จากเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม .....
ตั้งแต่เมื่อวานก็เริ่มมีประเด็นของชนิดและคุณภาพของ "เหล็กข้ออ้อย" ที่นำมาก่อสร้างอาคารนี้ครับ ผมดูข่าวช่อง PPTV เมื่อเช้าเห็นมีการเน้นย้ำประเด็นนี้ และได้มีการสัมภาษณ์นักวิชาการ (ขออภัยจำชื่อไม่ได้แล้ว) ได้มีการพูดถึงชนิดของเหล็กข้ออ้อยว่าจากซากปรักหักพังพบว่าเหล็กข้ออ้อยเป็นชนิดที่มีตัว T กำกับไว้ ก่อนอื่นมาดูภาพนี้ก่อน
ภาพนี้คือคำอธิบายของตัวอักษรและรหัสต่าง ๆ ที่ประทับอยู่บนเหล็กข้ออ้อย
ประเด็นในเรื่องเหล็กข้ออ้อยนี้มันเริ่มมาจากมี facebook หนึ่ง .....
https://www.facebook.com/profile.php?id=100008104999197
เจ้าของ facebook เป็นวิศวกรที่อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ ได้เสนอภาพเหล็กเส้นข้ออ้อยจากภาพซากปรักหักพังของอาคารถล่มนี้ ซึ่งเหล็กเส้นเหล่านั้น
มีตัว T กำกับไว้ ..... และได้เปิดประเด็นว่าเหล็กข้ออ้อยชนิดมีตัว T นั้นมีกระบวนการผลิตโดย
ผ่านกรรมวิธีทางการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะ
เหมาะสมกับการนำไปสร้างอาคารสูงและต้านทานการเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ ?
ภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อยจากซากอาคารที่ระบุว่าเป็นชนิดที่มีตัว T กำกับ และภาพของการ breakdown ของเหล็กเส้นซึ่งมีการวิจารณ์กันว่า Core มันเสียหายแบบ "เปราะแตก" ซึ่งผิดปกติ มีความน่ากังวลถึงคุณภาพของเหล็กชุดนี้
ต่อมา facebook นี้ (น่าจะเป็น facebook ของศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ) ได้อธิบายคุณสมบัติของเหล็กเส้นอย่างละเอียดมาก ขออนุญาตให้เพื่อนสมาชิกไปอ่านใน facebook นี้เองนะครับ
https://www.facebook.com/FA.FACT
แต่ก็มีข้อสรุปตามภาพนี้ ก็คือ
เหล็กข้ออ้อยที่มีตัว T ประทับอยู่นั้นเหมาะสำหรับนำไปสร้างอาคารสูง และอาคารที่ต้องทนทานต่อแผ่นดินไหว
Blog ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
https://eitprblog.blogspot.com/2016/06/sd40t-sd50t.html
ก็อธิบายคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตผ่านกรรมวิธีทางความร้อน SD40T และ SD50T
..... ผมสรุปมาได้ว่า ตาม มอก. 24-2548 (ปี 2548) ได้อนุญาตให้มีการผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment rebar หรือ tempcored rebar) โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดทำเครื่องหมายที่เหล็กข้ออ้อยโดยใช้สัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กตามหลังชั้นคุณภาพที่ผลิตขึ้น ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ในชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 จึงปรากฏสัญลักษณ์ตัวนูนเป็น SD40T และ SD50T ตามลำดับ
การระบุอักษร "T" เป็นเพียงทำให้ผู้ใช้ทราบถึงกรรมวิธีการผลิตเท่านั้น ไม่ได้เป็นชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยแต่อย่างใด
ผมจึงตั้งกระทู้มาเผื่อเพื่อนสมาชิกไปได้ยินจากข่าว จะได้ทราบที่มาของประเด็นเหล็กข้ออ้อยนี้ครับ ตอนนี้ในข่าวก็ยังไม่ได้มีการพูดกันมากเท่าไหร่นักว่าใช้เหล็กถูกประเภทหรือไม่คุณภาพเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็ต้องรอการตรวจสอบกันต่อไปครับ
จากเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม และประเด็นของ "เหล็กข้ออ้อย" ชนิด Tempcored rebar
ตั้งแต่เมื่อวานก็เริ่มมีประเด็นของชนิดและคุณภาพของ "เหล็กข้ออ้อย" ที่นำมาก่อสร้างอาคารนี้ครับ ผมดูข่าวช่อง PPTV เมื่อเช้าเห็นมีการเน้นย้ำประเด็นนี้ และได้มีการสัมภาษณ์นักวิชาการ (ขออภัยจำชื่อไม่ได้แล้ว) ได้มีการพูดถึงชนิดของเหล็กข้ออ้อยว่าจากซากปรักหักพังพบว่าเหล็กข้ออ้อยเป็นชนิดที่มีตัว T กำกับไว้ ก่อนอื่นมาดูภาพนี้ก่อน
ภาพนี้คือคำอธิบายของตัวอักษรและรหัสต่าง ๆ ที่ประทับอยู่บนเหล็กข้ออ้อย
ประเด็นในเรื่องเหล็กข้ออ้อยนี้มันเริ่มมาจากมี facebook หนึ่ง .....
