหะ
การเสาะแสวงหาจากแหล่งที่มา 2 ประการ คือ
แหล่งที่หนึ่ง จากคำบัญชา (วะห์ยุ) ทั้งที่เป็น อัลกุรอาน หรือซุนนะฮ์ (แบบอย่างของท่านนะบีมุฮัมมัด) คือความรู้ที่เป็นสัจธรรมและถูกต้องปราศจากความเคลือบแคลงใด ๆ อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“ดังที่เราได้ส่งเราะซูลผู้หนึ่ง จากพวกของเจ้าเองมาในหมู่พวกเจ้า ซึ่งเขาจะอ่านบรรดาโองการของเราให้พวกเจ้าฟัง และจะทำให้พวกเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ และจะสอนคัมภีร์ และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติให้แก่พวกเจ้า และจะสอนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน” (อัลกุรอาน 1: 151)
แหล่งที่สอง จากความคิดหรือสติปัญญา ซึ่งบางครั้งความรู้ที่คิดค้นมาอาจเป็นความจริง หากว่าความรู้นั้นไม่ขัดแย้งกับวิวรณ์ที่ถูกต้อง หรืออาจเป็นเท็จหากความรู้นั้นขัดแย้งกับความเป็นจริงของคำวิวรณ์ อัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“พวกเขารู้แต่เพียงผิวเผินในเรื่องการดำเนินชีวิตในโลกนี้ และพวกเขาไม่คำนึงถึงการมีชีวิตในวันอาคีเราะฮ์” (อัลกุรอาน 30 : 7)
3. รูปแบบการดลใจ ซึ่งเป็นรูปแบบและวิธีการสอนที่ทรงประทานแก่บ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ ซึ่งไม่ต้องเสาะแสวงหาและศึกษาแต่อย่างใด บางครั้งได้มาโดยผ่านกระบวนการขัดเกลาจิตใจอย่างมุ่งมั่นทุ่มเท หรือบางครั้งได้มาด้วยวิธีการดลใจเป็นการเฉพาะ ดังที่อัลลอฮ์ ทรงอธิบายเกี่ยวกับท่านเคาะฏิร์ ความว่า
“แล้วทั้งสอง (นะบีมูซาและสหายของท่าน) ได้พบว่าบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้(ที่เรียกว่าการดลใจ) จากเราให้แก่เขา” (อัลกุรอาน 18 : 65)
“จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” การประทานลงมาของ 5 โองการแรกในซูเราะฮ์อัลอะลักเป็นปรากฏการณ์และประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การอ่านสอนโดยพระผู้สร้างโลก ที่กำหนดคุณลักษณะของพระองค์เองด้วยคุณลักษณะ “ผู้ทรงกรุณายิ่ง” ในการบังเกิดมนุษย์และสร้างโลก และทรงใช้ปากกาเป็นสื่อในการสอนมนุษย์
พระองค์ไม่เพียงแค่ทรงบังเกิดมนุษย์เท่านั้น ด้วยคุณลักษณะที่ทรงเกียรติและทรงเมตตายิ่ง พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับวิถีชีวิต ดังที่พระองค์ตรัสความว่า
“สิ่งที่พวกเขาไม่รู้” ซึ่งครอบคลุมทุกอย่าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของพระองค์
เพราะคำว่า “สิ่ง” ในที่นี้ คือความรู้หรือปัญญาต่างๆ ที่พระองค์ไม่สอนให้มนุษย์รู้
ในขณะที่สิ่งที่พระองค์ทรงสอนให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้ ในความรู้สึกของมนุษย์คิดว่า เขาได้รับความรู้มากมายมหาศาลก็ตาม
“และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (อัลกุรอาน 17 : 85)
“และพวกเขาไม่สามารถล่วงรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากความรอบรู้ของพระองค์ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ (ให้พวกเขารู้) เท่านั้น” (อัลกุรอาน 2: 255)
“จงกล่าวเถิด (โอ้มุฮัมมัด) หากว่าทะเลเป็นน้ำหมึกสำหรับบันทึกพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าของฉัน แน่นอนที่สุดทะเลจะเหือดแห้งก่อนที่คำกล่าวของพระผู้เป็นเจ้าของฉันหมดสิ้นไป และแม้ว่าเราจะนำมันเยี่ยงนั้นมาเป็นน้ำหมึกอีกก็ตาม” (อัลกุรอาน 18 : 109)
อิบนุกะษีร ได้กล่าวว่า
“โองการแรกของอัลกุรอานที่ประทานลงมาคือ 5 โองการ (ในซูเราะฮ์อัลอะลัก) และโองการดังกล่าวคือความเมตตาและความโปรดปรานที่อัลลอฮ์ ทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ เป็นการตักเตือนให้ตระหนักว่ามนุษย์ถูกบังเกิดมาจากก้อนเลือด
และพระองค์ทรงให้เกียรติโดยทรงสอนในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ และให้วิชาความรู้แก่พวกเขาซึ่งถือเป็นจุดเด่นของอาดัม บิดาแห่งมนุษยชาติที่มีเหนือกว่าบรรดามลาอิกะฮ์ อัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“ผู้ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นทรงกรุณายิ่งผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” (96 : 1-5)
โดย อ.มัสลัน มาหะมะ
ต่อไป
http://www.ppantip.com/cafe/religious/topic/Y13096087/Y13096087.html
เรียนรู้อิสลาม สำหรับผู้ไม่เป็นมุสลิม ๔
-----------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบและวิธีการสอนมี 3 รูปแบบ
