(คำเตือน - ศึกกัวดาคาแนลกินเวลา 6 เดือน รายละเอียดเยอะมาก ใช้เวลาในการอ่านพอสมควร โปรดอ่านทีละนิด และอาจจะมีรายละเอียดตกหล่นไปเยอะ ขออภัยในที่นี้ด้วย)

ที่มา
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40264474
หลังจากความปราชัยของกองทัพเรือที่มิดเวย์ กองเรือที่เรืออยู่ไม่เพียงพอที่จะปกป้องหมู่เกาะทั้งหลายที่จักรวรรดิญี่ปุ่นยึดได้ในช่วง 6 เดือนแรกหลังบุกเพริลฮาเบอร์ แต่กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งไม่เคยกินเส้นกับกองทัพเรือไม่แคร์ และเร่งเสริมการป้องกันและสร้างสนามบินตามเกาะที่ยึดได้ หนึ่งในนั้นคือเกาะกัวดาคานาลในหมู่เกาะโซโลมอน กองทัพเรืออเมริกาภายใต้การนำของนายพลเรือเอกเชสเตอร์ นิมิตส์ตัดสินใจบุกยึดสนามบินนี้เนื่องจากอยู่ในเส้นทางลำเลียงจากอเมริกาไปออสเตรเลีย พันธมิตรหนึ่งเดียวของอเมริกาที่ยังเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและยังมีกองทัพบกของอเมริกา ภายใต้การนำของนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ที่ถูกปธน.รูสเวลส์สั่งให้หนีจากฟิลิปปินส์เมื่อตอนต้นของสงคราม
ส่วนใหญ่การศึกเด่นๆและละเลงเลือดกันเละเทะจะเกิดบนเกาะมากกว่า แต่เนื่องจากกองทัพเรือของชาว Kancolle เราไม่ถูกกับกองทัพบก (นายพลอิโสโรคุ ยามาโมะโตะ ไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นทำสงครามกับอเมริกา แถมยังเคยโดนกองทัพบกส่งคนมา"คุม"บ้านด้วย) เราจะไม่สนใจว่าเกิดอะไรขึ้นบนเกาะ เราจะพูดกันเฉพาะที่เกิดในทะเลเท่านั้น
(อยากจะบอกว่าแม้แต่กองทัพบกกับกองทัพเรืออเมริกาก็ไม่ชอบหน้ากัน เพราะกองทัพเรือเห็นว่านายพลแม็คอาเธอร์ชอบโชว์ เอาหน้าเอาตาเกิน และแผนการฉบับกองทัพบกของเฮียแกไม่ค่อยเห็นหัวกองทัพเรือสักเท่าไหร่)
-ยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 1-
หลังจากกองทัพนาวิกโยธินอเมริกันบุกขึ้นหาดที่กัวดาคาแนล กองทัพเรือของเฮาชาว Kancolle นำโดยนายพลเรือจุนนิชิ มิคาวะ ประจำเรือธงโชวไค นำกองเรือประกอบด้วยอาโอบะ ฟุรุทากะ คาโกะ คินุงาสะ เทนริว ยูบาริและยูนางิ (8 ลำ) บุกโจมตีกองเรือลาดตะเวนของสัมพันธมิตรตะวันออกและตะวันตกรวมกัน 17 ลำที่แล่นอยู่บริเวณเกาะซาโวซึ่งอยู่ทางเหนือจากกัวดาคาแนลไม่ไกล สามารถจมเรือสัมพันธมิตรได้ 3 ลำ เยินหนักจนถึงจมทิ้งอีก 1 ขณะที่ฝ่ายตัวเองโดนโจมตีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (นาวิกโยธินอเมริกันสามารถนั่งเห็นการรบกันได้จากชายหาด แต่เห็นตอนกลางคืน เลยไม่รู้ว่าเรือที่จมนั่น คือเรือขนเสบียงของพวกตนทั้งน้าน) แต่หลังจากขยี้กองเรืออเมริกันจนหนีตะเลิดไปหมด มิคาวะกลับสั่งให้ถอยเพราะกลัวว่าจะเป็นกับดัก กองทัพเรือญี่ปุ่นเลยพลาดโอกาสทองที่จะทำลายล้างกองเรืออเมริกันไป
นาวิกโยธินอเมริกันที่โดนปล่อยเกาะเลยบุกต่อ ขับไล่ทหารญี่ปุ่นที่ยังสร้างสนามบินไม่เสร็จ ยึดสนามบินแล้วสร้างต่อเอง ตั้งชื่อให้เองว่าสนามบินเฮนเดอร์สัน (ลอฟตั่น เฮนเดอร์สันเป็นนักบินที่เสียชีวิตในยุทธนาวีมิดเวย์) และตั้งหลักรอกองทัพบกญี่ปุ่นที่เตรียมยึดสนามบินคืน โดยใช้เสบียงที่ยึดได้จากญี่ปุ่นกินยาไส้ไปก่อน
-ยุทธนาวีหมู่เกาะโซโลมอนตะวันออก-
