รู้มั้ย.."คางคก" เอามาทำของหวานได้นะ
"คางคก" ตัวตะปุ่มตะป่ำที่แพทย์แผนปัจจุบันเค้าว่ามีพิษ ยางคางคกถูกตาก็ทำให้พร่ามัวจนถึงบอด เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารก็อันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ
แต่ทางแพทย์จีนนั้น ถ้าปรุงโดยถูกวิธีแล้ว "คางคก" มีสรรพคุณบำรุงร่างกายเป็นอย่างดี
แม้ "คางคก" บ้าน ๆ ธรรมด๊า ..ธรรมดา ที่หาได้ทั่วไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสมัยที่อาม่ายังเด็กนั้น ถึงจะไม่ใช่อาหารระดับฮ่องเต้ แต่ก็มีความแปลกประหลาดและหากินยากไม่น้อย เพราะไม่ค่อยมีคนทำเป็น แต่..อากู๋ทำได้
อาม่าเล่าว่า "อากู๋" (น้าชาย)ของอาม่า เค้าเอามาต้ม ไม่ได้ทำเป็นกับข้าวนะ แต่ทำกินเป็นขนมหวาน อาม่าเล่าอย่างอารมณ์ดี ตาเป็นประกายขณะที่รำลึกถึงครั้งยังเป็นเด็ก
“อากู๋” เป็นคนชอบทำอาหารตามประสาคนดื่มเหล้า แต่ก็ไม่ดื่มจนเสียการเสียงาน แค่กรึ่ม ๆ ตอนแดดร่มลมตก เย็น ๆ ก็กรึ๊บซะหน่อย บางวันนึกครึ้มก็จะเรียกเด็ก ๆ ไปจับ “คางคก” ซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยนั้น
เด็ก ๆ จะได้ค่าจับคางคกคนละบาท แค่นั้นก็ดีใจแล้ว (สมัยนี้คงเมินง่ะ) และของสำคัญที่ทุกคนรู้กัน คือ ทุกคนจะเตรียมกระป๋องนมมาคนละใบ เพื่อ ?!? อุบไว้ก่อน....ไว้ค่อยเฉลย
ตอนนั้นอาม่ายังเด็ก สนใจแต่...รอหม่ำซะมากกว่า ที่จำได้ คือ อากู๋จะเอาไปในครัว........(เซ็นเซอร์วิธีทำ ในสปอยล์)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จากนั้นก็จับคางคกหงายท้อง ดึงหนังให้ตึง ๆ แล้วเอามีดกรีด...ลากยาว หยึย..
เสร็จแล้วก็แก้ผ้า..เอ้ย ดึงหนังออก ปรื้ดดดด..ด..ด สุดท้ายคือ ดึงเส้น ... ?
อาม่าบอกไม่แน่ใจว่าเป็นเส้นที่ทำให้เมา หรือ ทำให้เหม็นคาว แต่น่าจะเป็นเส้นเมา (เป็นพิษ) อย่างที่เคยฟังมา จบตรงนี้ อากู๋ก็โยนไปให้ศรีภรรยา
ปรุงเป็นของหวาน
โดยนำคางคกไปล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับ “ลูกเดือย” ใส่น้ำตาล เป็นของหวานที่อาจจะฟังดูแปลก เพราะส่วนใหญ่คาดว่าจะเอามาผัด มายำ ทำกับข้าวเสียมากกว่า
ทั้งนี้ อาม่าไม่ได้ตามไปดูกรรมวิธีการล้าง เพราะอากู๋ยังมีอย่างอื่นที่น่าสนใจมาเล่นกับเด็ก ๆ ต่อ จึงไม่รู้ว่าจะมีเทคนิคพิเศษเหมือนการล้างดับกลิ่นคาวอาหารอื่นๆ ตามแบบคนจีนหรือเปล่า เช่น ล้างด้วยเกลือ หรือแช่ในเหล้าขาวสักครู่ค่อยล้างทิ้งเพื่อให้หมดกลิ่น เป็นต้น
ส่วนเรื่องรสชาติ อาม่าว่าเนื้อมันจืดๆ แต่เมื่อกินกับลูกเดือย และได้รสชาติของน้ำตาลหวาน ๆ ก็อร่อยดี ที่สำคัญคือ ไม่คาว !
