สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
เกิดจาก สปส.ตีความมาตรา 42 แห่ง พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ผิดพลาด ด้วยการนับมาตรา 33 และมาตรา 39 รวมกัน ทั้งที่มาตรา 42 กำหนดให้นับทุกช่วงของมาตรา 33 รวมเข้าด้วยกัน และหรือ ทุกช่วงของมาตรา 39 รวมเข้าด้วยกัน มิใช่ให้ สปส. นับมาตรา 33 และมาตรา 39 รวมกัน เพราะจะขัดกับกฎหมายมาตรา 77 ทวิ และ 77 ตรี แห่ง พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ให้ สปส.จ่ายคืนเงินชราภาพให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 แยกออกจากกันอย่างชัดแจ้ง
นอกจากนี้ สปส.ไม่ได้ลงพิมพ์การตีความมาตรา 42 ที่ผิดเพี้ยนนี้ในราชกิจจานุเบกษา สปส.จึงไม่สามารถนำมาบังคับใช้แก่ผู้ประกันตนได้ สปส.จึงทำผิดกฎหมายมาตรา 7(4) และมาตรา 8 แห่ง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 อีกด้วย ใครเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองออนไลน์ได้เลย สะดวกมากๆ
นอกจากนี้ สปส.ไม่ได้ลงพิมพ์การตีความมาตรา 42 ที่ผิดเพี้ยนนี้ในราชกิจจานุเบกษา สปส.จึงไม่สามารถนำมาบังคับใช้แก่ผู้ประกันตนได้ สปส.จึงทำผิดกฎหมายมาตรา 7(4) และมาตรา 8 แห่ง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 อีกด้วย ใครเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองออนไลน์ได้เลย สะดวกมากๆ
แสดงความคิดเห็น
การที่ผู้ประกันตน ม.33 แล้ว พลาด ส่งต่อ ม.39 โดยไม่รู้รายละเอียด จนบำนาญแทนที่จะได้สีห้าพันกลับเหลือพันกว่าบาท...
ประกันสังคมก็ประหยัดไปหลายเงิน ความผิดพลาดนี้ แน่นอนส่วนหนึ่งเป็นความผิดของผู้ประกับตนที่ไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด แต่อีกด้าน ทางประกันสังคมก็ไม่ได้แจ้งอย่างหนักแน่นแน่ชัด หรือรณรงค์ให้ทราบเงื่อนไขอย่างชัดเจน แค่พาดหัวว่าบำนาญจากห้าพันจะเหลือพันห้า เชื่อว่าหลายคนก็ถอยไม่สมัครละ ไปใช้บัตรทองเสียยังดีกว่า
และ วิธีคิดบำนาญที่ไม่สมเหตุสมผล ทำไมไม่แบ่งเป็นสองขยักในเมื่อเขามีช่วงเวลาจ่ายมาสอง มาตรา แต่กลับคิดรวบเป็นมาตราเดียวให้เขา