หลังจากนั้น กองทัพบกถึงพึ่งรู้สึกตัว ส่งกองทัพบกไปยึดสนามบินคืน ด้วยการส่งทหารเข้าสู่ห่ากระสุนของนาวิกโยธินอเมริกันจนตายเรียบ แล้วสั่งให้กองทัพเรือทำหน้าที่คุ้มกันเรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงทหาร นำโดยนายพลเรือเอกจุอิชิ นากุโมะที่เพิ่งแพ้ที่มิดเวย์มา เป็นแม่ทัพ มีโชวคาคุ ซุยคาคุ และริวโจว เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน และเรือคุ้มกันจำนวนมาก (เยอะมาก ฮิเอะ คิริชิม่า อาทาโงะ ทาคาโอะ มายะ เมียวโค ฮางุโระ ฯลฯ รวมแล้วมีเรือประจำบาน 2 ลำ เรือลาดตะเวน 16 ลำและเรือพิฆาตเด็กๆอีก 25 ลำด้วย)
เริ่มวันแรกด้วยเครื่องบินของอเมริกันที่มีทั้งจากเรือบรรทุกเครื่องบินและสนามบินเฮนเดอร์สันใหม่เอี่ยมอ่อง จมริวโจวก่อนเลยลำแรก ญี่ปุ่นโจมตี Enterprise คืนจนเสียหายหนัก ต้องส่งกลับไปซ่อมที่เพริลฮาเบอร์ และถล่มสนามบินบนเกาะ แต่เสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จบวันแรกด้วยเครื่องบินจำนวนมากของญี่ปุ่นละลายหายไปกับศึกนี้หมดสิ้น
วันที่สอง ถล่มสนามบินต่อ และลำเลียงทหาร(ของกองทัพบก)ขึ้นเกาะ เครื่องบินอเมริกันปูพรมกองเรือลำเลียงทหาร จมเรือมัทซิกิที่อยู่แถวนั้นและอัดจินซึจนลูกเรือตายระนาวและกัปตันเรือบาดเจ็บไม่ได้สติไปอีก 1
-โตเกียวเอ็กซ์เพรส-
ไม่ใช่ศึกใหญ่อะไรนัก แต่กองเรือพิฆาตตัวน้อยๆตอนนี้มีหน้าที่เพียงคุ้มกันเรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงทหารขึ้นเกาะกัวดาคาแนลเท่านั้น (น้องอาคัทซิกิสุดที่รักของทุกคนก็อยู่ในกองเรือนี้ด้วย) อเมริกันเรียกกองเรือนี้ว่า Tokyo Express แต่ญี่ปุ่นเรียกว่ากองเรือขนส่งหนู Rat Transport ท่าทางจะอนาจกว่าที่อเมริกันคิด เพราะขนได้แต่ทหารเท่านั้น ปืนใหญ่ รถถัง อาวุธหนักขนมาไม่ได้เลย แถมโดยโจมตีจากสนามบินบนเกาะอย่างต่อเนื่องจนต้องลำเลียงพลตอนกลางคืนเท่านั้น (อ่านวีรกรรมของยูดาจิในโตเกียวเอ็กซ์เพรสได้ในกระทู้ของ Asceli ที่นี้
http://ppantip.com/topic/31663940)
แต่หลังจากที่โดนกองเรือสัมพันธมิตรและเครื่องบินอเมริกันโจมตีทุกวัน เรือพิฆาตและเรือลำเลียงพลถูกจมไปเรื่อยๆ สุดท้ายกองทัพบกต้องใช้เรือดำนำ(ของกองทัพบก)ลำเลียงยุทธปัจจัยแทน (มารุยุ
ที่คิกคุอาโนเนะ เป็นหนึ่งในนั้น)
-ยุทธนาวีแหลมเอสเปอร์แรนซ์หรือยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 2-
หลังจากที่กองทัพบกบันไซชาร์จที่เนินเลือดจนตายหมดเกลี้ยงทั้งกองร้อย กองทัพเรือเปลี่ยนจากคุ้มกันเป็นปูพรมเกาะแทน (สี่พี่น้องเรือชั้นคองโก หรือ คงโง อ่านยังไงไม่รู้ ได้รับหน้าที่นี้ด้วย)
ศึกนี้ เรืออเมริกันได้เปรียบเรือญี่ปุ่นจากการที่มีเรดาร์ใช้ แต่กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่มี ความจริงอเมริกันมีตั้งนานแล้ว แต่มาเด่นเอาศึกนี้ เพราะกองทัพเรืออเมริกันตรวจพบกองเรือญี่ปุ่นโดยที่อีกฝ่ายไม่ทันตั้งตัว กองเรืออเมริกันเลยตั้งแนวเรือเป็นแนวนอนรอกองเรือญี่ปุ่นและระดมยิงแบบ T-cross ใส่เลย กัปตันโกโตะ แม่ทัพประจำเรือธงอาโอบะเสียชีวิตในศึกนี้ ฟุบุกิโดนระดมยิงจนจม ส่วนฟุรุทากะกับมุราคุโมะโดนตอปิโดจนแน่นิ่งในน้ำ ชิรายุกิต้องจมมุราคุโมะทิ้งกับมือ
ไม่เป็นไร หลังจากนั้น คองโก(คงโง)กับฮารุนะก็่ช่วยกันถล่มสนามบินเฮนเดอร์สันจนซากเครื่องบินกระจัดกระจาย ใช้บินขึ้นบินลงไม่ได้ไปพักหนึ่ง เปิดโอกาสให้กองทัพบกบุกตะลุยใส่สนามบิน