1. รูปแบบที่เป็นสามัญสำนึกและสัญชาตญาณ คือความรู้ที่ให้กับสรรพสิ่งทั้งหลายโดยไม่ต้องศึกษาหรือค้นหา เช่นการดื่ม การกิน การนอน การตื่น การขับถ่ายและอื่นๆ
2. รูปแบบที่ต้องเสาะแสวงหา คือความรู้ที่ได้มาด้วยการใช้ความพยายาม วิริยะอุตสาหะ
การเสาะแสวงหาจากแหล่งที่มา 2 ประการ คือ
แหล่งที่หนึ่ง จากคำบัญชา (วะห์ยุ) ทั้งที่เป็น อัลกุรอาน หรือซุนนะฮ์ (แบบอย่างของท่านนะบีมุฮัมมัด) คือความรู้ที่เป็นสัจธรรมและถูกต้องปราศจากความเคลือบแคลงใด ๆ อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“ดังที่เราได้ส่งเราะซูลผู้หนึ่ง จากพวกของเจ้าเองมาในหมู่พวกเจ้า ซึ่งเขาจะอ่านบรรดาโองการของเราให้พวกเจ้าฟัง และจะทำให้พวกเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ และจะสอนคัมภีร์ และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติให้แก่พวกเจ้า และจะสอนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน” (อัลกุรอาน 1: 151)
แหล่งที่สอง จากความคิดหรือสติปัญญา ซึ่งบางครั้งความรู้ที่คิดค้นมาอาจเป็นความจริง หากว่าความรู้นั้นไม่ขัดแย้งกับวิวรณ์ที่ถูกต้อง หรืออาจเป็นเท็จหากความรู้นั้นขัดแย้งกับความเป็นจริงของคำวิวรณ์ อัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“พวกเขารู้แต่เพียงผิวเผินในเรื่องการดำเนินชีวิตในโลกนี้ และพวกเขาไม่คำนึงถึงการมีชีวิตในวันอาคีเราะฮ์” (อัลกุรอาน 30 : 7)
3. รูปแบบการดลใจ ซึ่งเป็นรูปแบบและวิธีการสอนที่ทรงประทานแก่บ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ ซึ่งไม่ต้องเสาะแสวงหาและศึกษาแต่อย่างใด บางครั้งได้มาโดยผ่านกระบวนการขัดเกลาจิตใจอย่างมุ่งมั่นทุ่มเท หรือบางครั้งได้มาด้วยวิธีการดลใจเป็นการเฉพาะ ดังที่อัลลอฮ์ ทรงอธิบายเกี่ยวกับท่านเคาะฏิร์ ความว่า
“แล้วทั้งสอง (นะบีมูซาและสหายของท่าน) ได้พบว่าบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้(ที่เรียกว่าการดลใจ) จากเราให้แก่เขา” (อัลกุรอาน 18 : 65)
“จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” การประทานลงมาของ 5 โองการแรกในซูเราะฮ์อัลอะลักเป็นปรากฏการณ์และประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การอ่านสอนโดยพระผู้สร้างโลก ที่กำหนดคุณลักษณะของพระองค์เองด้วยคุณลักษณะ “ผู้ทรงกรุณายิ่ง” ในการบังเกิดมนุษย์และสร้างโลก และทรงใช้ปากกาเป็นสื่อในการสอนมนุษย์
พระองค์ไม่เพียงแค่ทรงบังเกิดมนุษย์เท่านั้น ด้วยคุณลักษณะที่ทรงเกียรติและทรงเมตตายิ่ง พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับวิถีชีวิต ดังที่พระองค์ตรัสความว่า
“สิ่งที่พวกเขาไม่รู้” ซึ่งครอบคลุมทุกอย่าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของพระองค์
เพราะคำว่า “สิ่ง” ในที่นี้ คือความรู้หรือปัญญาต่างๆ ที่พระองค์ไม่สอนให้มนุษย์รู้
ในขณะที่สิ่งที่พระองค์ทรงสอนให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้ ในความรู้สึกของมนุษย์คิดว่า เขาได้รับความรู้มากมายมหาศาลก็ตาม
“และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (อัลกุรอาน 17 : 85)
“และพวกเขาไม่สามารถล่วงรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากความรอบรู้ของพระองค์ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ (ให้พวกเขารู้) เท่านั้น” (อัลกุรอาน 2: 255)
“จงกล่าวเถิด (โอ้มุฮัมมัด) หากว่าทะเลเป็นน้ำหมึกสำหรับบันทึกพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าของฉัน แน่นอนที่สุดทะเลจะเหือดแห้งก่อนที่คำกล่าวของพระผู้เป็นเจ้าของฉันหมดสิ้นไป และแม้ว่าเราจะนำมันเยี่ยงนั้นมาเป็นน้ำหมึกอีกก็ตาม” (อัลกุรอาน 18 : 109)
อิบนุกะษีร ได้กล่าวว่า
“โองการแรกของอัลกุรอานที่ประทานลงมาคือ 5 โองการ (ในซูเราะฮ์อัลอะลัก) และโองการดังกล่าวคือความเมตตาและความโปรดปรานที่อัลลอฮ์ ทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ เป็นการตักเตือนให้ตระหนักว่ามนุษย์ถูกบังเกิดมาจากก้อนเลือด
และพระองค์ทรงให้เกียรติโดยทรงสอนในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ และให้วิชาความรู้แก่พวกเขาซึ่งถือเป็นจุดเด่นของอาดัม บิดาแห่งมนุษยชาติที่มีเหนือกว่าบรรดามลาอิกะฮ์ อัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“ผู้ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นทรงกรุณายิ่งผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” (96 : 1-5)
โดย อ.มัสลัน มาหะมะ
ต่อไป
http://www.ppantip.com/cafe/religious/topic/Y13096087/Y13096087.html