สรรพสามิตเก็บแน่ภาษีความเค็ม เริ่มจากขนมขบเคี้ยว ยันให้เวลาเอกชนปรับตัว
กรมสรรพสามิต ลุยเก็บภาษีความเค็ม เริ่มที่ขนมขบเคี้ยว ยันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังไม่อยู่ในแผน โครงสร้างภาษีแบตเตอรี่ใหม่ รอชง ครม.
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตจะเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด ส่วนแรกการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ คือการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ในหลักการกรมจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง
โดยเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ
น.ส.กุลยากล่าวว่า ทั้งนี้ กรมได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการปรับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว
“เรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน จะได้ข้อสรุปในปีนี้ ซึ่งเราต้องคุยกับทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับภาษีความหวาน เราก็ใช้เวลาศึกษาถึง 5 ปีก่อนเริ่มเก็บ ขณะนี้เราเก็บมา 7-8 ปีแล้ว” น.ส.กุลยากล่าว
น.ส.กุลยากล่าวว่า สำหรับสินค้าที่อยู่ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษี คือ แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่จะช่วยลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยหลักในการปรับปรุงคือ แบตเตอรี่ที่อยู่ในขั้นปฐมภูมิ หรือใช้แล้วทิ้ง จะมีอัตราภาษีที่สูงกว่า ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในขั้นทุติยภูมิ หรือสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือชาร์จได้ น้ำหนักน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง จะมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่า ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้อยู่ระหว่างการสรุปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
น.ส.กุลยากล่าวถึงแนวนโยบายภาครัฐที่จะยกเลิกการกำหนดระยะเวลาห้ามการจำหน่ายสุราช่วง 14.00-17.00 น. นั้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยว และจะทำให้เกิดการบริโภคสินค้าที่อยู่ในพิกัดภาษีสรรพสามิตมากขึ้น ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2568 นี้ กรมได้รับเป้าหมายการจัดเก็บที่ 6.09 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สูง แต่กรมจะพยายามจัดเก็บให้ได้ตามเป้าหมาย
https://www.prachachat.net/finance/news-1756001
สรรพสามิตเก็บแน่ภาษีความเค็ม เริ่มจากขนมขบเคี้ยว ยันให้เวลาเอกชนปรับตัว
กรมสรรพสามิต ลุยเก็บภาษีความเค็ม เริ่มที่ขนมขบเคี้ยว ยันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังไม่อยู่ในแผน โครงสร้างภาษีแบตเตอรี่ใหม่ รอชง ครม.
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตจะเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด ส่วนแรกการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ คือการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ในหลักการกรมจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง
โดยเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ
น.ส.กุลยากล่าวว่า ทั้งนี้ กรมได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการปรับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว
“เรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน จะได้ข้อสรุปในปีนี้ ซึ่งเราต้องคุยกับทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับภาษีความหวาน เราก็ใช้เวลาศึกษาถึง 5 ปีก่อนเริ่มเก็บ ขณะนี้เราเก็บมา 7-8 ปีแล้ว” น.ส.กุลยากล่าว
น.ส.กุลยากล่าวว่า สำหรับสินค้าที่อยู่ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษี คือ แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่จะช่วยลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยหลักในการปรับปรุงคือ แบตเตอรี่ที่อยู่ในขั้นปฐมภูมิ หรือใช้แล้วทิ้ง จะมีอัตราภาษีที่สูงกว่า ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในขั้นทุติยภูมิ หรือสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือชาร์จได้ น้ำหนักน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง จะมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่า ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้อยู่ระหว่างการสรุปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
น.ส.กุลยากล่าวถึงแนวนโยบายภาครัฐที่จะยกเลิกการกำหนดระยะเวลาห้ามการจำหน่ายสุราช่วง 14.00-17.00 น. นั้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยว และจะทำให้เกิดการบริโภคสินค้าที่อยู่ในพิกัดภาษีสรรพสามิตมากขึ้น ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2568 นี้ กรมได้รับเป้าหมายการจัดเก็บที่ 6.09 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สูง แต่กรมจะพยายามจัดเก็บให้ได้ตามเป้าหมาย
https://www.prachachat.net/finance/news-1756001