-ยุทธนาวีแกาะซานตาครูซ-
ช่วงนี้ ในมหาสมุทร กองเรือดำนำจักรวรรดิญี่ปุ่นมีหน้าที่สนับสนุนกองเรือบรรทุกเครื่องบิน (ทำไมไม่ไปล่าเรือพาณิชย์แบบเยอรมัน?) สามารถยิงตอปิโดใส่เรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกันเจ็งไปอีก 2 ลำจนเหลือแต่ Hornet กับ Enterprise ที่เพิ่งซ่อมเสร็จ (แต่ตอนนี้ อเมริกันมีเรือบรรทุกเครื่องบินอีกเยอะมาก หลังโดนโจมตีที่เพริลฮาเบอร์ อู่เรืออเมริกันต่อเรือบรรทุกเครื่องเวอร์ชั่นใหม่คลาสเอสเส็กอีก 7 ลำ!)
คองโก(คงโง)และฮารุนะระดมยิงสนามบินเฮนเดอร์สันจนเละ เปิดโอกาสให้ทหารบกบุกโจมตี จากนั้น ไม่รู้สื่อสารกันยังไง กองทัพเรือเข้าใจว่าสนามบินถูกยึดเรียบร้อยแล้ว กองทัพเรือจึงเข้าประชิดเกาะ อเมริกันเลยส่งเครื่องบินไปถล่มเรือลาดตะเวนเบายูระจมไปอีกลำ และอะคิซุกิเสียหายยับเยิน
คราวนี้นายพลเรือยามาโมะโตะวางแผนเอง(บนเรือยามาโตะ แต่อยู่ที่เกาะทรุค) แบ่งกองเรือเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกมีจุนโย เรือประจันบาน 2 ลำ เรือลาดตะเวนหนัก 4 เบา 1 เรือพิฆาต 10 เรือธงคือเรืออาทาโงะ
กลุ่มที่สองมีพี่น้องคาคุกับซุยโฮ เรือลาดตะเวนหนัก 1 เรือพิฆาต 8 โชวคาคุเป็นเรือธง
กลุ่มที่สามไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน มีฮิเอะเป็นเรือธง
กลุ่มแรกทำหน้าที่ล่อกองเรือสัมพันธมิตรออกมา จากนั้นใช้กลุ่มที่สองโจมตี โดยมีกลุ่มที่สามคุ้มกัน ผลคือสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Hornet ได้ ขณะที่กองเรือของญี่ปุ่นไม่จม แต่ก็เสียหายไปพอสมควร
แผนนี้ประสบความสำเร็จดีเยี่ยม...มั้ง เพราะว่ากันตามตรง กองเรือญี่ปุ่นทหารเรือตายเยอะกว่าและเครื่องบินก็ถูกยิงตกเยอะกว่า ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือระบบการฝึกนักบินของญี่ปุ่นเสียเวลามาก ทำให้หานักบินทดแทนได้น้อย และนักบินมากประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายไปเกือบหมดแล้ว แม้แต่ครูฝึกโรงเรียนสอนนักบินที่เอามาโปะชั่วคราวก็ไม่รอด (ขอโทษด้วยนะซุยคาคุ ญี่ปุ่นมีให้เหลือเธอแค่นี้แหละ)
กองทัพบกก็ยังคงส่งทหารไปตายที่กัวดาคาแนลอย่างต่อเนื่อง เรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงพลถูกจมจนต้องกัดฟันขอกองทัพเรือใช้เรือช่วยลำเลียงทหารบก เสบียงและยุทธปัจจัยให้
-ยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 3-
ขณะเดียวกัน กองเรือญี่ปุ่นก็ยังคงใช้เรือประจันบานถล่มสนามบินเฮนเดอร์สันต่อไป โดยสลับกันระหว่างกองเรือชั้นคงโง ส่วนกองทัพอเมริกันที่มักจะเป็นสมันน้อยให้ญี่ปุ่นยิงเล่นในการรบตอนกลางคืน เริ่มตามทันกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและโจมตีกองเรือลำเลียงพลของกองทัพเรือ
เป็นศึกที่อุตลุตมาก ยิงกันมั่วไปหมด เรือจมกันเป็นว่าเล่น
ในรอบแรก ฮิเอะโดนระดมยิงจนพรุนทั้งลำ อาคัทซึกิโดนรุมยิงด้วยจนระเบิดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=36571730
ยูดาจิอาละวาดครั้งสุดท้ายที่นี้ด้วยการยิงตอปิโดใส่เรือลาดตะเวนหนัก Juneau จนต้องคลานกลับฐาน (แต่ไปไม่ถึง เพราะโดนเรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงใส่ซะก่อน) แต่สักพักยูดาจิก็โดนเรือพิฆาตยิงตอปิโดใส่จนนิ่งสนิท ต้องสละเรือ อินาซุมะกับอิคาซุจิก็ช่วยกันยิงเรือ Portland ที่เพิ่งจะจมอาคัทซิกิไปหมาดจนหางเสือพัง
