เคยเขียนถึงไทเก๊กมาบ้าง อยากชวนให้มาฝึกกัน
แต่ตัวเองไม่สามารถเรียบเรียงข้อดีของการฝึกได้ ขอคัดลอกมาจากเจ้าของบทความจากเวปนี้นะคะ
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ไท่เก๊ก (Tai Chi) คืออะไร? ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อสุขภาพและสมาธิ
https://www.muayacademy.com/tai-chi/
ไท่เก๊ก (Tai Chi) คืออะไร?
ไท่เก๊ก (Tai Chi) หรือ ไท่จี๋ฉวน (太极拳) เป็นศิลปะการต่อสู้จีนโบราณที่พัฒนามาเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยเน้นการเคลื่อนไหวที่อ่อนโยน นุ่มนวล และไหลลื่นไปตามธรรมชาติ การฝึกไท่เก๊กมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ ช่วยพัฒนาการหายใจ การไหลเวียนของพลังงาน (ชี่ – 气) และเพิ่มสมาธิ
แม้ว่าจะมีรากฐานมาจากศิลปะการต่อสู้ แต่ปัจจุบันไท่เก๊กได้รับความนิยมในฐานะวิธีการออกกำลังกายเชิงบำบัดที่เหมาะสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการออกกำลังกายแบบไม่ใช้แรงมาก
ประวัติและที่มาของไท่เก๊ก
ไท่เก๊กมีประวัติยาวนานกว่าหลายร้อยปี มีหลักฐานว่าถูกพัฒนาขึ้นโดย “จางซานเฟิง” (张三丰) ปรมาจารย์ลัทธิเต๋าในสมัยราชวงศ์หมิง เชื่อกันว่าเขานำแนวคิดของหยิน-หยาง (阴阳) และหลักปรัชญาของเต๋ามาประยุกต์ใช้กับการต่อสู้และพัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวของไท่เก๊ก
ต่อมาศิลปะไท่เก๊กถูกส่งต่อและพัฒนาเป็นตระกูลหลัก 5 สาย ได้แก่
ไท่เก๊กหยาง (Yang Style, 楊式太極拳) – ท่าทางนุ่มนวล ไหลลื่น เหมาะกับการฝึกเพื่อสุขภาพ
ไท่เก๊กเฉิน (Chen Style, 陈式太极拳) – มีการผสมผสานการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและช้า ใช้แรงระเบิด (Fajin)
ไท่เก๊กอู่ (Wu Style, 吴式太极拳) – เน้นการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง มีท่าทางที่กะทัดรัด
ไท่เก๊กอู่/ห่าว (Wu/Hao Style, 武式太极拳) – มีการเคลื่อนที่ที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน
ไท่เก๊กซุน (Sun Style, 孙式太极拳) – ผสมผสานกับการเดินในลักษณะพิเศษของศิลปะการต่อสู้แบบซุน
หลักการสำคัญของไท่เก๊ก
การเคลื่อนไหวที่ลื่นไหล (Flowing Movements) – ทุกท่าทางต้องต่อเนื่อง ไม่มีการกระตุกหรือหยุดกะทันหัน
ความสมดุลและการควบคุมร่างกาย (Balance and Control) – ฝึกให้มีจุดศูนย์ถ่วงที่มั่นคง ลดโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บ
การหายใจลึกและเป็นจังหวะ (Deep Breathing) – ฝึกควบคุมลมหายใจให้เป็นธรรมชาติ ช่วยลดความเครียด
การไหลเวียนของพลังงานชี่ (Qi Energy Flow) – กระตุ้นพลังชีวิตให้ไหลเวียนอย่างเป็นระบบ
ประโยชน์ของไท่เก๊กต่อสุขภาพ
การฝึกไท่เก๊กเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ได้แก่
1. ช่วยเสริมสร้างสมดุลและป้องกันการหกล้ม
ไท่เก๊กช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบประสาท
มีงานวิจัยพบว่าไท่เก๊กช่วยลดความเสี่ยงในการล้มในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ลดความเครียดและเพิ่มสมาธิ
การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลและการหายใจลึกช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความวิตกกังวล
ฝึกสมาธิและการจดจ่อกับปัจจุบัน
3. ช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ไท่เก๊กเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป แต่ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น
5. ลดอาการปวดและปรับปรุงความยืดหยุ่นของร่างกาย
ไท่เก๊กมีประโยชน์ในการลดอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดข้อและปวดหลัง
เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ไท่เก๊กเหมาะกับใคร?