https://www.facebook.com/profile.php?id=100008104999197
เจ้าของ facebook เป็นวิศวกรที่อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ ได้เสนอภาพเหล็กเส้นข้ออ้อยจากภาพซากปรักหักพังของอาคารถล่มนี้ ซึ่งเหล็กเส้นเหล่านั้นมีตัว T กำกับไว้ ..... และได้เปิดประเด็นว่าเหล็กข้ออ้อยชนิดมีตัว T นั้นมีกระบวนการผลิตโดยผ่านกรรมวิธีทางการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเหมาะสมกับการนำไปสร้างอาคารสูงและต้านทานการเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ ?
ภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อยจากซากอาคารที่ระบุว่าเป็นชนิดที่มีตัว T กำกับ และภาพของการ breakdown ของเหล็กเส้นซึ่งมีการวิจารณ์กันว่า Core มันเสียหายแบบ "เปราะแตก" ซึ่งผิดปกติ มีความน่ากังวลถึงคุณภาพของเหล็กชุดนี้
ต่อมา facebook นี้ (น่าจะเป็น facebook ของศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ) ได้อธิบายคุณสมบัติของเหล็กเส้นอย่างละเอียดมาก ขออนุญาตให้เพื่อนสมาชิกไปอ่านใน facebook นี้เองนะครับ
https://www.facebook.com/FA.FACT
แต่ก็มีข้อสรุปตามภาพนี้ ก็คือเหล็กข้ออ้อยที่มีตัว T ประทับอยู่นั้นเหมาะสำหรับนำไปสร้างอาคารสูง และอาคารที่ต้องทนทานต่อแผ่นดินไหว
Blog ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
https://eitprblog.blogspot.com/2016/06/sd40t-sd50t.html
ก็อธิบายคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตผ่านกรรมวิธีทางความร้อน SD40T และ SD50T
..... ผมสรุปมาได้ว่า ตาม มอก. 24-2548 (ปี 2548) ได้อนุญาตให้มีการผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment rebar หรือ tempcored rebar) โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดทำเครื่องหมายที่เหล็กข้ออ้อยโดยใช้สัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กตามหลังชั้นคุณภาพที่ผลิตขึ้น ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ในชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 จึงปรากฏสัญลักษณ์ตัวนูนเป็น SD40T และ SD50T ตามลำดับ
การระบุอักษร "T" เป็นเพียงทำให้ผู้ใช้ทราบถึงกรรมวิธีการผลิตเท่านั้น ไม่ได้เป็นชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยแต่อย่างใด
ผมจึงตั้งกระทู้มาเผื่อเพื่อนสมาชิกไปได้ยินจากข่าว จะได้ทราบที่มาของประเด็นเหล็กข้ออ้อยนี้ครับ ตอนนี้ในข่าวก็ยังไม่ได้มีการพูดกันมากเท่าไหร่นักว่าใช้เหล็กถูกประเภทหรือไม่คุณภาพเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็ต้องรอการตรวจสอบกันต่อไปครับ