อดีตวิศวกรบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เผย ต้องตรวจสอบให้ละเอียดทั้งเรื่องวัสดุที่ใช้ก่อสร้างตึกสตง. เบื้องต้นภาพโครงสร้างเหล็ก ที่ปรากฏตามสื่อ พบใช้ประเภทของเหล็ก ที่มีอักษรตัว T ซึ่งไม่เหมาะสมกับการสร้างตึกสูง
วันที่ 31 มี.ค. 2568 นายวัชระ บัวเพชร วิศวกรจิตอาสา สถาบันราชมงคลวิทยาเขตอุเทนถวาย และ อดีตวิศวกรบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว "พีพีทีวี" อธิบายว่า ตอนนี้แบ่งเกรดของเหล็กเส้นเป็น SD30 /SD40 และ SD50 แบบที่ปรากฏอยู่ในภาพข่าวการสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นั้น พบว่า เป็นเหล็กแบบ SD50T นั้น ซึ่งตัวอักษร T จะเอาไว้บอกลักษณะการผลิต
สำหรับเหล็กที่ไม่มีตัว T คือ เมื่อผ่านกระบวนการผลิตที่ผ่านความร้อนออกมา ก็จะปล่อยให้เหล็กเย็นตามธรรมชาติ ซึ่งธาตุต่างๆภายในเหล็กจะอยู่ครบ และสามารถรับกำลังได้สูง แต่ก็จะมีราคาแพง
ส่วนเหล็กที่มีตัว T จะมีด้วยกันสองแบบคือ เป็นเหล็กซื้อจากต่างประเทศทั้งแท่งก่อนเอามารีด หรืออีกแบบคือ เหล็กรีไซเคิล กระบวนการทำเหล็กชนิดนี้ จะเอาเหล็กมารีดเป็นเส้นร้อน ก่อนนำน้ำมาสเปรย์ให้เย็น เมื่อเหล็กเย็นก็จะแข็ง แต่เหล็กชนิดนี้จะแข็งเฉพาะด้านนอก ด้านในยังคงมีไอความร้อนต่างๆระเหยอยู่ ซึ่งเมื่อความร้อนไม่สามารถระบายออก ก็จะเกิดปฏิกิริยาทำให้มีรูพรุนภายในเหล็ก ลักษณะคล้ายแซนด์วิช คือ “แกร่งเพียงด้านนอก แต่ข้างในนิ่ม”
สำหรับเหล็กชนิดนี้เมื่อไปเทสรับแรงดึง จะผ่านมาตรฐานเหมือน SD50 ที่ไม่มีอักษรตัว T สามารถรับแรงได้ 5,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนต์ แต่ถ้านำไปดัดงอมากๆ ในการก่อสร้างจริง เหล็กพวกนี้จะปริแตกจนไม่สามารถรับกำลังได้ตามที่ออกแบบ จึงมองว่าเหล็กชนิดนี้ ไม่เหมาะที่จะใช้ในอาคารสูง ควรใช้เหล็ก SD50 ที่แข็งเท่ากันทั้งแผ่น เพราะจะสามารถรับแรงได้เต็ม 100 เท่ากันทั้งด้านนอกและด้านใน
นายวัชระ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานที่มีการก่อสร้าง ไม่ให้ใช้เหล็กที่มีอักษรตัวT เพราะไม่ตรงกับสเปคการใช้งาน จนกระทั่ง ช่วงปี 2559 เหล็กขาดตลาดประธานสภาวิศวกรรมในขณะนั้น ได้ออกหนังสือ ให้แต่ละหน่วยงานที่มีการใช้เหล็กก่อสร้าง แจ้งว่า เหล็กที่มีอักษรตัว T สามารถใช้ได้เทียบเท่ากับเหล็กปกติ แต่ในปัจจุบันก็จะเห็นว่า บางหน่วยงานไม่ใช้เหล็ก ที่มีอักษรตัวT เพราะยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย เช่น กรมทางหลวง
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน เหล็ก SD50 ที่ไม่มีอักษรตัว T ผลิตน้อยลง ส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตตามคำสั่งซื้อ ไม่มีการสต๊อกของไว้ เพราะมีราคาสูงกว่าปกติ อย่างราคาต้นทุนของเหล็ก SD50 กับ SD50T มีข้อมูลว่าแตกต่างกันอย่างน้อย 10-20%