ความจริงโดยรวมแล้ว สารรูปของกองเรืออเมริกันหนักกว่าเยอะมาก เพราะเหลือแค่เรือลาดตะเวนหนัก 1 กับเรือพิฆาต 1 ที่ยังพอจะยิงได้ แต่ญี่ปุ่นยังมีเรือประจันบานคิริชิม่าที่เสียหายเล็กน้อย เรือลาดตะเวนนาการะ และเรือพิฆาตอีกจำนวนหนึ่ง แต่กองเรือญี่ปุ่นตัดสินใจถอนกองเรือออกไป รอบแรกเลยจบแค่นี้ ปิดท้ายด้วย ฮิเอะที่เสียหายหนัก คิริชิม่าต้องช่วยลากกลับ แต่สุดท้ายก็ต้องจมทิ้ง (โดยยูกิคาเซะ)

ที่มา
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=41206733
ก่อนขึ้นรอบสอง ญี่ปุ่นเสียเรือลำเลียงไปอีกจำนวนมาก แต่ไม่ได้รบกันเต็มอัตราศึก มายะโดนเครื่องบินจาก Enterprise ระดมยิงจนต้องกลับไปซ่อมที่ญี่ปุ่น
รอบสอง เป็นคราวเคราะห์ของคิริชิม่าโดยแท้ อเมริกันส่งเรือประจันบาน Washington กับ South Dakota มาสู้กันชนิดยิงระยะประชิด กัปตันเรือประจันบานอเมริกันทั้งสองลำเสียชีวิตในหน้าที่ ส่วนคิริชิม่าเสียหายหนักจนใช้การไม่ได้ ต้องจมทิ้ง อายานามิก็จบในศึกนี้ด้วย นี่เป็น 1 ใน 2 ครั้งที่เรือประจันบานญี่ปุ่นกับอเมริกันจะได้ยิงแลกกันแบบนี้
-ยุทธนาวีทาสสาฟารอนก้า-
ถึงจุดนี้ กองทัพบกบนเกาะเริ่มขาดเสบียงและยุทธปัจจัยเข้าขั้นวิกฤตแล้ว เรือดำน้ำของกองทัพบกไม่สามารถลำเลียงเสบียงได้เพียงพอ และกองลำเลียงพลของกองทัพเรือถูกกองเรือสัมพันธมิตรโจมตีต่อเนื่อง ศึกกัวดาคาแนลใกล้ถึงจุดจบแล้ว
และแล้วคืนหนึ่ง กองเรือสัมพันธมิตรประกอบด้วยเรือลาดตะเวน 5 ลำ เรือพิฆาต 4 ลำ ใช้เรดาร์ตรวจเจอ Tokyo Express ที่มีเรือพิฆาต 8 ลำคุ้มกัน ด้วยอิทธิฤทธิ์ของเรดาร์ เรือพิฆาตทาคานามิโดนระดมยิงจนจม แต่เรือที่เหลือตั้งตัวได้ทันและยิงสวนกลับทั้งปืนบนเรือและตอปิโด จนเรือลาดตระเวน Northampton จมและเรือลาดตะเวนอีก 3 ลำเสียหายยับเยิน
แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีความหมายเพราะสุดท้ายกองเรือญี่ปุ่นไม่สามารถส่งเสบียงหรือทหารให้ได้อีก
ถึงตอนนี้ กองทัพบกตัดสินใจถอนทหารจากเกาะกัวดาคาแนล หลังจากส่งทหารไปตายจนนับไม่ถ้วน กองเรือญี่ปุ่นส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาช่วยคุ้มกันกองลำเลียงทหารออกจากเกาะ แต่สงสัยมามากไปหน่อย อเมริกันเลยคิดว่าเป็นกองทัพใหญ่จะบุกเกาะอีกรอบ เลยส่งกองเรือมาสู้ USS Chicago ที่สะบักสะบอมจากยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งแรก เจอจุดจบที่นี่
หลังจากนั้น กองทัพบกสหรัฐก็จัดการกวาดล้างทหารญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ หลังจากปล่อยให้นาวิกโยธินตะลุยกับบันไซชาร์จ การระดมยิงตอนกลางคืนอยู่นาน จบศึกกัวดาคาแนลลงเช่นนี้
Kantai Collection - Iron Bottom Sound : สุสานกองเรือสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=40264474
