Bond yield ส่งเสียง... นักลงทุนควรเตรียมตัวยังไง?

KEY POINTS
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนตามตัวเลขอัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ยลด → Bond Yield ลดลง → Bond Price เพิ่มขึ้น และ ดอกเบี้ยขึ้น → Bond Yield เพิ่มขึ้น → Bond Price ลดลง
อเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และพันธบัตรก็มีความเกี่ยวโยงกับหลายๆ ตัวเลขเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาล่ม ก็จะกระทบกับเศรษฐกิจโลก
คนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ที่รอด เราต้องมีข้อมูลในการวิเคราะห์เยอะๆ และปรับตัวปรับมุมมองไปตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน
Bond yield ส่งเสียง... นักลงทุนควรเตรียมตัวยังไง? คอลัมน์ SUPER TRADER โดย โค้ชภัค ภัค วิทยาพันธ์ประชา Super Trader
 
   
เชื่อว่าหลายๆ ท่านต้องเคยได้ยิน เคยรู้จักกันมาแล้วว่า US bond (พันธบัตรรัฐบาลอเมริกา) คืออะไร และที่เราคุ้นเคยก็จะมี US02Y, bond US10Y ซึ่งทั้งสองอันนี้จะมีหน้าที่สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในสองระยะเวลา
US2Y สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจระยะสั้น
US10Y สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจระยะยาว
และที่เรารู้กันตัวพันธบัตรรัฐบาลนี้เหมือนกับการที่รัฐบาลกู้เงินประชาชน เพราะฉะนั้นผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลนี้จึงมีความผันผวนตามตัวเลขอัตราดอกเบี้ย แต่ให้เราเข้าใจง่ายๆ
ดอกเบี้ยลด → Bond Yield ลดลง → Bond Price เพิ่มขึ้น
ดอกเบี้ยขึ้น → Bond Yield เพิ่มขึ้น → Bond Price ลดลง
  
แล้วทำไมเราต้องทำความเข้าใจ US Bond Yield สาเหตุคืออเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และพันธบัตรก็มีความเกี่ยวโยงกับหลายๆ ตัวเลขเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะดอกเบี้ย หนี้สาธารณะและอื่นๆ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเศรษฐกิจอเมริกาล่ม ก็จะกระทบกับเศรษฐกิจโลกนั่นเอง
ในลำดับถัดมาจะพูดถึงคำที่คิดว่านักลงทุนต้องเคยได้ยินกันมากบ้าง นั่นคือ Inverted yield curve แล้วเจ้านี่คืออะไรล่ะ?

ให้นึกภาพตาม ในสถานการณ์เศรษฐกิจปกติที่มีการเติบโตเรื่อย กราฟของ US10Y จะสูงกว่า US02Y และในทางกลับกันถ้ากราฟ US02Y สูงกว่า US10Y เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณไม่ปกติแล้ว หรือที่เราเรียกว่า Inverted yield curve นั่นเอง

ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1988-2025 เกิด Inverted yield curve  มาแล้ว 4 ครั้ง
 
ครั้งที่ 1: ปี 2000
ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: ปลายปี 2000
วิกฤตที่ตามมา : ฟองสบู่ดอทคอมแตก (Dot-com Bubble Burst)
การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
   - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 11,750 จุด ในเดือนมกราคม 2000
   - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 7,200 จุด ในเดือนตุลาคม 2002
   - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 4,550 จุด
 
ครั้งที่ 2: ปี 2006
ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: กลางปี 2006
วิกฤตที่ตามมา: วิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ปี 2008
การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
   - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 14,200 จุด ในเดือนตุลาคม 2007
   - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 6,500 จุด ในเดือนมีนาคม 2009
   - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 7,700 จุด
 
ครั้งที่ 3: ปี 2019
ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: สิงหาคม 2019
วิกฤตที่ตามมา: การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2020
การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
   - จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ประมาณ 29,500 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020
   - จุดต่ำสุดหลังวิกฤต: ประมาณ 18,200 จุด ในเดือนมีนาคม 2020
   - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 11,300 จุด
 
ครั้งที่ 4: ปี 2023
ช่วงเวลาเกิด Inverted Yield Curve: ต้นปี 2023
วิกฤตที่ตามมา: ยังไม่มีวิกฤตที่ชัดเจน ณ ข้อมูลล่าสุดในปี 2025
การเคลื่อนไหวของดัชนี US30 (Dow Jones Industrial Average):
   - จุดสูงสุดก่อน Inverted Yield Curve: ประมาณ 36,500 จุด ในเดือนมกราคม 2023
   - ข้อมูลล่าสุด: ประมาณ 34,000 จุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025
   - การเปลี่ยนแปลง: ลดลงประมาณ 2,500 จุด

และในครั้งที่ 4 นี่แหละคือจุดที่นักวิเคราะห์ระมัดระวังกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ตอนนี้ผ่านมา 3 ปีแล้ว แต่ด้วยความที่ว่าเกิดวิกฤตตามสัญญาณนี้มาแล้ว 3 ครั้ง ก็เลยเป็นจุดที่ทำให้มันยังไม่เกิดอะไรรุนแรงมากทางเศรษฐกิจ เพราะหลายๆ หน่วยงานก็ระวังตัวกันอย่างมาก 

เลยมีความกังวลกันว่าวิกฤตครั้งนี้จะไม่ได้มีต้นทางมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจหรอก แต่อาจจะเกิดจากนโยบายของผู้นำอเมริกา ที่มีความผันผวนทางนโยบายสูง ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสงครามการค้า นโยบายสงครามยูเครน-รัสเซีย นโยบายเก็บค่าคุ้มครองจากฮ่องกง
นโยบายผู้อพยพเข้าเมือง 

ทั้งหมดนี้ตัวเราเองต้องเตรียมตัวให้พร้อม ติดตามสถานการณ์โลกให้ดี แล้ววางแผนให้ชัดเจน ผมเชื่อว่าคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ที่รอด และถ้าเราอยากปรับตัวได้ดีเราต้องมีข้อมูลในการวิเคราะห์เยอะๆ และปรับตัวปรับมุมมองไปตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน
 
   
ท้ายที่สุดขอเชื่อมโยงมาถึงตลาดหุ้นบ้านเราหรือ SET การที่รอพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติเข้ามา อันนี้บอกเลยว่ายากหน่อยนะ แต่ถ้านักลงทุนมองหาหุ้นที่พึ่งพาตัวเองได้ มีกำลังซื้อภายในประเทศหนุนอยู่ มีหนี้ไม่มาก แบบนี้น่าจะเป็นหุ้นที่น่าเอาเข้ามาใน watchlist นะครับ สำหรับครั้งนี้ก็ขอฝากไว้ประมาณนี้ครับ
  
Cr. https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/619879


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่