ไท่เก๊กเหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการออกกำลังกายที่ไม่หนัก
ผู้ที่มีอาการปวดข้อ หรือปัญหาทางร่างกายที่ต้องการการออกกำลังกายแบบเบา
คนทำงานที่ต้องการลดความเครียดและปรับสมดุลชีวิต
นักกีฬาหรือผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ที่ต้องการพัฒนาความแข็งแกร่งและสมาธิ
วิธีเริ่มต้นฝึกไท่เก๊ก
หาครูฝึกหรือเข้าคลาส – หากเป็นไปได้ควรเริ่มต้นด้วยการเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ
ฝึกพื้นฐานก่อน – เริ่มจากท่าพื้นฐานและค่อยๆ พัฒนาไปสู่ท่าที่ซับซ้อนขึ้น
ฝึกเป็นประจำ – ควรฝึกอย่างน้อย 15-30 นาทีต่อวัน เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี
เลือกสถานที่ที่เหมาะสม – สถานที่เงียบสงบ เช่น สวนสาธารณะ จะช่วยให้ฝึกได้อย่างมีสมาธิ
แต่งกายให้เหมาะสม – ใส่เสื้อผ้าที่สบายและรองเท้าที่ไม่ลื่น
สรุป
ไท่เก๊กเป็นมากกว่าศิลปะการต่อสู้ แต่เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว
การฝึกไท่เก๊กช่วยเพิ่มความสมดุล ลดความเครียด และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีโดยรวม
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมีประสบการณ์ ไท่เก๊กสามารถเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนได้
หากคุณกำลังมองหาวิธีออกกำลังกายที่อ่อนโยนแต่มีประสิทธิภาพ ไท่เก๊กอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ!
เราเรียนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2016 ตอนที่กลับไปเที่ยวเมืองไทย ครูบอกว่าไทเก๊กเป็นการทำสมาธิขณะเคลื่อนไหว
พอฝึกแล้วกระจ่างกับข้อความนี้เลย
กลับมาญี่ปุ่น ได้สมัครเข้าเรียนกับกลุ่ม Kamakura Budokan Club (2017) เรียนและเป็นสมาชิกต่อเนื่องมาถึงวันนี้
มีไปเรียนอบรมเพิ่มเติมบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าไทเก๊กเหมาะสำหรับผู้สูงวัย แต่ที่จริงถ้าฝึกตั้งแต่อายุน้อยจะได้รับประโยชน์มากกว่า
เพราะจริงๆแล้ว ไทเก๊กต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ต้องบังคับความสมดุลย์ของร่างกาย
ถ้ามาเริ่มฝึกตอนอายุมาก การเคลื่อนไหวอาจจะไม่ถูกต้องตามท่าของไทเก๊กจริงๆ
งาน Kanagawa Taijiquan Festival 2025 ( 11 Feb 2025)
จังหวัด Kanagawa มีทั้งหมด 19 เมือง (City) แต่ละเมืองจะรวมสมาชิกแสดงร่วมกัน
ช่วงเช้าเดินทางถึงสถานที่จัดงาน 横浜国際プール用選手出場案内送付 Yokohama International Swimming Pool
http://www.waterarena.jp/english
ใต้พื้นกลางสนามที่เห็นเป็นสระว่ายน้ำ เวลาใช้กิจกรรมอื่นก็มีพื้นมาปิดไว้ ซึ่งพื้นแข็งแรงมาก
คนที่มีหน้าที่ดูตำแหน่งจุดยืน มาสำรวจก่อนลงสนามจริง
เตรียมอาหารกลางวันไปกินก่อนเริ่มงาน คุณป้าที่รู้จักเอาข้าวปั้นมาให้อีกก้อนแต่กินไม่ไหว เก็บกลับบ้านแทน
พอประธานพูดเปิดงานก็เริ่มกลุ่มแรกเลย
เด็กรุ่นใหม่มาแสดงตอนท้าย รำได้สวยงาม
รุ่นเด็กนิยมเล่นวูซูมากกว่า
เมืองคามาคุระของเรามีกลุ่มไทเก๊กมากมายทุกคนมารวมซ้อมด้วยกัน
มีแสดงไทเก๊กขั้นพื้นฐาน, ไทเก๊ก 24 ท่า, รำกระบี่ 32, รำพัด36
และ Traditional Yang-style circular eight
กลุ่มของเรา ครูยาจิมา สอนไทเก๊กอย่างทุ่มเทตลอดมา แต่ครูบอกว่าไม่ได้เป็นครู ให้เรียกว่า โค้ช ก็พอ