ส่วนลักษณะการพังถล่มลงมาของตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่เป็นเหมือนโดมิโน่ดิ่งลงมาเป็นชั้นๆนั้น นายวัชระ อธิบายว่า ปัจจุบันอาคารก่อสร้างจะเป็นเสาที่ไม่มีคาน ลักษณะพื้นจะเป็นการใช้ลวดสลิงดึง ทำให้สามารถรับกำลัง และเคลื่อนไหวได้ แต่ในส่วนของเสาจะออกแบบเป็นเสาแข็งๆ ทำให้เวลาเกิดแผ่นดินไหว พื้นที่เคลื่อนตัวได้ จะไปดึงเสาทำให้เกิดแรงหมุน แล้วยิ่งใส่เหล็กด้านในเสาไม่มากพอ ก็จะเกิดลักษณะเหมือนเสาระเบิด และเมื่อระเบิดแล้วพื้นข้างบนก็จะพังลงมาข้างล่าง พอด้านล่างรับน้ำหนักไม่ไหวก็จะค่อยค่อยพังถล่มลงมาตามที่เห็นในภาพ
นายวัชระ บอกว่า เบื้องต้นไม่สามารถฟันธงว่า เหตุถล่มเกิดจากเหล็กที่ไม่ตรงสเปคจริงหรือไม่ ต้องไปตรวจสอบทั้งคอนกรีต และวัสดุอื่นๆที่ใช้ก่อสร้าง รวมถึงขั้นตอนการก่อสร้างด้วย มองว่าเจ้าหน้าที่ควรรีบเก็บตัวอย่างวัสดุแต่ละตัวที่ใช้ในการก่อสร้างนำไปตรวจสอบว่าได้มาตรฐานจริงหรือไม่ รวมถึงตรวจเอกสารหน้างานของวิศวกรว่า เคยนำวัสดุเหล่านี้ไปเทสก่อนนำไปก่อสร้างจริงหรือไม่ อีกทั้งต้องไปดูรายละเอียดเรื่องราคาการซื้อวัสดุว่ามีราคาต่ำ ลักษณะเหมือนจงใจลดต้นทุนหรือไม่ แล้วทุกอย่างจะสรุปได้ว่าเรื่องนี้มีอะไรหมกเม็ดหรือมีการทุจริตกันจริงหรือไม่
ที่มา : pptv
อดีตวิศวกร อิตาเลียนไทย เผย เหล็ก SD50T เปราะกว่าเหล็กอื่น
อดีตวิศวกรบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เผย ต้องตรวจสอบให้ละเอียดทั้งเรื่องวัสดุที่ใช้ก่อสร้างตึกสตง. เบื้องต้นภาพโครงสร้างเหล็ก ที่ปรากฏตามสื่อ พบใช้ประเภทของเหล็ก ที่มีอักษรตัว T ซึ่งไม่เหมาะสมกับการสร้างตึกสูง
วันที่ 31 มี.ค. 2568 นายวัชระ บัวเพชร วิศวกรจิตอาสา สถาบันราชมงคลวิทยาเขตอุเทนถวาย และ อดีตวิศวกรบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว "พีพีทีวี" อธิบายว่า ตอนนี้แบ่งเกรดของเหล็กเส้นเป็น SD30 /SD40 และ SD50 แบบที่ปรากฏอยู่ในภาพข่าวการสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นั้น พบว่า เป็นเหล็กแบบ SD50T นั้น ซึ่งตัวอักษร T จะเอาไว้บอกลักษณะการผลิต
สำหรับเหล็กที่ไม่มีตัว T คือ เมื่อผ่านกระบวนการผลิตที่ผ่านความร้อนออกมา ก็จะปล่อยให้เหล็กเย็นตามธรรมชาติ ซึ่งธาตุต่างๆภายในเหล็กจะอยู่ครบ และสามารถรับกำลังได้สูง แต่ก็จะมีราคาแพง
ส่วนเหล็กที่มีตัว T จะมีด้วยกันสองแบบคือ เป็นเหล็กซื้อจากต่างประเทศทั้งแท่งก่อนเอามารีด หรืออีกแบบคือ เหล็กรีไซเคิล กระบวนการทำเหล็กชนิดนี้ จะเอาเหล็กมารีดเป็นเส้นร้อน ก่อนนำน้ำมาสเปรย์ให้เย็น เมื่อเหล็กเย็นก็จะแข็ง แต่เหล็กชนิดนี้จะแข็งเฉพาะด้านนอก ด้านในยังคงมีไอความร้อนต่างๆระเหยอยู่ ซึ่งเมื่อความร้อนไม่สามารถระบายออก ก็จะเกิดปฏิกิริยาทำให้มีรูพรุนภายในเหล็ก ลักษณะคล้ายแซนด์วิช คือ “แกร่งเพียงด้านนอก แต่ข้างในนิ่ม”
