ชื่อโครงการวิจัย :
“อภิวัฒน์การศึกษา 2538: บทเรียนเชิงระบบว่าด้วยทุนมนุษย์ รายได้ และสันติวิธีในการพัฒนาประเทศไทย”
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ช่วงปี พ.ศ. 2538 ประเทศไทยดำเนินนโยบายการศึกษาที่ปฏิวัติโครงสร้างระบบการเรียนรู้ โดยส่งเสริม “อาวุธทางปัญญา” ผ่านโครงการระดับชาติ เช่น การตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมอบที่ดินดอยแง่ม 4997ไร่ และ งบประมาณ สถาบันราชภัฏ 5 แห่งในภาคอีสาน กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และ นครพนม เมื่อ 20 เมษายน 2540 โรงเรียนขยายโอกาส 2685 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 3470 แห่ง ห้องสมุดประชาชนโรงเรียนมัธยม 2542 แห่ง โรงเรียนสมเด็จพระศรี ฯ 12 แห่ง กาญจนาภิเษกอ1 แห่งจุฬาภรณ์ 2แห่ง มหิดลวิหยานุสรณ์ ห้องสุมดอัจฉริยะ โรงเรียนมัธยม 2542 แห่ง ศูนย์วิทยาศาสตราชนสถาบันราชภัฎ 17 แห่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้ง ห้องสมุดประชาชน และ ศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศ ส่งผลให้แม้ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง รายได้ครัวเรือนโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ
อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้กลับไม่ได้รับการศึกษา วิเคราะห์ หรือสืบสานในเชิงลึก แม้จะมีหลักฐานชี้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศในด้านการลดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายการศึกษาในปี 2538 ต่อรายได้ครัวเรือนและความยากจนในแต่ละภูมิภาค
เปรียบเทียบผลกระทบเชิงโครงสร้างระหว่างนโยบายการศึกษา 2538 กับนโยบายประชานิยมหลังปี 2544
เสนอรูปแบบนโยบายการศึกษาในอนาคต ที่ใช้การเรียนรู้เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3. ขอบเขตการศึกษา
ช่วงเวลาที่ศึกษา: พ.ศ. 2533–2543 (ก่อน–หลังนโยบายการศึกษา 2538)
ประชากรเป้าหมาย: กลุ่มครัวเรือนในทุกภูมิภาค / กลุ่มแรงงานที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูล: ข้อมูลรายได้ครัวเรือนจากสำนักงานสถิติ, ข้อมูลอัตราความยากจนจากธนาคารโลก, ข้อมูลโครงการจาก สกศ., กระทรวงศึกษาธิการ
4. วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 เชิงปริมาณ
วิเคราะห์แนวโน้มรายได้ครัวเรือนและรายได้จำแนกตามอาชีพ
สร้างแผนภูมิ, คำนวณเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของรายได้ในแต่ละภูมิภาค
เปรียบเทียบช่วงก่อน–หลังปี 2538
4.2 เชิงคุณภาพ
วิเคราะห์เนื้อหานโยบายและเอกสารจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง
สัมภาษณ์อดีตผู้มีบทบาททางการศึกษา / ครูในพื้นที่ที่มีการตั้งโรงเรียนขยายโอกาส
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
อธิบายด้วยหลักฐานเชิงวิชาการว่านโยบายการศึกษา 2538 มีผลต่อรายได้และการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างไร
เสนอ “โมเดลสันติวิธีในการพัฒนาประเทศ” ผ่านการศึกษา โดยไม่พึ่งประชานิยม
ผู้นำทางการศึกษาอย่าง “คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล “ เป็นต้นแบบเชิงนโยบาย
6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (เบื้องต้น)
สร้าง “ดัชนีอภิวัฒน์ทุนมนุษย์” (Human Capital Revolution Index) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของนโยบายศึกษา
ผลักดันการคืนชีพ “ห้องสมุดประชาชน + ศูนย์การเรียนรู้หมู่บ้าน” ทั่วประเทศ
ปรับนโยบายการคลังจากการแจกเงินเป็นการลงทุนในสถาบันการศึกษาท้องถิ่น
ข้อมูลจาก UNESCO ประเทศออสเตรีย ปี 1995 / 2538 ก่อน การอภิวัฒน์การศึกษา2538 ระดับการศึกษาของแรงงานไทย:
79.1 % ต่ำกว่าประถม 8.0% มัธยมต้น มัธยมปลาย 3.3% อาชีวะ 3.2% ปริญญาตรี หรือ สูงกว่า 6.4%
TIMELINE
1) 1996 "During his trip to the Philippines, H.E. Mr. Sukavich Rangsitpol was conferred an Honorary Degree of Doctor of Education by the Philippine Normal University. His will to reform education and strong leadership in educational management were highly commended."