หลังจากความปราชัยของกองทัพเรือที่มิดเวย์ กองเรือที่เรืออยู่ไม่เพียงพอที่จะปกป้องหมู่เกาะทั้งหลายที่จักรวรรดิญี่ปุ่นยึดได้ในช่วง 6 เดือนแรกหลังบุกเพริลฮาเบอร์ แต่กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งไม่เคยกินเส้นกับกองทัพเรือไม่แคร์ และเร่งเสริมการป้องกันและสร้างสนามบินตามเกาะที่ยึดได้ หนึ่งในนั้นคือเกาะกัวดาคานาลในหมู่เกาะโซโลมอน กองทัพเรืออเมริกาภายใต้การนำของนายพลเรือเอกเชสเตอร์ นิมิตส์ตัดสินใจบุกยึดสนามบินนี้เนื่องจากอยู่ในเส้นทางลำเลียงจากอเมริกาไปออสเตรเลีย พันธมิตรหนึ่งเดียวของอเมริกาที่ยังเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและยังมีกองทัพบกของอเมริกา ภายใต้การนำของนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ที่ถูกปธน.รูสเวลส์สั่งให้หนีจากฟิลิปปินส์เมื่อตอนต้นของสงคราม
ส่วนใหญ่การศึกเด่นๆและละเลงเลือดกันเละเทะจะเกิดบนเกาะมากกว่า แต่เนื่องจากกองทัพเรือของชาว Kancolle เราไม่ถูกกับกองทัพบก (นายพลอิโสโรคุ ยามาโมะโตะ ไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นทำสงครามกับอเมริกา แถมยังเคยโดนกองทัพบกส่งคนมา"คุม"บ้านด้วย) เราจะไม่สนใจว่าเกิดอะไรขึ้นบนเกาะ เราจะพูดกันเฉพาะที่เกิดในทะเลเท่านั้น
(อยากจะบอกว่าแม้แต่กองทัพบกกับกองทัพเรืออเมริกาก็ไม่ชอบหน้ากัน เพราะกองทัพเรือเห็นว่านายพลแม็คอาเธอร์ชอบโชว์ เอาหน้าเอาตาเกิน และแผนการฉบับกองทัพบกของเฮียแกไม่ค่อยเห็นหัวกองทัพเรือสักเท่าไหร่)
-ยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 1-
หลังจากกองทัพนาวิกโยธินอเมริกันบุกขึ้นหาดที่กัวดาคาแนล กองทัพเรือของเฮาชาว Kancolle นำโดยนายพลเรือจุนนิชิ มิคาวะ ประจำเรือธงโชวไค นำกองเรือประกอบด้วยอาโอบะ ฟุรุทากะ คาโกะ คินุงาสะ เทนริว ยูบาริและยูนางิ (8 ลำ) บุกโจมตีกองเรือลาดตะเวนของสัมพันธมิตรตะวันออกและตะวันตกรวมกัน 17 ลำที่แล่นอยู่บริเวณเกาะซาโวซึ่งอยู่ทางเหนือจากกัวดาคาแนลไม่ไกล สามารถจมเรือสัมพันธมิตรได้ 3 ลำ เยินหนักจนถึงจมทิ้งอีก 1 ขณะที่ฝ่ายตัวเองโดนโจมตีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (นาวิกโยธินอเมริกันสามารถนั่งเห็นการรบกันได้จากชายหาด แต่เห็นตอนกลางคืน เลยไม่รู้ว่าเรือที่จมนั่น คือเรือขนเสบียงของพวกตนทั้งน้าน) แต่หลังจากขยี้กองเรืออเมริกันจนหนีตะเลิดไปหมด มิคาวะกลับสั่งให้ถอยเพราะกลัวว่าจะเป็นกับดัก กองทัพเรือญี่ปุ่นเลยพลาดโอกาสทองที่จะทำลายล้างกองเรืออเมริกันไป
นาวิกโยธินอเมริกันที่โดนปล่อยเกาะเลยบุกต่อ ขับไล่ทหารญี่ปุ่นที่ยังสร้างสนามบินไม่เสร็จ ยึดสนามบินแล้วสร้างต่อเอง ตั้งชื่อให้เองว่าสนามบินเฮนเดอร์สัน (ลอฟตั่น เฮนเดอร์สันเป็นนักบินที่เสียชีวิตในยุทธนาวีมิดเวย์) และตั้งหลักรอกองทัพบกญี่ปุ่นที่เตรียมยึดสนามบินคืน โดยใช้เสบียงที่ยึดได้จากญี่ปุ่นกินยาไส้ไปก่อน
-ยุทธนาวีหมู่เกาะโซโลมอนตะวันออก-
หลังจากนั้น กองทัพบกถึงพึ่งรู้สึกตัว ส่งกองทัพบกไปยึดสนามบินคืน ด้วยการส่งทหารเข้าสู่ห่ากระสุนของนาวิกโยธินอเมริกันจนตายเรียบ แล้วสั่งให้กองทัพเรือทำหน้าที่คุ้มกันเรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงทหาร นำโดยนายพลเรือเอกจุอิชิ นากุโมะที่เพิ่งแพ้ที่มิดเวย์มา เป็นแม่ทัพ มีโชวคาคุ ซุยคาคุ และริวโจว เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน และเรือคุ้มกันจำนวนมาก (เยอะมาก ฮิเอะ คิริชิม่า อาทาโงะ ทาคาโอะ มายะ เมียวโค ฮางุโระ ฯลฯ รวมแล้วมีเรือประจำบาน 2 ลำ เรือลาดตะเวน 16 ลำและเรือพิฆาตเด็กๆอีก 25 ลำด้วย)