สำหรับเหล็กชนิดนี้เมื่อไปเทสรับแรงดึง จะผ่านมาตรฐานเหมือน SD50 ที่ไม่มีอักษรตัว T สามารถรับแรงได้ 5,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนต์ แต่ถ้านำไปดัดงอมากๆ ในการก่อสร้างจริง เหล็กพวกนี้จะปริแตกจนไม่สามารถรับกำลังได้ตามที่ออกแบบ จึงมองว่าเหล็กชนิดนี้ ไม่เหมาะที่จะใช้ในอาคารสูง ควรใช้เหล็ก SD50 ที่แข็งเท่ากันทั้งแผ่น เพราะจะสามารถรับแรงได้เต็ม 100 เท่ากันทั้งด้านนอกและด้านใน
นายวัชระ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานที่มีการก่อสร้าง ไม่ให้ใช้เหล็กที่มีอักษรตัวT เพราะไม่ตรงกับสเปคการใช้งาน จนกระทั่ง ช่วงปี 2559 เหล็กขาดตลาดประธานสภาวิศวกรรมในขณะนั้น ได้ออกหนังสือ ให้แต่ละหน่วยงานที่มีการใช้เหล็กก่อสร้าง แจ้งว่า เหล็กที่มีอักษรตัว T สามารถใช้ได้เทียบเท่ากับเหล็กปกติ แต่ในปัจจุบันก็จะเห็นว่า บางหน่วยงานไม่ใช้เหล็ก ที่มีอักษรตัวT เพราะยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย เช่น กรมทางหลวง
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน เหล็ก SD50 ที่ไม่มีอักษรตัว T ผลิตน้อยลง ส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตตามคำสั่งซื้อ ไม่มีการสต๊อกของไว้ เพราะมีราคาสูงกว่าปกติ อย่างราคาต้นทุนของเหล็ก SD50 กับ SD50T มีข้อมูลว่าแตกต่างกันอย่างน้อย 10-20%
ส่วนลักษณะการพังถล่มลงมาของตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่เป็นเหมือนโดมิโน่ดิ่งลงมาเป็นชั้นๆนั้น นายวัชระ อธิบายว่า ปัจจุบันอาคารก่อสร้างจะเป็นเสาที่ไม่มีคาน ลักษณะพื้นจะเป็นการใช้ลวดสลิงดึง ทำให้สามารถรับกำลัง และเคลื่อนไหวได้ แต่ในส่วนของเสาจะออกแบบเป็นเสาแข็งๆ ทำให้เวลาเกิดแผ่นดินไหว พื้นที่เคลื่อนตัวได้ จะไปดึงเสาทำให้เกิดแรงหมุน แล้วยิ่งใส่เหล็กด้านในเสาไม่มากพอ ก็จะเกิดลักษณะเหมือนเสาระเบิด และเมื่อระเบิดแล้วพื้นข้างบนก็จะพังลงมาข้างล่าง พอด้านล่างรับน้ำหนักไม่ไหวก็จะค่อยค่อยพังถล่มลงมาตามที่เห็นในภาพ
นายวัชระ บอกว่า เบื้องต้นไม่สามารถฟันธงว่า เหตุถล่มเกิดจากเหล็กที่ไม่ตรงสเปคจริงหรือไม่ ต้องไปตรวจสอบทั้งคอนกรีต และวัสดุอื่นๆที่ใช้ก่อสร้าง รวมถึงขั้นตอนการก่อสร้างด้วย มองว่าเจ้าหน้าที่ควรรีบเก็บตัวอย่างวัสดุแต่ละตัวที่ใช้ในการก่อสร้างนำไปตรวจสอบว่าได้มาตรฐานจริงหรือไม่ รวมถึงตรวจเอกสารหน้างานของวิศวกรว่า เคยนำวัสดุเหล่านี้ไปเทสก่อนนำไปก่อสร้างจริงหรือไม่ อีกทั้งต้องไปดูรายละเอียดเรื่องราคาการซื้อวัสดุว่ามีราคาต่ำ ลักษณะเหมือนจงใจลดต้นทุนหรือไม่ แล้วทุกอย่างจะสรุปได้ว่าเรื่องนี้มีอะไรหมกเม็ดหรือมีการทุจริตกันจริงหรือไม่
ที่มา : pptv