บอร์ดประกันสังคม ตีกลับพิจารณาปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพผู้ประกันตน มาตรา 33-มาตรา 39 ใหม่ เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารเรื่องสูตรให้เข้าใจโดยรวมได้ "รศ.ษัษฐรัมย์" ขอโทษผู้ประกันตนมาตรา 39 กว่า 300,000 คน
ที่มา:
https://www.thaipbs.or.th/news/content/349637
สรุปว่ายังใช้สูตรการคำนวณบำนาญชราภาพแบบเดิม เพราะสูตรการคำนวณแบบใหม่ถูกตีกลับ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568)
การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 6 กรณี คือ
- เจ็บป่วย (ถ้าไม่สมัครมาตรา 39 ยังใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน หลังจากนั้น จะถูกโอนไปอยู่ในโครงการ 30 บาท)
- คลอดบุตร (ข้อดีของมาตรา 39)
- ทุพพลภาพ (ข้อดีของมาตรา 39)
- ตาย (ข้อดีของมาตรา 39)
- สงเคราะห์บุตร (ข้อดีของมาตรา 39)
- ชราภาพ (ข้อเสียของมาตรา 39)
ข้อเสียของมาตรา 39 ตามสูตรการคำนวณบำนาญชราภาพแบบเดิม
ขอยกตัวอย่างมนุษย์เงินเดือนอย่าง นาย ก. กับ นาย อ. ซึ่งทั้ง 2 คน
- ทำงานที่เดียวกัน
- อายุงานเท่ากัน
- เงินเดือนเกิน 15,000 บาท เหมือนกัน
- ลาออกจากงานตอนอายุ 50 ปี เหมือนกัน
- จ่ายประกันสังคม 240 งวด หรือ 240 เดือน หรือ 20 ปี เท่ากัน
โดย นาย ก. สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ทันทีหลังออกจากงาน ส่วน นาย อ. ตัดสินใจไม่สมัคร เท่ากับว่า นาย ก. จ่ายประกันสังคมเพิ่มอีก 5 ปี จนถึงอายุ 55 ปี รวมแล้วจ่ายไป 300 งวด หรือ 25 ปี ขณะที่ นาย อ. จ่ายไป 20 ปีเท่าเดิม
เงินบำนาญชราภาพที่ทั้ง 2 คนได้รับ
- สำหรับ 180 เดือน หรือ 15 ปีแรก ได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท)
- จำนวนปีส่วนที่เกิน 180 เดือน หรือ 15 ปีแรก ได้เพิ่มอีก 1.5% ของทุกปี
สูตรการคำนวณตามเอกสารของประกันสังคม อยู่ในสปอยล์
ที่มา:
https://www.facebook.com/ssofanpage/posts/ผู้ประกันตนเตรียมคิด-สูตรคำนวณ-เงินบำนาญ-ชราภาพ-หากเกษียณจะได้รับเท่าไร-มาดูกัน-/908045941501570/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การคำนวณเงินบำนาญชราภาพของ นาย ก. และ นาย อ.
เงินบำนาญประกันสังคม อาจลดลงเกินครึ่ง ถ้ายังใช้สูตรการคำนวณแบบเดิมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่สมัครมาตรา 39 หลังออกจากงาน
ที่มา: https://www.thaipbs.or.th/news/content/349637
สรุปว่ายังใช้สูตรการคำนวณบำนาญชราภาพแบบเดิม เพราะสูตรการคำนวณแบบใหม่ถูกตีกลับ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568)
การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 6 กรณี คือ
- เจ็บป่วย (ถ้าไม่สมัครมาตรา 39 ยังใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน หลังจากนั้น จะถูกโอนไปอยู่ในโครงการ 30 บาท)
- คลอดบุตร (ข้อดีของมาตรา 39)
- ทุพพลภาพ (ข้อดีของมาตรา 39)
- ตาย (ข้อดีของมาตรา 39)
- สงเคราะห์บุตร (ข้อดีของมาตรา 39)
- ชราภาพ (ข้อเสียของมาตรา 39)
ข้อเสียของมาตรา 39 ตามสูตรการคำนวณบำนาญชราภาพแบบเดิม
ขอยกตัวอย่างมนุษย์เงินเดือนอย่าง นาย ก. กับ นาย อ. ซึ่งทั้ง 2 คน
- ทำงานที่เดียวกัน
- อายุงานเท่ากัน
- เงินเดือนเกิน 15,000 บาท เหมือนกัน
- ลาออกจากงานตอนอายุ 50 ปี เหมือนกัน
- จ่ายประกันสังคม 240 งวด หรือ 240 เดือน หรือ 20 ปี เท่ากัน
โดย นาย ก. สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ทันทีหลังออกจากงาน ส่วน นาย อ. ตัดสินใจไม่สมัคร เท่ากับว่า นาย ก. จ่ายประกันสังคมเพิ่มอีก 5 ปี จนถึงอายุ 55 ปี รวมแล้วจ่ายไป 300 งวด หรือ 25 ปี ขณะที่ นาย อ. จ่ายไป 20 ปีเท่าเดิม
เงินบำนาญชราภาพที่ทั้ง 2 คนได้รับ
- สำหรับ 180 เดือน หรือ 15 ปีแรก ได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท)
- จำนวนปีส่วนที่เกิน 180 เดือน หรือ 15 ปีแรก ได้เพิ่มอีก 1.5% ของทุกปี
สูตรการคำนวณตามเอกสารของประกันสังคม อยู่ในสปอยล์
ที่มา: https://www.facebook.com/ssofanpage/posts/ผู้ประกันตนเตรียมคิด-สูตรคำนวณ-เงินบำนาญ-ชราภาพ-หากเกษียณจะได้รับเท่าไร-มาดูกัน-/908045941501570/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การคำนวณเงินบำนาญชราภาพของ นาย ก. และ นาย อ.