เริ่มวันแรกด้วยเครื่องบินของอเมริกันที่มีทั้งจากเรือบรรทุกเครื่องบินและสนามบินเฮนเดอร์สันใหม่เอี่ยมอ่อง จมริวโจวก่อนเลยลำแรก ญี่ปุ่นโจมตี Enterprise คืนจนเสียหายหนัก ต้องส่งกลับไปซ่อมที่เพริลฮาเบอร์ และถล่มสนามบินบนเกาะ แต่เสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จบวันแรกด้วยเครื่องบินจำนวนมากของญี่ปุ่นละลายหายไปกับศึกนี้หมดสิ้น
วันที่สอง ถล่มสนามบินต่อ และลำเลียงทหาร(ของกองทัพบก)ขึ้นเกาะ เครื่องบินอเมริกันปูพรมกองเรือลำเลียงทหาร จมเรือมัทซิกิที่อยู่แถวนั้นและอัดจินซึจนลูกเรือตายระนาวและกัปตันเรือบาดเจ็บไม่ได้สติไปอีก 1
-โตเกียวเอ็กซ์เพรส-
ไม่ใช่ศึกใหญ่อะไรนัก แต่กองเรือพิฆาตตัวน้อยๆตอนนี้มีหน้าที่เพียงคุ้มกันเรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงทหารขึ้นเกาะกัวดาคาแนลเท่านั้น (น้องอาคัทซิกิสุดที่รักของทุกคนก็อยู่ในกองเรือนี้ด้วย) อเมริกันเรียกกองเรือนี้ว่า Tokyo Express แต่ญี่ปุ่นเรียกว่ากองเรือขนส่งหนู Rat Transport ท่าทางจะอนาจกว่าที่อเมริกันคิด เพราะขนได้แต่ทหารเท่านั้น ปืนใหญ่ รถถัง อาวุธหนักขนมาไม่ได้เลย แถมโดยโจมตีจากสนามบินบนเกาะอย่างต่อเนื่องจนต้องลำเลียงพลตอนกลางคืนเท่านั้น (อ่านวีรกรรมของยูดาจิในโตเกียวเอ็กซ์เพรสได้ในกระทู้ของ Asceli ที่นี้ http://ppantip.com/topic/31663940)
แต่หลังจากที่โดนกองเรือสัมพันธมิตรและเครื่องบินอเมริกันโจมตีทุกวัน เรือพิฆาตและเรือลำเลียงพลถูกจมไปเรื่อยๆ สุดท้ายกองทัพบกต้องใช้เรือดำนำ(ของกองทัพบก)ลำเลียงยุทธปัจจัยแทน (มารุยุ ที่คิกคุอาโนเนะ เป็นหนึ่งในนั้น)
-ยุทธนาวีแหลมเอสเปอร์แรนซ์หรือยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 2-
หลังจากที่กองทัพบกบันไซชาร์จที่เนินเลือดจนตายหมดเกลี้ยงทั้งกองร้อย กองทัพเรือเปลี่ยนจากคุ้มกันเป็นปูพรมเกาะแทน (สี่พี่น้องเรือชั้นคองโก หรือ คงโง อ่านยังไงไม่รู้ ได้รับหน้าที่นี้ด้วย)
ศึกนี้ เรืออเมริกันได้เปรียบเรือญี่ปุ่นจากการที่มีเรดาร์ใช้ แต่กองทัพเรือญี่ปุ่นไม่มี ความจริงอเมริกันมีตั้งนานแล้ว แต่มาเด่นเอาศึกนี้ เพราะกองทัพเรืออเมริกันตรวจพบกองเรือญี่ปุ่นโดยที่อีกฝ่ายไม่ทันตั้งตัว กองเรืออเมริกันเลยตั้งแนวเรือเป็นแนวนอนรอกองเรือญี่ปุ่นและระดมยิงแบบ T-cross ใส่เลย กัปตันโกโตะ แม่ทัพประจำเรือธงอาโอบะเสียชีวิตในศึกนี้ ฟุบุกิโดนระดมยิงจนจม ส่วนฟุรุทากะกับมุราคุโมะโดนตอปิโดจนแน่นิ่งในน้ำ ชิรายุกิต้องจมมุราคุโมะทิ้งกับมือ
ไม่เป็นไร หลังจากนั้น คองโก(คงโง)กับฮารุนะก็่ช่วยกันถล่มสนามบินเฮนเดอร์สันจนซากเครื่องบินกระจัดกระจาย ใช้บินขึ้นบินลงไม่ได้ไปพักหนึ่ง เปิดโอกาสให้กองทัพบกบุกตะลุยใส่สนามบิน
-ยุทธนาวีแกาะซานตาครูซ-
ช่วงนี้ ในมหาสมุทร กองเรือดำนำจักรวรรดิญี่ปุ่นมีหน้าที่สนับสนุนกองเรือบรรทุกเครื่องบิน (ทำไมไม่ไปล่าเรือพาณิชย์แบบเยอรมัน?) สามารถยิงตอปิโดใส่เรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกันเจ็งไปอีก 2 ลำจนเหลือแต่ Hornet กับ Enterprise ที่เพิ่งซ่อมเสร็จ (แต่ตอนนี้ อเมริกันมีเรือบรรทุกเครื่องบินอีกเยอะมาก หลังโดนโจมตีที่เพริลฮาเบอร์ อู่เรืออเมริกันต่อเรือบรรทุกเครื่องเวอร์ชั่นใหม่คลาสเอสเส็กอีก 7 ลำ!)
