20 ธ.ค. 2555 เวลา 12:31:47 น.
จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นอกจากภาวะเหวี่ยงรายเดือน หงุดหงิด อารมณ์เสีย ที่มาเยือนก่อนประจำเดือนจะมา
อีกหนึ่งภาวะที่คุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่ต้องเจอะเจอคือ พอประจำเดือนมาแล้วก็ปวดประจำเดือนอีก
บางคนปวดไม่มากพอทนได้ แค่บางทีตอนโหนรถเมล์ก็ปวดจนบีบราวรถเมล์แน่นเท่านั้นเอง บางคนทานยา ยังพอบรรเทาได้
บางคนปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้ ต้องนอนปวดอยู่ที่บ้าน ซึ่งส่งผลต่อหน้าที่การงาน หรือการเรียนหนังสือ
การปวดประจำเดือน เกิดจากสารเคมีธรรมชาติ ที่เรียกว่า โพรสตาแกลนดิน สร้างจากเยื่อบุมดลูก ซึ่งสารนี้จะทำให้มดลูกบีบตัว ขาดเลือด ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งขึ้นมา ระดับของโพรสตาแกลนดิน จะสูงในวันที่ประจำเดือนเริ่มมาวันแรก พอวันหลัง ๆ ของประจำเดือน เยื่อบุมดลูกที่หลุดลอกออกมาจะบางตัวลง ระดับของเจ้าสารเคมีดังกล่าวก็จะลดลง อาการปวดก็จะลดลงไปด้วย
การปวดระดูแบบปฐมภูมิ สามารถปวดได้ตั้งแต่การมีประจำเดือนครั้งแรก และแนวโน้มอาการปวดจะบรรเทาลงเมื่ออายุมากขึ้น และจะดีขึ้นอีกหลังการคลอดบุตร
สรุปนะคะ การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิเกิดจากสารเคมีธรรมชาติในร่างกาย ไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพ หรือความผิดปกติของมดลูก หรืออวัยวะในอุ้งเชิงกราน
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือการปวดแบบมี "เหตุ" เหตุที่ว่าคือความผิดปกติของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อธิบายคร่าว ๆ ได้ว่า เยื่อบุมดลูกไปเจริญผิดที่
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ต่างจากปฐมภูมิ โดยอายุที่เริ่มปวดจะอายุมากกว่าในกลุ่มแรก และแนวโน้มการปวดมีแต่แย่ลงเรื่อย ๆ อาการปวดมักจะยาวนานกว่าแบบปฐมภูมิ คือแบบปฐมภูมิจะปวดอย่างมากก็สองวันแรก
แต่ชนิดนี้ทุติยภูมิ อาจจะปวดตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่มา แถมปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนประจำเดือนก็หมดแล้ว ก็ยังไม่หายปวด ควรจะพบแพทย์ต่อไปนะคะ
ทีนี้มาถึงการรักษา เริ่มจากตนเองก่อน ได้แก่ ออกกำลังสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนและฝึกการผ่อนคลาย
ส่วนการทานยา อาจจะเริ่มจากยาสามัญประจำบ้านอย่างพาราเซตามอลถ้ายังไม่ดีขึ้น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่จะไปลดสารเคมีโพรสตาแกลนดินที่เป็นสาเหตุการปวด จึงทำให้ภาวะปวดประจำเดือนลดลงได้ เช่น ยา ponstan ควรเริ่มทานยาเมื่อมีอาการปวด 1-2 วัน
ยากลุ่ม NSAIDs นี้ห้ามใช้ในรายที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หอบหืด แพ้แอสไพริน โรคตับ โรคกระเพาะ
ยากลุ่มถัดไปได้แก่ยาคุมกำเนิด ชนิดทาน ฉีดและฝังช่วยลดอาการปวดได้ หากยายังไม่ช่วยอะไร และพบความผิดปกติมากควรรีบปรึกษาแพทย์
