วิชามวยไทเก๊ก หรือ วิชามวยไทจี๋ (ถ้าอ่านตามภาษาจีนกลาง) เป็นศาสตร์การต่อสู้ที่ฝึกเพื่อป้องกันตัวและเพื่อสุขภาพ ไทเก๊กเป็นศาสตร์การต่อสู้ป้องกันตัวที่มีทั้งแข็งและอ่อน การฝึกมวยไทเก๊กนั้นมีทั้งแบบดั่งเดิมและแบบสมัยใหม่ซึ่งเป็นการประยุกต์รูปแบบการต่อสู้ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ไทเก๊กคือแนวคิดที่มีที่มาจากหยินหยางในลัทธิเต๋า ไทเก๊ก (太極) ในภาษาจีนมีความหมายว่า"ต้นกำเนิด" หรือ "จุดเริ่มต้น" เมื่อรวมกับคำว่าคุ้ง (拳) ที่มีความหมายว่า"หมัด" หรือ "มวย" จะมีความหมายว่า"หมัดไทเก๊ก" หรือ "มวยไทเก๊ก"
ประวัติความเป็นมาของมวยไทเก๊ก
เมื่อศึกษาดูแล้วก็พบว่ามวยไทเก๊กนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทั้งลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา แม้ว่าเรื่องราวจะถูกดัดแปลงไปบ้างตามตำนานต่างๆของจีน แต่ก็มีการประติดประต่อเรียบเรียงเรื่องราว โดยตามทฤษฎีในตำราขงจื้อใหม่ของราชวงศ์ซ่งกล่าวว่าวิชานี้มาจากสำนักบู๊ตึ้งสำนักที่มีการสอนวิชาเพลงมวยมาตั้งแต่อดีต ฝึกสอนตามตำราของนักพรตในลัทธิเต๋านามว่า จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาจีนแต้จิ๋ว) ในศตวรรษที่ 12 ซึ่งก็ตรงกับช่วงเวลาที่ตำราขงจื้อใหม่ถูกเขียนขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันเรื่องของช่วงเวลาซึ่งชี้ให้เห็นถึง ชิ้นส่วนจารึกในสมัยศตวรรษที่ 17 คือ"คำจารึกบนหลุมฝังศพของหวังเจิ้งหนาน" (1669) เขียนโดยหวงจงฉี ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1610–1695 มันเป็นการอ้างอิงถึงการเชื่อมโยงระหว่างจางซานฟงกับศิลปะการต่อสู้อื่น แต่มันก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าไรนัก
มีประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่อ 18 ปีก่อนที่หยางลู่ฉานจะเริ่มเปิดสอนศิลปะการต่อสู้ในกรุงปักกิ่ง เขาได้รับการฝึกฝนจากสกุลเฉิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศิลปะการต่อสู้ของเขานั้นมีพื้นฐานหรืออิทธิพลอย่างมากมาจากหมัดสกุลเฉิน หมัดสกุลเฉินถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉินหวางติงในศตวรรษที่ 17
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ศิลปะการต่อสู้นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อมวยไทเก๊ก โดยมีขุนนางในราชสำนักชื่อ อ๋องต่วนเหอ ผู้ที่ให้หยางลู่ฉานสาธิตวิชาหมัดให้ชมเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ให้ก่อนที่หยางลู่ฉานจะมีชื่อเสียงในฐานะปรมาจารย์ มวยไทเก๊กถูกเรียกในชื่ออื่นว่า จ่านเฉวียน (沾拳, "มวยผสาน"), เหมียนฉวียน (绵拳, "มวยอ่อน") หรือ สือซานชี่ (十三式, "13 กระบวนท่า")
วิชามวยไทเก๊ก ศาสตร์การต่อสู้ที่ผสานพลังหยินและหยาง
ไทเก๊กคือแนวคิดที่มีที่มาจากหยินหยางในลัทธิเต๋า ไทเก๊ก (太極) ในภาษาจีนมีความหมายว่า"ต้นกำเนิด" หรือ "จุดเริ่มต้น" เมื่อรวมกับคำว่าคุ้ง (拳) ที่มีความหมายว่า"หมัด" หรือ "มวย" จะมีความหมายว่า"หมัดไทเก๊ก" หรือ "มวยไทเก๊ก"
ประวัติความเป็นมาของมวยไทเก๊ก
เมื่อศึกษาดูแล้วก็พบว่ามวยไทเก๊กนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทั้งลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา แม้ว่าเรื่องราวจะถูกดัดแปลงไปบ้างตามตำนานต่างๆของจีน แต่ก็มีการประติดประต่อเรียบเรียงเรื่องราว โดยตามทฤษฎีในตำราขงจื้อใหม่ของราชวงศ์ซ่งกล่าวว่าวิชานี้มาจากสำนักบู๊ตึ้งสำนักที่มีการสอนวิชาเพลงมวยมาตั้งแต่อดีต ฝึกสอนตามตำราของนักพรตในลัทธิเต๋านามว่า จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาจีนแต้จิ๋ว) ในศตวรรษที่ 12 ซึ่งก็ตรงกับช่วงเวลาที่ตำราขงจื้อใหม่ถูกเขียนขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันเรื่องของช่วงเวลาซึ่งชี้ให้เห็นถึง ชิ้นส่วนจารึกในสมัยศตวรรษที่ 17 คือ"คำจารึกบนหลุมฝังศพของหวังเจิ้งหนาน" (1669) เขียนโดยหวงจงฉี ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1610–1695 มันเป็นการอ้างอิงถึงการเชื่อมโยงระหว่างจางซานฟงกับศิลปะการต่อสู้อื่น แต่มันก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าไรนัก
มีประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่อ 18 ปีก่อนที่หยางลู่ฉานจะเริ่มเปิดสอนศิลปะการต่อสู้ในกรุงปักกิ่ง เขาได้รับการฝึกฝนจากสกุลเฉิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศิลปะการต่อสู้ของเขานั้นมีพื้นฐานหรืออิทธิพลอย่างมากมาจากหมัดสกุลเฉิน หมัดสกุลเฉินถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉินหวางติงในศตวรรษที่ 17
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ศิลปะการต่อสู้นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อมวยไทเก๊ก โดยมีขุนนางในราชสำนักชื่อ อ๋องต่วนเหอ ผู้ที่ให้หยางลู่ฉานสาธิตวิชาหมัดให้ชมเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ให้ก่อนที่หยางลู่ฉานจะมีชื่อเสียงในฐานะปรมาจารย์ มวยไทเก๊กถูกเรียกในชื่ออื่นว่า จ่านเฉวียน (沾拳, "มวยผสาน"), เหมียนฉวียน (绵拳, "มวยอ่อน") หรือ สือซานชี่ (十三式, "13 กระบวนท่า")