คองโก(คงโง)และฮารุนะระดมยิงสนามบินเฮนเดอร์สันจนเละ เปิดโอกาสให้ทหารบกบุกโจมตี จากนั้น ไม่รู้สื่อสารกันยังไง กองทัพเรือเข้าใจว่าสนามบินถูกยึดเรียบร้อยแล้ว กองทัพเรือจึงเข้าประชิดเกาะ อเมริกันเลยส่งเครื่องบินไปถล่มเรือลาดตะเวนเบายูระจมไปอีกลำ และอะคิซุกิเสียหายยับเยิน
คราวนี้นายพลเรือยามาโมะโตะวางแผนเอง(บนเรือยามาโตะ แต่อยู่ที่เกาะทรุค) แบ่งกองเรือเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกมีจุนโย เรือประจันบาน 2 ลำ เรือลาดตะเวนหนัก 4 เบา 1 เรือพิฆาต 10 เรือธงคือเรืออาทาโงะ
กลุ่มที่สองมีพี่น้องคาคุกับซุยโฮ เรือลาดตะเวนหนัก 1 เรือพิฆาต 8 โชวคาคุเป็นเรือธง
กลุ่มที่สามไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน มีฮิเอะเป็นเรือธง
กลุ่มแรกทำหน้าที่ล่อกองเรือสัมพันธมิตรออกมา จากนั้นใช้กลุ่มที่สองโจมตี โดยมีกลุ่มที่สามคุ้มกัน ผลคือสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Hornet ได้ ขณะที่กองเรือของญี่ปุ่นไม่จม แต่ก็เสียหายไปพอสมควร
แผนนี้ประสบความสำเร็จดีเยี่ยม...มั้ง เพราะว่ากันตามตรง กองเรือญี่ปุ่นทหารเรือตายเยอะกว่าและเครื่องบินก็ถูกยิงตกเยอะกว่า ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือระบบการฝึกนักบินของญี่ปุ่นเสียเวลามาก ทำให้หานักบินทดแทนได้น้อย และนักบินมากประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายไปเกือบหมดแล้ว แม้แต่ครูฝึกโรงเรียนสอนนักบินที่เอามาโปะชั่วคราวก็ไม่รอด (ขอโทษด้วยนะซุยคาคุ ญี่ปุ่นมีให้เหลือเธอแค่นี้แหละ)
กองทัพบกก็ยังคงส่งทหารไปตายที่กัวดาคาแนลอย่างต่อเนื่อง เรือ(ของกองทัพบก)ลำเลียงพลถูกจมจนต้องกัดฟันขอกองทัพเรือใช้เรือช่วยลำเลียงทหารบก เสบียงและยุทธปัจจัยให้
-ยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งที่ 3-
ขณะเดียวกัน กองเรือญี่ปุ่นก็ยังคงใช้เรือประจันบานถล่มสนามบินเฮนเดอร์สันต่อไป โดยสลับกันระหว่างกองเรือชั้นคงโง ส่วนกองทัพอเมริกันที่มักจะเป็นสมันน้อยให้ญี่ปุ่นยิงเล่นในการรบตอนกลางคืน เริ่มตามทันกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและโจมตีกองเรือลำเลียงพลของกองทัพเรือ
เป็นศึกที่อุตลุตมาก ยิงกันมั่วไปหมด เรือจมกันเป็นว่าเล่น
ในรอบแรก ฮิเอะโดนระดมยิงจนพรุนทั้งลำ อาคัทซึกิโดนรุมยิงด้วยจนระเบิดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=36571730
ยูดาจิอาละวาดครั้งสุดท้ายที่นี้ด้วยการยิงตอปิโดใส่เรือลาดตะเวนหนัก Juneau จนต้องคลานกลับฐาน (แต่ไปไม่ถึง เพราะโดนเรือดำน้ำญี่ปุ่นยิงใส่ซะก่อน) แต่สักพักยูดาจิก็โดนเรือพิฆาตยิงตอปิโดใส่จนนิ่งสนิท ต้องสละเรือ อินาซุมะกับอิคาซุจิก็ช่วยกันยิงเรือ Portland ที่เพิ่งจะจมอาคัทซิกิไปหมาดจนหางเสือพัง