ไปดูต่อ อากู๋ทำอะไรให้เล่น
เรื่องสมุนไพรก็มีนะคะ
สมุนไพรรักษานิ้วล็อก ของอาม่า
ของหวานทำจาก "คางคก" ฝีมืออากู๋
"คางคก" ตัวตะปุ่มตะป่ำที่แพทย์แผนปัจจุบันเค้าว่ามีพิษ ยางคางคกถูกตาก็ทำให้พร่ามัวจนถึงบอด เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารก็อันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ
แต่ทางแพทย์จีนนั้น ถ้าปรุงโดยถูกวิธีแล้ว "คางคก" มีสรรพคุณบำรุงร่างกายเป็นอย่างดี
แม้ "คางคก" บ้าน ๆ ธรรมด๊า ..ธรรมดา ที่หาได้ทั่วไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสมัยที่อาม่ายังเด็กนั้น ถึงจะไม่ใช่อาหารระดับฮ่องเต้ แต่ก็มีความแปลกประหลาดและหากินยากไม่น้อย เพราะไม่ค่อยมีคนทำเป็น แต่..อากู๋ทำได้
อาม่าเล่าว่า "อากู๋" (น้าชาย)ของอาม่า เค้าเอามาต้ม ไม่ได้ทำเป็นกับข้าวนะ แต่ทำกินเป็นขนมหวาน อาม่าเล่าอย่างอารมณ์ดี ตาเป็นประกายขณะที่รำลึกถึงครั้งยังเป็นเด็ก
“อากู๋” เป็นคนชอบทำอาหารตามประสาคนดื่มเหล้า แต่ก็ไม่ดื่มจนเสียการเสียงาน แค่กรึ่ม ๆ ตอนแดดร่มลมตก เย็น ๆ ก็กรึ๊บซะหน่อย บางวันนึกครึ้มก็จะเรียกเด็ก ๆ ไปจับ “คางคก” ซึ่งมีอยู่มากมายในสมัยนั้น
เด็ก ๆ จะได้ค่าจับคางคกคนละบาท แค่นั้นก็ดีใจแล้ว (สมัยนี้คงเมินง่ะ) และของสำคัญที่ทุกคนรู้กัน คือ ทุกคนจะเตรียมกระป๋องนมมาคนละใบ เพื่อ ?!? อุบไว้ก่อน....ไว้ค่อยเฉลย
ตอนนั้นอาม่ายังเด็ก สนใจแต่...รอหม่ำซะมากกว่า ที่จำได้ คือ อากู๋จะเอาไปในครัว........(เซ็นเซอร์วิธีทำ ในสปอยล์)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อาม่าบอกไม่แน่ใจว่าเป็นเส้นที่ทำให้เมา หรือ ทำให้เหม็นคาว แต่น่าจะเป็นเส้นเมา (เป็นพิษ) อย่างที่เคยฟังมา จบตรงนี้ อากู๋ก็โยนไปให้ศรีภรรยา
ปรุงเป็นของหวาน
โดยนำคางคกไปล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับ “ลูกเดือย” ใส่น้ำตาล เป็นของหวานที่อาจจะฟังดูแปลก เพราะส่วนใหญ่คาดว่าจะเอามาผัด มายำ ทำกับข้าวเสียมากกว่า
ทั้งนี้ อาม่าไม่ได้ตามไปดูกรรมวิธีการล้าง เพราะอากู๋ยังมีอย่างอื่นที่น่าสนใจมาเล่นกับเด็ก ๆ ต่อ จึงไม่รู้ว่าจะมีเทคนิคพิเศษเหมือนการล้างดับกลิ่นคาวอาหารอื่นๆ ตามแบบคนจีนหรือเปล่า เช่น ล้างด้วยเกลือ หรือแช่ในเหล้าขาวสักครู่ค่อยล้างทิ้งเพื่อให้หมดกลิ่น เป็นต้น
ส่วนเรื่องรสชาติ อาม่าว่าเนื้อมันจืดๆ แต่เมื่อกินกับลูกเดือย และได้รสชาติของน้ำตาลหวาน ๆ ก็อร่อยดี ที่สำคัญคือ ไม่คาว !
ไปดูต่อ อากู๋ทำอะไรให้เล่น
เรื่องสมุนไพรก็มีนะคะ
สมุนไพรรักษานิ้วล็อก ของอาม่า