เรื่องของน้องสาวเป็นเรื่องลับเฉพาะที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ บางครั้งก็ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว จริงแล้วน้องสาวประกอบไปด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ หลายส่วนด้วยกัน วันนี้เราจึงมาพูดคุยและทำความรู้จักกันถึงเรื่องของ “ช่องคลอด” ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงชีวิตของผู้หญิง ตั้งแต่วัยสาว วัยเจริญพันธุ์ ไปจนถึงวัยทอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากระดับฮอร์โมนเพศหญิงเป็นหลัก โดยเฉพาะเอสโตรเจน มาดูกันว่าช่องคลอดของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละช่วงวัยค่ะ
ช่วงที่ 1 วัยรุ่นและวัยสาว (อายุ 10-20 ปี)
ในช่วงวัยนี้ ช่องคลอดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งส่งผลให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีตกขาวตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของช่องคลอด ทำให้มีค่า pH ในช่องคลอดอยู่ในระดับที่เหมาะสม (เป็นกรดอ่อนๆ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ช่วงที่ 2 วัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-40 ปี)
ในช่วงวัยนี้ ช่องคลอดอยู่ในสภาวะที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในระดับสูง ทำให้ช่องคลอดมีความยืดหยุ่นสูงและสามารถขยายตัวได้ดี มีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติที่ช่วยลดความแห้งกร้าน ค่า pH ในช่องคลอดยังคงเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่องคลอดอาจมีการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เช่น ผนังช่องคลอดอ่อนตัวลง หรือเกิดการฉีกขาดจากการคลอดลูก
ช่วงที่ 3 วัยก่อนหมดประจำเดือน (อายุ 40-50 ปี)
เมื่อเข้าสู่วัย 40 ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด ทำให้ผนังช่องคลอดเริ่มบางลงและสูญเสียความยืดหยุ่น สารหล่อลื่นตามธรรมชาติลดลง ทำให้ช่องคลอดแห้งง่าย อาจรู้สึกระคายเคืองหรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ช่วงที่ 4 วัยทองและหลังวัยหมดประจำเดือน (อายุ 50 ปีขึ้นไป)
เมื่อเข้าสู่วัยทอง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างมาก ทำให้ช่องคลอดเกิดการเปลี่ยนแปลง ผนังช่องคลอดบางลงและขาดความยืดหยุ่น ช่องคลอดแห้งและไวต่อการระคายเคืองมากขึ้น อาจมีอาการคันหรือแสบร้อนบริเวณช่องคลอด มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและช่องคลอดสูงขึ้น ในวัยนี้อาจต้องใช้สารหล่อลื่นสำหรับช่องคลอดเป็นตัวช่วยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
แม้ว่าช่องคลอดจะมีระบบทำความสะอาดตัวเอง แต่การดูแลสุขอนามัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง และสวมใส่ชุดชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี หากมีอาการรุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการรักษาตามความรุนแรงนะคะ เช่น รับฮอร์โมนทดแทนแบบรับประทานหรือแบบทา , ใช้สารเติมเต็มเพิ่มความชุ่มชื่นภายใน , รักษาด้วยเครื่อง Pluma , แพทย์แนะนำวิธีออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือวิธีอื่นๆ ตามสูตินรีแพทย์วินิจฉัยค่ะ
[CR] การเปลี่ยนแปลงของช่องคลอดในวัยต่างๆ จากวัยสาวถึงวัยทอง
ช่วงที่ 1 วัยรุ่นและวัยสาว (อายุ 10-20 ปี)
ในช่วงวัยนี้ ช่องคลอดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งส่งผลให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีตกขาวตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของช่องคลอด ทำให้มีค่า pH ในช่องคลอดอยู่ในระดับที่เหมาะสม (เป็นกรดอ่อนๆ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ช่วงที่ 2 วัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-40 ปี)
ในช่วงวัยนี้ ช่องคลอดอยู่ในสภาวะที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในระดับสูง ทำให้ช่องคลอดมีความยืดหยุ่นสูงและสามารถขยายตัวได้ดี มีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติที่ช่วยลดความแห้งกร้าน ค่า pH ในช่องคลอดยังคงเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่องคลอดอาจมีการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เช่น ผนังช่องคลอดอ่อนตัวลง หรือเกิดการฉีกขาดจากการคลอดลูก
ช่วงที่ 3 วัยก่อนหมดประจำเดือน (อายุ 40-50 ปี)
เมื่อเข้าสู่วัย 40 ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด ทำให้ผนังช่องคลอดเริ่มบางลงและสูญเสียความยืดหยุ่น สารหล่อลื่นตามธรรมชาติลดลง ทำให้ช่องคลอดแห้งง่าย อาจรู้สึกระคายเคืองหรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ช่วงที่ 4 วัยทองและหลังวัยหมดประจำเดือน (อายุ 50 ปีขึ้นไป)
เมื่อเข้าสู่วัยทอง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างมาก ทำให้ช่องคลอดเกิดการเปลี่ยนแปลง ผนังช่องคลอดบางลงและขาดความยืดหยุ่น ช่องคลอดแห้งและไวต่อการระคายเคืองมากขึ้น อาจมีอาการคันหรือแสบร้อนบริเวณช่องคลอด มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและช่องคลอดสูงขึ้น ในวัยนี้อาจต้องใช้สารหล่อลื่นสำหรับช่องคลอดเป็นตัวช่วยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
แม้ว่าช่องคลอดจะมีระบบทำความสะอาดตัวเอง แต่การดูแลสุขอนามัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง และสวมใส่ชุดชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี หากมีอาการรุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการรักษาตามความรุนแรงนะคะ เช่น รับฮอร์โมนทดแทนแบบรับประทานหรือแบบทา , ใช้สารเติมเต็มเพิ่มความชุ่มชื่นภายใน , รักษาด้วยเครื่อง Pluma , แพทย์แนะนำวิธีออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือวิธีอื่นๆ ตามสูตินรีแพทย์วินิจฉัยค่ะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ข้อมูลเพิ่มเติม