ความจริงโดยรวมแล้ว สารรูปของกองเรืออเมริกันหนักกว่าเยอะมาก เพราะเหลือแค่เรือลาดตะเวนหนัก 1 กับเรือพิฆาต 1 ที่ยังพอจะยิงได้ แต่ญี่ปุ่นยังมีเรือประจันบานคิริชิม่าที่เสียหายเล็กน้อย เรือลาดตะเวนนาการะ และเรือพิฆาตอีกจำนวนหนึ่ง แต่กองเรือญี่ปุ่นตัดสินใจถอนกองเรือออกไป รอบแรกเลยจบแค่นี้ ปิดท้ายด้วย ฮิเอะที่เสียหายหนัก คิริชิม่าต้องช่วยลากกลับ แต่สุดท้ายก็ต้องจมทิ้ง (โดยยูกิคาเซะ)
ที่มา http://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=41206733
ก่อนขึ้นรอบสอง ญี่ปุ่นเสียเรือลำเลียงไปอีกจำนวนมาก แต่ไม่ได้รบกันเต็มอัตราศึก มายะโดนเครื่องบินจาก Enterprise ระดมยิงจนต้องกลับไปซ่อมที่ญี่ปุ่น
รอบสอง เป็นคราวเคราะห์ของคิริชิม่าโดยแท้ อเมริกันส่งเรือประจันบาน Washington กับ South Dakota มาสู้กันชนิดยิงระยะประชิด กัปตันเรือประจันบานอเมริกันทั้งสองลำเสียชีวิตในหน้าที่ ส่วนคิริชิม่าเสียหายหนักจนใช้การไม่ได้ ต้องจมทิ้ง อายานามิก็จบในศึกนี้ด้วย นี่เป็น 1 ใน 2 ครั้งที่เรือประจันบานญี่ปุ่นกับอเมริกันจะได้ยิงแลกกันแบบนี้
-ยุทธนาวีทาสสาฟารอนก้า-
ถึงจุดนี้ กองทัพบกบนเกาะเริ่มขาดเสบียงและยุทธปัจจัยเข้าขั้นวิกฤตแล้ว เรือดำน้ำของกองทัพบกไม่สามารถลำเลียงเสบียงได้เพียงพอ และกองลำเลียงพลของกองทัพเรือถูกกองเรือสัมพันธมิตรโจมตีต่อเนื่อง ศึกกัวดาคาแนลใกล้ถึงจุดจบแล้ว
และแล้วคืนหนึ่ง กองเรือสัมพันธมิตรประกอบด้วยเรือลาดตะเวน 5 ลำ เรือพิฆาต 4 ลำ ใช้เรดาร์ตรวจเจอ Tokyo Express ที่มีเรือพิฆาต 8 ลำคุ้มกัน ด้วยอิทธิฤทธิ์ของเรดาร์ เรือพิฆาตทาคานามิโดนระดมยิงจนจม แต่เรือที่เหลือตั้งตัวได้ทันและยิงสวนกลับทั้งปืนบนเรือและตอปิโด จนเรือลาดตระเวน Northampton จมและเรือลาดตะเวนอีก 3 ลำเสียหายยับเยิน
แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีความหมายเพราะสุดท้ายกองเรือญี่ปุ่นไม่สามารถส่งเสบียงหรือทหารให้ได้อีก
ถึงตอนนี้ กองทัพบกตัดสินใจถอนทหารจากเกาะกัวดาคาแนล หลังจากส่งทหารไปตายจนนับไม่ถ้วน กองเรือญี่ปุ่นส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาช่วยคุ้มกันกองลำเลียงทหารออกจากเกาะ แต่สงสัยมามากไปหน่อย อเมริกันเลยคิดว่าเป็นกองทัพใหญ่จะบุกเกาะอีกรอบ เลยส่งกองเรือมาสู้ USS Chicago ที่สะบักสะบอมจากยุทธนาวีเกาะซาโวครั้งแรก เจอจุดจบที่นี่
หลังจากนั้น กองทัพบกสหรัฐก็จัดการกวาดล้างทหารญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ หลังจากปล่อยให้นาวิกโยธินตะลุยกับบันไซชาร์จ การระดมยิงตอนกลางคืนอยู่นาน จบศึกกัวดาคาแนลลงเช่นนี้