2) ปี 2540 UNESCO มอบรับรางวัลการจัดบริการการศึกษาเป็นเลิศ
https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000114483
3) ปี 2541 UNESCO มอบ รางวัลการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารการศึกษา และ บริการการศึกษา
https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000141834
ปี 2542 ประเทศไทยเลื่อน จาก อันดับ 42 เป็น37
บทความ คุณตุลย์ ณ ราชดำเนิน กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ 2542 ด้านการศึกษา รวบอำนาจ รวบงบประมาณการศึกษา
"15 ปี ปฏิรูปการศึกษาไทย
เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com
ผ่านมาวันนี้ย่างเข้าสู่เดือนกันยายน 2556 หากนับเอาเดือน สิงหาคม ปี 2542 เป็นวันที่บรรดานักปฏิรูปการศึกษายุคนั้น ประกาศถึงความสำเร็จและภาคภูมิใจที่สามารถผลักดันให้เกิดกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ก่อเกิดคุณอนันต์แก่ประเทศชาติเป็นล้นพ้น อันส่งผลต่อคุณภาพของคนไทยในอนาคต ผ่านมา 15 ปีพอดี
จากคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกขานกันว่า 9 อรหันต์การศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่หัวนอกและไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงของคนศธ. มั่นใจว่าการปรับโครงสร้างและการ กระจายอำนาจจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาวิชาชีพครู ตามแนวคิดของตนนั้นถูกต้อง
นับแต่นั้นมา ศธ.จากที่เคยมีโครงสร้าง 14 กรม ยุบรวมเหลือ 5 องค์กรหลัก คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ .) และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
กระนั้นก็ดียังมีเรื่องที่โต้แย้งและถกเถียงในความเห็นไม่เพียงเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครู และเขตพื้นที่การศึกษาจะลงตัวที่จำนวนเท่าไร ตามมาด้วยการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ ไชลด์เซ็นเตอร์
จากวลีเด็ดของนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่ทำเอาคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรี ปี 2545 แทบตกพื้นที่ข่าว คือ การวิจารณ์ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนไชลด์เซ็นเตอร์ของคุณครู มีสภาพไม่ต่างไปจาก ควายเซ็นเตอร์ เนื่องจากครูไม่เข้าใจและยังไม่มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องพอที่จะทำให้เข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองได้
ผ่านไป 7 ปีตรงกับ 23 ส.ค. 2549 สมศ.เปิดผลการออกประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก พ.ศ. 2544-2548 จำนวน 30,010แห่ง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำถึง 20,000 แห่ง และอยู่ขั้นโคม่าหรือ ICU กว่า 15,000 แห่ง
เดือนสิงหาคมที่เพิ่งจะผ่านมาครบ 15 ปี อยากให้ลองทบทวนกันว่า นับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เปลี่ยนรมว.ศธ.และรัฐมนตรีช่วยมาแล้วเท่าใด น่าจะเป็นสถิติสูงสุดในโลก
ส่วนใหญ่เมื่อมาแล้วมักพยายามสร้างให้มีผลงานใหม่ๆ มั่นใจตนเองถึงความรู้ ความเก่งและเฉลียวฉลาดเหนือกว่าคนการศึกษาที่ทำงานมายาวนาน
ก็อย่างที่เห็นและเป็นไป 15 ปี ปฏิรูปการศึกษา มีอะไรที่ไปถึงฝั่งอย่างที่คิดกันมั่ง ช่วยบอกที
หน้า 23
ปี 2000 -ปี 2024
ปี 2025
“อภิวัฒน์การศึกษา 2538: บทเรียนเชิงระบบว่าด้วยทุนมนุษย์ รายได้ และสันติวิธีในการพัฒนาประเทศไทย”