ต่อเนื่องมาจาก
http://www.ppantip.com/cafe/religious/topic/Y13096087/Y13096087.html-----------------------------------------------------------------------------------
การอ่านและเรียนรู้วันปรโลก (อะคิเราะฮ์)
พระบัญชาให้อ่านครั้งที่สามที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน คืออัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“เจ้าจงอ่านบันทึกของพวกเจ้า พอเพียงแก่พวกเจ้าแล้ววันนี้ที่จะเป็นผู้ชำระบัญชีของตัวเจ้าเอง” (อัลกุรอาน 17:14)
คำสั่ง “จงอ่าน”จะปรากฏในอัลกุรอานเพียงสามครั้งเท่านั้น สองครั้งใน 5 โองการแรกใน ซูเราะฮ์อัลอะลัก ส่วนครั้งที่สามจะปรากฏในซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ สองครั้งที่กล่าวถึงในซูเราะฮ์อัลอะลักเป็นประโยคคำสั่งที่ไม่เจาะจงว่าต้องอ่านอะไร ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่กว้างและครอบคลุมถึงสรรพสิ่งต่างๆที่เป็นสัญญาณ (อายาต) ของอัลลอฮ์ ในขณะที่ “จงอ่าน” ที่กล่าวในซูเราะฮ์ อัลอิสรออ์ จะมีการบ่งบอกถึงสิ่งที่จะต้องอ่าน คือ “สมุดบันทึกของเจ้า” คือสมุดบันทึกการปฏิบัติของมนุษย์ที่ถูกนำเสนอในวันแห่งการตัดสิน (วันอาคิเราะฮ์) เพื่อเปิดเผยถึงการงานและการปฏิบัติต่างๆที่ได้กระทำมาบนโลกนี้ เป็นการตัดสินขั้นสุดท้ายที่มนุษย์พึงได้รับ เพื่อกำหนดว่าเขาควรได้รับสวนสวรรค์หรือขุมนรก
เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่พระบัญชา “จงอ่าน” ของอัลลอฮ์ ทั้งสองครั้งที่พระองค์ทรงใช้ให้มนุษย์ทำความเข้าใจในวิถีชีวิตและเข้าถึงศาสนาอิสลามนั้น มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ อาจเป็นเพราะถูกอิทธิพลการปฏิเสธถึงการมีอยู่ของพระเจ้าเข้าครอบงำ หรือเพราะความเกียจคร้าน ซึ่งมนุษย์กลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ปฏิเสธการอ่านแต่ยังปฏิเสธการรับฟังด้วย ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้เป็นคุณลักษณะของผู้อธรรมและงมงาย อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
“แท้จริง (มนุษย์) เป็นผู้อธรรมและงมงาย” (อัลกุรอาน33 : 72)
อิสลามอาจยินยอมให้มุสลิมเป็นกลุ่มปุถุชน (อะวาม)ซึ่งอาจไม่มีความรู้ในอิสลาม แต่อิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมเป็นคนที่งมงายโดยเด็ดขาด
ส่วนคำสั่งที่ว่า “จงอ่านสมุดบันทึกของเจ้า” ที่อัลลอฮ์ ทรงบัญชาในวันอาคิเระฮ์นั้น มนุษย์ทุกคนไม่มีทางเลือก เว้นแต่ต้องน้อมรับและปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นบ่าวผู้ภักดีหรือผู้ปฏิเสธ ซึ่งการอ่านครั้งนี้จะทำให้มนุษย์รู้อย่างชัดแจ้งถึงสาเหตุของการได้รับผลตอบแทน โดยเฉพาะผลตอบแทนจากไฟนรก จงรับฟังคำสารภาพของบรรดาชาวนรกซึ่งอัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
“และพวกเขา (ชาวนรก) กล่าวอีกว่า หากพวกเราฟังและใช้สติปัญญาใคร่ครวญ พวกเราก็จะมิได้มาอยู่เป็นชาวนรกอย่างนี้ดอก” (อัลกุรอาน 67 : 10)
สรุป
ความรู้ในทัศนะอัลกุรอาน เปรียบเสมือนแสงประทีปที่ส่องนำทางสู่ความจำเริญในโลกนี้และความสงบสุขในวันปรโลก (อาคิเราะฮ์) เป็นรัศมีที่มาจากอัลลอฮ์ ผ่านคำบัญชามาสู่บรรดานะบี โดยเฉพาะ นะบีและเราะซูลท่านสุดท้ายมุฮัมมัด และผ่านความคิดสติปัญญา นอกจากนี้ยังมีความรู้ที่ได้มาด้วยวิธีการพิเศษ ที่อัลลอฮ์ ทรงมอบให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ซึ่งเรียกว่า “การดลใจ” ทั้งหมดนี้คือแก่นแท้ของความรู้ในทัศนะอิสลามที่มาจากท่านนะบีมุฮัมมัด
อิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ซึ่งทรงประทานความรู้ที่เที่ยงแท้แก่บ่าวของพระองค์ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่เป็นความจริงมันคือความรู้จากอัลลอฮ์ คือแก่นแท้ของศาสนาอิสลามที่มีอัลกุรอานเป็นรากฐานและซุนนะฮ์เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นความรู้คืออิสลามและอิสลามคือความรู้ และความรู้หรือประสบการณ์ที่ไม่ขัดกับอิสลามนั้นคือคำบัญชาจากอัลลอฮ์ นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือภาพลักษณ์ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน ที่ประมวลจากหลักคำสอนของโองการแรกความว่า “จงอ่าน” ซึ่งเป็นกุญแจเปิดประตูสู่ความรู้ ไม่ว่าจะมีเป้าหมายเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในโลกนี้หรือความผาสุกในวันปรโลก (อะคิเราะฮ์) ก็ตาม มนุษย์จะต้องดำเนินชีวิตภายใต้กรอบคำสั่ง “จงอ่าน” ในโลกนี้ และ “จงอ่าน” ในวันปรโลก(อาคิเราะฮ์) ทั้งนี้เพราะชีวิตในโลกนี้และในวันปรโลก (อะคิเราะฮ์) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมแห่งความรู้เท่านั้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราทั้งหลายจะยึดมั่นอิสลามเป็นวิถีชีวิตด้วยความรู้และความเข้าใจบนพื้นฐานคำบัญชาของอัลลอฮ์ อย่างถูกต้องถาวรและยั่งยืน
หนังสือวิถีชีวิตอิสลาม
الكاتب : مرسلان محمد
โดย อ.มัสลัน มาหะมะ
.
เรียนรู้อิสลาม สำหรับผู้ไม่เป็นมุสลิม ๖
-----------------------------------------------------------------------------------
การอ่านและเรียนรู้วันปรโลก (อะคิเราะฮ์)
พระบัญชาให้อ่านครั้งที่สามที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน คืออัลลอฮ์ ตรัสความว่า
“เจ้าจงอ่านบันทึกของพวกเจ้า พอเพียงแก่พวกเจ้าแล้ววันนี้ที่จะเป็นผู้ชำระบัญชีของตัวเจ้าเอง” (อัลกุรอาน 17:14)
คำสั่ง “จงอ่าน”จะปรากฏในอัลกุรอานเพียงสามครั้งเท่านั้น สองครั้งใน 5 โองการแรกใน ซูเราะฮ์อัลอะลัก ส่วนครั้งที่สามจะปรากฏในซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ สองครั้งที่กล่าวถึงในซูเราะฮ์อัลอะลักเป็นประโยคคำสั่งที่ไม่เจาะจงว่าต้องอ่านอะไร ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่กว้างและครอบคลุมถึงสรรพสิ่งต่างๆที่เป็นสัญญาณ (อายาต) ของอัลลอฮ์ ในขณะที่ “จงอ่าน” ที่กล่าวในซูเราะฮ์ อัลอิสรออ์ จะมีการบ่งบอกถึงสิ่งที่จะต้องอ่าน คือ “สมุดบันทึกของเจ้า” คือสมุดบันทึกการปฏิบัติของมนุษย์ที่ถูกนำเสนอในวันแห่งการตัดสิน (วันอาคิเราะฮ์) เพื่อเปิดเผยถึงการงานและการปฏิบัติต่างๆที่ได้กระทำมาบนโลกนี้ เป็นการตัดสินขั้นสุดท้ายที่มนุษย์พึงได้รับ เพื่อกำหนดว่าเขาควรได้รับสวนสวรรค์หรือขุมนรก
เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่พระบัญชา “จงอ่าน” ของอัลลอฮ์ ทั้งสองครั้งที่พระองค์ทรงใช้ให้มนุษย์ทำความเข้าใจในวิถีชีวิตและเข้าถึงศาสนาอิสลามนั้น มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ อาจเป็นเพราะถูกอิทธิพลการปฏิเสธถึงการมีอยู่ของพระเจ้าเข้าครอบงำ หรือเพราะความเกียจคร้าน ซึ่งมนุษย์กลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ปฏิเสธการอ่านแต่ยังปฏิเสธการรับฟังด้วย ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้เป็นคุณลักษณะของผู้อธรรมและงมงาย อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
“แท้จริง (มนุษย์) เป็นผู้อธรรมและงมงาย” (อัลกุรอาน33 : 72)
อิสลามอาจยินยอมให้มุสลิมเป็นกลุ่มปุถุชน (อะวาม)ซึ่งอาจไม่มีความรู้ในอิสลาม แต่อิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมเป็นคนที่งมงายโดยเด็ดขาด
ส่วนคำสั่งที่ว่า “จงอ่านสมุดบันทึกของเจ้า” ที่อัลลอฮ์ ทรงบัญชาในวันอาคิเระฮ์นั้น มนุษย์ทุกคนไม่มีทางเลือก เว้นแต่ต้องน้อมรับและปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นบ่าวผู้ภักดีหรือผู้ปฏิเสธ ซึ่งการอ่านครั้งนี้จะทำให้มนุษย์รู้อย่างชัดแจ้งถึงสาเหตุของการได้รับผลตอบแทน โดยเฉพาะผลตอบแทนจากไฟนรก จงรับฟังคำสารภาพของบรรดาชาวนรกซึ่งอัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
“และพวกเขา (ชาวนรก) กล่าวอีกว่า หากพวกเราฟังและใช้สติปัญญาใคร่ครวญ พวกเราก็จะมิได้มาอยู่เป็นชาวนรกอย่างนี้ดอก” (อัลกุรอาน 67 : 10)
สรุป
ความรู้ในทัศนะอัลกุรอาน เปรียบเสมือนแสงประทีปที่ส่องนำทางสู่ความจำเริญในโลกนี้และความสงบสุขในวันปรโลก (อาคิเราะฮ์) เป็นรัศมีที่มาจากอัลลอฮ์ ผ่านคำบัญชามาสู่บรรดานะบี โดยเฉพาะ นะบีและเราะซูลท่านสุดท้ายมุฮัมมัด และผ่านความคิดสติปัญญา นอกจากนี้ยังมีความรู้ที่ได้มาด้วยวิธีการพิเศษ ที่อัลลอฮ์ ทรงมอบให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ซึ่งเรียกว่า “การดลใจ” ทั้งหมดนี้คือแก่นแท้ของความรู้ในทัศนะอิสลามที่มาจากท่านนะบีมุฮัมมัด
อิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ซึ่งทรงประทานความรู้ที่เที่ยงแท้แก่บ่าวของพระองค์ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่เป็นความจริงมันคือความรู้จากอัลลอฮ์ คือแก่นแท้ของศาสนาอิสลามที่มีอัลกุรอานเป็นรากฐานและซุนนะฮ์เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นความรู้คืออิสลามและอิสลามคือความรู้ และความรู้หรือประสบการณ์ที่ไม่ขัดกับอิสลามนั้นคือคำบัญชาจากอัลลอฮ์ นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือภาพลักษณ์ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน ที่ประมวลจากหลักคำสอนของโองการแรกความว่า “จงอ่าน” ซึ่งเป็นกุญแจเปิดประตูสู่ความรู้ ไม่ว่าจะมีเป้าหมายเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในโลกนี้หรือความผาสุกในวันปรโลก (อะคิเราะฮ์) ก็ตาม มนุษย์จะต้องดำเนินชีวิตภายใต้กรอบคำสั่ง “จงอ่าน” ในโลกนี้ และ “จงอ่าน” ในวันปรโลก(อาคิเราะฮ์) ทั้งนี้เพราะชีวิตในโลกนี้และในวันปรโลก (อะคิเราะฮ์) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมแห่งความรู้เท่านั้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราทั้งหลายจะยึดมั่นอิสลามเป็นวิถีชีวิตด้วยความรู้และความเข้าใจบนพื้นฐานคำบัญชาของอัลลอฮ์ อย่างถูกต้องถาวรและยั่งยืน
หนังสือวิถีชีวิตอิสลาม
الكاتب : مرسلان محمد
โดย อ.มัสลัน มาหะมะ
.