คุยกับหมอพิณ วัดระดับ "ปวด" ประจำเดือน (สำหรับท่านสุภาพสตรีนะครับ)
จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นอกจากภาวะเหวี่ยงรายเดือน หงุดหงิด อารมณ์เสีย ที่มาเยือนก่อนประจำเดือนจะมา
อีกหนึ่งภาวะที่คุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่ต้องเจอะเจอคือ พอประจำเดือนมาแล้วก็ปวดประจำเดือนอีก
บางคนปวดไม่มากพอทนได้ แค่บางทีตอนโหนรถเมล์ก็ปวดจนบีบราวรถเมล์แน่นเท่านั้นเอง บางคนทานยา ยังพอบรรเทาได้
บางคนปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้ ต้องนอนปวดอยู่ที่บ้าน ซึ่งส่งผลต่อหน้าที่การงาน หรือการเรียนหนังสือ
การปวดประจำเดือน เกิดจากสารเคมีธรรมชาติ ที่เรียกว่า โพรสตาแกลนดิน สร้างจากเยื่อบุมดลูก ซึ่งสารนี้จะทำให้มดลูกบีบตัว ขาดเลือด ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งขึ้นมา ระดับของโพรสตาแกลนดิน จะสูงในวันที่ประจำเดือนเริ่มมาวันแรก พอวันหลัง ๆ ของประจำเดือน เยื่อบุมดลูกที่หลุดลอกออกมาจะบางตัวลง ระดับของเจ้าสารเคมีดังกล่าวก็จะลดลง อาการปวดก็จะลดลงไปด้วย
การปวดระดูแบบปฐมภูมิ สามารถปวดได้ตั้งแต่การมีประจำเดือนครั้งแรก และแนวโน้มอาการปวดจะบรรเทาลงเมื่ออายุมากขึ้น และจะดีขึ้นอีกหลังการคลอดบุตร
สรุปนะคะ การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิเกิดจากสารเคมีธรรมชาติในร่างกาย ไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพ หรือความผิดปกติของมดลูก หรืออวัยวะในอุ้งเชิงกราน
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือการปวดแบบมี "เหตุ" เหตุที่ว่าคือความผิดปกติของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อธิบายคร่าว ๆ ได้ว่า เยื่อบุมดลูกไปเจริญผิดที่
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ต่างจากปฐมภูมิ โดยอายุที่เริ่มปวดจะอายุมากกว่าในกลุ่มแรก และแนวโน้มการปวดมีแต่แย่ลงเรื่อย ๆ อาการปวดมักจะยาวนานกว่าแบบปฐมภูมิ คือแบบปฐมภูมิจะปวดอย่างมากก็สองวันแรก
แต่ชนิดนี้ทุติยภูมิ อาจจะปวดตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่มา แถมปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนประจำเดือนก็หมดแล้ว ก็ยังไม่หายปวด ควรจะพบแพทย์ต่อไปนะคะ
ทีนี้มาถึงการรักษา เริ่มจากตนเองก่อน ได้แก่ ออกกำลังสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนและฝึกการผ่อนคลาย
ส่วนการทานยา อาจจะเริ่มจากยาสามัญประจำบ้านอย่างพาราเซตามอลถ้ายังไม่ดีขึ้น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่จะไปลดสารเคมีโพรสตาแกลนดินที่เป็นสาเหตุการปวด จึงทำให้ภาวะปวดประจำเดือนลดลงได้ เช่น ยา ponstan ควรเริ่มทานยาเมื่อมีอาการปวด 1-2 วัน
ยากลุ่ม NSAIDs นี้ห้ามใช้ในรายที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หอบหืด แพ้แอสไพริน โรคตับ โรคกระเพาะ
ยากลุ่มถัดไปได้แก่ยาคุมกำเนิด ชนิดทาน ฉีดและฝังช่วยลดอาการปวดได้ หากยายังไม่ช่วยอะไร และพบความผิดปกติมากควรรีบปรึกษาแพทย์