นอกจากสอนไทเก๊กแล้ว ครูมักจะเสริมให้รู้จักวิธีบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรง รวมถึงสุขภาพของอวัยวะภายในด้วย
เมื่อวานนัดซ้อมพิเศษ ครูให้วิธีฝึกสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่างๆ
สำหรับคนทั่วไปฝึกตามได้นะคะ
ภาพแรก จับพนักพิงเก้าอี้ ย่อเข่าลงเหมือนการนั่ง ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง เพิ่มความยากขึ้นเป็น 20-30 ครั้งได้
ภาพที่ 2 นั่งเก้าอี้มีพนักพิง ยกขาโดยใช้การเคลื่อนไหวข้อเข่า ให้เท้าถีบยัน
สองท่านี้ช่วยบริหารข้อเข่า
ภาพที่ 3 นั่งบนเก้าอี้มีพนักพิง ยกเข่าขึ้นให้สูงสุดที่ทำได้ ทำข้างละ 10 ครั้ง หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 20-30 ครั้ง
ภาพที่ 4 จับพนักพิงด้านข้างตัว ยกขาด้านติดพักพิงขึ้น งอเข่าแล้วเตะไปข้างหน้า
หลังจากนั้นเหวี่ยงไปด้านหลัง ย่อเข่าอีกข้าง
ภาพที่ 5 จับพนักพิง ยกขาไปด้านข้างขนานกับพื้นให้สูงสุดเท่าที่ทำได้
ขั้นต้นแค่ 5 ท่าเพื่อบริหารข้อเข่าและให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
รักษาสุขภาพ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงกันนะคะ
[CR] (เล็กๆน้อยๆจากญี่ปุ่น)........ฝึกไทเก๊กเพื่อสุขภาพ 🗾 เข้าร่วมงาน Kanagawa Taijiquan Festival 2025
เคยเขียนถึงไทเก๊กมาบ้าง อยากชวนให้มาฝึกกัน
แต่ตัวเองไม่สามารถเรียบเรียงข้อดีของการฝึกได้ ขอคัดลอกมาจากเจ้าของบทความจากเวปนี้นะคะ
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ไท่เก๊ก (Tai Chi) คืออะไร? ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อสุขภาพและสมาธิ
https://www.muayacademy.com/tai-chi/
ไท่เก๊ก (Tai Chi) คืออะไร?
ไท่เก๊ก (Tai Chi) หรือ ไท่จี๋ฉวน (太极拳) เป็นศิลปะการต่อสู้จีนโบราณที่พัฒนามาเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยเน้นการเคลื่อนไหวที่อ่อนโยน นุ่มนวล และไหลลื่นไปตามธรรมชาติ การฝึกไท่เก๊กมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ ช่วยพัฒนาการหายใจ การไหลเวียนของพลังงาน (ชี่ – 气) และเพิ่มสมาธิ
แม้ว่าจะมีรากฐานมาจากศิลปะการต่อสู้ แต่ปัจจุบันไท่เก๊กได้รับความนิยมในฐานะวิธีการออกกำลังกายเชิงบำบัดที่เหมาะสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการออกกำลังกายแบบไม่ใช้แรงมาก
ประวัติและที่มาของไท่เก๊ก
ไท่เก๊กมีประวัติยาวนานกว่าหลายร้อยปี มีหลักฐานว่าถูกพัฒนาขึ้นโดย “จางซานเฟิง” (张三丰) ปรมาจารย์ลัทธิเต๋าในสมัยราชวงศ์หมิง เชื่อกันว่าเขานำแนวคิดของหยิน-หยาง (阴阳) และหลักปรัชญาของเต๋ามาประยุกต์ใช้กับการต่อสู้และพัฒนารูปแบบการเคลื่อนไหวของไท่เก๊ก
ต่อมาศิลปะไท่เก๊กถูกส่งต่อและพัฒนาเป็นตระกูลหลัก 5 สาย ได้แก่
ไท่เก๊กหยาง (Yang Style, 楊式太極拳) – ท่าทางนุ่มนวล ไหลลื่น เหมาะกับการฝึกเพื่อสุขภาพ
ไท่เก๊กเฉิน (Chen Style, 陈式太极拳) – มีการผสมผสานการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและช้า ใช้แรงระเบิด (Fajin)
ไท่เก๊กอู่ (Wu Style, 吴式太极拳) – เน้นการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง มีท่าทางที่กะทัดรัด
ไท่เก๊กอู่/ห่าว (Wu/Hao Style, 武式太极拳) – มีการเคลื่อนที่ที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน
ไท่เก๊กซุน (Sun Style, 孙式太极拳) – ผสมผสานกับการเดินในลักษณะพิเศษของศิลปะการต่อสู้แบบซุน
หลักการสำคัญของไท่เก๊ก
การเคลื่อนไหวที่ลื่นไหล (Flowing Movements) – ทุกท่าทางต้องต่อเนื่อง ไม่มีการกระตุกหรือหยุดกะทันหัน
ความสมดุลและการควบคุมร่างกาย (Balance and Control) – ฝึกให้มีจุดศูนย์ถ่วงที่มั่นคง ลดโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บ
การหายใจลึกและเป็นจังหวะ (Deep Breathing) – ฝึกควบคุมลมหายใจให้เป็นธรรมชาติ ช่วยลดความเครียด
การไหลเวียนของพลังงานชี่ (Qi Energy Flow) – กระตุ้นพลังชีวิตให้ไหลเวียนอย่างเป็นระบบ
ประโยชน์ของไท่เก๊กต่อสุขภาพ
การฝึกไท่เก๊กเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ได้แก่
1. ช่วยเสริมสร้างสมดุลและป้องกันการหกล้ม
ไท่เก๊กช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบประสาท
มีงานวิจัยพบว่าไท่เก๊กช่วยลดความเสี่ยงในการล้มในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ลดความเครียดและเพิ่มสมาธิ
การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลและการหายใจลึกช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ลดความวิตกกังวล
ฝึกสมาธิและการจดจ่อกับปัจจุบัน
3. ช่วยบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ไท่เก๊กเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป แต่ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น
5. ลดอาการปวดและปรับปรุงความยืดหยุ่นของร่างกาย
ไท่เก๊กมีประโยชน์ในการลดอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดข้อและปวดหลัง
เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ไท่เก๊กเหมาะกับใคร?
ไท่เก๊กเหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการออกกำลังกายที่ไม่หนัก
ผู้ที่มีอาการปวดข้อ หรือปัญหาทางร่างกายที่ต้องการการออกกำลังกายแบบเบา
คนทำงานที่ต้องการลดความเครียดและปรับสมดุลชีวิต
นักกีฬาหรือผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ที่ต้องการพัฒนาความแข็งแกร่งและสมาธิ
วิธีเริ่มต้นฝึกไท่เก๊ก
หาครูฝึกหรือเข้าคลาส – หากเป็นไปได้ควรเริ่มต้นด้วยการเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ
ฝึกพื้นฐานก่อน – เริ่มจากท่าพื้นฐานและค่อยๆ พัฒนาไปสู่ท่าที่ซับซ้อนขึ้น
ฝึกเป็นประจำ – ควรฝึกอย่างน้อย 15-30 นาทีต่อวัน เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี
เลือกสถานที่ที่เหมาะสม – สถานที่เงียบสงบ เช่น สวนสาธารณะ จะช่วยให้ฝึกได้อย่างมีสมาธิ
แต่งกายให้เหมาะสม – ใส่เสื้อผ้าที่สบายและรองเท้าที่ไม่ลื่น
สรุป
ไท่เก๊กเป็นมากกว่าศิลปะการต่อสู้ แต่เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจในระยะยาว
การฝึกไท่เก๊กช่วยเพิ่มความสมดุล ลดความเครียด และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีโดยรวม
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมีประสบการณ์ ไท่เก๊กสามารถเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนได้
หากคุณกำลังมองหาวิธีออกกำลังกายที่อ่อนโยนแต่มีประสิทธิภาพ ไท่เก๊กอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ!
เราเรียนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2016 ตอนที่กลับไปเที่ยวเมืองไทย ครูบอกว่าไทเก๊กเป็นการทำสมาธิขณะเคลื่อนไหว
พอฝึกแล้วกระจ่างกับข้อความนี้เลย
กลับมาญี่ปุ่น ได้สมัครเข้าเรียนกับกลุ่ม Kamakura Budokan Club (2017) เรียนและเป็นสมาชิกต่อเนื่องมาถึงวันนี้
มีไปเรียนอบรมเพิ่มเติมบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าไทเก๊กเหมาะสำหรับผู้สูงวัย แต่ที่จริงถ้าฝึกตั้งแต่อายุน้อยจะได้รับประโยชน์มากกว่า
เพราะจริงๆแล้ว ไทเก๊กต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ต้องบังคับความสมดุลย์ของร่างกาย
ถ้ามาเริ่มฝึกตอนอายุมาก การเคลื่อนไหวอาจจะไม่ถูกต้องตามท่าของไทเก๊กจริงๆ
งาน Kanagawa Taijiquan Festival 2025 ( 11 Feb 2025)
จังหวัด Kanagawa มีทั้งหมด 19 เมือง (City) แต่ละเมืองจะรวมสมาชิกแสดงร่วมกัน
ช่วงเช้าเดินทางถึงสถานที่จัดงาน 横浜国際プール用選手出場案内送付 Yokohama International Swimming Pool
http://www.waterarena.jp/english
ใต้พื้นกลางสนามที่เห็นเป็นสระว่ายน้ำ เวลาใช้กิจกรรมอื่นก็มีพื้นมาปิดไว้ ซึ่งพื้นแข็งแรงมาก
คนที่มีหน้าที่ดูตำแหน่งจุดยืน มาสำรวจก่อนลงสนามจริง
เตรียมอาหารกลางวันไปกินก่อนเริ่มงาน คุณป้าที่รู้จักเอาข้าวปั้นมาให้อีกก้อนแต่กินไม่ไหว เก็บกลับบ้านแทน
พอประธานพูดเปิดงานก็เริ่มกลุ่มแรกเลย
เด็กรุ่นใหม่มาแสดงตอนท้าย รำได้สวยงาม
รุ่นเด็กนิยมเล่นวูซูมากกว่า
เมืองคามาคุระของเรามีกลุ่มไทเก๊กมากมายทุกคนมารวมซ้อมด้วยกัน
มีแสดงไทเก๊กขั้นพื้นฐาน, ไทเก๊ก 24 ท่า, รำกระบี่ 32, รำพัด36
และ Traditional Yang-style circular eight
กลุ่มของเรา ครูยาจิมา สอนไทเก๊กอย่างทุ่มเทตลอดมา แต่ครูบอกว่าไม่ได้เป็นครู ให้เรียกว่า โค้ช ก็พอ
นอกจากสอนไทเก๊กแล้ว ครูมักจะเสริมให้รู้จักวิธีบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรง รวมถึงสุขภาพของอวัยวะภายในด้วย
เมื่อวานนัดซ้อมพิเศษ ครูให้วิธีฝึกสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่างๆ
สำหรับคนทั่วไปฝึกตามได้นะคะ
ภาพแรก จับพนักพิงเก้าอี้ ย่อเข่าลงเหมือนการนั่ง ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง เพิ่มความยากขึ้นเป็น 20-30 ครั้งได้
ภาพที่ 2 นั่งเก้าอี้มีพนักพิง ยกขาโดยใช้การเคลื่อนไหวข้อเข่า ให้เท้าถีบยัน
สองท่านี้ช่วยบริหารข้อเข่า
ภาพที่ 3 นั่งบนเก้าอี้มีพนักพิง ยกเข่าขึ้นให้สูงสุดที่ทำได้ ทำข้างละ 10 ครั้ง หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 20-30 ครั้ง
ภาพที่ 4 จับพนักพิงด้านข้างตัว ยกขาด้านติดพักพิงขึ้น งอเข่าแล้วเตะไปข้างหน้า
หลังจากนั้นเหวี่ยงไปด้านหลัง ย่อเข่าอีกข้าง
ภาพที่ 5 จับพนักพิง ยกขาไปด้านข้างขนานกับพื้นให้สูงสุดเท่าที่ทำได้
ขั้นต้นแค่ 5 ท่าเพื่อบริหารข้อเข่าและให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
รักษาสุขภาพ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงกันนะคะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้